พระปิดตาพิมพ์สะดือจุ่น หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง นนทบุรี -wison - webpra
VIP
สมัครเล่นครับ เรียนรู้จากของแท้เท่านั้น

หมวด พระปิดตาทั่วไป

พระปิดตาพิมพ์สะดือจุ่น หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง นนทบุรี

พระปิดตาพิมพ์สะดือจุ่น หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง นนทบุรี  - 1พระปิดตาพิมพ์สะดือจุ่น หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง นนทบุรี  - 2
ชื่อร้านค้า wison - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระปิดตาพิมพ์สะดือจุ่น หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง นนทบุรี
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระปิดตาทั่วไป
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 0819460502
อีเมล์ติดต่อ wison41505@gmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 14 มิ.ย. 2554 - 11:07.15
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 19 พ.ย. 2565 - 12:02.04
รายละเอียด
พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี จัดเป็นหนึ่งในห้าสุดยอดพระปิดตาของเมืองไทย หรือ "พระปิดตาชุดเบญจภาคี" ที่นักนิยมสะสมพระเครื่องใฝ่ฝัน ชนิดที่เรียกว่า "ของแท้ๆ หายากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสุมทร"
เมื่อไม่ได้พระปิดตาของ หลวงปู่เอี่ยม นักนิยมสะสมพระเครื่องก็มุ่งไปที่ พระปิดตาหลวงปู่กลิ่น ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสรูปถัดมา
ขณะเดียวกันก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่หาพระปิดตาหลวงปู่กลิ่นไม่ได้ ก็มุ่งไปที่ พระปิดตาหลวงพ่อทองสุข เจ้าอาวาสวัดสะพานสูง อีกรูปหนึ่ง โดยมีความเชื่อว่า พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม พระปิดตาหลวงปู่กลิ่น และพระปิดตาหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง พุทธคุณสุดยอดด้านเมตตามหานิยมเหมือนๆ กัน ตามประวัติพระครูนนทกิจโสภณ (ทองสุข) อดีตเจ้าอาวาสวัดสะพานสูง ตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นพระเกจิอาจารย์ผู้สืบสายวิชาการสร้างพระปิดตาเนื้อผง และตระกรุดมหาโสฬสต่อจากหลวงปู่เอี่ยม และพระครูโสภณศาสนกิจ (กลิ่น) วัดสะพานสูง นอกจากนี้แล้ว หลวงพ่อทองสุข ยังมีความสามารถในการปรุงยาแผนโบราณที่มีสรรพคุณในการรักษาฝีหนองได้สารพัดชนิด น้ำมนต์ของท่านเป็นที่นิยมนำไปอาบกินเพื่อความเป็นสวัสดิมงคล และขจัดเสนียดจัญไร หลวงพ่อทองสุข ได้สร้างพระปิดตามากมายหลายรุ่น พระปิดตาที่ท่านสร้างขึ้นมีทั้งเนื้อผงเกสร ผงชุบรัก ผงคลุกรัก และเนื้อโลหะ การสร้างพระปิดตาแต่ละครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อมอบให้เป็นที่ระลึกแก่ผู้ร่วมทำบุญกับท่านในโอกาสต่างๆ รวมถึงลูกศิษย์ลูกหา ที่เดินทางมากราบนมัสการท่าน
มวลสารที่ใช้ในการสร้าง ประกอบด้วยผงวิเศษ ๕ ประการ ได้แก่ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงมหาราช ผงพุทธคุณและผงตรีนิสิงเห แล้วยังมี ผงอิติปิโส ผงไตรสรณคม
สำหรับผงยันต์มหาโสฬสมงคลของหลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่กลิ่น และหลวงพ่อทองสุข นั้น มีธรรมเนียมปฏิบัติในการทำผงของวัดสะพานสูง ที่จะต้องทำภายในอุโบสถ เมื่อเสร็จแล้วจะแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งนำไปสร้างพระปิดตา หรือผสมรักพอกตะกรุด อีกส่วนหนึ่งจะเก็บไว้ เมื่อมีกิจจะต้องสร้างวัตถุมงคลอีก ก็จะทำผงขึ้นใหม่ให้มากกว่าครั้งก่อน จากนั้นก็นำผงใหม่มาผสมกับผงเก่าที่เก็บไว้ คลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้ว แบ่งเก็บไว้ครึ่งหนึ่งเสมอ ผงวิเศษตามตำรับของวัดสะพานสูง จึงมีไม่ขาดสาย มีความเข้มขลังเสมอกันเทียบเท่าเสมือนหนึ่งเป็นผงโสฬสมงคลที่หลวงปู่เอี่ยม ผู้เป็นต้นตำรับได้สร้างไว้เอง อันปรากฎประสบการณ์ให้สาธารณะชนได้เห็นกันมานานกว่าร้อยปีแล้ว
จำนวนการสร้างอยู่ที่หลักพันองค์ สร้างปีพ.ศ. ๒๔๙๕ พิธีกรรมหลวงพ่อทองสุข ทำพิธีอธิฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวตลอดพรรษาพุทธคุณเช่นเดียวกับผงโสฬสมหาพรหม ที่นอกจากจะใช้ดีทางแคล้วคลาด คงกระพันชาตรีแล้ว ด้านหน้าที่การงานก็เหมือนมีคนคอยเกื้อหนุนค้ำจุน ประสบความเจริญก้าวหน้าอย่างเด่นชัด

หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร (พระครูนนทกิจโสภณ) เกิด ๑๑ มีนาคม ๒๔๔๖ แรม ๑๐ ค่ำเดือน ๔ ปีเถาะ ที่บ้านหนองไผ่เหลือง ต.หนองนาน อ.เมือง จ.เพชรบุรี เป็นบุตรนายคง นางแพ มีพี่น้องทั้งหมด ๕ คนท่านเป็นคนสุดท้อง เมื่ออายุ ๑๑ ได้เข้าไปเรียนหนังสือที่วัดอยู่กับอาจารย์จ้อย อาจารย์สาย และอาจารย์นิ่ม วัดหนองหว้า เพชรบุรี จนอายุ ๑๓ ออกจากวัดไปอยู่ราชบุรีกับอาของท่าน แล้วกลับมาอยู่กับโยมพ่อ โยมแม่ ช่วยท่านทำนาหาเลี้ยงชีพที่บ้านเกิดจนอายุครบ ๒๐ ปีจึงถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร กรมทหารราบที่เพชรบุรี
ปลดแล้วสมัครเป็นตำรวจภูธรได้ยศสิบตำรวจตรี ประจำอยู่เพชรบุรี ๒ ปีแล้วถูกย้ายไปจังหวัดต่างๆ ทั้งพัทลุง,ชุมพร,ด่านสะเดา สงขลา,จนได้ยศ สิบตำรวจโทก็ถูกย้ายไปนราธิวาส ,สตูล,อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี,อ.จตุรัส จ.ชัยภูมิ,จ.สุรินทร์ จนครั้งหลังสุดย้ายกลับมาอยู่ที่ จ.เพชรบุรี บ้านเกิด อยู่ได้เพียงหนึ่งปีก็เกิดเบื่อหน่ายทางโลก จึงลาออกจากอาชีพตำรวจ บวชเมือปี ๒๔๗๐ ที่วัดนาพรม เพชรบุรี มีพระครูพิษ เจ้าอาวาสเป็นพระอุปัชณาย์ พระอาจารย์ผ่องเป็นกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อุปเป็นอนุสาวนาจารย์ แต่ไม่ได้จำพรรษาที่วัดนาพรม ไปจำพรรษาที่วัดหนองหว้า แต่ก็อยู้ได้เพียงพรรษาเดียว เพราะมีอาจารย์เพ็ง จากวัดสะพานสูงได้ธุดงค์มาพบกันจนท่านทั้งสองรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอันดี ท่านอาจารย์เพ็งจึงชักชวนกันเดินทางมาจำพรรษา ณ วัดท่าเกวียน ต.คลองข่อย อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี จำพรรษาอยู่วัดนี้ ๓ พรรษา จึงพากันย้ายมาอยู่วัดสะพานสูงในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ เพื่อมาศึกษาพระปริยัติธรรม มีพระครูโสภณศาสนกิจ (หลวงปู่กลิ่น) เป็นเจ้าอาวาส และอาจารย์เพ็งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม
จน ๒๔๗๕ สอบนักธรรมได้ ๒๔๗๖ ได้นักธรรมโท พอดีวัดสะพานสูงขาดครูสอนพระปริยัติธรรม หลวงปู่กลิ่นจึงมอบหมายหน้าที่สอนพระปริยัติธรรมให้พระภิกษุสามเณรช่วยกัน หลวงพ่อทองสุขได้เรียนตำราเวทย์ และพระคาถรสำคัญๆต่างๆของวัดสะพานสูง เช่น การลงตะกรุด การทำผง พระปิดตา ทำน้ำมนต์ จากหลวงปู่กลิ่นจนหมดสิ้น
จนเมื่อปี ๒๔๘๒ ได้รับตำแหน่งเป็นกรรมวาจาจารย์ ปี ๒๔๙๗ หลวงปู่กลิ่นมรณะภาพลง ท่านจึงขึ้นรักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสอยู่หนึ่งปี ปี ๒๔๙๑ ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสจากความห็นชอบของคณะสงฆ์ และอุบาสก อุบาสิกาวัดสะพานสูง
๙ พฤษภาคม ๒๕๐๘ จึงได้รับแต่งตั่งเป็นพระอุปัชณาย์ ปกครองวัดด้วยคุณธรรมอบรมสั่งสอนภิกษุสามเณรให้อยู่ในพระธรรมวินัย จนวัดมีความเจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำดับ
บั่นปลายของชีวิตท่านต้องรับภาระอย่างหนัก ทั้งประชาชนที่มาขอความช่วยเหลือจากท่านต่างๆนาๆ ภาระกิจของคณะสงฆ์ และกิจการงานต่างๆของวัดสะพานสูง จน ๒๐ มีนาคม ๒๕๒๕ ท่านอาพาธด้วยอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ลูกศิษย์ได้นำท่านส่งโรงพยาบาลเพชรเวช จน ๗ เมษายน ๒๕๒๕ เวลา ๐๘.๐๐ น.ท่านได้มรณะภาพลงด้วยอาการอันสงบ ศิริอายุได้ ๗๙ ปี ๑๙ วัน

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top