หมวด พระปิดตาทั่วไป
พระปิดตาพิมพ์ชลูดเศียรโต หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง นนทบุรี
ชื่อร้านค้า | wison - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระปิดตาพิมพ์ชลูดเศียรโต หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง นนทบุรี |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระปิดตาทั่วไป |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 0819460502 |
อีเมล์ติดต่อ | wison41505@gmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | พ. - 08 มิ.ย. 2554 - 20:52.21 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ส. - 15 ก.ย. 2555 - 18:10.14 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระปิดตาพิมพ์ชลูดเศียรโต หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง นนทบุรี พระปิดตาหลวงพ่อทองสุข พิมพ์ชลูดเศียรโต สภาพพอสวย จุ่มรักแต่หลุดร่อนไปหมดแล้วมองเห็นเนื้อผงที่แกร่งแน่นมีหลุม และหลุดร่วงตามอายุ จึงคะเนอายุพระปิดตาองค์นี้ว่า น่าจะอยู่ในยุคต้นๆ ของท่าน เวลานี้เทคนิกการทำของเทียมเลียนแบบไปไกลแล้ว ท่านที่อยากจะบูชาพุทธคุณของสายวัดสะพานสูงแล้ว ก็ควรหลีกเลี่ยงของสวย หันมามองของแท้ๆกันดีกว่าขอรับ ชั่วโมงนี้เมื่อเอ่ยถึงวัดสะพานสูง นักนิยมพระเครื่องรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ต้องนึกถึง “พระปิดตา” ควบคู่กันไป เพราะว่าวัดสะพานสูง ปากเกร็ด นนทบุรี เป็นที่รู้จักกันดีว่า “พระปิดตาวัดสะพานสูงนั้นเป็นหนึ่งในยุทธจักรของพระปิดตา” นักนิยมพระเครื่องทั้งเก่าและใหม่ ถ้าไม่รู้จักพระปิดตาวัดสะพานสูงแล้วละก็ถือว่าเชยแหลก ถึงไม่เคยเห็นก็ต้องได้ยิน พระปิดตาวัดสะพานสูงนั้น อยู่ในระดับเดียวกับพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว พระปิดตาวัดหนัง และพระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดทอง ค่านิยมในการเช่าหาบูชาหรือเป็นแสนแทบทุกองค์ หลวงปู่เอี่ยม อดีตเจ้าอาวาสวัดสะพานสูง เจ้าตำรับสร้างพระปิดตา วัดสะพานสูง มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่ชื่นชอบ และเป็นที่ต้องการของนักนิยมพระเครื่องทั้งหลายยิ่งนัก หลังจากที่หลวงปู่เอี่ยม มรณภาพไปแล้ว หลวงปู่กลิ่น ก็รับสืบทอดวิชาและตำรับการสร้างพระปิดตามาจากหลวงปู่เอี่ยม ท่านได้สร้างพระปิดตาออกในลักษณะเดียวกันกับของหลวงปู่เอี่ยม ผู้เป็นอาจารย์ของท่าน สำหรับผู้ที่เป็นลูกมือคนสำคัญของหลวงปู่กลิ่นก็คือ “หลวงพ่อทองสุข” ซึ่งคลุกคลีเอาใจใส่ ปรนนิบัติอยู่อย่างใกล้ชิด ร่ำเรียนวิชาการตำรับตำราและได้รับการถ่ายทอดวิชาสืบต่อมาจากหลวงปู่กลิ่นจนหมดสิ้น โดยเฉพาะวิชาการสร้างผงฯ พระปิดตาของวัดสะพานสูง หลวงปู่กลิ่นได้ถ่ายทอดให้หลวงพ่อทองสุข จนหมดสิ้น ถือได้ว่าหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง ได้รับการถ่ายทอดเป็นองค์สุดท้ายของวัดสะพานสูง นอกจากการสืบทอดวิชาการเสกผงฯ และสร้างพระปิดตาที่สืบทอกกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนานแล้ว ยังมีธรรมเนียมประจำสำนักที่สำคัญอันหนึ่งที่ยึดถือปฏิบัติกันมาอย่างเคร่งครัดตั้งแต่สมัยที่หลวงปู่เอี่ยมยังเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ธรรมเนียมดังกล่างคือ ทุกคราวที่มีการเสกผงฯ เพื่อสร้างพระปิดตา หลวงปู่เอี่ยมท่านจะแบ่งผงฯทั้งหมดออกเป็นสองส่วนเท่าๆกัน ครึ่งหนึ่งจะใช้สร้างพระปิดตาในคราวนั้น ส่วนอีกครึ่งหนึ่งจะเก็บไว้สำหรับการสร้างครั้งต่อไป เมื่อจะสร้างพระปิดตาขึ้นใหม่ ท่านก็จะเสกผงฯขึ้นใหม่แล้วผสมผงฯเก่าที่เก็บไว้ทั้งหมดลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วก็แบ่งเป็นสองส่วนเช่นเดิม เก็บไว้สำหรับสร้างพระปิดตาในครั้งต่อไปอีก สืบเนื่องกันมาแบบนี้ทุกครั้งจนถึงยุคของหลวงพ่อทองสุข ด้วยวิธีนี้จะทำให้ผงฯที่ใช้สร้างพระปิดตาของสำนักวัดสะพานสูง มีพุทธคุณเท่าเทียมกัน จากรุ่นสู่รุ่น ทั้งในแง่ของวิชาคาถาอาคม และผงฯที่ใช้สร้างกันเลยทีเดียว หลังจากหลวงพ่อทองสุขก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส วัดสะพานสูงแล้ว หลวงพ่อทองสุขจึงได้จัดสร้างพระปิดตา ตามตำราของหลวงปู่เอี่ยม ซึ่งได้รับถ่ายทอดมาจากหลวงปู่กลิ่นอย่างเคร่งครัด ทำให้พระปิดตาของหลวงปู่ มีพุทธคุณสูงส่ง ทั้งทางด้าน เมตตามหานิยม และ ด้าน มหาอุตม์ เช่นเดียวกับพระปิดตาของหลวงปู่เอี่ยมและหลวงปู่กลิ่น ทุกประการ หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร (พระครูนนทกิจโสภณ) ชื่อเดิมของท่านก็คือ “ทองสุข” ถือกำเนิดในสกุล บุญมี โยมบิดาชื่อ นายคง โยมมารดาชื่อ นางแพ เกิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2446 ณ ตำบลหนองขนาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี มีพี่น้องร่วมสายเลือด 5 คน ได้แก่ นางพลอย บุญมี เป็นพี่สาวคนโต, นายสาย บุญมี, และนางเพียง บุญมี หลวงพ่อทองสุขเป็นคนที่ 5 เข้าเรียนหนังสือหนังหาเมื่อครั้งโตพอจำความได้ที่วัดข้างบ้าน คือ วัดเพรียง โดยอยู่ในความอุปถัมภ์ของอาจารย์จ้อย อดีตเจ้าอาวาสวัดเพรียงพออายุได้แค่ 13 ปี ก็เดินทางไปเรียนหนังสือที่วัดหนองหว้า จนกระทั่งอายุได้ 18 ปี ก็กลับมาช่วยครอบครัวทำมาหากินได้ช่วงระยะเวลาหนึ่งก็ถูกหมายเกณฑ์ไปรับ ราชการทหารประจำทหารราบ ณ จังหวัดเพชรบุรีจนครบ 2 ปี 1 เดือน มียศเป็น “สิบตรี” เมื่อปลดประจำการแล้วก็ไปตั้งหลักอยู่ที่บ้านได้พักใหญ่ แล้วจึงลงสมัครเป็นตำรวจ ได้ยศเท่ากับตอนออกจากราชการทหาร คือ สิบตรี เป็นตำรวจชั้นผู้น้อย เจ้านายก็ย้ายไปอยู่ภาคใต้หลายจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นพัทลุง, ชุมพร, สงขลา นราธิวาส เคยไปอยู่ราชการมาแล้วทั้งนั้น กลับบ้านเกิดอีกครั้ง คิดดูก็แล้วกัน ทางราชการให้ท่านได้แค่สิบเอก เหมือนข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อยอื่นๆ นั่นแหละ เป็นตำรวจไม่ได้ดี ก็ต้องเลือกออกไปเข้าวัดเข้าวาและบวช ที่วัดนาพรหม จังหวัดเพชรบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2470 ตอนนั้นอายุยังแค่ 24 ปี อุปสมบทแล้วจึงไปจำพรรษา ณ วัดหนองหว้า ได้ 1 พรรษา ท่านก็ออกปฏิบัติธุดงควัตรจนพบกับอาจารย์เพ็ง คนอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้คบกันเป็น “สหายธรรม” หรือ “สหธรรมิก” ชักชวนกันไปจำพรรษาอยู่ที่นนทบุรี ณ วัดท่าเกวียน ตำบลคลองข่อย อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ระหว่างนั้น ได้ยินกิตติศัพท์หลวงปู่กลิ่น จนทรงสี แห่งวัดสะพานสูง ได้ไปมาหาสู่ท่านบ่อยๆ ในที่สุดจึงฝากตัวเป็นลูกศิษย์คอยปรนิบัติรับใช้ท่านและ หลวงปู่กลิ่น ท่านก็เมตตา ถ่ายทอดวิชาอาคมตลอดจนการปฏิบัติธรรม ระหว่างจำพรรษาอยู่ วัดสะพานสูง หลวงพ่อทองสุข เข้าสอบสนามหลวงผ่านเปรียญธรรมถึงขั้น นักธรรมเอก ทำให้ หลวงปู่กลิ่น รู้สึกพอใจความอุตสาหะของท่านมาก ดังเป็นที่ทราบกันดีว่า หลังจาก หลวงปู่กลิ่น จนทรงสี ละสังขาร “หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร ได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการเป็นเจ้าอาวาสวัดสะพานสูง ก่อนในช่วงระยะเวลาประมาณปีกว่า ดังกล่าวแล้ว ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดสะพานสูง และ พระครูนนทกิจโสภณ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2501 นอกจากนั้นยังได้เป็นเจ้าคณะตำบล และพระอุปัชฌาย์ ในบั้นปลายชีวิตบรรพชิต หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร อาพาธอยู่หลายวัน แล้วจึงถึงแต่กาลมรณภาพ เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2525 เวลา 08.00 น. ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร สิริอายุรวม 79 ปี 19 วัน 55 พรรษา |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments