หมวด พระปิดตาทั่วไป
พระปิดตาหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง ปากเกร็ด นนทบุรี
ชื่อร้านค้า | wison - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระปิดตาหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง ปากเกร็ด นนทบุรี |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระปิดตาทั่วไป |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 0819460502 |
อีเมล์ติดต่อ | wison41505@gmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | อ. - 19 เม.ย. 2554 - 21:47.03 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | อ. - 18 ธ.ค. 2555 - 10:54.35 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระปิดตาหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง ปากเกร็ด นนทบุรี พระปิดตาหลวงพ่อทองสุข พิมพ์ใหญ่ (จัมโบ) จุ่มรัก สอดตะกรุดโสฬส สภาพสวยมาก ระดับแชมป์ทีเดียว เพราะจุ่มรักได้พอเหมาะผิวจึงเนียนเสมอ ไม่หนาจนแตกราน ไม่บางจนเห็นเนื้อใน ที่สำคัญคือผิวรักสม่ำเสมอตลอดองค์ มีฟองอากาศให้เห็นพองาม เป็นเครื่องยืนยันว่าจุ่มรักมาจริงๆ กวาดตามองทั่วทั้งเว็บนี้และเว็บไหนๆ หาสวยเท่านี้ไม่มีอีกแล้ว จริงๆ ชั่วโมงนี้เมื่อเอ่ยถึงวัดสะพานสูง นักนิยมพระเครื่องรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ต้องนึกถึง “พระปิดตา” ควบคู่กันไป เพราะว่าวัดสะพานสูง ปากเกร็ด นนทบุรี เป็นที่รู้จักกันดีว่า “พระปิดตาวัดสะพานสูงนั้นเป็นหนึ่งในยุทธจักรของพระปิดตา” นักนิยมพระเครื่องทั้งเก่าและใหม่ ถ้าไม่รู้จักพระปิดตาวัดสะพานสูงแล้วละก็ถือว่าเชยแหลก ถึงไม่เคยเห็นก็ต้องได้ยิน พระปิดตาวัดสะพานสูงนั้น อยู่ในระดับเดียวกับพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว พระปิดตาวัดหนัง และพระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดทอง ค่านิยมในการเช่าหาบูชาหรือเป็นแสนแทบทุกองค์ หลวงปู่เอี่ยม อดีตเจ้าอาวาสวัดสะพานสูง เจ้าตำรับสร้างพระปิดตา วัดสะพานสูง มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่ชื่นชอบ และเป็นที่ต้องการของนักนิยมพระเครื่องทั้งหลายยิ่งนัก หลังจากที่หลวงปู่เอี่ยม มรณภาพไปแล้ว หลวงปู่กลิ่น ก็รับสืบทอดวิชาและตำรับการสร้างพระปิดตามาจากหลวงปู่เอี่ยม ท่านได้สร้างพระปิดตาออกในลักษณะเดียวกันกับของหลวงปู่เอี่ยม ผู้เป็นอาจารย์ของท่าน สำหรับผู้ที่เป็นลูกมือคนสำคัญของหลวงปู่กลิ่นก็คือ “หลวงพ่อทองสุข” ซึ่งคลุกคลีเอาใจใส่ ปรนนิบัติอยู่อย่างใกล้ชิด ร่ำเรียนวิชาการตำรับตำราและได้รับการถ่ายทอดวิชาสืบต่อมาจากหลวงปู่กลิ่นจนหมดสิ้น โดยเฉพาะวิชาการสร้างผงฯ พระปิดตาของวัดสะพานสูง หลวงปู่กลิ่นได้ถ่ายทอดให้หลวงพ่อทองสุข จนหมดสิ้น ถือได้ว่าหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง ได้รับการถ่ายทอดเป็นองค์สุดท้ายของวัดสะพานสูง นอกจากการสืบทอดวิชาการเสกผงฯ และสร้างพระปิดตาที่สืบทอกกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนานแล้ว ยังมีธรรมเนียมประจำสำนักที่สำคัญอันหนึ่งที่ยึดถือปฏิบัติกันมาอย่างเคร่งครัดตั้งแต่สมัยที่หลวงปู่เอี่ยมยังเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ธรรมเนียมดังกล่างคือ ทุกคราวที่มีการเสกผงฯ เพื่อสร้างพระปิดตา หลวงปู่เอี่ยมท่านจะแบ่งผงฯทั้งหมดออกเป็นสองส่วนเท่าๆกัน ครึ่งหนึ่งจะใช้สร้างพระปิดตาในคราวนั้น ส่วนอีกครึ่งหนึ่งจะเก็บไว้สำหรับการสร้างครั้งต่อไป เมื่อจะสร้างพระปิดตาขึ้นใหม่ ท่านก็จะเสกผงฯขึ้นใหม่แล้วผสมผงฯเก่าที่เก็บไว้ทั้งหมดลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วก็แบ่งเป็นสองส่วนเช่นเดิม เก็บไว้สำหรับสร้างพระปิดตาในครั้งต่อไปอีก สืบเนื่องกันมาแบบนี้ทุกครั้งจนถึงยุคของหลวงพ่อทองสุข ด้วยวิธีนี้จะทำให้ผงฯที่ใช้สร้างพระปิดตาของสำนักวัดสะพานสูง มีพุทธคุณเท่าเทียมกัน จากรุ่นสู่รุ่น ทั้งในแง่ของวิชาคาถาอาคม และผงฯที่ใช้สร้างกันเลยทีเดียว นอกจากพระปิดตาวัดสะพานสูง มรดกล้ำค่าแห่งสำนักวัดสะพานสูงอีกสิ่งหนึ่งคือ ตะกรุดโสฬสมงคล ของหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ซึ่งจะจารเป็นยันต์โสฬสมงคล ประกอบด้วยยันต์ ๔ ชั้น ๑. ยันต์เทพาวุธ สำหรับขับไล่ภูตผีปีศาจ ทำลายไสยเวทย์อาคม วัตถุอาถรรพ์ทุกชนิด คาถากำกับยันต์เทพาวุธ สักกัสสะ วะชิราวุธ ยะมัสสะ นะยะนาวุธัง อาฬะวะกัสสะ ทุสาวุธัง เวสสุวัณณัสส คะทาวุธัง จัตตาโร เต อาวุธา สัพพะศัตรู วินาสสันติ ๒. ยันต์โสฬส ป้องกันอุปัทอันตรายทั้งปวง กันฟ้า กันไฟ กันโจรภัย กันภูตผีปีศาจ กันคุณผีคุณคนทุกชนิด คาถากำกับยันต์โสฬส โสฬะสะมังคะลัญเจวะ นะวะโลกุตตะระธัมมา จัตตาโร จะ มะหาทีปา ปัญจะพุทธามะหามุนี ตรีปิฏะกะธัมมักขันธา ฉะกามาวะจะราตะถา ปัญจะทะสะภะเวสัจจัง ทะสะมังสีละเมวะจะ เตระสะธุตังคาจะ ปาฏิหารัญจะทะวาทะสะ เอกะเมรุ จะ สุราอัฏฐะ ทะเวจันทังสุริยังสัคคา สัตตะสัมโพชฌังคาเจวะ จุททะสะจักกะวัตติจะ เอกาทะสะวิษะณุราชา สัพเพเทวาสะมาคะตา เอเตนะมังคะละเตเชนะ สัพพะโสตถีภะวันตุเม ๓. ยันต์ตรีนิสิงเห ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ กันโรคระบาด กันภูตผีรบกวน ทำน้ำมนต์คลอดบุตรง่าย กันคุณไสยลมเพลมพัด บ้านหรือที่ใดร้ายอยู่ยาก ให้อธิษฐานฝังดินแก้ไขกลับร้ายเป็นดี คาถากำกับยันต์ตรีนิสิงเห มะอะอุ ตรีนิสิงเห สะธะวิปีปะสะอุ สัตตะนาเค อาปามะจุปะ ปัญจะเพชรฉลูกัญเจวะ นะมะพะทะ จะตุเทวา อิสวาสุ สุสวาอิ ฉะวัจฉะราชา ฑีฆะสังอังขุ ปัญจะอินทรานะเมวะจะ มิ เอกะยักขา อะสังวิสุโลปุสะพุภะ นะวะเทวา สะหะชะฏะตรี ปัญจะพรัหมาสะหัมปะติ พุทโธ ทะเวราชา เสพุเสวะเสตะอะเส อัฏฐะอะระหันตา นะโมพุทธายะ ปัญจะพุทธานะมามิหัง ๔. ยันต์จตุโรบังเกิดทรัพย์ เรียกเงินเรียกทอง ค้าขายดี รักษาทรัพย์สมบัติให้เยือกเย็นทรงตัว ร่ำรวยยิ่ง ๆ ขึ้นไป คาถากำกับยันต์จตุโรบังเกิดทรัพย์ จะตุโร นะวะโม ทะเวโช ตรีนิ ปัญจะ สัตตะ อัฏฐะ เอโก ฉะวัจฉะราชา เวลาเสกให้ว่าคาถาทั้งหมด ๑๐๘ จบ เมื่อจะอาราธนาติดตัวให้ใช้คาถา “อิทธิฤทธิพุทธะนิมิตตัง ขอเดชะเดชัง ขอเดชเดชะ จงมาเป็นที่พึ่งแก่มะอะอุนี้เถิด” พุทธคุณแห่งตะกรุดโสฬสมงคลของบรมครู" หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง " นั้น ผู้ครอบครองต่างก็ ประสบคุณอภินิหารมากมาย จนกล่าวได้ว่าไม่มีผู้ใดที่มีวัตถุมงคลของท่านติดตัว ประพฤติตนอยู่ในศีลในธรรมอันควรแล้วต้องเสียชีวิตจากคมอาวุธหรือสิ่งมีคม อื่น ๆ แม้แต่รายเดียว หลังจากหลวงพ่อทองสุขก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส วัดสะพานสูงแล้ว หลวงพ่อทองสุขจึงได้จัดสร้างพระปิดตา ตามตำราของหลวงปู่เอี่ยม ซึ่งได้รับถ่ายทอดมาจากหลวงปู่กลิ่นอย่างเคร่งครัด ทำให้พระปิดตาของหลวงปู่ มีพุทธคุณสูงส่ง ทั้งทางด้าน เมตตามหานิยม และ ด้าน มหาอุตม์ เช่นเดียวกับพระปิดตาของหลวงปู่เอี่ยมและหลวงปู่กลิ่น ทุกประการ หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร (พระครูนนทกิจโสภณ) ชื่อเดิมของท่านก็คือ “ทองสุข” ถือกำเนิดในสกุล บุญมี โยมบิดาชื่อ นายคง โยมมารดาชื่อ นางแพ เกิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2446 ณ ตำบลหนองขนาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี มีพี่น้องร่วมสายเลือด 5 คน ได้แก่ นางพลอย บุญมี เป็นพี่สาวคนโต, นายสาย บุญมี, และนางเพียง บุญมี หลวงพ่อทองสุขเป็นคนที่ 5 เข้าเรียนหนังสือหนังหาเมื่อครั้งโตพอจำความได้ที่วัดข้างบ้าน คือ วัดเพรียง โดยอยู่ในความอุปถัมภ์ของอาจารย์จ้อย อดีตเจ้าอาวาสวัดเพรียงพออายุได้แค่ 13 ปี ก็เดินทางไปเรียนหนังสือที่วัดหนองหว้า จนกระทั่งอายุได้ 18 ปี ก็กลับมาช่วยครอบครัวทำมาหากินได้ช่วงระยะเวลาหนึ่งก็ถูกหมายเกณฑ์ไปรับ ราชการทหารประจำทหารราบ ณ จังหวัดเพชรบุรีจนครบ 2 ปี 1 เดือน มียศเป็น “สิบตรี” เมื่อปลดประจำการแล้วก็ไปตั้งหลักอยู่ที่บ้านได้พักใหญ่ แล้วจึงลงสมัครเป็นตำรวจ ได้ยศเท่ากับตอนออกจากราชการทหาร คือ สิบตรี เป็นตำรวจชั้นผู้น้อย เจ้านายก็ย้ายไปอยู่ภาคใต้หลายจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นพัทลุง, ชุมพร, สงขลา นราธิวาส เคยไปอยู่ราชการมาแล้วทั้งนั้น กลับบ้านเกิดอีกครั้ง คิดดูก็แล้วกัน ทางราชการให้ท่านได้แค่สิบเอก เหมือนข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อยอื่นๆ นั่นแหละ เป็นตำรวจไม่ได้ดี ก็ต้องเลือกออกไปเข้าวัดเข้าวาและบวช ที่วัดนาพรหม จังหวัดเพชรบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2470 ตอนนั้นอายุยังแค่ 24 ปี อุปสมบทแล้วจึงไปจำพรรษา ณ วัดหนองหว้า ได้ 1 พรรษา ท่านก็ออกปฏิบัติธุดงควัตรจนพบกับอาจารย์เพ็ง คนอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้คบกันเป็น “สหายธรรม” หรือ “สหธรรมิก” ชักชวนกันไปจำพรรษาอยู่ที่นนทบุรี ณ วัดท่าเกวียน ตำบลคลองข่อย อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ระหว่างนั้น ได้ยินกิตติศัพท์หลวงปู่กลิ่น จนทรงสี แห่งวัดสะพานสูง ได้ไปมาหาสู่ท่านบ่อยๆ ในที่สุดจึงฝากตัวเป็นลูกศิษย์คอยปรนิบัติรับใช้ท่านและ หลวงปู่กลิ่น ท่านก็เมตตา ถ่ายทอดวิชาอาคมตลอดจนการปฏิบัติธรรม ระหว่างจำพรรษาอยู่ วัดสะพานสูง หลวงพ่อทองสุข เข้าสอบสนามหลวงผ่านเปรียญธรรมถึงขั้น นักธรรมเอก ทำให้ หลวงปู่กลิ่น รู้สึกพอใจความอุตสาหะของท่านมาก ดังเป็นที่ทราบกันดีว่า หลังจาก หลวงปู่กลิ่น จนทรงสี ละสังขาร “หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร ได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการเป็นเจ้าอาวาสวัดสะพานสูง ก่อนในช่วงระยะเวลาประมาณปีกว่า ดังกล่าวแล้ว ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดสะพานสูง และ พระครูนนทกิจโสภณ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2501 นอกจากนั้นยังได้เป็นเจ้าคณะตำบล และพระอุปัชฌาย์ ในบั้นปลายชีวิตบรรพชิต หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร อาพาธอยู่หลายวัน แล้วจึงถึงแต่กาลมรณภาพ เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2525 เวลา 08.00 น. ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร สิริอายุรวม 79 ปี 19 วัน 55 พรรษา |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments