
หมวด พระเกจิภาคอีสานเหนือ
ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท)


ชื่อร้านค้า | ณัฐธนัน พระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระเกจิภาคอีสานเหนือ |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | tomato_1800@hotmail.com |
สถานะ |
![]() |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | จ. - 03 ส.ค. 2552 - 16:39.55 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พฤ. - 06 ส.ค. 2552 - 16:26.49 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์(จันทร์ สิริจันโท) เดิมท่านเป็นคนชาวอุบลราชธานีโดยกำเนิดท่านชื่อ จันทร์ สุภสร บิดาชื่อ สอน มารดาชื่อ แก้ว นามสกุล สุภสรท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๗ คน ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ เป็นบุตรคนโต (หัวปี) ท่านเกิดเมื่อเดือน ๔ แรม ๒ ค่ำ วันศุกร์ ปีมะโรง เวลา ๒๓.๐๐ น. ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๙๘ ที่บ้านหนองไหล ตำบลหนองไหล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พื้นเพของครอบครัวเป็นชาวนาเป็นฐานของชีวิต ท่านเจ้าคุณอุบาลี เป็นเด็กที่มีความคิดพิจารณามาแต่อายุ ๗ ขวบ บิดามารดาเป็นคนใจบุญสุนทาน มีความใกล้ชิดกับวัดวาครูบาอาจารย์มากครอบครัวหนึ่ง ยังผลให้บุตรคือ…ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ผู้ติดตามบิดามารดา เห็นความแน่นแฟ้นในศีลในธรรม มีสัจจะวาจา มีความเลื่อมใสศรัทธาตามบิดาของตนเป็นอันมากพออายุได้ ๑๓ ปี ก็พอดีปี พ.ศ. ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จสวรรคตเป็นธรรมเนียมของชาวไทยทุกคน ต้องโกนผมไว้ทุกข์แด่องค์พระมหากษัตริย์ และรักษาศีล เจริญภาวนาเป็นการบูชาพระคุณแต่บุคคลที่รักรูปรักกาย สังขารก็มีอยู่บางคนถึงกับร้องไห้เสียใจเพราะตนต้องเ ป็นคนหัวโล้นโดยเฉพาะเป็นสตรีที่เสียใจกันมากแต่ท่านท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ (สมัยเป็นเด็ก) กลับมองตรงกันข้าม ท่านคิดในใจว่า “ศีรษะโล้นนี่เป็นของดีงาม วิเศษกว่ามีผมที่รุงรังบนหัว” ตั้งแต่ถูกโกนผมหมดหัวไปแล้ว ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ (สมัยเป็นเด็กเล็กอยู่นั้น) เกิดชอบอกชอบใจเป็นที่สุด จิตใจเบิกบานอย่างผิดสังเกต…บิดาเห็นเช่นนั้นก็ได้ถามขึ้นว่า… “ถ้าจะให้บวชเป็นสามเณร จะอดข้าวเย็นได้บ่” สิ้นเสียงที่บิดาถาม บุญบารมีเก่าได้มาหนุนนำชีวิตให้รุ่งโรจน์ ต่อไป ท่านตอบอย่างไม่ต้องคิดว่า “อดได้”ต่อมาบิดามารดาได้นำบุตรชายที่อยากบวชเณร มาฝากบวชกับท่านเจ้าอาวาสวัดบ้านหนองไหล และได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณร จันทร์ สุภกร ในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ นั้นเองต่อมาอายุครบบวช บิดาจึงหาอุบายที่จะให้บุตรของตนได้บวชพระ โยมบิดาของท่านได้เล่าดังนี้…“บุตรชายของท่าน คือท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ เป็นเด็กเลี้ยงยากที่สุด และเป็นเด็กที่แสนซน อีกทั้งยังเป็นเด็กขี้ร้องไห้ ใจน้อย ถ้าร้องไห้แล้วละก็ จะต้องเป็นชั่วโมงเลยทีเดียวไม่ยอมหยุด” ด้วยอุบายนี้ โยมบิดาจึงนำไปกล่าวแก่บุตรชาย (จันทร์) ได้ฟังว่า“บิดามารดาได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส ถ้าไม่บวชให้ก็เห็นทีจะไม่พ้นโทษ ต้องบวชให้บิดามารดาจึงพ้นโทษจากความเลี้ยงยากซนและขี้ร้องไห้”ด้วยเหตุนี้ จึงรับปากบิดามารดาว่า “จะบวชให้สัก ๓ ปี บิดามารดาจะพอใจหรือไม่ บิดาจึงตอบไปว่า “ลูกจะบวชให้สักปีหรือสองปีก็ไม่ว่า แต่ขอให้บวชเป็นพระก็แล้วกัน” อุปสมบทได้จัดขึ้น ณ วัดศรีทอง เมื่อเดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำปีฉลู พ.ศ. ๒๔๒๐ ท่านอุปสมบทสำเร็จเมื่อเวลา ๑๐.๐๐ น. โดยมีท่านพระเทวธัมมี (ม้าว) เป็นพระอุปัชฌาย์ท่านพระอธิการสีโห (วัดไชยมงคล) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ในระหว่างเป็นพระภิกษุสงฆ์นั้น ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ได้อยู่จำพรรษากับพระอธิการสีโห ณ วัดไชยมงคล และได้รับภาระจากพระอาจารย์มาทำอย่างไม่เห็นแก่ความเ หน็ดเหนื่อยส่วนทางด้านพระธรรมวินัยนั้น ท่านได้มาศึกษาอยู่กับพระเทวธัมมี (ม้าว) ที่วัดศรีทอง จนเป็นที่รักและไว้วางใจอย่างยิ่งต่อมาท่านพระอุปัชฌาย์ เทวธัมมี (ม้าว) ได้สอนกรรมฐานภาวนา และให้พิจารณาอยู่เป็นนิจในธรรม ๔ ประการ คือ “อารักขกรรมฐาน ๔” ได้แก่ 1.พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า 2.เมตตานุสสติ แผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า 3.อสุภะ การพิจารณากายตนและผู้อื่นให้เห็นเป็นไม่งาม 4.มรณัสสติ นึกถึงความตายอันจะมีแก่ตน ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ท่านได้มานะพยายามศึกษาวิชาการต่าง ๆ อย่างชนิดทุ่มเทจิตใจ จนมาเป็นแบบอย่างที่สมบูรณ์ที่สุดในวงการ พระอริยะสงฆ์ไทย คือทางด้านศึกษาพระปริยัติธรรม ท่านสอบได้มหาเปรียญ ๓ ประโยค จนได้รับพระราชทานตำแหน่งต่าง ๆ หลายตำแหน่ง ตำแหน่งสุดท้ายเป็นพระอุบาลีคุณูปมาจารย์การปฏิบัติธรรม ท่านมีความเชี่ยวชาญ รู้แจ้งเห็นจริงในธรรมขณะออกปฏิบัติ “ธุดงค์กรรมฐาน” จนมีความเข้าอกเข้าใจภูมิธรรมปฏิบัติ และได้สนับสนุนให้หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ก่อตั้งกองทัพธรรมเพื่อออกเผยแพร่ธรรมอันบริสุทธิ์แก่ประชาชนด้วยดีตลอดมา การเผยแพร่ธรรม ท่านได้ออกไปเผยแพร่ธรรมะของพระพุทธเจ้ายังต่างแดน เช่น นครจำปาศักดิ์และนครเชียงตุง เป็นต้นส่วนทางด้านพัฒนาศาสนาวัตถุ ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านได้ดำเนินการสร้างและปฏิสังขรณ์ วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ ให้เป็นวัดที่เจริญไพบูลย์ เป็นที่ยึดจิตใจของประชาชนตั้งแต่ระดับสูง จนมาถึงผู้หาเช้ากินค่ำอย่างวิเศษยิ่ง และยังได้สร้างวัดเขาพระงามหรือวัดสิริจันทร์นิมิต จังหวัดลพบุรี ให้เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบัน อนึ่งสายจิตสายใจอันเป็นหนึ่งของท่านเจ้าคุณอุบาลี ฯ ท่านได้อุทิศกายถวายชีวิตแก่พระศาสนาจนหมดสิ |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...










อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments