ประวัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ-ณัฐธนัน พระเครื่อง - webpra
ซื่อสัตย์ จริงใจ พระแท้100% 0863482199 - 029697089 ติดต่อได้ตลอด 24. คับ

หมวด พระเกจิภาคอีสานเหนือ

ประวัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ

ประวัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ - 1ประวัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ - 2ประวัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ - 3
ชื่อร้านค้า ณัฐธนัน พระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง ประวัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
อายุพระเครื่อง 87 ปี
หมวดพระ พระเกจิภาคอีสานเหนือ
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ tomato_1800@hotmail.com
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ส. - 01 ส.ค. 2552 - 00:09.42
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 24 ส.ค. 2552 - 17:11.46
รายละเอียด
พระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตตเถระ
วัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
ชีวประวัติและปฏิปทาคือจริยธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เป็นอาจารย์ทางวิปัสสนากรรมฐานซึ่งควรได้รับการยกย่องสรรเสริญอย่างยิ่งจากบรรดาศิษย์ผู้อยู่ใกล้ชิดท่าน ว่าเป็นอาจารย์วิปัสสนาขั้นเยี่ยมในสมัยปัจจุบัน จากเนื้อธรรมที่ท่านแสดงออก ซึ่งเป็นธรรมชั้นสูง
ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดได้มีโอกาสฟังอย่างถึงใจตลอดมาทำให้ปราศจากความสงสัยในองค์ท่านว่าสมควรตั้งอยู่ในภูมิธรรมขั้นใด ท่านมีคนเคารพนับถือศรัทธามาก ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ในภาคต่าง ๆ เกือบทั่วทั้งประเทศไทยและต่างประเทศนอกจากนั้นท่านยังมีสายศิษย์ทั้งนักบวชและฆราวาสในประเทศลาวอีกมากมายที่เคารพเลื่อมใสในตัวท่านอย่างถึงใจตลอดมา
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ มีประวัติงดงามมากทั้งเวลาเป็นคฤหัสถ์และเวลาทรงเพศเป็นนักบวชตลอดอวสานสุดท้าย ไม่มีความด่างพร้อยเลยซึ่งเป็นประวัติที่หาได้ยากในสมัยปัจจุบัน ความเป็นผู้มีประวัติอันงดงามตลอดสายนี้รู้สึกจะหาได้ยากยิ่งกว่าหาเพชรหาพลอยเป็นไหน ๆ
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้วโดย นายคำด้วง เป็นบิดา นางจันทร์เป็นมารดานับถือพระพุทธศาสนาประจำสกุลตลอดมา
เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม วันที่ 20 มกราคม 2413 ที่บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องกัน 9 คน แต่เวลาท่านมรณภาพปรากฏว่า ยังเหลือเพียง 2 คน ท่านเป็นคนหัวปีมีรูปร่างเล็กผิวขาวแดงมีความเข้มแข็งว่องไวประจำนิสัย มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดมาแต่เล็กพออายุได้ 15 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ในสำนักวัดบ้านคำบง มีความสนใจและรักชอบในการศึกษาธรรมะ เรียนสูตรต่าง ๆ ในสำนักอาจารย์ได้อย่างรวดเร็ว มีความประพฤติและอัธยาศัยเรียบร้อยไม่เป็นที่หนักใจหมู่คณะและอาจารย์ที่ให้ความอนุเคราะห์
เมื่อบวชได้ 2 ปีท่านจำต้องสึกออกไปตามคำขอร้องของบิดาที่มีความจำเป็นต่อท่าน แม้สึกออกไปแล้ว ท่านก็ยังมีความมั่นใจที่จะบวชอีกเพราะมีความรักในเพศนักบวชมาประจำนิสัย เวลาสึกออกไปเป็นฆราวาสแล้วใจท่านยังประหวัดถึงเพศนักบวชมิได้หลงลืมและจืดจาง ทั้งยังมั่นใจว่าจะกลับมาบวชอีกในไม่ช้า ทั้งอาจจะเป็นเพราะอำนาจศรัทธาที่มีกำลังแรงกล้าประจำนิสัยมาดั้งเดิมก็เป็นได้
พออายุได้ 22 ปี ท่าน มีศรัทธาอยากบวชเป็นกำลังจึงได้ลาบิดามารดาท่านทั้ง 2 ก็อนุญาตตามใจไม่ขัดศรัทธา เพราะมีความประสงค์จะให้ลูกของตนบวชอยู่แล้วพร้อมทั้งมีศรัทธาจัดแจงบริขารในการบวชให้ลูกอย่างสมบรูณ์ ท่านได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเลียบในตัวเมืองอุบลฯ
มีท่านพระอริยกวีเป็นพระอุปัชฌายะ ท่านพระครูสีทาเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านพระครูประจักษ์อุบลคุณเป็นพระอนุศาสนาจารย์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2436 พระอุปัชฌายะให้ฉายาว่า ภูริทัตโต เมื่ออุปสมบทแล้วได้มาอยู่ที่สำนักวิปัสสนากับพระอาจารย์ เสาร์ กันตสีโล วัดเลียบเมืองอุบลฯ เป็นเวลาหลายปี พระอาจารย์ กันตสีโล ได้พาท่านไปเที่ยวศึกษาธรรมปฏิบัติในสถานที่ต่าง ๆ และไปทางฝั่งซ้ายเมืองหลวงพระบางและที่อื่น ๆ
ซึ่งท่านได้เล่าว่าเคยพากันป่วยแทบกลับมาไม่รอดเพราะป่วยทั้งตัวท่านเองและพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล ด้วยท่านเลยมาระลึกถึงธรรมปฏิบัติโดยไปในที่สงัดแห่งหนึ่งพิจารณาความตามจิตเลยลงสู่ภวังค์ขจัดโรคาพาธไปได้ในขณะนั้น
และท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระเที่ยวจารึกไปในสถานที่ต่าง ๆ อันเป็นสถานที่พอจะพาคณะเจริญสมณธรรมได้ ภายหลังครั้นเมื่อพระภิกษุสามเณรได้ยินว่าท่านมาทางนี้ก็ได้เข้ามาศึกษาธรรมปฏิบัติ แต่แรกๆ มีน้อยที่เป็นพระภิกษุสามเณรถือนิกายอื่นแต่ได้เข้ามาปฏิบัติก็มีอยู่บ้าง
โดยที่ท่านมิได้เรียกร้องหรือชักชวนแต่ประการใดต่างก็น้อมตัวเข้ามาศึกษาปฏิบัติเมื่อได้รับ
โอวาสและอบรมก็เกิดความรู้ความฉลาดเลื่อมใสเกิดขึ้นในจิตในใจบางท่านก็พยายามเปลี่ยนจากนิกายเดิมกลับเข้ามาเป็นนิกายเดียวกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ บางท่านก็ไม่ได้เปลี่ยนนิกายท่านพระอาจารย์มั่น
ภูริทัตตเถระก็มิได้บังคับแต่ประการใด
และเป็นจำนวนมากที่ยอมเปลี่ยนจากนิกายเดิมแม้ว่าท่านพระเถระทั้งหลายนี่แหละเมื่ออบรมได้รับความเลื่อมใสในธรรมแล้วก็นำไปเล่าสู่กันฟังตามลำดับอาศัยเหตุนี้จึงทำให้ ผู้ต้องการพ้นจากกองทุกข์ซึ่งอุปนิสัยวาสนาได้อบรมเป็นทุกข์ดังที่ว่ามาแล้วแต่หนหลังก็ได้พยายามออกติดตามขอปฏิบัติด้วยเป็นจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ
ด้วยความที่ท่านหวังเพื่อเป็นประโยชน์แก่ชนเป็นอันมากเหตุนั้นท่านจึงไม่อยู่เป็นที่เป็นทาง หลักแหล่ง เฉพาะแห่งเดียวเที่ยวไปเพื่อประโยชน์แก่ชนในสถานที่นั้น ๆ ดังนี

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top