เขียวเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย สมุทรปราการ-wison - webpra
VIP
สมัครเล่นครับ เรียนรู้จากของแท้เท่านั้น

หมวด เครื่องรางของขลัง

เขียวเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย สมุทรปราการ

เขียวเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย สมุทรปราการ - 1เขียวเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย สมุทรปราการ - 2เขียวเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย สมุทรปราการ - 3เขียวเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย สมุทรปราการ - 4
ชื่อร้านค้า wison - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เขียวเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย สมุทรปราการ
อายุพระเครื่อง 147 ปี
หมวดพระ เครื่องรางของขลัง
ราคาเช่า 85,000 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 0819460502
อีเมล์ติดต่อ wison41505@gmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ จ. - 29 พ.ค. 2566 - 18:52.43
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 29 พ.ค. 2566 - 18:56.13
รายละเอียด
เขียวเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย สมุทรปราการ

เขี้ยวเสือแกะเป็นเสือสาริกกา ขนาดเล็ก เป็นพิมพ์เสือหุบปาก พิจารณาจากเขี้ยวประมาณว่าสร้าวราวๆ ปี 2420-2453

ส่วนหนึ่งของพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "เสด็จประพาสมณฑลปราจิณ" ที่ทรงกล่าวถึงเสือเขี้ยวแกะของหลวงพ่อปานไว้ว่า "คุณวิเศษที่คนเลื่อมใส คือให้ลงตะกรุด ด้ายผูกข้อมือ รดน้ำมนต์ ที่นิยมกันมากคือ เขี้ยวเสือแกะที่เป็นรูปเสือ เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ฝีมือหยาบๆ ข่าวที่ร่ำลือกันว่า เสือนั้นเวลาจะปลุกเสกต้องใช้หมูมาล่อ ปลุกเสกเป่าเข้าไปเมื่อไรนั้นเสือจะกระโดดลงไปในเนื้อหมูได้ ตัวพระครูเองเห็นจะได้ความลำบากเหน็ดเหนื่อยในการที่ใครๆ กวนให้ลงโน่นลงนี่ เขาว่าบางทีก็หนีไปอยู่บนเขาโพธิ์ลังกา คนก็ยังตามไปกวนไม่เป็นอันหลับอันนอน แต่บริวารเห็นจะได้ผลประโยชน์ในการทำอะไรๆ ขาย เวลาแย่งชิงก็ขึ้นไปถึง 3 บาท ว่า 6 บาทก็มี ได้รูปเสือแล้วจึงไปให้พระครูปลุกเสก สังเกตดูอัธยาศัยเป็นคนแก่ใจดีมีกิริยาเรียบร้อย อายุ 70 แล้วยังไม่แก่มาก รูปร่างล่ำสันใหญ่โต" จากพระราชนิพนธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าการเช่าบูชาเสือหลวงพ่อปานเป็นที่นิยมและมีราคาแพงมากในสมัยนั้น และเป็นที่นิยมมาเนิ่นนาน

หลวงพ่อปาน เกิดที่คลองนางหงษ์ ตำบลบางเหี้ย อำเภอบางบ่อ สมุทรปราการ เมื่อปี พ.ศ. 2368 เป็นบุตรของนายปลื้ม และนางตาล โดยหลวงพ่อปานเป็นบุตรคนที่ 3 ในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 5 คน ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) จวบจนเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบท โดยมี ท่านเจ้าคุณศากยมุนี เป็นพระอุปัชณาย์ ท่านศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐานรวมถึงไสยศาสตร์ และได้รับการถ่ายทอดจากคณาจารย์หลายองค์จนเชี่ยวชาญ

หลังจากศึกษาในเรื่องกรรมฐานจนเป็นที่พอใจแล้ว หลวงพ่อปานก็ได้กราบลาท่านเจ้าคุณพระศรีศากยมุนี เดินทางกลับมายังวัดบางเหี้ย อันเป็นบ้านเกิดในการกลับมาครั้งนี้ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อ หลวงพ่อเรือน ได้ติดตามมาอยู่กับท่านด้วย ต่อมาหลวงพ่อปานและหลวงพ่อเรือนได้ดั้นด้นไปจนถึง "วัดอ่างศิลา" อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และได้ฝากตัวเป็นสานุศิษย์ของ " หลวงพ่อแตง " เจ้าอาวาสวัดอ่างศิลา โดยศึกษาด้านวิปัสสนาธุระไสยเวทย์มนต์ต่าง ๆ จนเชี่ยวชาญและสร้างชื่อเสียงให้หลวงพ่อปานเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะ "เขี้ยวเสือโคร่ง ซึ่งแกะเป็นรูปเสือนั่ง" เมื่อมีความเชี่ยวชาญแล้ว จึงได้อำลาพระอาจารย์ มาพำนักอยู่ที่วัดบ้านเกิดตนเอง และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส โดยมีหลวงพ่อเรือนเป็นรองเจ้าอาวาส ซึ่งทั้งสองรูป ได้ปกครองพระลูกวัด ทั้งด้านการศึกษาและการปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการปฏิบัติท่านจะอบรมสั่งสอนการปฏิบัติกรรมฐาน ให้แก่พระภิกษุ สามเณร ตลอดจนประชาชนพุทธบริษัทมิได้ขาด และตัวท่านเองก็ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดจนพระเณรเคารพยำเกรงท่านเป็นอันมาก

ระหว่างรัชกาลที่ ๕ เสด็จมาประทับอยู่ประตูน้ำบางเหี้ยเป็นเวลา ๓ วัน พระองค์ได้รับสั่งให้นิมนต์หลวงพ่อปานเข้าเฝ้าเพื่อไต่ถามในเรื่องต่างๆ ขณะที่หลวงพ่อปานเดินทางไปเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวนั้น ท่านได้ให้เด็กชายป๊อดถือพานใส่เขี้ยวเสือที่แกะเป็นรูปเสือไปด้วย เมื่อไปถึงที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ หลวงพ่อปานได้เรียกเอาพานใส่เขี้ยวเสือจากเด็กชายป๊อดที่ถือติดตามท่านไป แต่เด็กชายป๊อดบอกว่า "เสือไม่มีแล้ว" เพราะมันกระโดดน้ำไปในระหว่างทางจนหมดแล้ว หลวงพ่อปานจึงให้นำเอาดินเหนียวมาปั้นเป็นหมูแล้วเสียบกับไม้แกว่งล่อเอาเสือขึ้นมาจากน้ำ หน้าพระพักตร์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ซึ่งประทับทอดพระเนตรอยู่ตลอด จนพระองค์ถึงกับตรัสว่า "พอแล้วหลวงตา" หลังจากนั้นหลวงพ่อได้ถวายเขี้ยวเสือแกะนั้นแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ทรงพิจารณาชั่วครู่ จึงตรัสถามชื่อพระเถระรูปร่างสูงใหญ่ ผู้ปลุกเสกเขี้ยวเสือหลวงพ่อปานทูลว่าท่านชื่อ ปาน ( ติสฺสโร ) เป็นเจ้าอาวาสวัดบางเหี้ย พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ มีรับสั่งกับพระปานว่า
"ได้ยินชื่อเสียงและกิตติคุณมานาน เพิ่งเห็นตัววันนี้" แล้วรับสั่งถามว่า "ที่แจกเครื่องรางเป็นรูปเสือมีความหมายว่าอย่างไร"
หลวงพ่อปานทูลตอบว่า "ได้ไปรุกขมูลธุดงค์ในป่า พบเสือใหญ่หลายครั้ง ได้สังเกตดูเห็นว่า "เสือ" เป็นสัตว์ปราดเปรียวฉลาด ว่องไว เฉียบขาด มีตบะและอำนาจ สามารถที่จะใช้ตาสะกดสัตว์อื่นให้อยู่ในอำนาจได้ คนทั่วไปเรียกผู้ร้ายใจฉกรรจ์ว่า "ไอ้เสือ" ก็คือเอาความเก่งกาจของเสือมานั้นเอง การที่ทำเครื่องรางรูปเสือ มิใช่สนันให้คนกลายเป็น "ไอ้เสือ" เพียงแต่ต้องการเอาลักษณะของเสือจริงในป่าที่ปราดเปรียว ว่องไว เฉลียวฉลาด เฉียบขาดมาเป็นตัวอย่างเท่านั้น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงพอพระทัยในคำตอบของพระปานยิ่งนัก (ด้วยท่านมิได้โอ้อวดว่า เครื่องรางของท่านดีเด่น แต่ประการใด) ทรงพระราชทานผ้าไตรและผ้ากราบ ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ"

ตั้งแต่นั้นมา เสือของหลวงพ่อปานจึงยิ่งเป็นที่เลื่องลือกันในสมัยนั้นมาก เพราะพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงสนพระทัยในเขี้ยวเสือของหลวงพ่อปาน จึงทำให้พสกนิกรทั่วไปต่างพูดถึงเรื่องความสนพระทัยของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ที่มีต่อเขี้ยวเสือของหลวงพ่อปาน ซึ่งทำให้เขี้ยวเสือของหลวงพ่อปานเป็นที่ต้องการและเสาะแสวงหาของบุคคลทั่วไป ตั้งแต่ชนชั้นสูงในพระราชสำนักจนถึงชาวบ้านทั่วไป ที่อยากจะมีไว้ครอบครองซักตัว และเมื่อมาถึงปัจจุบันจึงเป็นของอันล้ำค่าหาได้ยากมากในปัจจุบัน เพราะท่านสร้างจากเขี้ยวเสือจริง และสร้างไว้น้อยมาก เมื่อใครได้ไปก็ไม่อยากให้ใครรู้ว่าตัวเองมี จึงไม่ค่อยปรากฏให้เห็นมากนัก

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top