หมวด หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก - หลวงปู่ดู่ วัดสะแก – หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน
เหรียญหล่อโบราณพระประจำวัน ปางสมาธิ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ออกที่วัดห้วยสุวรรณวณาราม ปี 2495
ชื่อร้านค้า | บูชาครู - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญหล่อโบราณพระประจำวัน ปางสมาธิ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ออกที่วัดห้วยสุวรรณวณาราม ปี 2495 |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก - หลวงปู่ดู่ วัดสะแก – หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 0888822123 |
อีเมล์ติดต่อ | buchakru@gmail.com |
สถานะ | คลิ๊กที่นี่เพื่อดูรายการประมูล |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | อ. - 24 ก.ย. 2562 - 08:29.44 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ศ. - 01 มี.ค. 2567 - 20:57.25 |
รายละเอียด | |
---|---|
***** ค่าบูชา 1,500 บาท ***** ### เหรียญพระสมเด็จหล่อ 2 หน้า หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ออกวัดห้วยสุวรรณ ปี 2494 องค์นี้ เป็นพิมพ์พระประจำวันวันพฤหัสบดี วัดห้วยสุวรรณฯ เป็นเหรียญหล่อโบราณ ดินไทย ตัดช่อ ขนาดเหรียญหล่อประมาณพิมพ์คะแนน ผิวน้ำตาลเข้ม มีคราบเบ้า ตกแต่งด้วยตะไบหยาบ ซึ่งถือเป็นเป็นลักษณะมาตรฐานแท้ 100% ของเลียนแบบมีมานานแล้วนะครับ ศึกษาพิจารณาพระแท้แบบหล่อโบราณให้ดี องค์นี้เก็บรักษาไว้ตลอดเพียงองค์เดียว ไม่เคยนำติดตัวครับ ### จากวิทยาทานความรู้ของเหรียญหล่อชุดนี้ (user jorawis) ทางวัดห้วยสุวรรณวณารามออกเมื่อประมาณปี 2493-2494 ด้านหน้าจะเป็นรูปพระพิมพ์สมาธิ และด้านหลังจะเป็นรูปพระประจำวันปางต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเช่าหากันเป็นของหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ซึ่งจริง ๆ แล้วในวงการพระเครื่องถือว่าไม่ผิด เพราะหลวงพ่อจงเป็นประธานในพิธี เหรียญนี้ปลุกเสกหมู่ครับ มีเกจิดัง ๆ ยุคนั้น เข้าร่วมพิธีมากมาย เช่น หลวงพ่อมุ่ยวัดดอนไร่ ฯลฯ ชนวนโลหะบางส่วนจากวัดสุทัศน์ฯ และโลหะอาถรรพ์ต่าง ๆ จากทั่วทุกสารทิศ พระเนื้อโลหะผสมแก่ทองเหลือง หรือเนื้อทองเหลืองในยุคนั้น ส่วนใหญ่ จะถูกใช้งานครั้งเดียว หรือน้อยครั้ง ในยุคนั้นยังไม่มีการ Recycle โลหะ เนื่องจากทรัพยากรยังมีเหลือเฟือ เพราะเน้น หากเป็นพระหล่อหรือเหรียญหล่อเนื้อทองเหลือง จึงเป็นทองเหลืองเนื้อบริสุทธิ์ เนื้อหาจะออกเหลืองอมเขียวเป็นลักษณะทองดอกบวบ ถึงแม้ว่าจะมีการผสมชนวนเก่าหรือโลหะต่าง ๆ ที่เกจิฯ ลงยันต์ต่าง ๆ มาให้ ลักษณะของเนื้อโลหะที่ได้ก็จะมีลักษณะใกล้เคียงกับที่กล่าวมา ผิดกับเนื้อหาของทองเหลืองในปัจจุบัน เนื้อจะถูกหลอมมาใช้หลายครั้งหลายหนจนหมดยาง ผิวและเนื้อหาที่ได้พระหล่อชุดนี้จะเป็นสีเข้มกว่าออกไปทางน้ำตาลมากกว่าออกเป็นสีทอง และมีเศษโลหะ และเศษดินเบ้า (ในบางองค์ ) ติดอยู่ตามพื้นผิว ซึ่งเป็นธรรมดาของพระที่หล่อด้วยกรรมวิธีโบราณ ด้วยการผสมดินกับมูลโค จากนั้น จึงหลอมโลหะเทเป็นลักษณะของช่อชนวน แล้วจึงตัดช่อเพื่อมา ตบแต่งให้เรียบร้อยที่สุดในยะเวลาสั้น ๆ ด้วยตะไบเบอร์ใหญ่ หากมีรอยตะไบด้วยเบอร์ขนาดเล็กละเอียดในร่องรอยตะไบจะต้องแห้งผิวเป็นผิวเดียวกัน ไม่สดใหม่หรือเหลือบวาว เพื่อให้ทันตามฤกษ์ยามที่จะตั้งเครื่องพิธี |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments