พระเหนือพรหม ปี 2531 หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา-บูชาครู - webpra
VIP
ธรรมะ และ วัตถุมงคล คือของขวัญที่มอบไว้แทนความห่วงใยจากครู...ครูสิทธิ์ ครูธงค์ องอาจไม่ประมาทครู

หมวด หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก - หลวงปู่ดู่ วัดสะแก – หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน

พระเหนือพรหม ปี 2531 หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระเหนือพรหม ปี 2531 หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา - 1พระเหนือพรหม ปี 2531 หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา - 2พระเหนือพรหม ปี 2531 หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา - 3
ชื่อร้านค้า บูชาครู - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระเหนือพรหม ปี 2531 หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก - หลวงปู่ดู่ วัดสะแก – หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 0888822123
อีเมล์ติดต่อ buchakru@gmail.com
สถานะ กำลังประมูล คลิ๊กที่นี่เพื่อดูรายการประมูล
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ จ. - 08 ส.ค. 2565 - 09:05.27
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อ. - 30 ส.ค. 2565 - 06:09.48
รายละเอียด
***** ค่าบูชา 15,000 บาท *****

### พระเหนือพรหมเต็มองค์ เนื้อดินเผา มีทั้งแบบดินเผาสีแดง และดินเผาสีขาว จัดสร้าง พ.ศ. 2531 หลวงปู่ดู่อธิษฐานจิตไว้ให้เป็นอย่างดี ต้องบอกว่าพิมพ์ปี 31 มีการสร้างถวายโดยคณะศิษย์เท่าที่เห็นมีอยู่ 2 พิมพ์ ซึ่งทั้ง 2 พิมพ์ทรงมีความต่างกันอย่างชัดเจน มีทั้งแบบเคลือบแชล็คและไม่เคลือบ องค์นี้ มาพร้อมกล่องเดิม ๆ ยังมีจารด้านหลังองค์พระทั้งบนและล่าง ไม่แน่ใจว่าหลวงปู่ดู่หรือหลวงลุงลำใยเป็นผู้จารให้ จึงค่อนข้างหายากพอ ๆ กับบล็อกโกโอ่งเช่นเดียวกันครับ ###

-----------------------

ที่มา : คอลัมน์ มุมพระเก่า / อภิญญา / หนังสือพิมพ์ข่าวสด

"หลวงปู่ดู่" ท่านเป็นแบบอย่างของผู้มักน้อยสันโดษ ใช้ชีวิตเรียบง่าย แม้สรงน้ำไม่เคยใช้สบู่ แต่ก็ไม่มีกลิ่นตัว แม้ในห้องท่านจำวัดมีผู้ปวารณาจะถวายเครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้ ส่วนใหญ่ท่านจะปฏิเสธ คงรับไว้บ้างเท่าที่เห็นว่าไม่เกินเลยอันจะเสียสมณสารูป และใช้สอยพอให้ผู้ถวายเกิดความปลื้มปีติ ก่อนยกให้เป็นของสงฆ์ ข้าวของต่างๆ ที่เป็นสังฆทาน ถึงเวลาเหมาะควรท่านก็จะระบายออก จัดสรรไปให้วัดต่างๆ ที่อยู่ในชนบทและยังขาดแคลน

ท่านย้ำเสมอว่า ท่านเป็นคนบ้านนอกไม่มีความรู้ ดังนั้น เวลาพูดจาสนทนากับลูกศิษย์ ก็พูดกันแบบชาวบ้าน ไม่มีพิธีรีตองหรือวางเนื้อวางตัว แต่พูดแล้วแทงเข้าไปถึงก้นบึ้งหัวใจของผู้ฟัง

เมื่อมีผู้เลื่อมใสมาก มีผู้เสนอตัวเป็นนายหน้าคอยจัดแจงเกี่ยวกับแขกที่จะเข้ามานมัสการ ด้วยเจตนาดีอันเกิดจากความห่วงใยในสุขภาพก็ถูกท่านห้ามปรามเสมอ เพราะไม่ต้องการให้ผู้ดั้นด้นมาเสียกำลังใจ หากมีผู้สนใจการปฏิบัติกรรมฐาน ท่านจะเมตตาสนทนาธรรมเป็นพิเศษอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย

จริงๆ แล้วท่านเป็นพระพูดน้อย ไม่มากโวหาร จะพูดย้ำอยู่แต่ในเรื่องการปฏิบัติธรรมและความไม่ประมาท เช่น ของดีอยู่ที่ตัวเราหมั่นทำ (ปฏิบัติ) เข้าไว้, ให้หมั่นดูจิต รักษาจิต, อย่าลืมตัวตาย และให้หมั่นพิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

อุบายธรรมของท่านนั้นขัดเกลาจิตใจคนอย่างค่อยเป็นค่อยไป มิได้เร่งรัดเอาผล และให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องของการปฏิบัติสมาธิภาวนา ถึงกับเมตตาให้ใช้ห้องส่วนตัวที่จำวัดเป็นที่รับรองสานุศิษย์และผู้สนใจได้ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม

หากลูกศิษย์คนใดสนใจขวนขวายในการปฏิบัติอย่างจริงจัง ก็จะส่งเสริม สนับสนุน และให้กำลังใจ ที่สำคัญจะไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติธรรมของสำนักอื่นในเชิงลบหลู่ หรือเปรียบเทียบดูถูกดูหมิ่น

หลวงปู่ดู่ท่านเป็นเหมือนพ่อของลูกศิษย์ทุกๆ คนเหมือนอย่างที่พระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่นเรียกท่านว่า "พ่อแม่ครูอาจารย์" ซึ่งถือเป็นคำยกย่องอย่างสูง

นอกจากความอดทนอดกลั้นอันเป็นเลิศ ยังเป็นแบบอย่างของผู้ไม่ถือตัว วางตัวเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ยกตนข่มผู้อื่น เมื่อครั้งที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม) วัดสุทัศนเทพวราราม หรือที่เรียกกันว่า "ท่านเจ้าคุณเสงี่ยม" ซึ่งมีอายุพรรษามากกว่าท่าน 1 พรรษา มานมัสการ โดยยกย่องเป็นครูอาจารย์ เมื่อท่านเจ้าคุณเสงี่ยมกราบท่านเสร็จแล้ว ท่านก็กราบตอบ ต่างองค์ต่างกราบกันและกัน นับเป็นภาพที่พบเห็นได้ยาก

แม้จะมีวัตถุมงคลที่มากด้วยประสบ การณ์ แต่ท่านมิได้ตั้งตัวเป็นเกจิอาจารย์ ที่สร้างหรืออนุญาตให้สร้างพระเครื่อง ก็เพราะเห็นประโยชน์ เนื่องจากบุคคลจำนวนมากยังขาดที่ยึดเหนี่ยวทางใจ ท่านมิได้จำกัดศิษย์เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ศิษย์ของท่านจึงมีกว้างขวางออกไป ทั้งที่ใฝ่ใจในธรรมล้วนหรือที่ยังต้องอิงกับวัตถุมงคล

ท่านเคยพูดว่า "ติดวัตถุมงคล ก็ยังดีกว่าจะให้ได้ติดวัตถุอัปมงคล"

พระเครื่องพระบูชาที่ท่านอธิษฐานจิตปลุกเสกให้แล้วปรากฏผลแก่ผู้บูชาในด้านต่างๆ เป็นเพียงผลพลอยได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ในทางโลก แต่กุศโลบายที่แท้จริงก็คือ มุ่งหวังให้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติภาวนา มีพุทธานุสติกรรมฐาน เป็นต้น

ปฏิบัติยังได้อาศัยพลังจิตที่ท่านตั้งใจบรรจุไว้ในพระเครื่อง ช่วยน้อมนำและประคับประคองให้จิตสงบได้เร็วขึ้น ตลอดจนใช้เครื่องสร้างเสริมกำลังใจ และระงับความหวาดวิตกขณะปฏิบัติ ดังนั้น แม้ว่าจะรับรองในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องที่ท่านอธิษฐานจิตให้ แต่สิ่งที่ท่านยกไว้เหนือกว่านั้นก็คือการปฏิบัติ ดังคำพูดที่ว่า "เอาของจริงดีกว่า พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ นี่แหละของแท้"

หลวงปู่ดู่ ท่านย้ำเสมอว่า บางคนแม้แขวนพระที่ผู้ทรงคุณวิเศษอธิษฐานจิตให้ ก็ใช่ว่าจะรอดปลอดภัย อยู่ดีมีสุข เพราะทุกคนไม่อาจหลีกหนีวิบากกรรมที่ได้สร้างไว้ ธรรมทั้งหลายที่ท่านพร่ำสอน เปรียบได้กับการเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความดีงามบนดวงใจของศิษย์ ที่ท่านทุ่มเทให้ทั้งชีวิต ด้วยเมตตาธรรมยิ่ง

ปัจจุบันวัตถุมงคลประเภทพระเครื่องและเครื่องรางของขลังของหลวงปู่ดู่ ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ลูกศิษย์ลูกหาและนักสะสม โดยเฉพาะ "พระเหนือพรหม" ซึ่งเป็นพระที่มีลักษณะที่แตกต่างกว่าพระเครื่องหรือวัตถุมงคลที่พบโดยทั่วไป

มูลเหตุและแรงจูงใจในการสร้างพระเหนือพรหมของหลวงปู่ดู่ นั้น มาจากบทพระพุทธมนต์ "พาหุงมหากา" ในบทที่ 8 กล่าวไว้ว่า ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะ

แปลได้ว่า เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะ ผกาพรหม ผู้มีทิฏฐิแรงกล้าสำคัญว่าตนเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงสามารถทำให้ผกาพรหมยอมละทิ้งทิฏฐิมานะ และยอมว่าพระพุทธเจ้าสูงกว่า จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะทิฏฐิมานะของตน

"พรหม" หมายถึงผู้มีนามว่า "ท้าวผกา" มีฤทธิ์และสำคัญตนว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์ มีทิฏฐิที่ถือผิดรัดรึงอยู่อย่างแน่นแฟ้น องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ด้วยวิธีเทศนาญาณ ด้วยเดชะอันนี้ ซึ่งหลวงปู่ดู่ซาบซึ้งในบทพระพุทธ มนต์บทนี้ จึงจัดสร้าง "พระเหนือพรหม" ขึ้น

นอกเหนือจากนั้นยังมีวัตถุมงคลที่อยู่ในบทพระคาถาพาหุงมหากาอีก 7 บท สร้างออกมาอีก 7 พิมพ์ แต่ที่จัดสร้างมากที่สุดและเป็นที่นิยมที่สุดของบรรดาลูกศิษย์ก็คือ "พิมพ์พระเหนือพรหม" ซึ่งรูปแบบจะเป็นพระพรหมมี 4 พระพักตร์ และพบว่ามีรูปพระพุทธองค์อยู่บนเศียรของพระพรหม

พระชุดนี้จัดสร้างช่วงแรกปี 2517 มีเนื้อเดียวคือ "เนื้อผงสีขาว" หรือที่เรียกกันว่า "ผงมหาจักรพรรดิ" ที่หลวงปู่ดู่ลบผงด้วยตัวท่านเอง พระบางองค์มีคราบสีเหลือง มาจากที่ท่านนำพระเหนือพรหมแช่น้ำชาที่ท่านชงดื่ม และจะเป็นที่นิยมมากในบรรดาลูกศิษย์...

"พระเหนือพรหมเนื้อผง" ในยุคแรกนั้น ท่านจะไม่มีการปั๊มยันต์หมึกรูปกงจักร ซึ่งยันต์หมึกนี้ปั๊มหลังจากที่ท่านมรณภาพและคณะกรรมการวัดสะแกในสมัยนั้น เข้าไปสำรวจทรัพย์สินทั้งหมด และทำยันต์ปั๊มออกมาเพื่อป้องกันการปลอมแปลง ปัจจุบันสนนราคาเล่นหาสูงขึ้นอย่างมาก แม้จะมีของเก๊ระบาดหนักก็ตาม ส่วนประสบการณ์นั้นลูกศิษย์ทุกคนเชื่อว่า ใครผู้ใดมีพระเหนือพรหมของหลวงปู่ดู่ไว้บูชาและปฏิบัติดี คนผู้นั้นจะมีแต่ความเจริญก้าวหน้าในชีวิต และเรื่องโชคลาภ ลูกศิษย์หลายคนได้สัมผัสมาแล้ว

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top