หมวด พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
พระร่วงนั่งซุ้มชินราช เนื้อครั่งพุทรา กรุวังหน้า กทม.
ชื่อร้านค้า | Ben Suphun - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระร่วงนั่งซุ้มชินราช เนื้อครั่งพุทรา กรุวังหน้า กทม. |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง |
ราคาเช่า | 10,000 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | 0860662966 |
อีเมล์ติดต่อ | buamongkol2011@hotmail.com |
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | จ. - 08 พ.ย. 2564 - 19:38.33 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | จ. - 08 พ.ย. 2564 - 19:38.33 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระกรุวังหน้า พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ในรัชสมัย ร.๑ ได้มีการสร้างพระบรมมหาราชวัง และวัดพระรัตนศรีศาสดาราม (วัดพระแก้ว) เพื่อเป็นที่ประทับ และเป็นศูนย์กลางของราชธานีกรุงรัตนโกสินทร์ ในระหว่างนั้นจึงยังไม่ได้ก่อสร้างที่ประทับถาวรของวังหน้า จนลุล่วงมาถึงสมัย ร.๓ จึงได้ก่อสร้างวังหน้าแล้วเสร็จ พร้อมกันนี้ได้ก่อสร้างวัดพระแก้ววังหน้าไว้คู่กัน เป็นการยึดถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ตั้งของวังหน้า คือกรมศิลปากร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในปัจจุบัน และวัดพระแก้ววังหน้า คือวัดบวรสถานสุทธาวาส อยู่ถัดจากโรงละครแห่งชาติในปัจจุบัน ผู้ที่ได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งวังหน้า จะเปรียบเป็นพระมหาอุปราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาในสมัย ร.๔ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระองค์ได้แต่งตั้งพระอนุชา (เจ้าฟ้าจุธามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์) ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นวังหน้า โดยมีพระอิสริยยศเทียบเท่าพระมหากษัตรย์องค์ที่สอง มีพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจาก ร.๔ ทรงขึ้นครองราชย์ พระองค์ท่านมีรับสั่งให้ตามตัวสมเด็จโตที่ออกธุดงค์ไปจากพระนครเป็นเวลานานแล้ว กลับมาที่วัดระฆัง และทรงแต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะ ซึ่งสมเด็จโตเคยปฏิเสธไปก่อนหน้านี้ในรัชสมัย ร.๓ สมเด็จโตมีความคุ้นเคยกับ ร.๔ และพระปิ่นเกล้าฯ ตั้งแต่เมื่อยังทรงพระเยาว์ขณะบวชเป็นสามเณร โดยสมเด็จโตได้รับนิมนต์ให้เป็นพระพี่เลี้ยง และครูสอนหนังสือขอมคัมภีร์มูลกัจจายน์ ดังนั้นเมื่อ ร.๔ จะทรงแต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะ ท่านจึงไม่ปฏิเสธ และได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ จากพระเทพกวีศรีวิสุทธินายก เป็นพระธรรมกิตติโสภณ และสุดท้ายได้รับสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ ในพระราชพิธีต่าง ๆ นอกจากสมเด็จโตจะได้รับนิมนต์ให้ร่วมในพิธีสงฆ์แล้ว ท่านยังรับเป็นธุระในการร่วมสร้างพระ เพื่อแจกจ่ายเจ้านายและข้าราชบริพารในแต่ละครั้งด้วย พระที่เหลือจากการแจกจ่าย จะแบ่งส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่วัดพระแก้ววังหน้า พระสมเด็จ และพระประเภทอื่น ๆ ที่สร้างโดยช่างหลวง และพิมพ์พระในเขตพระราชฐานวังหน้า จะมีให้เห็นมากมาย เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ในรัชสมัย ร.๔ เรื่อยมาจนถึงต้นรัชสมัย ร.๕ ในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ พระที่เก็บไว้ที่วัดพระแก้ววังหน้า จะถูกรวมเรียกว่าพระกรุวังหน้าทั้งหมด ทั้งนี้รวมถึงพระที่สร้างขึ้นภายหลังจากที่สมเด็จโตถึงแก่มรณภาพด้วย พระที่เก็บไว้ที่วัดพระแก้ววังหน้า จะมีสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๓๔ เมื่อ ร.๕ ทรงยกเลิกตำแหน่งวังหน้า โดยปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้เข้ากับยุคสมัยตามราชประเพณีของประเทศในยุโรป จึงทรงแต่งตั้งตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชแทน ตั้งแต่รัชสมัย ร.๑ เรื่อยมา ได้เริ่มให้หัวเมืองแจ้งทะเบียนพระพุทธรูปสำคัญเข้ามาที่พระนคร และได้คัดเลือกที่จะอัญเชิญพระพุทธรูปมาเก็บรักษาไว้ที่พระนคร พระพุทธรูปที่ส่งมาถึงพระนครแล้ว จะนำไปประดิษฐานที่วัดต่างๆ รวมทั้งวัดที่สร้างขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้จึงมีพระพุทธรูปโบราณส่วนหนึ่งที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก (หน้าตักประมาณไม่เกิน ๒๐ นิ้ว) ซึ่งไม่ได้นำไปจัดวางตามระเบียงอุโบสถของวัดที่สร้างขึ้นใหม่ ถูกนำมาประดิษฐานที่วัดพระแก้ววังหน้าด้วย นอกจากนี้แล้วยังมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาใหม่อีกจำนวนหนึ่งเช่นกัน พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่จะมีพุทธศิลปยุครัตนโสินทร์ตอนต้น ประวัติการนำพระมาประดิษฐานที่วัดพระแก้ววังหน้านี้ ยังไม่สามารถหาเอกสารอ้างอิงได้ แต่พบว่ามีพระพุทธรูปที่เคยเก็บไว้ที่วัดพระแก้ววังหน้าจำนวนมากมาย ไม่อาจจำแนกประเภทและปริมาณได้ ในปี พ.ศ. ๒๔๐๑ ได้ก่อสร้างพระธาตุพนมจำลองที่ด้านหน้าของวัดพระแก้ววังหน้าเสร็จ มีพระราชพิธีสมโภชเฉลิมฉลองพระธาตุพนมจำลอง พร้อมทั้งมีการสร้างพระเครื่องรูปแบบต่าง ๆ จำนวนมากมาย เพื่อบรรจุไว้ในองค์พระธาตุพนมจำลอง รวมถึงการนำพระสมเด็จพิมพ์เก่าแก่ ตั้งแต่ยุคต้นของการสร้างพระของสมเด็จโตไปบรรจุไว้ พระสมเด็จที่นำไปบรรจุกรุนี้ ส่วนใหญ่จะทาเคลือบด้วยรักดำ และปิดทองคำเปลวที่ด้านหน้า นานเข้ารักดำจะเริ่มหลุดร่อนออก แต่ยังคงมีคราบจับที่ผิวมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป หลังจากยกเลิกตำแหน่งวังหน้าแล้ว พระบวรสถานวังหน้า และวัดพระแก้ววังหน้า ก็ถูกปล่อยให้ขาดการดูแลรักษาไประยะเวลาหนึ่งจนทรุดโทรมไปมาก ทั้งนี้มีเอกสารอ้างอิงกล่าวถึงการนำพระเครื่องที่วังหน้าไปรวมไว้ที่วัดพระแก้ววังหลวง (วัดพระแก้วมรกต) ทำให้พระจำนวนหนึ่งที่เก็บรักษาในวัดพระแก้ววังหน้า ได้ถูกนำออกไปสู่ภายนอก ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ องค์พระธาตุพนมจำลองได้ทรุดโค่นล้มลง จึงได้รื้อถอนกองซากอิฐออกไป พระที่บรรจุในพระธาตุพนมจำลอง ได้กระจายออกไปสู่ภายนอกเป็นส่วนใหญ่เช่นกัน สรุปช่วงการสร้างพระสมเด็จของสมเด็จโต สมเด็จโตเกิดวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 12 ปี ในปี พ.ศ. ๒๓๔๓ อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุได้ 20 ปี ในปี พ.ศ. ๒๓๕๑ มรณภาพเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ เริ่มสร้างพระครั้งแรก ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๕๕ ขณะเป็นพระลูกวัด อายุ 24 ปี จากนั้นก็ได้สร้างพระสมเด็จเรื่อยมา โดยจัดเป็นกลุ่มพระสมเด็จยุคแรก ที่ค่อยๆพัฒนาพิมพ์ทรงให้มีความงดงามสมส่วนมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงประมาณ พ.ศ. ๒๔๐๐ สร้างพระบรรจุในพระธาตุพนมจำลอง ปี พ.ศ. ๒๔๐๑ และนำพระสมเด็จพิมพ์ทรงเก่ามารวมไว้ด้วย ส่วนพระสมเด็จที่สร้างใหม่จะเคลือบรักแดง รักดำทั้งองค์ หรือเฉพาะที่ด้านหน้าและปิดทองคำเปลว สร้างวัดไชโย และพระสมเด็จเกศไชโยบรรจุในพระพุทธรูปองค์โต ปีพ.ศ. ๒๔๐๔ โดยใช้แม่พิมพ์เก่าของวัดระฆังที่ชุดที่ญาติโยมแกะถวายมาใช้พิมพ์พระ ได้บูรณะพระพุทธรูปที่ทรุดตัวแตกร้าวประมาณปี พ.ศ. ๒๔๐๘ โดยสร้างพระเพิ่มขึ้นทดแทนส่วนที่ชาวบ้านนำพระออกไป บูรณะพระธาตุพนมองค์จริงเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๐๘ ได้สร้างพระบรรจุในพระธาตุพนม โดยใช้ปูนและทรายฉาบองค์พระธาตุเดิมที่หลุดล่อนออกมาผสมเป็นมวลสาร และแบ่งพระจากพระธาตุพนมจำลองจำนวนหนึ่งไปบรรจุไว้ด้วย (พระธาตุพนมได้โค่นล้มลงในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ พบพระสมเด็จพิมพ์ต่าง ๆ จำนวนมาก ส่วนใหญ่ยังเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุพนม) สร้างพระสมเด็จ และพระอื่นๆหลากหลายแบบ ในพิธีบรมราชาภิเษก ร.๕ ปี พ.ศ. ๒๔๑๑ ส่วนหนึ่งบรรจุไว้ที่วัดพระแก้ววังหน้า พร้อมทั้งสถาปนาสมเด็จวังหน้าพระองค์ใหม่ พระสมเด็จที่สร้างใหม่ในระหว่างปีพ.ศ. ๒๔๐๘ – ๒๔๑๑ นี้จะมีพิมพ์พระสมเด็จยุคสุดท้ายรวมอยู่ด้วย โดยบางส่วนจะนำไปเคลือบรักแดง รักดำ และปิดทองคำเปลวที่ด้านหน้า สร้างพระสมเด็จบางขุนพรหม ปี พ.ศ. ๒๔๑๓ โดยนำแม่พิมพ์เก่าของพระสมเด็จวัดระฆังส่วนหนึ่งมาใช้พิมพ์พระ และแกะแม่พิมพ์ขึ้นใหม่อีกส่วนหนึ่ง ในปี พ.ศ. ๒๔๐๘ พระปิ่นเกล้าเสด็จสวรรคต ทำให้ตำแหน่งวังหน้าว่างลง ไม่ได้มีการแต่งตั้งเชื้อสายพระวงศ์องค์ใดขึ้นมาสืบทอดตำแหน่ง จึงว่างเว้นจากตำแหน่งวังหน้าไปจนหมดรัชสมัย ร.๔ เมื่อเริ่มรัชสมัย ร.๕ ในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้แต่งตั้งตำแหน่งวังหน้าพระองค์ใหม่คือ กรมพระราชวังบวรวิโชยชาญ (พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ) ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระปิ่นเกล้า สืบต่อตำแหน่งวังหน้าจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๒๘ ได้เสด็จสวรรคต จึงสิ้นสุดตำแหน่งวังหน้า ในปี พ.ศ. ๒๔๐๘ เช่นกัน ร.๔ ได้โปรดเกล้าให้เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ (ร.๕) บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อลาสิกขาบทแล้วได้โปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ เลื่อนเป็นกรมขุนพินิจประชานาถ ในปี พ.ศ. ๒๔๑๐ ก่อนที่จะได้บรมราชาภิเษกเป็น ร.๕ ในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ ในแต่ละวาระนี้จะมีการสร้างพระขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายและนำส่วนหนึ่งมาเก็บไว้ที่วัดพระแก้ววังหน้าด้วย ช่วงเวลาที่สิ้นรัชสมัย ร.๔ และพิธีบรมราชาภิเษก ร.๕ นั้น ได้มีการเตรียมสร้างพระเพื่อเฉลิมฉลองพิธีบรมราชาภิเษกจำนวนหนึ่ง กอปร์กับ ร.๕ ยังทรงพระเยาว์ ต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนกว่าจะมีพระชนมายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงจะขึ้นครองราชย์ได้อย่างสมบูรณ์ ช่วงเวลาอีกห้าปีนี้จึงได้ทะยอยสร้างพระพุทธรูป รูปเหมือนสมเด็จโตและหลวงปู่ทวด รูปจำลององค์เทพโดยเฉพาะพระพิฆเนศ (ตามพระนามเดิมของ ร.๕) พระกริ่งและพระสมเด็จพิมพ์ต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมากเพื่อเตรียมเฉลิมฉลองในพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่สอง ซึ่งจะจัดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ พระที่สร้างเสร็จส่วนใหญ่ก็จะนำไปเก็บรักษาไว้และทำพิธีพุทธาภิเษกเรื่อยมาจนได้จัดให้มีพิธีพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ โดยพระที่สร้างขึ้นนี้จะระบุปี พ.ศ. ๒๔๑๑ ซึ่งเป็นปีที่ทรงขึ้นครองราชย์ไว้ พระสมเด็จที่สร้างขึ้นในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๑๖ นี้ จึงมีทั้งที่ใช้แม่พิมพ์เดิมและแกะแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่โดยช่างหลวง การพิมพ์พระจะทำโดยช่างหลวงที่มีความปราณีตบรรจงกว่าพระที่พิมพ์จากวัดระฆัง จะมีความคมชัดและงดงามกว่าแม่พิมพ์ที่นำมาจากวัดระฆัง แต่นักนิยมพระ(เชิงพาณิชย์)จะไม่ยอมรับว่าเป็นพระที่จัดสร้างโดยสมเด็จโต ทั้งนี้เพราะว่าจะมีทั้งพระที่สร้างเสร็จก่อนและหลังสมเด็จโตมรณภาพ แม้ว่าจะมีมวลสารที่สมเด็จโตจัดเตรียมไว้เป็นส่วนผสมหลัก แต่ปูนและมวลสารที่ใช้ผสมในการพิมพ์พระก็มีหลากหลายมากกว่าพระที่พิมพ์จากวัดระฆัง โดยนำปูนเพชร(ปูนกังไส)จากเมืองจีนมาเป็นส่วนผสมด้วย และใช้ผงสีเป็นส่วนผสมในเนื้อพระมากขึ้น (ทำให้มีการสร้างพระสมเด็จเบญจสิริ และพระสมเด็จสีต่างๆ) เนื้อพระสมเด็จที่สร้างในข่วงนี้ หากผสมปูนเพชรจะทำให้ดูละเอียดและเห็นการหดย่นที่ผิวน้อยกว่าพระที่พิมพ์จากวัดระฆังซึ่งใช้ปูนเปลือกหอยเผาเป็นหลัก นอกจากการสร้างพระสมเด็จพิมพ์ทรงต่าง ๆ แล้ว สมเด็จโตยังได้ศึกษาตำราการสร้างพระกริ่งโบราณ ของสมเด็จพระพนรัตน์ในยุคสมัยอยุธยา โดยให้ช่างหลวงปรับแต่งพิมพ์ทรงของพระกริ่ง จากต้นแบบของพระกริ่งจีนโบราณให้งดงาม เพื่อหล่อพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ในพระราชพิธีต่าง ๆ การจัดสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ จึงอยู่ในการกำกับดูแลของเชื้อสายพระวงศ์วังหน้า (พระปิ่นเกล้า) ตั้งแต่เริ่มรัชสมัย ร.๔ เรื่อยมา จนหมดยุคของวังหน้าในรัชสมัย ร.๕ ในส่วนของสมเด็จโตนั้น ท่านรับเป็นธุระในส่วนของสงฆ์ในการจัดสร้างพระสมเด็จ พระกริ่ง และพระในรูปแบบอื่น ๆ ด้วย |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments