พระฐานบัวเล็บช้าง กรุวัดชนะสงคราม กทม.-Ben Suphun - webpra
รับประกันพระแท้ถูกต้องตามมาตราฐานวงการพระเครื่องพระบูชาไทยทุกประการ

หมวด พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง

พระฐานบัวเล็บช้าง กรุวัดชนะสงคราม กทม.

พระฐานบัวเล็บช้าง กรุวัดชนะสงคราม กทม. - 1พระฐานบัวเล็บช้าง กรุวัดชนะสงคราม กทม. - 2
ชื่อร้านค้า Ben Suphun - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระฐานบัวเล็บช้าง กรุวัดชนะสงคราม กทม.
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
ราคาเช่า 6,500 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 0860662966
อีเมล์ติดต่อ buamongkol2011@hotmail.com
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 07 พ.ย. 2564 - 08:29.38
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อา. - 07 พ.ย. 2564 - 08:29.38
รายละเอียด
วัดชนะสงคราม เดิมเป็นวัดโบราณ เล็กๆ ชื่อ “วัดกลางนา” ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างขึ้นให้คล้ายคลึงกับกรุงศรีอยุธยาให้มากที่สุด วัดที่ตั้งอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวังได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ ตลอดจนเปลี่ยนชื่อวัดให้เหมาะสม โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดกลางนาเป็น “วัดตองปุ” และให้เป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ เช่นเดียวกับวัดตองปุที่กรุงศรีอยุธยา

ต่อมา กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งเป็นแม่ทัพไปสู้รบกับพม่าชนะศึกกลับมาทรงพักทัพ ณ วัดนี้ ทรงทำพิธีสรงน้ำเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ทรงถอดฉลองพระองค์ซึ่งลงยันต์ถวายเป็นพุทธบูชา พร้อมทรงอนุญาตแม่ทัพนายกองเช่นกัน ทรงสถาปนาวัด ขยายพระอุโบสถ และนำช่างฝีมือมาปั้นปูนทับเสื้อยันต์แล้วบุภายนอกด้วยดีบุกถวายเป็นพระอารามหลวง

พระวังหน้า ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2496 โดยพระธรรมทัศนาธร (ทองสุก สุทสฺโส) เจ้าอาวาสวัดชนะสงครามสมัยนั้น ได้ขุดพระเจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งเป็นองค์ประธาน ปรากฏพระเครื่องหลากหลายพิมพ์ ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินดิบผสมผงใบลานสีดำ บางองค์เป็นเงางาม ลวดลายเครือเถาชัดเจน เนื้อยุ่ย หักง่าย มีที่เป็นเนื้อดินเผาบ้าง แต่จำนวนน้อยและหายากมาก สีองค์พระจะคล้ายสีหม้อใหม่ มีจุดดำๆ ขึ้นทั่วไป โดยหลักฐานการสร้างและการบรรจุพระเครื่องชุดนี้ เป็นไม้แกะสลักรูปพระสงฆ์ห่มดอง คาดอก นั่งสมาธิ และลงรักปิดทอง ที่ใต้ฐานบรรจุพระธาตุพระอัครสาวกโมคคัลลาน์ ใบลานจารึกอักษรขอมเลอะเลือนผุกร่อน อ่านไม่ชัดเจน พระทองคำทรงแบบวัดตะไกรหน้าครุฑ จึงสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ปัจจุบันเท่าที่พบในวงการมีน้อยมาก คาดว่าน่าจะเป็นที่หวงแหนของผู้ครอบครอง ค่านิยมจึงค่อนข้างสูงมาก

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top