พระพิมพ์สามเหลี่ยมใหญ่ กรุวัดสามปลื้ม กทม.-Ben Suphun - webpra
รับประกันพระแท้ถูกต้องตามมาตราฐานวงการพระเครื่องพระบูชาไทยทุกประการ

หมวด พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง

พระพิมพ์สามเหลี่ยมใหญ่ กรุวัดสามปลื้ม กทม.

พระพิมพ์สามเหลี่ยมใหญ่ กรุวัดสามปลื้ม กทม. - 1พระพิมพ์สามเหลี่ยมใหญ่ กรุวัดสามปลื้ม กทม. - 2
ชื่อร้านค้า Ben Suphun - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระพิมพ์สามเหลี่ยมใหญ่ กรุวัดสามปลื้ม กทม.
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
ราคาเช่า 60,000 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 0860662966
อีเมล์ติดต่อ buamongkol2011@hotmail.com
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 07 พ.ย. 2564 - 08:40.23
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อา. - 07 พ.ย. 2564 - 08:40.23
รายละเอียด
วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร หรือ วัดสามปลื้ม เป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อเดิมว่า "วัดนางปลื้ม" (อาจเป็นนามผู้สร้าง) ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดสามปลื้ม" ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้เกิดเพลิงไหม้ ต่อมาปลายรัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 2 ท่านเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น บรรพบุรุษสกุล สิงหเสนี)


จากนั้นในราวปี พ.ศ.2362 เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ ต้นสกุล สิงหเสนี) ผู้เป็นบุตร จึงได้สืบสานต่อจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2368 แล้วน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้รับพระ ราชทานนามใหม่ว่า "วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร"

วัดสามปลื้มนับเป็นวัดสำคัญมาแต่สมัยโบราณ แต่มาเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ด้วยเหตุที่มีการค้นพบ "พระกรุเก่า" อายุกว่า 150 ปี ซึ่งมีพุทธคุณสูงส่ง เป็นที่นิยมสะสมและแสวงหากันในแวดวงนักนิยมสะสม พระเครื่องพระบูชา ทำให้ชื่อเสียงขจรไกล ให้นามตามชื่อวัดว่า "พระกรุวัดสามปลื้ม"

พระกรุวัดสามปลื้ม ไม่มีหลักฐานระบุ ถึงผู้สร้างเป็นที่แน่ชัด ผู้รู้จึงได้สันนิษฐานขึ้นเป็น 2 ประเด็น คือ

ประเด็นที่หนึ่ง...พระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นผู้สร้างบรรจุในพระเจดีย์ หลังจากบูรณะเป็นที่เรียบร้อย เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา สร้างกุศลแก่บิดาผู้ล่วงลับ

ประเด็นที่สอง...พระอาจารย์พรหม และพระอาจารย์ช้าง สองพระเกจิอาจารย์ผู้เก่งกล้าวิทยาคม ที่อยู่ "คณะกุฏิ" ณ วัดสามปลื้ม เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้สร้าง ขณะนั้น พระธรรมานุกูล (ด้วง) เป็นเจ้าอาวาส


แต่มีหลักฐานระบุการพบไว้ว่า..."พระกรุวัดสามปลื้ม" มีการค้นพบทั้งสิ้น 3 ครั้ง ครั้งแรก ประมาณการว่าในราวปี พ.ศ.2400 โดยพบอยู่ในซากพระเจดีย์ ครั้งต่อมาใน ปีพ.ศ.2414 และ พ.ศ.2483 เมื่อมีการรื้อองค์พระเจดีย์ และจากบันทึก การพบครั้งสุดท้ายนั้นพบถึง 50,000 กว่าองค์ รวมแล้วมีจำนวนพระประมาณ 84,000 องค์ เท่าจำนวนพระธรรมขันธ์พอดี

ลักษณะเนื้อหามวลสาร เป็นพระเนื้อผงเนื้อละเอียด สีขาว แก่น้ำมันตั้งอิ้ว มีลักษณะยุ่ยฟู แตกเปราะ และหักง่าย พระที่พบส่วนใหญ่จึงแตกหักต้องซ่อมทั้งสิ้น หาองค์สวยสมบูรณ์ค่อนข้างยาก และพระเกือบทั้งหมดลงรักปิดทองมาจากกรุ นอกจากนี้ยังมี ผู้พบเห็นชนิดผงดำผสมใบลานเผา, เนื้อตะกั่ว และเนื้อชิน ก็มีผู้พบเห็นจากเจดีย์เมื่อคราวแตกกรุ แต่มีจำนวนน้อยมาก


พระกรุวัดสามปลื้ม เป็นพระศิลปะสกุลช่างราษฎร์ ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ ทั้งสมาธิเพชร และสมาธิราบ เหนืออาสนะฐาน 3 ชั้น มีผ้าทิพย์อยู่ตรงกลางฐานบนและฐานกลาง นอกจากนี้ยังมากมายหลายพิมพ์และหลายรูปทรง ทั้งพิมพ์ห้าเหลี่ยม สามเหลี่ยม และกลีบบัว, เกศแหลม และไม่มีเกศ หรือที่เรียกกันว่า "เศียรโล้น" และยังทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก


แต่ที่เป็นที่นิยมกันในแวดวงพระเครื่อง มีอาทิ พระพิมพ์กลีบบัว (เศียรโล้น), พระพิมพ์กลีบบัว (เศียรแหลม), พระพิมพ์ห้าเหลี่ยม, พระพิมพ์บัวฟันปลา, พระพิมพ์สามเหลี่ยมใหญ่ และพระพิมพ์สามเหลี่ยมเล็ก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พระกรุวัดสามปลื้ม ทุกพิมพ์ ล้วนทรงพุทธคุณเป็นเลิศ ทั้งคงกระพัน แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม ปรากฏเป็นที่ประจักษ์

อาทิ ในคราวเกิดสงครามกรณีพิพาทอินโดจีนกับฝรั่งเศส พระคุณเจ้าพระคุณาจารวัตร ได้นำ "พระกรุวัดสามปลื้ม" ส่วนหนึ่ง ประมาณหนึ่งหมื่นองค์ แจกจ่ายไปตามกระทรวง ทบวง กรม และทหารบก ทหารเรือ ตำรวจ รวมทั้งพระภิกษุสงฆ์และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ผู้อยากได้ไว้สักการบูชาจนหมดสิ้น ในเวลาต่อมา อานุภาพและปาฏิหาริย์ ในช่วงปี พ.ศ.2485-2488 ช่วง "สงครามมหาเอเชียบูรพา" ปรากฏว่าทหารที่ออกรบ ปืนยิงไม่เข้า เมื่อถึงคราวประจัญบานโดยใช้ดาบปลายปืนฝรั่งแทงทหารไทยไม่เข้าเช่นกัน อีกทั้งทหารไทยที่โดนปืนยิงล้มลงไป แล้วยังลุกขึ้นมาต่อสู้ใหม่ได้อีก จนได้ขนานนามว่า "ทหารผี" เป็นต้น


จากนั้นเป็นต้นมา "พระกรุวัดสามปลื้ม" ก็กลายเป็นที่นิยมและแสวงหาสืบมา ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ไหนก็เป็นที่ต้องการทั้งสิ้น แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่า พระส่วนใหญ่จะแตกหักมาจากกรุ

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top