![](/upload/shop/backgrounds/562-a8bf.jpg)
หมวด พระกรุ เนื้อชิน
พระพิจิตรใบข้าว กรุท่าแค เมืองตาก
![พระพิจิตรใบข้าว กรุท่าแค เมืองตาก - 1](/upload/shopItem2/562/663167-1ce24.jpg)
![พระพิจิตรใบข้าว กรุท่าแค เมืองตาก - 2](/upload/shopItem2/562/663167-269b2.jpg)
![พระพิจิตรใบข้าว กรุท่าแค เมืองตาก - 3](/upload/shopItem2/562/663167-33ba8.jpg)
![พระพิจิตรใบข้าว กรุท่าแค เมืองตาก - 4](/upload/shopItem2/562/663167-4f864.jpg)
ชื่อร้านค้า | wison - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระพิจิตรใบข้าว กรุท่าแค เมืองตาก |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระกรุ เนื้อชิน |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 0819460502 |
อีเมล์ติดต่อ | wison41505@gmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ |
![]() |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | ศ. - 27 ก.ค. 2555 - 13:42.22 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | อา. - 07 ก.ค. 2556 - 15:56.34 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระพิจิตรใบข้าว กรุท่าแค เมืองตาก พระกรุวัดท่าแคนั้น แตกกรุเนื่องมาจากทางการสร้างถนน พหลโยธินจากกรุงเทพ ขึ้นไปยังเชียงใหม่ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2498 และเพื่อให้การข้ามแม่น้ำปิงเข้าสู่ ตัวเมืองตาก ทำได้สะดวก จึงได้มีการสร้างสะพานกิตติขจรเพื่อข้ามแม่น้ำเข้าสู่ตัวจังหวัด ที่เชิงสะพานกิตติขจรด้านทิศตะวันออก ก่อนข้ามสะพานเข้าตัวจังหวัด มีศาลหลักเมืองสี่มหาราชซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี 2535 เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสี่มหาราชของชาวไทย ที่ได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากนี้ อันมีพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ได้กระทำยุทธหัตถีกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด , สมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ได้ประกาศอิสระภาพ ณ เมืองแกรง ซึ่งขากลับได้กรีฑาทัพผ่านเมืองตากนี้ , สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ทรงนำทัพยกไปตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ และได้สร้างวัดพระนารายณ์ไว้ที่เชิงสะพานกิติขจรนี้ ส่วนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เคยได้รับพระบรมราชโองการ เป็นเจ้าเมืองตากนี้ วัดท่าแคนี้อยู่ฝั่งตัวจังหวัด ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดชัยชนะสงคราม ซึ่งในตอนที่จะสร้างสะพานนั้น เจดีย์ของวัดกินอาณาเขตเข้ามาในบริเวณที่จะสร้างสะพาน จึงต้องทำการรื้อเจดีย์ออก ในครั้งนั้นจึงได้พบพระเครื่องและพระบูชาขึ้น ในส่วนของพระเครื่องนั้นมีพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง กับพระเนื้อชินเงินออกจากกรุ มาหลายแบบพิมพ์ด้วยกัน ที่รู้จักกันดีก็คือพิมพ์ งบน้ำอ้อย และพิมพ์พิจิตรใบข้าว มีทั้งขนาดเล็ก และใหญ่ และมีทั้งที่เป็นแบบ แผง และเดี่ยว รวมทั้งพิมพ์อื่นๆอีกจำนวนไม่มากนัก พระกรุนี้มักจะมีตุ่มสนิมไขขาว และตุ่มสนิมแดงมากและเห็นได้ชัด ทั้งนี้คงจะเพราะกรุพระอยู่ใกล้กับแม่น้ำปิง จึงได้รับความชื้นจากไอของแม่น้ำตลอดเวลา พระพิจิตรใบข้าว พระกรุนี้เป็นพระเก่าโบราณที่ทรงคุณค่ายิ่งทางประวัติศาสตร์ และทรงพุทธคุณเป็นเลิศ โดยเฉพาะทางด้านคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด มีอาทิ พระร่วงนั่ง เนื้อชินเงิน, พระซุ้มยอ เนื้อชินเงิน, พระซุ้มยอ เนื้อตะกั่วสนิมแดง, พระพิจิตร เนื้อชินเงิน, พระพิจิตร เนื้อตะกั่วสนิมแดง และพระงบน้ำอ้อย ฯลฯ ดูตัวอย่างพระกรุนี้ได้ที่ http://www.web-pra.com/Amulet/พระกรุ-เมืองตาก/Item/Show/2689 ปัจจุบันพระกรุนี้มีชื่อเสียง เป็นที่นิยมและแสวงหากันอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่อง แต่จะหาดูหาเช่ายากมาก สนนราคาค่อนข้างสูง การกระทำยุทธหัตถีในประวัติศาสตร์ไทยที่เลืองลือ ปรากฏมาแล้วถึง 4 ครั้ง คือ 1. การชนช้างระหว่างพ่อขุนรามคำแหงมหาราชกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด พ่อขุนรามคำแหงชนะ 2. การชนช้างที่สะพานป่าถ่าน ระหว่างเจ้าอ้ายพระยากับเจ้ายี่พระยา เพื่อชิงราชสมบัติ ปรากฏว่าสิ้นพระชนม์ทั้งคู่ 3. ยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระสุริโยทัยกับพระเจ้าแปร ในปี พ.ศ. 2091 ที่ทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา สมเด็จพระสุริโยทัยสิ้นพระชนม์ขาดคอช้าง 4. ยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชามังสามเกียด ในปี พ.ศ. 2135 ที่ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ชัยชนะ การทำยุทธหัตถีระหว่างพ่อขุนรามคำแหงมหาราชกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ตามบันทึกในหลักศิลาจารึก หลักที่ ๑ ระบุว่า "....หลังจากที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ประกาศตั้งกรุงสุโขทัยขึ้นเป็นอิสระ เมื่อ พ.ศ. 1800 จากนั้น ในราว พ.ศ. 1805 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับเมืองตากขึ้น ครั้งหนึ่งคือ ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด (อยู่ในอำเภอแม่สอดปัจจุบัน) ยกทัพมาตีเมืองตาก ซึ่งเป็นเมืองชายแดนของกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงยกกองทัพมาช่วยป้องกันเมืองตากและได้ปะทะกันที่เชิงดอย นอกเมืองตากออกไปประมาณสักกิโลเมตรเศษ แต่เนื่องจากภูมิประเทศของเมืองตากเป็นป่าเขาโดยมาก การซุ่มซ่อนพลจึงกระทำได้อย่างสะดวกสบาย ดังปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า เมื่อพ่อขุนศรีอินทรา-ทิตย์ต้อนพลเข้าไปทางซ้ายเพื่อหวังจะโอบล้อมกองทัพของขุนสามชน แต่ขุนสามชน คงรู้ทีจึงขับพลเลี่ยงเข้ามาทางขวาเข้าโอบล้อมกองทัพของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เสียก่อนไพร่พลในกองทัพของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ไม่นึกว่าเหตุการณ์ จะกลับตรงกันข้ามเช่นนั้น ก็เสียกำลังใจถอยร่นลงมา ขณะนั้นราช-โอรสองค์เล็กของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ซึ่งมีพระชนมายุได้ 19 พรรษา ได้ติดตามมาด้วยเห็นว่าถ้าขืนปล่อยให้ไพร่พล ในกองทัพถอยร่นลงมาเรื่อยเช่นนั้น ผลสุดท้ายต้องพ่ายแพ้อย่างแน่นอน จึงทรงขับช้างต้อนพลให้เข้าต่อตีกองทัพของขุนสามชนอีกครั้งหนึ่ง แล้วทรงไสช้างบุกเข้าไปจนถึงตัวขุนสามชน ซึ่งกำลังต้อนพลรุกไล่กองทัพของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เข้ามาพ่อขุนรามคำแหงทรงปะทะช้างกับขุนสามชนจนได้กระทำยุทธหัตถีกัน ขุนสามชนสู้ไม่ได้ก็พ่ายหนีไป เมืองตากจึงรอดพ้นจากการรุกรานของ ขุนสามชน และตลอดสมัยของกรุงสุโขทัยไม่ปรากฏในศิลาจารึกหรือจดหมายใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องราวของเมืองตากนี้อีกเลย..." ต่อมาพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ. 1822 ถึงประมาณ พ.ศ. 1841 พระองค์ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากว่าเจ็ดร้อยปี |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
![](/upload/shopItem2/562/22532-1.jpg)
![](/upload/shopItem2/562/28460-1.jpg)
![](/upload/shopItem2/562/22506-1.jpg)
![](/upload/shopItem2/562/22866-1.jpg)
![](/upload/shopItem2/562/107889-1.jpg)
![](/upload/shopItem2/562/293122-1bd4c.jpg)
![](/upload/shopItem2/562/213543-1d730.jpg)
![](/upload/shopItem2/562/208583-1a63f.jpg)
![](/upload/shopItem2/562/227204-120c4.jpg)
![](/upload/shopItem2/562/222958-1fded.jpg)
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments