หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
พระอู่ทองออกศึก พิธีใหญ่ปี 2510 จ.สุพรรณบุรี
ชื่อร้านค้า | วาสนา-พระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระอู่ทองออกศึก พิธีใหญ่ปี 2510 จ.สุพรรณบุรี |
อายุพระเครื่อง | 57 ปี |
หมวดพระ | พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525 |
ราคาเช่า | 850 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | 089-4611699 เวลาที่สะดวก 09.00 น. ถึง 20.00 น. |
อีเมล์ติดต่อ | Line : 0894611699 |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | ส. - 14 ธ.ค. 2567 - 17:52.05 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | อา. - 22 ธ.ค. 2567 - 11:51.16 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระอู่ทองออกศึกเนื้อดินเผา พิธีพุทธาภิเษกใหญ่ ปี 2510 พระเห็นหน้าตา หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่, หลวงพ่อทบ วัดชนแดน, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อสุด วัดกาหลง ฯลฯ ร่วมปลุกเสก ขนาดโดยประมาณ กว้าง 2.2 ซ.ม. สูง 3 ซ.ม. พระอู่ทองออกศึก รุ่นแจกทหารจงอางศึก ปี ๒๕๑๐ สร้างที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือวัดพระธาตุ จ.สุพรรณบุรี อันเป็นสถานที่พบ " พระผงสุพรรณ " ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าของพระชุดเบญจภาคี ที่เล่นหากันองค์เป็นแสน และบางองค์ราคาเป็นล้าน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ประเทศไทยได้จัดส่งกองกำลังทหาร " รุ่นจงอางศึก " เข้าร่วมรบกับกองกำลังสหรัฐ ในสงครามเวียดนาม เพื่อรบกับกองกำลังทหารเวียดนามเหนือที่รุกลงใต้ และในการนี้เอง หลวงปู่โพธิ์ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ได้จัดสร้าง " พระอู่ทองออกศึก " แจกแก่ทหาร " รุ่นจงอางศึก " นี้โดยเฉพาะ ตามดำริของนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นคือ จอมพลถนอม กิตติขจร ที่ต้องการต้านภัยคอมมิวนิสต์ "พระอู่ทองออกศึก" เป็นพระเครื่องที่นำเนื้อพระโบราณที่ชำรุดแตกหักจากกรุต่าง ๆ มาบดเป็นส่วนผสมหลัก อาทิ เช่น พระผงสุพรรณ จากกรุวัดพระศรีมหาธาตุ, พระกรุวัดพระรูป, พระกรุวัดสำปะซิว, พระกรุวัดบ้านกร่าง, พระกรุถ้ำเสือ, พระกรุวัดบางยี่หน และพระเนื้อดินชำรุดแตกหักของพระเกจิอาจารย์ เท่าที่จัดหาได้จากในเขตเมืองสุพรรณ,อู่ทอง อีกมากมาย พุทธลักษณะคล้ายพระผงสุพรรณ แต่เป็นพระปางสมาธิ ด้านหลังเป็นรูปองค์พระปรางค์ อันเป็นสัญลักษณ์ประจำวัดพระศรีมหาธาตุ และเป็นสถานที่พบพระผงสุพรรณ และพระเนื้อชินพิมพ์ต่างๆ ยอดนิยมของวงการฯ เนื้อพระมีทั้งสีดำ สีเทา และสีแดง ครั้งแรก นำเข้าพิธีมหาพุทธาภิเษก ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองสุพรรณบุรี วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ โดยมีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังนั่งปรกปลุกเสก ๖๙ รูป ดังมีรายนามต่อไปนี้ ๑.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี ๒. หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี ๓. หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี ๔. หลวงพ่อคำ วัดหน่อพุทธางกูร จ.สุพรรณบุรี ๕. หลวงพ่อใจ วัดวังยายหุ่น จ.สุพรรณบุรี ๖. หลวงพ่อเปลื้อง วัดสุวรรณภูมิ จ.สุพรรณบุรี ๗. หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี ๘. หลวงพ่อดี วัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี ๙. หลวงพ่อโต๊ะ วัดลาดตาล จ.สุพรรณบุรี ๑๐. หลวงพ่อเจริญ วัดธัญเจริญ จ.สุพรรณบุรี ๑๑. หลวงพ่อบุญ วัดโคกโคเฒ่า จ.สุพรรณบุรี ๑๒. หลวงพ่อฮวด วัดดอนโพธิ์ทอง จ.สุพรรณบุรี ๑๓. หลวงพ่อเก็บ วัดดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี ๑๔. หลวงพ่อดี วัดท่าเจริญ จ.สุพรรณบุรี ๑๕. หลวงพ่อเหมือน วัดไทรย์ จ.สุพรรณบุรี ๑๖. หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์เจริญ จ.สุพรรณบุรี ๑๗. หลวงพ่อเจิม วัดกุฎีทอง จ.สุพรรณบุรี ๑๘. หลวงพ่อเลียบ วัดช่องลม จ.สุพรรณบุรี ๑๙. หลวงพ่อวิจิตร วัดบ้านทึง จ.สุพรรณบุรี ๒๐. หลวงพ่อแขก วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี ๒๑. หลวงพ่อสุบิน วัดท่าช้าง จ.สุพรรณบุรี ๒๒. หลวงพ่อนาถ วัดศรีโลหะ จ.กาญจนบุรี ๒๓. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี ๒๔. หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม จ.สิงห์บุรี ๒๕. หลวงปู่โต๊ะ วัดสระเกษ จ.อ่างทอง ๒๖. หลวงพ่อสนิท วัดศิลาขันธ์ จ.อ่างทอง ๒๗. หลวงพ่อสาย วัดท้องคุ้ง จ.อ่างทอง ๒๘. หลวงพ่อไวย์ วัดบรม จ.อยุธยา ๒๙. หลวงพ่อต่วน วัดกล้วย จ.อยุธยา ๓๐. หลวงพ่อชม วัดเขาดิน จ.อยุธยา ๓๑. หลวงพ่อทิม วัดพระขาว จ.อยุธยา ๓๒. หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย จ.อยุธยา ๓๓. หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม จ.อยุธยา ๓๔. หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา ๓๕. หลวงพ่อนก วัดกลางท่าเรือ จ.อยุธยา ๓๖. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม ๓๗. หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม ๓๘. หลวงปู่เพิ่ม วัดสรรเพชญ์ จ.นครปฐม ๓๙. หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม ๔๐. พระอาจารย์เจียม วัดไร่ขิง จ.นครปฐม ๔๑. หลวงพ่อสุด วัดกาหลวง จ.สมุทรสาคร ๔๒. หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม จ.สมุทรสาคร ๔๓. หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์ จ.สมุทรสาคร ๔๔. หลวงพ่อทองอยู่ วัดท่าเสา จ.สมุทรสาคร ๔๕. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสาคร ๔๖. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ ๔๗. หลวงปู่นาค วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ ๔๘. หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง กรุงเทพฯ ๔๙. หลวงพ่อทูรย์ วัดโพธินิมิตร กรุงเทพฯ ๕๐. หลวงปู่เพิ่ม วัดสามปลื้ม กรุงเทพฯ ๕๑. หลวงพ่อผ่อง วัดสามปลื้ม กรุงเทพฯ ๕๒. หลวงพ่อหวล วัดพิกุล กรุงเทพฯ ๕๓. หลวงพ่อบุญนาค วัดเศวตฉัตร กรุงเทพฯ ๕๔. หลวงพ่อผล วัดหนังบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ๕๕. หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ ๕๖. หลวงพ่อเฮง วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ ๕๗. หลวงพ่อบุญมี วัดกลางอ่างแก้ว กรุงเทพฯ ๕๘. หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม จ.ราชบุรี ๕๙. หลวงปู่สิมมา วัดบ้านหมอ จ.สระบุรี ๖๐. หลวงพ่อโอด โคกเดื่อ จ.นครสวรรค์ ๖๑. หลวงพ่ออ๋อย วัดหนองบัว จ.นครสวรรค์ ๖๒. หลวงพ่อน้อย วัดหนองโพธิ์ จ.นครสวรรค์ ๖๓. หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ จ.ชัยนาท ๖๔. หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน จ.ลพบุรี ๖๕. พระอธิการถนอม วัดนางพญา จ.พิษณุโลก ๖๖. หลวงพ่อทบ วัดชนแดน จ.เพชรบูรณ์ ๖๗. พระอาจารย์สำราญ วัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี ๖๘. หลวงพ่ออบ วัดถ้ำแก้ว จ.เพชรบุรี ๖๙. หลวงพ่อนิ่ม วัดเขาน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลังจากประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกครั้งแรกแล้ว กองบัญชาการทหารสูงสุดโดยคำสั่งของ จอมพลถนอม กิตติขจร ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เดินทางมารับมอบ พระอู่ทองออกศึก จำนวน ๒๕,๗๐๐ องค์ เพื่อแจกจ่ายแก่ทหารอาสาสมัครรุ่น " จงอางศึก " ที่กำลังจะเคลื่อนพลเดินทางไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม นอกจากนี้ ทางวัดยังนำพระที่เหลือประกอบพิธีพุทธาภิเษกอีกสองครั้ง ในวันที่ ๒-๑๐ มี.ค. ๒๕๑๑ และวันที่ ๑๓ เม.ย. ๒๕๑๑ ก่อนที่จะแจกไปตามหน่วยราชการต่างๆ ทั่วประเทศ และได้นำพระที่เหลือทั้งหมดบรรจุไว้ในองค์พระปรางค์ที่วัดพระธาตุ เมื่อวันที่ ๒๘ ม.ค. ๒๕๑๒ ว่ากันว่า พระอู่ทองออกศึก รุ่นแจกทหารจงอางศึกนั้น มีประสบการณ์อิทธิปาฏิหารย์มากมาย จนพวกเวียตกงเรียกทหารรับจ้างไทยรุ่นนี้ว่า ทหารผี ในทุกสมรภูมิรบของสงครามเวียดนาม ทหารหาญของไทยรุ่นนี้ให้ความเชื่อมั่นในพุทธคุณ และมั่นใจเป็นอันมาก ไม่ว่าจะโดนยิง โดนแทง หรือโดนระเบิด ต่างก็รอดจากเงื้อมมือมัจจุราชมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ ปัจจุบัน พระอู่ทองออกศึกมีอายุการสร้างผ่านไป ๕๓ ปีแล้ว จึงเป็นพระที่มีอายุพอสมควร น่าบูชา และสะสมอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในด้านพุทธคุณแล้ว ต้องยอมรับว่าเป็น " หนึ่ง " ไร้เทียมทาน. ขอขอบคุณข้อมูลจาก คมชัดลึก ออนไลน์. |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments