หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
พระขุนแผน ลพ.โชติ วัดตะโน ปี 2484
ชื่อร้านค้า | วาสนา-พระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระขุนแผน ลพ.โชติ วัดตะโน ปี 2484 |
อายุพระเครื่อง | 83 ปี |
หมวดพระ | พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525 |
ราคาเช่า | 1,980 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | 089-4611699 เวลาที่สะดวก 09.00 น. ถึง 20.00 น. |
อีเมล์ติดต่อ | Line : 0894611699 |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | จ. - 01 พ.ค. 2566 - 19:23.17 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ศ. - 20 ธ.ค. 2567 - 11:17.17 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระขุนแผนหลวงพ่อโชติ วัดตะโน ฝั่งธนบุรี พระขุนแผนแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่เคยเขียนลงในหนังสือ มหัศจรรย์ พลังพระขุนแผน แห่งสยามประเทศ หลวงพ่อโชติ วัดตะโน ท่านได้สร้างเชือกคาดเอว จนได้รับสมญานาม เชือกคาดเอวอันดับ 1 ของเมืองไทย ขนาดโดยประมาณ กว้าง 2.7 ซ.ม. สูง 4.5 ซ.ม. หลวงพ่อโชติ วัดตะโน ประวัติของหลวงพ่อโชติ วัดตะโน แขวงบางแวก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ท่านเกิดวันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ.2417 อุปสมบท ณ วัดกระทุ่ม วันที่11 กรกฎาคม พ.ศ.2451 มรณภาพ เมื่อวันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2501 ท่านเป็นพระร่วมสมัยกับหลวงปู่โต๊ะ แต่ท่านแก่พรรษากว่า หลวงปู่โต๊ะไปมาหาสู่กันเป็นประจำ หลวงปู่โต๊ะนับถือหลวงพ่อโชติมาก อีกทั้งยังได้ร่ำเรียนวิชาทำผงพุทธคุณกับหลวงพ่อโชติ จะเรียกง่ายๆว่า หลวงปู่โต๊ะเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อโชติ ก็น่าจะไม่ผิดอะไร หลวงพ่อโชติท่านเคยเป็นนักเลงมาก่อน หลังจากได้ออกบวชก็ไม่สึกอีกเลย เป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่า นักเลงสมัยก่อนต้องมีวิชาดี ไม่อย่างนั้นเป็นนักเลงไม่ได้ พระเครื่องและเครื่องรางของท่าน โดยส่วนมากที่พบนอกจากเหรียญรุ่น 1- 2 แล้ว ยังมีเชือกคาดเอวที่ทำจากผ้าห่อศพผีตายโหง ใช้คาดเอวเพื่อความอยู่ยงคงกระพัน แล้วยังใช้เป็นอาวุธในการฟาดศัตรู เพราะหากใครโดนเชือกดังกล่าวฟาดแล้ว จะมีอาการเสียสติเลยทีเดียว หลายท่านที่มีเชือกดังกล่าว กล่าวกันว่าในวันพระจะมีกลิ่นสาปสางออกจากเชือกคาด นอกจากนี้มีการสร้างตะกรุดเช่นกัน แต่สร้างน้อยให้กับศิษย์ที่ใกล้ชิดเท่านั้น ส่วนพระพิมพ์เนื้อผง เริ่มสร้างตั้งแต่ราวปี พ.ศ.2484 มีพิมพ์ต่างๆดังนี้.- 1. พระพิมพ์ใหญ่กลักไม้ขีด 2. พระสมเด็จพิมพ์ขาโต๊ะ เป็นแม่พิมพ์ตัวเดียวกับพระสมเด็จขาโต๊ะของหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อโชติเป็นผู้ไปยืมมาจากหลวงปู่โต๊ะมากดพิมพ์ที่วัด หลังจากที่ หลวงปู่โต๊ะได้กดพิมพ์ขาโต๊ะไปได้ไม่กี่ร้อยองค์ จำแนกแยกแยะได้เพียงว่าของหลวงพ่อโชติเป็นเนื้อสีเหลือง ของหลวงปู่โต๊ะเป็นผงแช่น้ำมนต์ ขอย้ำว่าเป็นแม่พิมพ์ตัวเดียวกัน หลังจากนั้นแม่พิมพ์ดังกล่าวก็หายสาบสูญไปเป็นที่น่าเสียดายยิ่ง เพราะเหตุว่าทุกพิมพ์ของหลวงปู่โต๊ะเป็นพิมพ์ที่แกะเองเป็นของวัด แต่พิมพ์ขาโต๊ะได้มาจากฆราวาสท่านหนึ่ง ที่พบเจอแม่พิมพ์บนขื่อหรือใต้เพดานโบสถ์ของหลวงพ่อโบสถ์น้อย (พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์) แห่งวัดอัมรินทร์ทราราม เขตบางกอกน้อย ข้อมูลดังกล่าวคัดลอกมาจากบทความในหนังสือ ภาสรุธรรมฉบับประกาศเกียรติคุณ หลวงปู่โต๊ะ 108 ปี 3. พระสมเด็จพิมพ์เจ็ดชั้น 4. พระสมเด็จพิมพ์สามชั้นเศียรฤาษี 5. พระสมเด็จพิมพ์เม็ดบัว 6. พระพิมพ์ขุนแผน ( ซึ่งเนื้อพระมีหลายสี เท่าที่ผ่านตาคือ ขาว แดง ดำ เหลือง. |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments