ในหลวงทรงผนวช ภปร. ปี 2517 -วาสนา-พระเครื่อง - webpra
VIP
พระแท้...ราคาสมเหตุสมผล...โทร.089-4611699
ในหลวงทรงผนวช ภปร. ปี 2517  - 1ในหลวงทรงผนวช ภปร. ปี 2517  - 2
ชื่อร้านค้า วาสนา-พระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง ในหลวงทรงผนวช ภปร. ปี 2517
อายุพระเครื่อง 50 ปี
หมวดพระ วัตถุมงคลของแผ่นดิน เชื้อพระวงศ์ บุคคลสำคัญ เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ธนบัตร
ราคาเช่า 1,690 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 089-4611699 เวลาที่สะดวก 09.00 น. ถึง 20.00 น.
อีเมล์ติดต่อ Line : 0894611699
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ส. - 30 ต.ค. 2564 - 15:35.21
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อา. - 22 ธ.ค. 2567 - 11:46.11
รายละเอียด
เหรียญในหลวงทรงผนวช หลัง ภปร. เนื้อทองแดงผิวไฟ สภาพสวย กองทัพภาคที่ 3 สร้าง ปี 2517 พิธีมหาพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่ที่สุดในปี 2517 โดยพระคณาจารย์ชื่อดังร่วมปลุกเสก 7 วัน 7 คืน

ขนาดโดยประมาณ กว้าง 2.5 ซ.ม. สูง (รวมหูเหรียญ) 3.5 ซ.ม.

ประวัติการสร้าง
เหรียญในหลวงทรงผนวช ภปร. แม่ทัพภาค 3 ปี 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ พล.ท.สำราญแพทยกุล แม่ทัพภาคที่ 3 จัดสร้างวัตถุมงคล พระพุทธชินราชภปร ขึ้นเป็นครั้งแรกและเสด็จพระราชดำเนิน พร้อมสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงเททองหล่อพระพุทธชินราช ภปร ณ มณฑลพิธีวัดสุทัศนเทพวรารามฯ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2516 เวลา 16.49 น. โดยมี สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นประธานสงฆ์ และประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เมืองพิษณุโลก เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2517 พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณแห่งยุคนั้นจำนวน 45 รูป นั่งปรกปลุกเสก

วัตถุมงคล พระพุทธชินราช ภปร รุ่นแรก ประกอบด้วย
1.พระพุทธชินราชภปร.ขนาดบูชา 5 นิ้ว และ 9 นิ้ว ลงรักปิดทอง ฐานหลัง ตรากองทัพภาคที่ 3 จ.ส.อ.ดร.ทวี บูรณะเขต์ เป็นประติมากรช่างหล่อ
2.พระกริ่งพระพุทธชินราช ภปร เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อนวโลหะ (เบอร์แกะสลัก)
3.เหรียญพระพุทธชินราชหลังอักษรพระปรมาภิไธย ภปร (เหรียญอาร์ม) เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า เนื้อทองแดง
4.เหรียญในหลวงทรงพระผนวชหลังอักษรพระปรมาภิไธย ภปร (เหรียญอาร์ม) เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า เนื้อทองแดง (เหรียญเนื้อทองคำเป็นเหรียญอาร์มพิมพ์เล็ก เหรียญเนื้อเงิน เป็นพิมพ์กลาง ส่วนเหรียญทองแดง และอัลปาก้า เป็นเหรียญพิมพ์ใหญ่)
5.เหรียญพระพุทธชินราช ด้านหลังพระบรมรูป ในหลวงทรงพระผนวชเนื้อนวโลหะ(เบอร์แกะพิมพ์เล็ก) เป็น (เหรียญแจกกรรมการจัดสร้าง)

และด้วยพระบารมีปกเกล้าของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (ภูมิพลอดุลยเดช หมายถึง ผู้ทรงกำลังอำนาจ ไม่มีอะไรเทียบในแผ่นดิน) พระผู้ทรงเป็นกำลังของแผ่นดิน พระผู้ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรมทรงเป็นธรรมราชาผู้ยิ่งใหญ่) จึงถือว่า เป็นมหามงคลแก่ผู้มีไว้สักการบูชาเป็นยิ่งนัก พิธีพุทธาภิเษก ในพิธีนั้นนิมนต์พระเกจิดังๆมามากมาย เช่น หลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่อเนื่อง หลวงพ่อนอ หลวงพ่อเทียม หลวงพ่อพริ้ง หลวงพ่อกี๋ เป็นต้น

มวลสารชนวนที่มาหล่อพระมีจำนวนมากมาย ที่เป็นของพระเกจิดังๆ แถมที่ฐานพระกริ่งชินราช ยังมีอักษร ภปร. ที่ถือว่าเป็นมงคลแก่ผู้บูชา วัตถุมงคลพระพุทธชินราช รุ่นนี้กองทัพภาคที่ 3 จัดสร้างปี พ.ศ. 2517 เป็นพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งของวัดศรีรัตนมหาธาตุฯ จังหวัดพิษณุโลก โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเสด็จประกอบพิธีเททอง และมีพิธีพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่ถึง 2 ครั้ง โดย...

ครั้งแรกที่ วัดสุทัศน์
ครั้งที่สอง ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระวิหารหลวงพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก
ในพิธีครั้งนั้นมีสร้างพระอีกหลายแบบ เช่น เหรียญในหลวงทรงผนวช เหรียญพระพุทธชินราช เหรียญพระนเรศวรหลังพระเอกาทศรถ และ พระบูชา เป็นต้น โดยมี แม่ทัพภาคที่ 3 สมัยนั้น พลโท สำราญ แพทยกุล เป็นประธานจัดสร้าง ได้ทำพิธีปลุกเสกในวิหารของหลวงพ่อพุทธชินราช มีโดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชและพระเกจิฯดังๆในสมัยนั้นมาร่วมพิธีมากมาย เช่น

1.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
2.หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช
3.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
4.หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง
5.หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ ..... เป็นต้น

ส่วนมวลสารชนวนที่มาหล่อองค์พระมีชนวนมวลสารต่างๆของพระกริ่งเก่าๆ ตะกรุดเก่าเป็นจำนวนมาก จัดเป็นพระพิธีดีที่มีประสบการณ์ทางด้านแคล้วคลาดสูงมากๆ ขณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงประกอบพิธีเททอง ณ บริเวณมณฑลพิธีด้านข้างพระอุโบสถ อากาศก็ร่มเย็นแจ่มใสให้ผู้ไปร่วมพิธี และพสกนิกรที่ไปเข้าเฝ้าครั้งนั้น เย็นสบายไปโดยทั่วกัน แต่ขณะเดียวกันกลับปรากฎเหตุ "ท้องฟ้าทางภาคเหนือ" (ตรงจุดที่ตั้งกองทัพภาคที่ 3) เกิดมี "ฟ้าแลบฟ้าร้อง" ดังสนั่นหวั่นไหวอยู่ตลอดเวลา กระทั่งพิธีเททองเสร็จสิ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯกลับแล้ว "ฟ้าแลบฟ้าร้อง" จึงสงบลงและพอถึงเวลา 17.55 น. "พระวิสุทธิวงศาจารย์" (เสงี่ยม จันทสิริมหาเถระ) เจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ฯ ในขณะนั้น (ภายหลังได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จ พระราชาคณะที่ โฆษาจารย์) ดับเทียนชัยพิธีพุทธาภิเษกแล้ว ยังได้มอบเงิน "5,000 บาท" เพื่อสมทบทุนมูลนิธิ "เย็นศิริเพราะพระบริบาล" อีกด้วย พร้อมๆกับ "สายฝน" ได้ตกลงมาอย่างหนักจนน้ำนองรอบๆระเบียงพระอุโบสถ ทั้งๆที่บริเวณอื่นที่อยู่ใกล้เคียง "วัดสุทัศน์น" กลับมีตกเพียงประปรายเท่านั้น นับเป็นปรากฎการณืที่ "ประหลาดอัศจรรย์" แก่ผู้ไปร่วมพิธีโดยทั่วหน้ากัน วัตถุมงคล ทั้งหมดได้ทำการตกแต่งเพื่อความสวยงาม "ร่วม 1 ปี" จึงแล้วเสร็จ จากนั้น พลโทสำราญ แพทยกุล แม่ทัพภาคที่ 3 จึงได้อัญเชิญไปประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ วิหารหลวงพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2517

โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ทรงประกอบพิธีจุดเทียนชัยมหาพุทธาภิเษก และมี "พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ" ร่วมพิธีพุทธาภิเษกจำานวน 45 รูป อาทิ..

1.พระภาวนาโกศลเถระ วัดปากน้ำภาษีเจริญ
2.พระโพธิวรคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธิ์นิมิต
3.พระราชมุนี (มหาบุญโฮม) วัดปทุมวนาราม
4.พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
5.พระครูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช
6.พระครูรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลย์
7.พระครูญาณวิจักษ์ (พระอาจารย์ผ่องจินดา) วัดจักรวรรดิราชาวาส
8.พระครูนนทกิจวิมล (หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ
9.พระครูกิตตินนทคุณ (หลวงพ่อกี๋) วัดหูช้าง
10.พระครูโกวิทสมุทรคุณ (หลวงพ่อเนื่อง) วัดจุฬามณี
11.พระครูสุตาธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง ... เป็นต้น





พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top