เหรียญคุ้มเกล้าเนื้อนวะโลหะ ปี 2522 หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ปลุกเสก พิธ๊ใหญ่ สภาพสวย-วาสนา-พระเครื่อง - webpra
VIP
พระแท้...ราคาสมเหตุสมผล...โทร.089-4611699

หมวด วัตถุมงคลของแผ่นดิน เชื้อพระวงศ์ บุคคลสำคัญ เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ธนบัตร

เหรียญคุ้มเกล้าเนื้อนวะโลหะ ปี 2522 หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ปลุกเสก พิธ๊ใหญ่ สภาพสวย

เหรียญคุ้มเกล้าเนื้อนวะโลหะ ปี 2522 หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ปลุกเสก พิธ๊ใหญ่ สภาพสวย - 1เหรียญคุ้มเกล้าเนื้อนวะโลหะ ปี 2522 หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ปลุกเสก พิธ๊ใหญ่ สภาพสวย - 2
ชื่อร้านค้า วาสนา-พระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญคุ้มเกล้าเนื้อนวะโลหะ ปี 2522 หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ปลุกเสก พิธ๊ใหญ่ สภาพสวย
อายุพระเครื่อง 45 ปี
หมวดพระ วัตถุมงคลของแผ่นดิน เชื้อพระวงศ์ บุคคลสำคัญ เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ธนบัตร
ราคาเช่า 1,450 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 089-4611699 เวลาที่สะดวก 09.00 น. ถึง 20.00 น.
อีเมล์ติดต่อ Line : 0894611699
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 11 ส.ค. 2563 - 16:35.58
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พฤ. - 21 พ.ย. 2567 - 18:12.12
รายละเอียด
เหรียญคุ้มเกล้าเนื้อนวะโลหะ ปี 2522 หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ปลุกเสก พิธ๊ใหญ่ สภาพสวย

ขนาดโดยประมาณ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 ซ.ม. เหรียญที่ 2

เหรียญคุ้มเกล้านั้นเป็นเหรียญที่ถือกำเนิดขึ้นมาแรกเริ่มในปี 2522 ซึ่งเป็นปีที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช มีอายุครบรอบ 30 ปี ซึ่งในปีดังกล่าวนี้ ทางโรงพยาบาลเองได้มีดำริที่จะสร้างอาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉินขนาดใหญ่สูง 12 ชั้นที่ทันสมัยขึ้นมาหลังหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมเกล้าฯถวายเป็นพระราชกุศลและเสริมสร้างบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมบรรดาผู้ป่วยทั้งหลายไปชั่วกาลนาน โดยค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างนั้นประมาณการกันว่าน่าจะต้องใช้เงืนทั้งสิ้นราว ๆ 600 ล้านบาท จึงได้มีการรณรงค์หาทุนขึ้นมาโดยใช้ชื่ออาคารที่สร้างในครั้งนั้นว่า “คุ้มเกล้า”
ต่อมาความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระองค์เองก็เห็นความสำคัญของการสร้างอาคารเพื่อผู้ป่วยและคุณภาพชีวิตของประชาชนพระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ′ภปร′ มาประดิษฐานที่เหรียญ ขั้นตอนในการเตรียมการต่างๆ นั้นใช้เวลาอยู่ถึง 4 ปี นั่นก็คือปีพ.ศ. 2526 จึงจะได้เริ่มลงมือสร้างวัตถุมงคลคุ้มเกล้า
เริ่มต้นจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นดังกล่าว ด้วยการเริ่มที่พิธีจารอักขระศักดิ์สิทธิ์ลงบนแผ่นทอง เงิน นาค เพื่อเป็นชนวนมวลสารในการจัดสร้าง โดยได้มีการจัดการจารอักขระเป็นปฐมฤกษ์ในวันที่ 12 สิงหาคม 2526 ณ พระอุโบสถวัดราชบพิตร โดยมี สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ในขณะนั้นทรงเป็นประธาน พร้อมด้วยพระเถระอีก 60 รูป ที่ได้มาร่วมสวดเจริญพระพุทธมนต์ก่อนที่จะมีการส่งแผ่นทอง เงิน นาค ไปให้พระเกจิอาจารย์และพระเถรานุเถระชื่อดังของจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศลงอักขระเพื่อเป็นชนวนในการจัดสร้างอาทิเช่น
– พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดุลย์) วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ ลงอักขระวันที่ 16 กันยายน 2526
– พระคุณเจ้าหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ลงอักขระแผ่นทอง นาก เงิน ณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ 19 สิงหาคม 2526
– พระสุพรหมยานเถระ (หลวงปู่พรหมจักร) วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน ลงอักขระ 21 สิงหาคม 2526
– พระอุดมสังวรเถระ (หลวงพ่ออุตตมะ) วัดวังวิเวการาม จ.กาญจนบุรี ลงอักขระ 5 ตุลาคม 2526
– พระสุนทรธรรมภาณี (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี ลงอักขระวันที่ 3 ตุลาคม 2526
– พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ (หลวงปู่เทสก์) วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ลงอักขระ 5 สิงหาคม 2526
– หลวงพ่อเกษม เขมโก วัดป่าช้าไตรรัตนาราม อ.เมือง จ.ลำปาง ลงอักขระ 22 สิงหาคม 2526
– พระครูสุวรรณประดิษฐการ (หลวงพ่อจ้อย) วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ อ.ดอนสัก จ.สุราษฏร์ธานี ลงอักขระ 11 ตุลาคม 2526
– สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร กทม. เป็นต้น
รวมชนวนแผ่นจารจากพระเกจิอาจารย์ทั้งสิ้น 1250 รูปเป็นจำนวนหลายพันแผ่น
**วันที่ 16 มกราคม 2527 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของพระอริยสงฆ์เมืองเหนือ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช, สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดดอยแม่ปั๋ง เพื่อเป็นประธานในการเททองหล่อพระพุทธรูปคุ้มเกล้าและหลอมแผ่นชนวนนับพันแผ่นให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อที่จะไ้ด้นำไปจัดสร้างวัตถุมงคลต่อไป ซึ่งรวมถึงเหรียญคุ้มเกล้าโดยมีหลวงปู่แหวน สุจิณโณ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์อธิษฐานจิตชนวนในระหว่างหลอมจนจบตลอดพิธี
หลังจากที่ได้มีการนำเอาชนวนมวลสารต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเป็นประธานในการเททองหลอมมวลสารไปสร้างเป็นพระเครื่องและเหรียญคุ้มเกล้าเรียบร้อยแล้วก็ถึงพิธีการปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่นคุ้มเกล้า โดยพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่นคุ้มเกล้านั้นต้องเรียกว่ายิ่งใหญ่อลังการเป็นอันมาก โดยประกอบพิธีพุทธาภิเษกหมู่อย่างใหญ่โตมโหฬารเป็นเวลาถึง 4 วัน 4 คืน โดยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2527 เรื่อยไปจนกระทั่งถึงวันที่ 9 เมษายน 2527 มีการโยงสายสิญจน์จากพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มายังปะรำพิธี ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง มีการนิมนต์พระเถรานุเถระผู้ทรงคุณ พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง 108 รูปจากทั่วประเทศ มาผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันนั่งปรกปลุกเสกตลอดระยะเวลา 4 วัน 4 คืน อาทิเช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่ดูุลย์ วัดบูรพาราม, หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง, หลวงปู่ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า, หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อเกษม เขมโก ลำปาง, หลวงปู่สาม วัดป่าไตรวิเวก, หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง, หลวงพ่อหลุย วัดเจติยาวิหาร, หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน, หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่, หลวงพ่อพวง วัดศรีธรรมาราม, หลวงพ่อพุฒ วัดมณีสถิตย์, หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางคลาน, หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้, หลวงพ่อคำแสน วัดถ้ำผาเงา, หลวงพ่อโอด วัดจันเสน, หลวงพ่อบุญมี วัดท่าสะต๋อย เป็นต้น โดยในวันแรกของพิธีนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯไปทรงจุดไฟพระฤกษ์ด้วยพระองค์เอง ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และได้มอบให้พล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ผบ.ทอ. อัญเชิญเข้าขบวนแห่มายังปะรำพิธี จากนั้นในเวลา 19.19 น. สมเด็จพระสังฆราช เสด็จมาจุดเทียนชัยจากไฟพระฤกษ์ เริ่มพิธีพุทธาภิเษกจนถึงรุ่งอรุณของวันที่ 4 สมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นประธานดับเทียนชัย เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีพุทธาภิเษก.

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top