พระผงพิมพ์เล็บมือหลวงพ่อหม่น วัดพระยาปลา คลองสิบสอง ปี 2463 -วาสนา-พระเครื่อง - webpra
VIP
พระแท้...ราคาสมเหตุสมผล...โทร.089-4611699

หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525

พระผงพิมพ์เล็บมือหลวงพ่อหม่น วัดพระยาปลา คลองสิบสอง ปี 2463

พระผงพิมพ์เล็บมือหลวงพ่อหม่น วัดพระยาปลา คลองสิบสอง ปี 2463   - 1พระผงพิมพ์เล็บมือหลวงพ่อหม่น วัดพระยาปลา คลองสิบสอง ปี 2463   - 2
ชื่อร้านค้า วาสนา-พระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระผงพิมพ์เล็บมือหลวงพ่อหม่น วัดพระยาปลา คลองสิบสอง ปี 2463
อายุพระเครื่อง 104 ปี
หมวดพระ พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
ราคาเช่า 3,000 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 089-4611699 เวลาที่สะดวก 09.00 น. ถึง 20.00 น.
อีเมล์ติดต่อ Line : 0894611699
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พฤ. - 06 ส.ค. 2563 - 15:00.40
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พฤ. - 21 พ.ย. 2567 - 17:43.01
รายละเอียด
พระผงพิมพ์เล็บมือหลวงพ่อหม่น วัดพระยาปลา คลองสิบสอง ปี 2463

ขนาดโดยประมาณ ฐานกว้าง 2 ซ.ม. สูง 3.5 ซ.ม.

“หลวงพ่อหม่น” ท่านเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดพระยาปลา ตั้งอยู่เลขที่ 15 ถนนประชาสำราญ หมู่ 3 แขวงคลองสิบสอง เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ประวัติความเป็นมาของ “หลวงพ่อหม่น” พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ถิ่นกำเนิดท่านเป็นชาวอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ทางบ้านมีอาชีพทำนา โยมพ่อโยมแม่ไม่มีใครทราบชื่อ ท่านมีพี่น้องหลายคนจากคำบอกเล่าทราบว่ามีพี่สาวชื่อนางเกตุ นางคำ มีน้องชายชื่อนายเม่น และจะมีใครอีกบ้างไม่ทราบแน่ชัด

ครอบครัวโยมพ่อโยมแม่อพยพมาปักหลักทำมาหากินทำนาที่เขตหนองจอกเมื่อท่านยังเล็กๆ อยู่ โดยมาอยู่ที่บ้านนาหม่อนไม่ไกลจากวัดพระยาปลาเท่าไรนัก ประวัติชีวิตของ “หลวงพ่อหม่น” ไม่มีใครทราบแน่ชัดซึ่งท่านเองก็ไม่เคยเล่าเรื่องอะไรเกี่ยวกับครอบครัวของท่านให้ใครทราบเลย ทราบแต่เพียงคร่าวๆ ว่าท่านจบการศึกษาประถมปีที่ 4 แล้วก็ออกจากโรงเรียนอยู่ช่วยทางบ้านทำนา จนกระทั่งแต่งงานเป็นฝั่งเป็นฝา ภรรยาไม่ทราบชื่อมีลูกด้วยกัน 2 คน เป็นผู้ชายชื่อเขียว และผู้หญิงชื่อชง

“หลวงพ่อหม่น” ก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์แบบไม่ได้ตั้งใจ กล่าวคือมีเพื่อนบ้านคนหนึ่งอยู่ละแวกวัดพระยาปลาตั้งใจจะบวชเต็มที่ ไปขอฤกษ์กำหนดพิธีอุปสมบทเรียบร้อยแล้ว ทางบ้านก็จัดงานกันอย่างเอิกเกริก กลางคืนเตรียมทำขวัญนาค กะว่าพรุ่งนี้เช้าทำการอุปสมบทแล้วอยู่ๆ ผู้เป็นนาคก็เกิดเสียชีวิตกระทันหัน เมื่อเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นเช่นนั้น ทางบ้านนาคก็เกิดความสับสนอลหม่าน เสียงส่วนใหญ่ไม่อยากให้ล้มเลิกงานบวช ไหนๆ ก็จัดงานแล้วจึงตกลงกันหาคนบวชมาเป็นนาคแทนเสียเลย อีกประการหนึ่งก็จะเป็นการอุทิศให้กับผู้ตายด้วย

เจ้าภาพงานบวชรู้จักกับหลวงพ่อหม่นอยู่แล้ว ทราบว่าท่านเองก็ยังไม่ได้บวช จึงมาขอร้องให้ท่านเป็นนาคบวชแทนผู้ตาย เพื่อไม่ให้พิธีการที่เตรียมไว้เสียไป ซึ่งหลวงพ่อหม่นเองก็ตกลงยอมโกนหัวเข้าสู่พิธีทำขวัญนาค และอุปสมบทในวันรุ่งขึ้น ขณะที่ท่านบวชนั้นภรรยาของท่านเสียชีวิตไปไม่นาน ท่านได้ฝากลูกสองคนไว้กับพี่ๆ น้องๆ ให้ช่วยกันดูแลเลี้ยงแทนด้วย ซึ่งทางบ้านทุกคนก็เต็มใจด้วยดี

ในครั้งนั้นไม่มีใครคาดคิดเลยว่า “นายหม่น” ผู้ที่ยอมโกนหัวบวชเป็นพระแทนนาคผู้เสียชีวิตกระทันหัน จะลาการใช้ชีวิตทางโลกตราบชั่วอายุขัยของท่านเลยเป็น การเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อย่างถาวร เมื่อตอนท่านบวชอายุเท่าไหร่ แม้แต่พระอุปัชฌาย์ตลอดจนฉายาที่ท่านได้รับก็ไม่มีใครทราบ

“หลวงพ่อหม่น” หลังจากที่บวชเป็นพระ ก็เกิดความร่มเย็นในบวรพุทธศาสนา จำพรรษาอยู่ตลอดไม่ยอมสึก ครั้นพอออกพรรษาท่านก็ออกธุดงควัตรปลีกวิเวกแสวงหาสัจธรรมแห่งชีวิต และความหลุดพ้นจากกามกิเลสทั้งหลายทั้งปวง พอเข้าพรรษาบางปีก็กลับมาจำพรรษาที่วัดพระยาปลา บางปีก็ธุดงค์จากถิ่นไปไกลๆ จำพรรษาที่อื่น ส่วนใหญ่เล่ากันว่าท่านจะธุดงค์ไปกับหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา บางครั้งก็จะธุดงค์องค์เดียว ในช่วงระหว่างที่ธุดงค์บำเพ็ญศีลภาวนา อย่างเคร่งครัดนั้น หากท่านพบพระอาจารย์ท่านใดก็จะขอร่ำเรียนวิชาอาคมต่างๆ ซึ่งพระเกจิอาจารย์ส่วนใหญ่จะไปได้วิชาอาคมจากการเดินธุดงค์นั่นเอง จะถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติระหว่างธุดงค์ก็ว่าได้ คือหากพบกันระหว่างทางจะแวะทักทายโอภาปราศัยแลกเปลี่ยนวิชาอาคมซึ่งกันและกัน แล้วก็นำมาปฏิบัติฝึกฝนสร้างสมบารมีให้แก่กล้าขึ้น

อัน “วัดพระยาปลา” นั้น ชาวบ้านผู้เฒ่าผู้แก่เรียกกันติดปากว่า “วัดคลองสิบสอง” ชื่อจริงตามภาษาราชการคือ “วัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์” สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2443 โดยมี “นางผึ้ง” หรือสมัยนั้นเรียกกันว่า “อำแดงผึ้ง” เศรษฐีนีย่านหนองจอกอุทิศที่ดินบริเวณคลอง 12 จำนวน 10 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวาให้เป็นที่สร้างวัดขึ้นมา

หลังจากที่เป็นวัดมีพระสงฆ์จำพรรษาเรียบร้อยแล้ว ชื่อวัดกำหนดเรียกว่า “วัดนารีประดิษฐ์” ในปี พ.ศ.2450 สมัยที่ “หลวงพ่อหม่น” เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด ครั้งนั้น “สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส” เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็น “สมเด็จพระสังฆราช” ได้ทรงเสด็จไปรเวทไปตามลำน้ำต่างๆ ค่ำไหนพักที่นั่น บังเอิญไปพักที่วัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์ พอวันรุ่งขึ้นชาวบ้านก็จัดทำอาหารไปถวาย อาหารที่ถวายส่วนใหญ่มีปลาเป็นหลัก เช่น แกงปลา ปลาทอด ปลานั้นล้วนแต่ตัวใหญ่ๆ ทั้งสิ้น “สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส” ท่านดำรัสว่า “แหมวัดนี้มีปลาใหญ่ๆ น่าจะชื่อวัดพระยาปลา” ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงพากันเรียก “วัดพระยาปลา” มาตลอดจนติดปากจนพักหลังๆ แทบจะไม่มีใครรู้จักชื่อ “วัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์” กันเลย

หลวงพ่อหม่นมรณะภาพเมื่อปี พ.ศ. 2473 อายุประมาณ 80 กว่าปี.

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top