หมวด หลวงพ่อเต๋ - หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม – หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา - หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง
พระรูปเหมือนซุ้มเรือนแก้ว หลวงพ่อเต๋ คงทอง ( คงคสุวัณโณ ) วัดสามง่าม จ. นครปฐม พ.ศ.2503 ด้านหลังยันต
ชื่อร้านค้า | ศิลป์เจริญพร - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระรูปเหมือนซุ้มเรือนแก้ว หลวงพ่อเต๋ คงทอง ( คงคสุวัณโณ ) วัดสามง่าม จ. นครปฐม พ.ศ.2503 ด้านหลังยันต |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | หลวงพ่อเต๋ - หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม – หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา - หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง |
ราคาเช่า | 1,200 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | 0811178991 (สะดวกรับสายเวลา 18.00 - 20.00 น.) |
อีเมล์ติดต่อ | เนื่องจากมีลูกค้าติดต่อขอเช่าพระมาจำนวนมากต่อวัน ดังนั้นเช่าผ่านLINE จะติดต่อง่ายและสะดวกสุดครับ |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | ศ. - 09 ต.ค. 2563 - 20:48.50 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ส. - 23 ก.ค. 2565 - 22:41.54 |
รายละเอียด | |
---|---|
**รหัส ศ.ร.๑๔๙๗๖ พระรูปเหมือนซุ้มเรือนแก้ว หลวงพ่อเต๋ คงทอง ( คงคสุวัณโณ ) วัดสามง่าม จ. นครปฐม พ.ศ.2503 ด้านหลังยันต์สามง่าม สร้างขึ้นด้วย ดินโป่ง 7 โป่ง ดิน 7 ป่าช้า ดินขุยปู เพราะเชื่อว่าดินดังกล่าว จะมีเทวดารักษา จึงมีอานุภาพแห่งพุทธคุณ และความศักดิ์สิทธิ์สูง ด้านโชคลาภ การค้า การขาย การเสี่ยงโชค รวมถึงการชี้นำไปยังแหล่งร่ำรวยนานับประการ (พิมพ์นี้เริ่มหายาก ของปลอมมีมานานแล้ว และเริ่มไม่มีของแท้ๆให้เห็นแล้วครับ จนบางร้านเปิดราคากันไปไกล 2,000 กว่า แล้วครับ) ประวัติและเกียติคุณ หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม หลวงพ่อเต๋ คงทอง เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน 2434 ณ บ้านสามง่าม หมู่4 โยมบิดาชื่อ จันทร์ โยมมารดาชื่อ บู่ นามสกุล สามง่ามน้อย ท่านมีพี่น้อง 7 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 5 เมื่ออายุครบ 15 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่กับหลวงลุงแดงซึ่งเป็นลุงของท่าน พร้อมกับร่วมกันจัดสร้างวัดใหม่ไปพร้อมกัน รวมทั้งได้ศึกษาวิชาอาคมจากหลวงลุงแดงไปด้วย เมื่อ พ.ศ.2454 ท่านมีอายุครบ 21 ปี จึงได้ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี พระครูอุตตรการบดี ( หลวงพ่อทา) วัดพระเนียงแตก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์เทศ วัดทุ่งผักกูด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการจอม วัดลำเหย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า คงทอง เมื่ออุปสมบทแล้วได้ไปศึกษาเล่า เรียนทั้งทางธรรมและวิชาอาคมกับหลวงพ่อทา วัดเพียงแตก ต่อมาเมื่อหลวงลุงแดง ก่อนมรณภาพลงได้ฝากฝังวัดสามง่ามให้หลวงพ่อเต๋ ดูแล หลวงพ่อเต๋ เริ่มออกธุดงค์ระหว่าง พ.ศ.2455-2477 รวมเป็น 17 ปี รวมทั้งการศึกษาอาคมเพิ่มเติ่มนอกเหลือจากการศึกษาจากหลวงลุงแดงและหลวงพ่อทาวัดพะเนียงแตก ต่อมาได้ไปศึกษาวิชาเพิ่มเติมกับ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้องจากนั้นก็ธุดงค์ไปเรื่อยๆ ในสถานที่ต่างๆและได้ไปเรียนเพิ่มกับพระอาจารย์รูปอื่นๆรวมทั้งอาจารย์ฆราวาสที่เป็นชาวเขมร ซึ่งเคยเป็นอดีตแม่ทัพเขมร และเป็นอาจารย์ที่หลวงพ่อเต๋ให้ความนับถือมาก ( ในสมัยท่านมีชีวิตหลวงพ่อเต๋จะทำการไหว้ครูเขมรมิขาด) ภายหลังที่กลับมาพำนักได้ 3 ปีท่านได้ทำการปฏิสังขรณ์วัดสามง่าม อย่างมานะอันแรงกล้าอย่างหาที่สุดเปรียบมิได้ รวมทั้งการพัฒนา โรงพยาบาล สถานีอนามัย โรงเรียน สถานีตำรวจ ฯลฯ หลวงพ่อเต๋ เป็นผู้กอปรด้วยความเมตตาปราณี ท่านจะให้ความรักแก่ศิษย์ทุกคนโดยไม่เลือกที่รักที่ชัง นอกจากนี้ท่านยังให้ความเมตตาแก่สัตว์เลี้ยง ก่อนท่านจะฉันภัตตาหาร ท่านจะต้องให้ข้าวสัตว์เหล่านี้เป็นนิล เมื่อ พ.ศ.2475 กรรมการสงฆ์จังหวัดได้พิจารณาแต่งตั้งให้หลวงพ่อเต๋เป็นเจ้าอาวาสวัดสามง่าม และปี พ.ศ.2476 แต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าคณะตำบล ปกครอง 5 วัด การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อเต๋ ท่านจะสร้างไว้หลายแบบหลายชนิดในสมัยสงครามโลกครั้งที่2 แต่ละอย่างล้วนมีอภินิหารเป็นที่ประจักษ์และเล่าขานกันมาทุกวันนี้ วัตถุมงคลของท่านไม่ได้เน้นเรื่องความสวยงามแต่เน้นเรื่องพุทธคุณเพราะท่านตั้งใจสร้างเพื่อให้บูชาพกติดตัวป้องกันภัยต่างๆ ส่วนมากเป็นเนื้อ ดินผสมผงป่นว่าน เนื้อดินอาถรรพณ์ที่นำมาเป็นมวลสารนั้นได้แก่ ดิน 7 โป่ง ดิน 7 ป่าช้า ดินขุยปู เป็นต้น ด้านหลังพระทุกพิมพ์จะประทับชื่อ หลวงพ่อเต๋ กดลึกลงเนื้อพระ ส่วนวัตถุมงคลที่สร้างชื่อเสียงให้ท่านจนทุกวันนี้คือ ตุ๊กตาทอง ( กุมารทอง) ตำราการสร้างได้จากหลวงลุงแดง นำดิน7 โป่ง ดิน 7 ป่าช้า ดินขุยปู เป็นต้นมาปั้นแจกชาวบ้าน นำไปเพื่อคุ้มครอง การปลุกเสกนั้นหลวงพ่อเต๋ จะปั้นแล้วเอาวางนอนไว้แล้วทำการปลุกเสกให้ลุกขึ้นมาเองตามตำรา ผู้ที่ได้รับไปบูชามักจะมีเรื่องเล่าสู่กันฟังเป็นมี่อัศจรรย์ทางต่างๆ หลวงพ่อเต๋ คงทอง มรณะภาพลงโดยอาการสงบเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2524 รวมสิริอายุได้ 80 ปี 6 เดือน10วัน พรรษาที่ 59 ปัจจุบันทางวัดเก็บรักษาสังขารท่านไว้ให้ลูกศิษย์ลูกหารวมทั้งผู้เคารพศรัทธาไปกราบไหว้จนทุกวันนี้ แหล่งที่มา นิตยสารคเณศ์พร ฉบับอมตวัตถุมงคลยอดนิยมหลวงพ่อเต๋ |