พระรูปเหมือนเนื้อผงผสมดินดิบ พิมพ์สามเหลี่ยม หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม พ.ศ.๒๕๑๘ สภาพสวย เ-ศิลป์เจริญพร - webpra
VIP
"ร้านนี้พระเครื่องยุคเก่า น้อมบูชาคุณ พระสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พุทธคุณ ล้ำค่ายิ่งทางใจ"

หมวด หลวงพ่อเต๋ - หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม – หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา - หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง

พระรูปเหมือนเนื้อผงผสมดินดิบ พิมพ์สามเหลี่ยม หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม พ.ศ.๒๕๑๘ สภาพสวย เ

พระรูปเหมือนเนื้อผงผสมดินดิบ พิมพ์สามเหลี่ยม หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม พ.ศ.๒๕๑๘ สภาพสวย เ - 1พระรูปเหมือนเนื้อผงผสมดินดิบ พิมพ์สามเหลี่ยม หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม พ.ศ.๒๕๑๘ สภาพสวย เ - 2พระรูปเหมือนเนื้อผงผสมดินดิบ พิมพ์สามเหลี่ยม หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม พ.ศ.๒๕๑๘ สภาพสวย เ - 3พระรูปเหมือนเนื้อผงผสมดินดิบ พิมพ์สามเหลี่ยม หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม พ.ศ.๒๕๑๘ สภาพสวย เ - 4พระรูปเหมือนเนื้อผงผสมดินดิบ พิมพ์สามเหลี่ยม หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม พ.ศ.๒๕๑๘ สภาพสวย เ - 5
ชื่อร้านค้า ศิลป์เจริญพร - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระรูปเหมือนเนื้อผงผสมดินดิบ พิมพ์สามเหลี่ยม หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม พ.ศ.๒๕๑๘ สภาพสวย เ
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ หลวงพ่อเต๋ - หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม – หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา - หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง
ราคาเช่า 400 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 0811178991 (สะดวกรับสายเวลา 18.00 - 20.00 น.)
อีเมล์ติดต่อ เนื่องจากมีลูกค้าติดต่อขอเช่าพระมาจำนวนมากต่อวัน ดังนั้นเช่าผ่านLINE จะติดต่อง่ายและสะดวกสุดครับ
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ จองแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ศ. - 13 ก.ย. 2567 - 19:19.07
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 28 ต.ค. 2567 - 21:54.43
รายละเอียด
**รหัส ศ.ร.๒๓๑๖๑
พระรูปเหมือนเนื้อผงผสมดินดิบ พิมพ์สามเหลี่ยม หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม พ.ศ.๒๕๑๘ สภาพสวย เริ่มหายากแล้วครับ



หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม หลวงพ่อเต๋เป็นพระยุคเก่าที่สร้างพระเนื้อดินได้ขึ้น ขลังและศักดิ์สิทธิ์มาก จนพระยุคแรกอย่างขุนแผนหลังมิ ราคาไปไกลหลักหมื่นจนเป็นที่เสาะหา พระหลวงพ่อเต๋ทุกรุ่นน่าใช้ และบางรุ่นราคายังไม่สูงมาก พอหามาใช้ได้

พระผงรูปเหมือนพิมพ์ที่นำมานี้ น่าใช้มาก ปลุกเสกนานเป็นไตรมาส เป็นพระบ้าน สวยเดิม ทั่วไปเปิดอยู่หลักพัน เช็คราคาได้จาก google ครับ เก็บก่อนแพงครับ


เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘ ทางมูลนิธิ ได้ขออนุญาต หลวงพ่อเต๋ จัดสร้าง พระผงรูปเหมือน จำนวน ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กจัดทำด้วย เนื้อผงผสมดินดิบ จำนวนพิมพ์ละ ๘๔,๐๐๐องค์ (เท่าพระธรรมขันธ์) ซึ่งหลวงพ่อเต๋ก็อนุญาตและได้มอบผงวิเศษที่ท่านได้เขียนแล้วลบไว้ มอบให้ผู้ดำเนินการจัดสร้างนำไปผสมกับมวลสารอื่นๆ

พิมพ์ใหญ่ ลักษณะพระเป็นรูปทรงเล็บมือขนาดใหญ่ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนของหลวงพ่อเต๋อยู่ภายในซุ้มลายกนก ใต้ฐานประทับกระต่าย (ท่านเกิดปีเถาะ)ด้านหลังมีอักขระยันต์ และจารึกชื่อคำว่า มูลนิธิ และ หลวงพ่อเต๋ คงทอง กดลึกลงไปในเนื้อพระ

พิมพ์เล็ก รูปทรงห้าเหลี่ยม บริเวณเหลี่ยมโค้งเล็กน้อยจนดูคล้าย จอบ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนของหลวงพ่อเต๋ อยู่ภายในซุ้มลายกนก ใต้ฐานเป็นกรอบภายในจารึกชื่อ หลวงพ่อเต๋ คงทอง ด้านหลังมีอักขระยันต์แบบเดียวกับพิมพ์ใหญ่ แต่คำว่า มูลนิธิ อยู่บริเวณด้านล่างใต้ยันต์และไม่มีชื่อหลวงพ่อเต๋

ทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กทำด้วย เนื้อผงผสมดินดิบ เช่นเดียวกัน แต่เนื่องจากจำนวนพระสร้างถึงพิมพ์ละ ๘๔,๐๐๐ องค์ ดังนั้น เนื้อหาตลอดจนสีองค์พระ จึงแตกต่างกันบ้าง มีทั้งสี เหลืองอ่อน-เข้ม

หลวงพ่อเต๋ คงทอง ปลุกเสกเดี่ยว นานถึง ๑ ไตรมาส(๓เดือน)ก่อนที่จะมอบให้มูลนิธิไปจำหน่ายจ่ายแจกตามวัตถุประสงค์ ที่ขออนุญาตไว้ ปัจจุบัน พระชุดนี้ทางวัดคงทองจำหน่ายจ่ายแจกให้ประชาชนเช่าบูชาจนหมดจากวัดไปนานแล้วหายาก น่าใช้จริงๆครับรุ่นนี้


ประวัติและเกียติคุณ หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม

หลวงพ่อเต๋ คงทอง เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน 2434
ณ บ้านสามง่าม หมู่4 โยมบิดาชื่อ จันทร์ โยมมารดาชื่อ บู่ นามสกุล สามง่ามน้อย ท่านมีพี่น้อง 7 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 5 เมื่ออายุครบ 15 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่กับหลวงลุงแดงซึ่งเป็นลุงของท่าน พร้อมกับร่วมกันจัดสร้างวัดใหม่ไปพร้อมกัน รวมทั้งได้ศึกษาวิชาอาคมจากหลวงลุงแดงไปด้วย เมื่อ พ.ศ.2454 ท่านมีอายุครบ 21 ปี จึงได้ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี พระครูอุตตรการบดี ( หลวงพ่อทา) วัดพระเนียงแตก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์เทศ วัดทุ่งผักกูด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการจอม วัดลำเหย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า คงทอง เมื่ออุปสมบทแล้วได้ไปศึกษาเล่า เรียนทั้งทางธรรมและวิชาอาคมกับหลวงพ่อทา วัดเพียงแตก ต่อมาเมื่อหลวงลุงแดง ก่อนมรณภาพลงได้ฝากฝังวัดสามง่ามให้หลวงพ่อเต๋ ดูแล

หลวงพ่อเต๋ เริ่มออกธุดงค์ระหว่าง พ.ศ.2455-2477 รวมเป็น 17 ปี รวมทั้งการศึกษาอาคมเพิ่มเติ่มนอกเหลือจากการศึกษาจากหลวงลุงแดงและหลวงพ่อทาวัดพะเนียงแตก ต่อมาได้ไปศึกษาวิชาเพิ่มเติมกับ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้องจากนั้นก็ธุดงค์ไปเรื่อยๆ ในสถานที่ต่างๆและได้ไปเรียนเพิ่มกับพระอาจารย์รูปอื่นๆรวมทั้งอาจารย์ฆราวาสที่เป็นชาวเขมร ซึ่งเคยเป็นอดีตแม่ทัพเขมร และเป็นอาจารย์ที่หลวงพ่อเต๋ให้ความนับถือมาก ( ในสมัยท่านมีชีวิตหลวงพ่อเต๋จะทำการไหว้ครูเขมรมิขาด) ภายหลังที่กลับมาพำนักได้ 3 ปีท่านได้ทำการปฏิสังขรณ์วัดสามง่าม อย่างมานะอันแรงกล้าอย่างหาที่สุดเปรียบมิได้ รวมทั้งการพัฒนา โรงพยาบาล สถานีอนามัย โรงเรียน สถานีตำรวจ ฯลฯ

หลวงพ่อเต๋ เป็นผู้กอปรด้วยความเมตตาปราณี ท่านจะให้ความรักแก่ศิษย์ทุกคนโดยไม่เลือกที่รักที่ชัง นอกจากนี้ท่านยังให้ความเมตตาแก่สัตว์เลี้ยง ก่อนท่านจะฉันภัตตาหาร ท่านจะต้องให้ข้าวสัตว์เหล่านี้เป็นนิล เมื่อ พ.ศ.2475 กรรมการสงฆ์จังหวัดได้พิจารณาแต่งตั้งให้หลวงพ่อเต๋เป็นเจ้าอาวาสวัดสามง่าม และปี พ.ศ.2476 แต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าคณะตำบล ปกครอง 5 วัด

การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อเต๋
ท่านจะสร้างไว้หลายแบบหลายชนิดในสมัยสงครามโลกครั้งที่2 แต่ละอย่างล้วนมีอภินิหารเป็นที่ประจักษ์และเล่าขานกันมาทุกวันนี้ วัตถุมงคลของท่านไม่ได้เน้นเรื่องความสวยงามแต่เน้นเรื่องพุทธคุณเพราะท่านตั้งใจสร้างเพื่อให้บูชาพกติดตัวป้องกันภัยต่างๆ ส่วนมากเป็นเนื้อ ดินผสมผงป่นว่าน เนื้อดินอาถรรพณ์ที่นำมาเป็นมวลสารนั้นได้แก่ ดิน 7 โป่ง ดิน 7 ป่าช้า ดินขุยปู เป็นต้น ด้านหลังพระทุกพิมพ์จะประทับชื่อ หลวงพ่อเต๋ กดลึกลงเนื้อพระ ส่วนวัตถุมงคลที่สร้างชื่อเสียงให้ท่านจนทุกวันนี้คือ ตุ๊กตาทอง ( กุมารทอง) ตำราการสร้างได้จากหลวงลุงแดง นำดิน7 โป่ง ดิน 7 ป่าช้า ดินขุยปู เป็นต้นมาปั้นแจกชาวบ้าน นำไปเพื่อคุ้มครอง การปลุกเสกนั้นหลวงพ่อเต๋ จะปั้นแล้วเอาวางนอนไว้แล้วทำการปลุกเสกให้ลุกขึ้นมาเองตามตำรา ผู้ที่ได้รับไปบูชามักจะมีเรื่องเล่าสู่กันฟังเป็นมี่อัศจรรย์ทางต่างๆ หลวงพ่อเต๋ คงทอง มรณะภาพลงโดยอาการสงบเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2524 รวมสิริอายุได้ 80 ปี 6 เดือน10วัน พรรษาที่ 59 ปัจจุบันทางวัดเก็บรักษาสังขารท่านไว้ให้ลูกศิษย์ลูกหารวมทั้งผู้เคารพศรัทธาไปกราบไหว้จนทุกวันนี้



แหล่งที่มา นิตยสารคเณศ์พร ฉบับอมตวัตถุมงคลยอดนิยมหลวงพ่อเต๋

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

Top