หมวด พระกรุ เนื้อชิน
พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ สนิมแดง กาญจนบุรี
ชื่อร้านค้า | ตลับเงินตลับทอง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ สนิมแดง กาญจนบุรี |
อายุพระเครื่อง | 706 ปี |
หมวดพระ | พระกรุ เนื้อชิน |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | nongbluestar@yahoo.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | ส. - 04 พ.ค. 2556 - 20:17.58 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | จ. - 18 ก.ย. 2560 - 16:21.57 |
รายละเอียด | |
---|---|
"พระท่ากระดาน" แรกเริ่มนั้น ตั้งชื่อตามนามวัดท่ากระดาน หรือวัดกลาง อันเป็นวัดสำคัญ 1 ใน 3 วัดของเมืองท่ากระดาน เมืองเก่าแก่ริมแม่น้ำแควใหญ่แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา 3 วัดสำคัญนั้นมี วัดเหนือ (วัดบน) วัดกลาง (วัดท่ากระดาน) และวัดล่าง ซึ่งในปี พ.ศ.2495 มีการขุดค้นโบราณวัตถุครั้งใหญ่ ได้พบพระพิมพ์เนื้อตะกั่วสนิมแดงที่วัดทั้งสามเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่วัดท่ากระดาน ปรากฏพระพิมพ์เนื้อตะกั่วสนิมแดง ส่วนใหญ่ปิดทองมาแต่ในกรุ ประกอบกับวัดตั้งอยู่ใจกลางเมืองท่ากระดานเก่า จึงเห็นเหมาะสมที่จะเรียกพระพิมพ์นี้ตามชื่อวัดว่า “พระท่ากระดาน” ผู้สร้างพระท่ากระดาน การสร้างพุทธประติมากรรมในยุคโบราณนั้น หาใช่เป็นงานของสงฆ์ดังเช่นทุกวันนี้ไม่ หากเป็นกรณีของพวกฆราวาสวิสัย พระสงฆ์ในครั้งก่อนนั้นเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ปฏิบัติสมณกิจโดยฝ่ายเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการสร้างพระเครื่องฯ ซึ่งจะต้องมีการประจุพลังอิทธิพุทธาคมด้วยแล้ว ก็จะต้องเป็นงานของพระเกจิอาจารย์ผู้เจริญวิทยาคม อันได้แก่ พระฤๅษีทั้งหลายนั้นเอง ความข้อนี้ย่อมเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปของบรรดานักโบราณคดีเป็นอย่างยิ่งว่าพระเครื่องฯ รุ่นเก่าๆ ที่บรรจุอยู่กรุโบราณต่างๆนั้น ล้วนเป็นประดิษฐ์กรรมของพระฤๅษีในยุคโบราณทั้งสิ้น จากหลักฐานมากมายทำให้เชื่อได้ว่า ผู้สร้างพระท่ากระดาน “มหิทธิฉัททนากร” อันวิเศษนี้น่าจะได้แก่ พระฤๅษีตาไฟ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ของพระฤๅษีผู้เป็นใหญ่เป็นประธานแก่บรรดาพระฤๅษี ๑๑ ตน ที่มาประชุมร่วมกันสร้างพระผงสุพรรณ ฯลฯ และ พระกำแพงทุ่งเศรษฐีนั้น ตามสารคดีแผ่นลานเงินลานทอง แต่การสร้างพระท่ากระดานเป็นกรณีของพระฤๅษีตาไฟตามลำพังแต่ผู้เดียว ท่านผู้สร้างจึงได้แฝงเอกลักษณ์ “ตาแดง” เข้าไว้เป็นพิเศษ แต่มีความเร้นลับยากที่จะมีโอกาสได้ประจักษ์แก่สายตาคนทั่วไป นิวาสถานของพระฤๅษีตาไฟ จากเรื่องราวในจารึกแผ่นลานเงินลานทองตอนที่กล่าวว่าพระฤๅษีผู้ใหญ่ตนหนึ่งในจำนวน ๔ ตนนั้นอยู่ใน สุพรรณบุรี คงจะได้แก่ พระฤๅษีตาไฟเป็นแน่ ท่านคงจะจาริกในย่านป่าเขาเขตกาญจนบุรีกับสุพรรณบุรี (ทางย่านอู่ทอง) คงจะมีอาศรมอยู่ในราวป่าแถบนี้ และบางโอกาสก็มีศีลภาวานาอยู่ในถ้ำต่างๆ ดังเช่นที่ ถ้ำลั่นทม เขตศรีสวัสดิ์ ซึ่งมีหลักฐานว่าเป็น แหล่งกำเนิดที่สร้างพระท่ากระดาน ในระหว่างที่พระฤๅษีตาไฟได้สร้างพระท่ากระดาน ท่านคงจะพำนักอยู่ในถ้ำนี้เอง พระท่ากระดานมีพุทธลักษณะ พระพักตร์เคร่งขรึมน่าเกรงขาม แข้งเป็นสัน และพระหนุแหลมยื่น ลักษณะเหมือน "พระอู่ทองหน้าแก่" อันเป็นพุทธศิลปะสมัยลพบุรี และด้วยอายุการสร้างเกินกว่า 500 ปี พระท่ากระดานส่วนมากจึงเกิดสนิมไขและสนิมแดงขึ้นคลุมอย่างหนาแน่น และส่วนใหญ่ลงรักปิดทองมาแต่เดิม ดังนั้น ข้อพิจารณาเบื้องต้นในการศึกษาพระท่ากระดานจึงต้องพิจารณาสภาพสนิมไขสนิมแดงและรักเก่าทองเก่า โบราณเรียกขาน "พระท่ากระดาน เกศคด ตาแดง" ตามเอกลักษณ์พิเศษคือมีเกศค่อนข้างยาวและคดงอ ส่วนตาแดง นั้นเนื่องจากเป็นพระหล่อจากเนื้อชินตะกั่ว ซึ่งพอได้อายุเนื้อตะกั่วจะขึ้นสนิมปกคลุมบนผิว สนิมตะกั่วมีสีแดง ลักษณะหนา และติดแน่น มีความมันเยิ้ม เมื่อถูกสัมผัสจะยิ่งมันวาว บนสนิมแดงจะเกิดสนิมไขสีขาวครีมเคลือบอยู่อีกชั้น เวลายาวนานทำให้สนิมแดงสีเข้มคล้ายสีเปลือกมังคุด และมี "รอยแตกตามุ้ง" หรือตารางบนเนื้อสนิมแดงและสนิมไข ซึ่งเกิดจากการหดตัวหรือขยายตัวของเนื้อตะกั่วขององค์พระ เอกลักษณ์อีกประการคือ "คราบปูนแคลเซียม" สำหรับพิจารณาพระแท้ของพระเนื้อชินตะกั่วซึ่งเรียกว่า"พระชินสนิมแดง" ตัดกรอบเฉพาะองค์พระ พระเกศนั้นมักจะบิดไปข้างใดข้างหนึ่ง พระพักตร์ก้มง้ำ เอียงพระศอเล็กน้อย พระโอษฐ์และพระปรางเปล่งแววยิ้มอีกเอกลักษณ์หนึ่งเครียดขรึมและเคร่ง ขลัง ดั่งสะกดให้ปืนไฟและดินปืนทั้งหลายเสื่อมสลายสิ้น “ มหิทธิฉัททนากร”... “พระศักรพุทธปฏิมาผู้ทรงพลังมหาอุตม์อันยิ่งใหญ่” ...นั่นคือ พระท่ากระดานกาญจนบุรี องค์นี้ ร่องรอย แตกตามุ้งตามซอกแขน สวยธรรมชาติ เจ้าของเดิมถักลวดห้อยคอไว้ |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments