หมวด พระกริ่ง พระชัยวัฒน์
พระชัยวัฒน์ปวเรศ ปี30
ชื่อร้านค้า | ตลับเงินตลับทอง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระชัยวัฒน์ปวเรศ ปี30 |
อายุพระเครื่อง | 60 ปี |
หมวดพระ | พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | nongbluestar@yahoo.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | พฤ. - 13 ต.ค. 2554 - 14:47.04 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ศ. - 08 มิ.ย. 2555 - 11:33.06 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระชัยวัฒน์ปวเรศ ปี30 วัดบวรนิเวศ หรือเรียกอีกอย่างนึงว่า พระชัยวัฒน์ปวเรศ รุ่น2 สร้างขึ้นที่วัดบวรนิเวศวิหาร ในปี พ.ศ.2530 เนื่องจากทางวัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระราชานุญาต ให้จัดสร้างพระกริ่งปวเรศขึ้น เนื่องในโอกาสมหามงคลที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงเจริญพระชนม์พรรษาครบ๕ รอบ 60 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ประกอบพิธีเททองหล่อปฐมมหามงคลฤกษ์ ณ บริเวณพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม 2528 พระกริ่งปวเรศ ที่ทรงประกอบพิธีเททองหล่อ มีจำนวน 10 ช่อ โดยที่ในแต่ละช่อมีจำนวนพระกริ่งทั้งหมด 21 องค์ และยังมีพระชัยวัฒน์ปวเรศ อีก 10 ช่อด้วย แต่พระชัยวัฒน์ปวเรศนั้น ในแต่ละช่อ มีพระชัยวัฒน์ปวเรศอยู่ 31 องค์ครับ ซึ่งทางวัดได้นำช่อพระกริ่งจำนวน 20 ช่อ ที่ได้จากพิธีทรงเททองมาเป็นชนวนหลักในการหล่อด้วย โดยทางวัดได้นำชนวนทั้ง 20 ช่อหล่อหลอมรวมเข้ากับเนื้อนวโลหะมงคลอีกจำนวนมากมาย เพื่อใช้ในการหล่อพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ปวเรศ ตามจำนวนการสร้าง 25,300 ชุด และพระชัยวัฒน์ที่หล่อในลำดับต่อมานั้น เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้ประกอบพิธีเททองหล่อติดต่อกันถึง 9 วัน ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ถึง 7 มีนาคม พ.ศ.2529 โดยมีพระอมรโมลี ( เจ้าคุณอมรฯ สมณะศักดิ์ในขณะนั้น ปัจจุบัน คือ พระพรหมมุนี ) เป็นผู้ทำการควบคุมกระบวนการหล่อพระ พระอาจารย์กิจจา วาจาสัจ เป็นผู้ดำเนินงาน และช่างประสิทธิ์ พรหมรักษ์ เป็นหัวหน้าคณะทำงานหล่อพระกริ่งปวเรศและพระชัยวัฒน์ปวเรศ ปี30 ทั้งหมด พระกริ่งปวเรศและพระชัยวัฒน์ที่สร้างขึ้นในปี 2530 นี้ เป็นการเททองหล่อแบบดินไทย เป็นกรรมวิธีแบบโบราณ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้มีความสลับซับซ้อนและยุ่งยากมาก ที่สำคัญคือเสียเวลามากกว่าการสร้างพระกริ่งสมัยใหม่พอสมควร ซึ่งการสร้างพระกริ่งสมัยใหม่นั้น จะทำกันในโรงงานด้วยการฉีดเนื้อโลหะที่หลอมเหลวแล้วใส่เข้าไปในแม่พิมพ์โดยตรง จึงทำให้ได้พระที่สวยงามเหมือนกันในเวลาอันรวดเร็วและสามารถสร้างได้จำนวนมากมาย พระกริ่งปวเรศ และพระชัยวัฒน์ชุดนี้ สร้างขึ้นด้วยวิธีหล่อแบบโบราณ จึงได้องค์พระที่ไม่ค่อยคมชัด ผิวพระที่ได้จากการหล่อจะมีรูพรุนมากบ้างน้อยบ้าง จึงต้องทำการตกแต่งด้วยตะไบ ซึ่งทางวัดได้จัดสถานที่และคณะช่างที่จะทำการตกแต่งพระ รวมทั้งการบรรจุ เส้นพระเจ้า ( เส้นพระเกศา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ) ผงจิตรลดา ที่ได้รับพระราชทาน และบรรจุเม็ดกริ่ง ภายในวัดทั้งหมดทุกขั้นตอน โดยห้ามนำพระกริ่งออกจากสถานที่โดยเด็ดขาดและมีการตรวจตราอย่างเข้มงวดอีกด้วย ภายหลังจากตกแต่งพระกริ่งปวเรศและพระชัยวัฒน์เสร็จสิ้น ทางวัดได้จัดให้มีพิธีพุทธาภิเษก ถึง 3 ครั้ง ด้วยกัน พิธีพุทธาภิเษก ครั้งที่ 1 วันเสาร์ที่ 12 เมษายน 2529 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร โดยมี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธี และสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานพิธีอธิษฐานจิต มีพระคณาจารย์หลายรูปร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต ครั้งที่ 2 พิธีวันวิสาขบูชา วันพุธที่ 21 และวันพฤหัสบดีที 22 พฤษภาคม 2529 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงเป็นองค์ประธานในพิธี ครั้งที่ 3 พิธีพุทธาภิเษกอย่างเป็นทางการ ณ พระอุโบสถพระศรีรัตนศาสดาราม วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน 2530 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จฯเป็นองค์ประธานในพิธี, สมเด็จพระสังฆราช(วาสน์) วัดราชบพิธฯ ทรงจุดเทียนชัย, สมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงเป็นประธานพิธี อธิฐานจิตร่วมกับพระภาวนจารย์อีก 36 รูป ทั่วประเทศร่วมนั่งปรกอธิฐานจิต เมื่อเสร็จสิ้นพิธีพุทธาภิเษกทั้งหมดแล้ว ทางวัดได้นำพระกริ่งปวเรศ และพระชัยวัฒน์ปวเรศ ออกให้สาธุชนทำบุญเช่าบูชาเป็นการกุศล ชุดละ 5,000 บาท โดยใน 1 ชุดจะมีพระกริ่งปวเรศ 1 องค์ และพระชัยวัฒน์ปวเรศ 1องค์ กล่องกำมะหยี่และหนังสือปกสีเหลือง 1 เล่ม… สำหรับองค์นี้ สวยมาก ดีกรีที่ 3 งานใหญ่ครับ |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments