หมวด พระกริ่ง พระชัยวัฒน์
พระกริ่ง ภปร. วัดบวรนิเวศวิหาร ปี2508
ชื่อร้านค้า | ตลับเงินตลับทอง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระกริ่ง ภปร. วัดบวรนิเวศวิหาร ปี2508 |
อายุพระเครื่อง | 52 ปี |
หมวดพระ | พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | nongbluestar@yahoo.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | อ. - 26 เม.ย. 2554 - 21:40.46 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พ. - 15 ก.ค. 2563 - 18:59.33 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระพุทธรูปและพระกริ่ง ภ.ป.ร. วัดบวรนิเวศวิหาร ปี2508 ที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ เดิมคณะกรรมการจะจัดสร้างตามแบบพระพุทธรูป ภ.ป.ร. พระกฐินต้น ปี2506 วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) กาญจนบุรี ทุกประการ แต่เมื่อคณะกรรมการได้นำพระพุทธรูป ที่ออกแบบสร้างแล้วขึ้นทูลเกล้าฯถวาย...ท่านทรงพระมหากรุณาธิคุณฯ แก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบให้ถูกต้องเหมาะสมกับพระพุทธลักษณะยิ่งขึ้น ด้วยพระบรมราชวินิจฉัยของพระองค์เอง พระองค์ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย แก้ไขพุทธลักษณะคล้ายคลึงใกล้เคียงไปทางพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเป็นอันมาก นอกจากนี้ยังได้พระราชทานภาษิต สำหรับจารึกไว้ที่ฐานด้านหน้า เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชาติว่า ทยฺยชาติยา สามคฺคิย สติสญฺชานเนน โภชิสิย รกฺขนฺติ แปลว่า คนชาติไทย จะรักษาความเป็นไท อยู่ได้ด้วยมีสติสำนึกอยู่ในความสามัคคี ส่วนที่ฐานด้านหลังจารึกใจความว่า เสด็จพระราชดำเนินในพิธีหล่อ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2508 โดยมอบหมายให้ศาสตราจารย์ ไทฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ นายช่างศิลป์กรมศิลปากร ปั้นหุ่นขึ้นใหม่ ได้ทรงควบคุมการปั้นหุ่น ให้อยู่ในพระบรมราชวินิจฉัยโดยตลอด ฉะนั้น พระพุทธรูป ภ.ป.ร. รุ่นนี้ จึงสมบูรณ์แบบครบถ้วน รวมเอาสัญลักษณ์ของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เข้าไว้ด้วยกันอย่างบริบูรณ์ มีคุณค่าทั้งทางศิลปะประติมากรรม ประวัติศาสตร์ และคุณค่าแห่งจิตใจ พิธีกรรม การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ครั้งนี้เป็นเวลา 3 วันโดยในหนังสือ จาตุรงคมงคล ของวัดบวรนิเวศ ได้บันทึกพิธีกรรมไว้ว่า วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2508 เวลา 16.20 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯเข้าสู่พระอุโบสถ ทรงประเคนผ้าไตรแด่ สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ พร้อมพระสงฆ์ที่มาในพิธีพุทธาภิเษกทั้งหมดแล้ว เฉพาะสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ 10 รูป ที่เจริญพุทธมนต์ออกไปครองผ้า แล้วกลับมานั่งยังอาสนะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย สมเด็จพระราชาคณะประธานพระสงฆ์ถวายศีลจบ พระราชครูวามเทพมุนีถวายน้ำเทพมนต์แล้วพระสงฆ์ 10 รูป เจริญพระพุทธมนต์ และลงคาถาในแผ่นโลหะที่จะผสมหล่อพระพุทธรูปจบแล้ว ได้เวลาพระฤกษ์ (17.16 – 17.41 น.) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดเทียนทอง ทรงตั้งสัตยธิษฐาน ถวายเทียนทองนั้นแต่สมเด็จพระราชาคณะผู้เป็นประประธานสงฆ์จุดเทียนชัย พราหมณ์เป่าสังข์ ชาวพนักงานประโคมสังข์ แตรบัณเฑาะว์และดุริยางค์ พระสงฆ์เจริญคารา จุดเทียนชัยจบแล้วถวายอนุโมทนาถวายดิเรก (ไม่ออกจากพระอุโบสถ คงนั่งอยู่ตามเดิม) เจ้าพนักงานนิมนต์พระราชาคณะที่นั่งปรกขึ้นนั่งยังอาสนะหน้าตู้เทียนชัย และพรสงฆ์ที่จะสวดภาณวารขึ้นนั่งยังเตียงมณฑล พร้อมแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องบูชาธรรมที่มณฑลพระสวดภาณวาร เสด็จพระราชดำเนินกลับ พระสงฆ์สวดภาณวารต่อไปคณาจารย์นั่งปรกทำการปลุกเสกโลหะต่าง ๆ ตลอดคืน พระราชครูวามเทพมุนีประกอบพิธีบูชากุมภ์ประพรมน้ำเทพมนต์ปลุกเสกโลหะต่าง ๆ วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิได้เสด็จฯ พระภาวนาจารย์และพระเกจิอาจารย์ หมุนเวียนกันนั่งปลุกเสกโลหะ ที่จะใช้หล่อพระ และถ่ายรูปพร้อมกันเป็นที่ระลึก โดยมีพิธีปลุกเสกตลอดคืนเช่นกันกับวันแรก วันอาทิตย่ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2508 เวลา 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯไปยังปะรำพิธีมณฑลหน้าตึกมนุษย์นาควิทยาทาน โรงเรียนวัดบวรนิเวศฯ ทรงจุดธูปเทียนสักการบูชาพระรัตนตรับเสร็จแล้ว จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ประธานการสร้าง อ่านรายงานกราบบังคมทูลการสร้างพระพุทธรูป, พระกริ่ง ภ.ป.ร. จากนั้นได้เวลาพระฤกษ์ 16 นาฬิกา 13 นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯไปยังเบ้าหล่อพระแล้วทรงหย่อนทองสำหรับหล่อพระพุทธรูป มีพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ในเตาแรกไปจนครบ 32 เตา พระสงฆ์ในวิหารและกับพระคณาจารย์ที่นั่งอยู่รอบพิธีมณฑลทั้ง 8 ทิศ เจริญชัยมงคลคาถา ชาวพนักงานประโคมฆ้องชัยสังข์แตรดุริยางค์ พระราชครูวามเทพมุนีรดน้ำสังข์ที่เบ้าภายหลังหล่อพระทุกเบ้าตามลำดับ เสร็จแล้วเสด็จฯไปประกอบพิธียังพระเจดีย์หลังพระอุโบสถ พระพุทธชินสีห์ต่อไป วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ของการสร้างพระพุทธรูป ภ.ป.ร. วัดบวรนิเวศวิหาร ปี พ.ศ. 2508 เพื่อนำรายได้ขึ้นทูลเกล้าฯถวายเพื่อบูรณะพระอุโบสถวัดบวรนิเวศฯ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ อันเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่กับพระพุทธชินราช และเป็นพระอารามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ ประทับขณะทรงผนวช ส่วนหนึ่งเพื่อสร้างโรงเรียนขึ้นที่วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) การญจนบุรี อันเป็นพระอารามที่เริ่มดำริสร้างพระพุทธรูปนี้ขึ้น ส่วนหนึ่งพระราชทานแด่องค์การสาธารณกุศลตามพระราชอัธาศัย วัตถุมงคลที่จัดสร้าง คณะกรรมการได้กำหนดการสร้างวัตถุมงคล แบ่งออกเป็น 3 ขนาดด้วยกัน และกำหนดราคาการสั่งจองไว้ดังนี้ 1.) พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว รมดำ องค์ละ๑,๖๐๐บาท 2.) พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว รมดำ องค์ละ๕๐๐บาท 3.) พระกริ่ง ภ.ป.ร. สัมฤทธิ์ รมดำ และ กะไหล่ทอง องค์ละ๕๐บาท และปรากฏว่ามีผู้สั่งจองกันอย่างมากมายเป็นประวัติการณ์ กล่าว คือ ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว มีผู้สั่งจอง 4,247 องค์ ,ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว มีผู้สั่งจองถึง 21,449 องค์ รวมแล้วเป็นจำนวนถึง 25,696 องค์ นับเป็นการสร้างพระพุทธรูปครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ด้วยจำนวนพระที่มากเป็นประวัติการณ์ดังกล่าว ประกอบด้วยการดำเนินงานเป็นไปอย่างล่าช้าไม่ทันใจผู้สั่งจอง เวลา 3 – 4 ปีผ่านไป ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะได้รับพระพุทธรูปที่สั่งจอง เมื่อผ่านการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2512 สม่าชิกสภาผู้แทนมีการตั้งกระทู้ถามถึงเรื่องการสร้างพระพุทธรูป ภ.ป.ร. นี้ ฉะนั้นการสร้างจึงมีทยอยออกมาเป็นรุ่น ๆ มีการประกอบพิธีพุทธาภิเษกต่างกรรมต่างวาระกันไปพิธีกรรมต่าง ๆ ดังกล่าวมาเบื้อต้นเป็นพิธีกรรมการสร้างในครั้งแรก ซึ่งเป็นการเทหล่อโบราณแบบดินไทย ต่อมาคณะกรรมการมอบให้ กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ สั่งซื้อเครื่องมือหล่อโลหะ ตามกรรมวิธีสมัยใหม่เข้ามาใช้เป็นครั้งแรก เพื่อหล่อสร้างให้เสร็จรวดเร็วทันกับความต้องการของผู้สั่งจอง การพิจารณา พอสรุปได้ว่าการสร้างพระพุทธรูป ภ.ป.ร. ทั้งสองขนาด ดังนี้ ครั้งแรก สร้างด้วยวิธีหล่อโบราณแบบดินไทย พลิกดูใต้ฐานจะปรากฏคราบดินไทย และดินทรายหุ่นพระ อัดแน่นอยู่ภายใน โดยมีข้อสังเกตพอเป็นแนวทางดังนี้ พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว เนื้อพระจะมีความหนาและปรากฏตะปูยึดพิมพ์ฝังอยู่ในเนื้อภายในใต้ฐานขององค์พระ ปรากฏคราบดินไทย และทราย ที่ขึ้นหุ่นพระ จึงจะเป็นพระยุคแรกที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน หากแตกต่างไปจากนี้ถือเป็นรุ่นหลัง ซึ่งความนิยมจะน้อยกว่า พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว การสร้างครั้งแรก เป็นหล่อโบราณแบบดินไทย เช่นเดียวกับขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว ข้อสังเกตเพิ่มเติมคือ จะมีชนวนที่ฐานด้านล่างทั้ง ซ้าย-ขวา และฐานด้านหลังเป็นเนื้อปูดออกมา ซึ่งนั่นก็คือร่องรอยชนวนสำหรับเทโลหะให้ไหลไปตามแม่พิมพ์นิยมเรียกกันว่า สามขา การตอกหมายเลขประจำองค์พระเป็นเลขอารบิคตอกบริเวณผนังฐานด้านใน บริเวณตรงกับพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. จำนวนสี่หลัก หรือ หลักพัน แต่ไม่ทราบจำนวนแน่ชัดว่ากี่พัน ลักษณะพระพักตร์สั้น, พระกรรณยาว, ตัวหนังสือจารึกภาษิตพระราชทานเรียบร้อยสวยงาม กว่ายุคหลัง ครั้งต่อมา รับผิดชอบโดย กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ ซึ่งได้สั่งซื้อเครื่องมืออันทันสมัยมาใช้ สร้างด้วยหุ่นดินฝรั่ง หรือก็คือปูนขาวนั่นเอง เมื่อล้างทำความสะอาดเอาคราบปูนขาวออกผิวพรรณบริเวณใต้ฐานด้านในจะมีความเรียบร้อยสวยงามและมีลักษณะย่นคล้ายหนังไก่ จึงนิยมเรียก รุ่นหนังไก่ การสร้างเพิ่มโดยกองกษาปณ์นั้น ครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 3 มีเลขลำดับบอกครั้งที่สร้างนำหน้า ตามด้วยขีดและหมายเลขประจำองค์พระ เช่น การสร้างเสริมครั้งที่ 1 หมายเลขประจำองค์พระ 789 ก็จะตอกตัวเลขเป็น 1-789 ครั้งที่ 2 และ 3 จะตอกตัวเลขเป็น 2-789, 3-789 ตามลำดับอย่างไรก็ตาม การสร้างเสริมครั้งที่ 1 ถึง 3 ดังกล่าวนั้น หมายเลขประจำองค์พระในแต่ละครั้งจะเป็นตัวเลขเพียงสี่หลักเท่านั้น ไม่เกินกว่านี้ และหลังจากการสร้างเสริมครั้งที่ 3 แล้วก็ไม่ได้ตอกเลขลำดับครั้ง เลขประจำองค์พระอีกเลย ในพระบูชาขนาดหน้าตัก 5 นิ้วนั้น รุ่นแรก หรือ รุ่นสามขา ได้รับความนิยมสูงสุด รองลงมาก็จะเป็นสร้างเพิ่มครั้งที่ 1, 2, 3 ตามลำดับที่ไม่ตอกหมายเลขได้รับความนิยมน้อยสุด พระกริ่ง ภปร รุ่นนี้ จัดสร้างด้วยวิธีการปั๊มโดยนำชนวนจากการเททองหล่อพระพุทธรูป ภปร ทั้งสองขนาดมาปั๊มเป็นองค์พระ จัดสร้างเป็น 3 เนื้อ คือ 1.เนื้อทองคำ จัดสร้างเพียง 32 องค์ 2.เนื้อทองแดงรมดำ จัดสร้างประมาณ 10,000 องค์ และ 3.เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด พระกริ่ง ภปร. รุ่นนี้ มีการสร้างขึ้นสองครั้ง ด้วยกันคือ ครั้งแรกสร้างเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2508 ในคราวพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระชนมายุเสมอด้วยสมเด็จพระราชบิดา และงาน สมโภชพระเจดีย์ทอง ครั้งที่สอง สร้างเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2515 ในพิธีพุทธาภิเษก-มังคลาภิเษกวัตถุมงคลอนุสรณ์ ในงาน “วชิรวงศานุสรณ์” (อนุสรณ์ 100 ปี พระชนมายุสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระราชอุปัธยาจารย์) ทั้งสองพิธีนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีทั้งสองครั้งเช่นกัน การพิจารณา “พระกริ่ง ภปร พ.ศ.2508” ที่สร้างขึ้น ครั้งแรกและครั้งที่สอง แตกต่างกันดังนี้ 1.ให้สังเกตที่ใต้ฐานองค์พระหากเป็น “รุ่นแรก” ที่สร้างเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2508 จะมี “รอยตะไบที่หยาบมากถึงรอยตะไบแผ่วๆ” ส่วนรุ่นที่สร้าง “ครั้งที่สอง” เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ใต้ฐานจะเรียบเพราะมีการปัดแต่งทำให้เห็นรอยอุดกริ่งชัดเจน 2.น้ำยาที่ใช้ “รมดำ” องค์พระ “รุ่นแรก” จะออกสีน้ำตาลอมแดงส่วน “รุ่นสอง” จะออกสีดำชัดเจนและบางองค์ออกสีน้ำเงินยวงหรือสีปีกแมงทับก็มี แสดงให้เห็นได้ชัดว่าเป็นการรมดำที่ยังสดใหม่อยู่นั่นเอง สำหรับพระองค์นี้เป็น พระกริ่ง ภปร.รุ่นแรก ตะไบหยาบ ผิวไฟเดิม สวยงามมาก |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments