พระกริ่งดำรงราชานุภาพ รุ่นแรก พ.ศ. 2533 -ตลับเงินตลับทอง - webpra
สิ้นลม สมบัติ ไม่ติดกาย ของดีมากมาย จะคู่กาย ผู้มีบารมีสืบต่อไป nongbluestar**081-6391688**

หมวด พระกริ่ง พระชัยวัฒน์

พระกริ่งดำรงราชานุภาพ รุ่นแรก พ.ศ. 2533

พระกริ่งดำรงราชานุภาพ รุ่นแรก พ.ศ. 2533  - 1พระกริ่งดำรงราชานุภาพ รุ่นแรก พ.ศ. 2533  - 2พระกริ่งดำรงราชานุภาพ รุ่นแรก พ.ศ. 2533  - 3พระกริ่งดำรงราชานุภาพ รุ่นแรก พ.ศ. 2533  - 4
ชื่อร้านค้า ตลับเงินตลับทอง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระกริ่งดำรงราชานุภาพ รุ่นแรก พ.ศ. 2533
อายุพระเครื่อง 30 ปี
หมวดพระ พระกริ่ง พระชัยวัฒน์
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ nongbluestar@yahoo.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ส. - 11 ต.ค. 2557 - 20:41.16
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 11 ต.ค. 2557 - 20:41.16
รายละเอียด
พระกริ่งดำรงราชานุภาพ รุ่นแรก พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี ของการก่อตั้งกระทรวงมหาดไทย โดยมีเสด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นองค์ปฐมเสนาบดีพระองค์แรก
วัตถุมงคลต่าง ๆ ที่สร้างนั้น ประกอบด้วย รูปเหมือนครึ่งองค์และเหรียญ สองขนาดรูปเหมือนของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และพระกริ่งดำรงราชานุภาพ
ในการสร้างพระกริ่งดำรงราชานุภาพนั้น ที่ประชุม เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2532 มีมติร่วมกันว่า ให้ถอดแบบจากพระกริ่งองค์ที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงใช้ประจำพระองค์ ซึ่งขณะนั้นท่านอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย นายพิศาล มูลศาสตรสาทร เป็นผู้เก็บรักษาไว้
หลังจากนั้นจึงได้ให้คุณสุธน ศรีหิรัญ, คุณสุริยะ ประสาทบัณฑิต ประสานงานกับ คุณเกียรติศักดิ์ มูลศาสตร์สาทร ไปทำการถอดแบบที่บ้านซอยเรวดี ซึ่งพระกริ่งองค์ดังกล่าวเป็น พระกริ่งบาเก็ง สภาพคมชัดและสวยงามกว่าองค์อื่น ๆ ที่เคยพบเห็นทั้งจากของจริงและภาพถ่าย กรรมวิธีถอดแบบนั้น ให้ช่างผู้มีฝีมือทำการถอดแบบ ชนิดพิมพ์เย็น และใช้วัสดุต่าง ๆ ที่ดีที่สุด เพื่อให้มีการคงขนาดไว้เท่าเดิมทุกประการ
การสร้างพระกริ่งดำรงราชานุภาพ เริ่มในเดือนพฤศจิกายน 2532 คณะกรรมการดังกล่าวมี นายบุญช่วย ศรีสารคาม อดีตรองปลัดกระทรวงเป็นประธานกรรมการ, นายณัฏฐ์ ศรีวิหค, นายวันชาติ วงศ์ชัยชนะ, นายผไท วิจารณ์ปรีชา, นายสุรชัย พูนผลทรัพย์, นายมนัส มธุรสสุนทร, นายพินิจ อุตส่าห์ , นายพีรพัฒน์ พรศิริเลิศกิจ , ม.ล. ปนัดดา ดิศกุล , นายประภาส บุญยินดี , นายอนุชา โมกขเวส , นายชายนำ ภาวิมล
ในส่วนของเนื้อหาโลหะองค์พระนั้น ทางกระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดให้นำแผ่นเงิน ทอง และนาก ให้พระคณาจารย์ผู้ทรงกิตติคุณในแต่ละจังหวัดเท่าที่มีทั้งหมด จารอักขระเลขยันต์และแผ่เมตตาเพื่อนำมาสร้างเป็นเนื้อของพระกริ่งและวัตถุมงคลชุดนี้
นอกจากนั้นยังมีผู้มอบชนวนพระจากพิธีสำคัญต่าง ๆ อีกจำนวนมากมาร่วมด้วย เช่น ท่านผู้ว่าณัฏฐ์ ศรีวิหค ได้มอบชนวนจำนวนมากมายหลายพิธีจากคณาจารย์ต่าง ๆ มาให้ และยังมีก้านช่อพระชัยวัฒน์หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วปี พ.ศ. 2442 จำนวนหนึ่งก้านมามอบให้ด้วย พร้อมด้วยแผ่นทอง เงิน และนาก จากคณาจารย์ทั่วประเทศจำนวน 109 รูป รวมทั้งสิ้น 327 แผ่น อาทิเช่น
1. หลวงปู่เทศก์ วัดหินหมากเป้ง หนองคาย 2. หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช
3. หลวงพ่อเกษม เขมโก ลำปาง 4. หลวงพ่อคง วัดนอก ชุมพร 5. หลวงพ่อห้อน วัดมณีบรรพต ตาก
6. หลวงพ่อใย วัดมะขาม จันทบุรี 7. หลวงพ่อโง่น วัดพระพุทธบาทเขารวก พิจิตร
8. หลวงพ่อเฉลิม วัดช้าง กำแพงเพชร 9. หลวงพ่อหนู วัดป่าพุทธมงคล กาฬสินธุ์
10. หลวงพ่อยอด วัดศรีบุญเรือง มุกดาหาร 11. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
12. หลวงปู่ศรีจันทร์ วัดศรีสุทธาวาส เลย 13. หลวงพ่อคำพันธ์ วัดพระธาตุมหาชัย นครพรม
14. หลวงพ่อนอง วัดทรายขาว ปัตตานี 15. หลวงพ่อสำรอง วัดอโศการาม สมุทรปราการ
16. หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง สระบุรี 17. หลวงพ่อเครื่อง วัดสระกำแพงใหญ่ ศรีสะเกษ
18. หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า ระยอง 19. หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม
20. หลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตา สมุทรสงคราม 21. หลวงพ่อโต๊ะ วัดโพธิ์ภาวนาราม ชัยนาท
22. หลวงพ่อสุทธิ์ วัดอินทบูรพา บุรีรัมย์ 23. ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม ลำพูน
24. หลวงพ่อศรี วัดประชาคมวนาราม ร้อยเอ็ด 25. หลวงพ่อดี วัดพระรูป สุพรรณบุรี
26. หลวงพ่อลมัย วัดอรัญญิก พิษณุโลก 27. หลวงพ่อเติม วัดหมอนไม้ อุตรดิตถ์
28. หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ อยุธยา 29. หลวงปู่หล้า วัดป่าตึง เชียงใหม่
30. หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา 31. หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
32. หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา 33. หลวงปู่ธีร์ วัดจุมพล ของแก่น
34. หลวงพ่อต่วน วัดศรีอุบลรัตนาราม อุบลฯ 35. หลวงพ่อแฮม วัดศรีวาบริบูรณ์ สุรินทร์
36. หลวงพ่อทูล วัดบ้านค้อกุดเม็ก อุดรธานี เป็นต้น
สำหรับแผ่นยันต์และชนวนอีกจำนวนมากนั้นได้ทำการรวบรวม พร้อมทำพิธีเททอง ”พระกริ่งดำรงราชานุภาพ” ณ บริเวณหน้าอนุสาวรีย์กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ด้านหน้ากระทรวงมหาดไทย พร้อมพระคณาจารย์จากวัดบวรนิเวศวิหารมาเจริญพุทธมนต์และพระประยูรญาติในราชสกุล ดิศกุล พร้อมด้วยข้าราชการกระทรวงมหาดไทย เมื่อเวลา 09.19 น. วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2532 การเททองดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
พระกริ่งที่เททองนี้มีสภาพสมบูรณ์ดีทุกประการ สำหรับเม็ดกริ่งนั้น ได้ใช้ชนวนโลหะล้วนๆในวันเททอง ทำเป็นเม็ดกริ่ง ก่อนบรรจุท่านผู้ว่าฯ ณัฏฐ์ ศรีวิหค ได้นำไปให้หลวงปู่เทศน์ วัดหินหมากเป้งอธิษฐานจิตอีกครั้งหนึ่ง
ซึ่งในวันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน 2533 ได้ทำพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยสมเด็จพระ ญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัยและนั่งบริกรรมภาวนาแผ่เมตตาอธิษฐานจิต และพระเถระคณาจารย์ร่วมในพิธีนั่งบริกรรมภาวนาฯ ดังนี้
1. พระอุดมสังวรเถร (หลวงพ่ออุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
2. พระครูกาญจนโนปมคุณ (หลวงพ่อลำใย) วัดลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี
3. พระครูฐาปนกิจสุนทร (หลวงพ่อเปิ่น) วัดบางพระ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
4. พระครูเกษมธรรมนันท์ (หลวงพ่อแช่ม) วัดดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม
5. พระครูสาธุกิจวิมล (หลวงพ่อเล็ก) วัดหนองดินแดง จังหวัดนครปฐม
6. พระครูเกษมนวกิจ (หลวงพ่อเต้า) วัดเกาะวังไทร อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
7. พระราชสิงหคณาจารย์ (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี
8. พระครูวิชาญชัยคุณ (หลวงพ่อสำราญ) เจ้าคณะอำเภอวัดสิงห์ วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท
9. พระครูสุตพลวิจิตร (หลวงพ่อคร่ำ) วัดวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
10. หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี
11. พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร (หลวงพ่อศรีเงิน) วัดดอนศาลา อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
12. พระครูสันติวรญาณ (หลวงพ่อสิม พุทธาจาโร) สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง จังหวัดเชียงใหม่
13. พระภาวนาพิศาลเถร (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา
14. หลวงพ่อคุณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ จังหวัดนครราชสีมา
15. พระครูไพจิตร สารานียากร วัดนพวงศ์สาราม อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
16. พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (หลวงปู่ศรี) วัดประชาคมวนาราม จังหวัดร้อยเอ็ด
17. พระครูปลัดพรหม ติสสเทโว (หลวงพ่อพรหม) วัดขนอมเหนือ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
18. พระครูสิริปุญญาทร (หลวงพ่อวิชัย) วัดตูม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
19. พระครูสุนทรสุวรรณกิจ (หลวงพ่อดี) วัดพระรูป จังหวัดสุพรรณบุรี
20. พระครูศรีฉฬังคสังวร (หลวงพ่อเริ่ม ปรโม) วัดจุกกะเฌอ จังหวัดชลบุรี
21. พระอธิการคล้อย (หลวงพ่อคล้อย) วัดถ้ำขันเงิน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
22. หลวงปู่คำพันธ์ โฆปัญโญ (พระครูสุนทรธรรมโฆษิต) วัดพระธาตุมหาชัย อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
23. หลวงปู่เครื่อง สุภทฺโท วัดสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
24. พระโพธิสังวรเถร (หลวงพ่อไพฑูรย์) วัดโพธิ์นิมิตร กรุงเทพฯ
25. พระครูวิมลญาณอุดม (พระอาจารย์ชินเทพ) วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
26. พระญาณโพธิ (หลวงพ่อเข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเพทฯ
27. พระคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร พุทธบริษัทจีนเนตา (เย็นเต็ก) วัดโพธิ์แมนคุณาราม กรุงเทพฯ
28. พระอาจารย์จีนธรรมคณาธิการไพศาลสมณกิจ (เย็นเชี้ยว) วัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) กรุงเทพฯ
29. ครูบาแสงหล้าธรรมสิริ เจ้าคณะตำบลท่าขี้เหล็ก และรองเจ้าคณะภาควัดพระธาตุสายเมือง
30. ครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร วัดพระธาตุดอนเรือง
พระกริ่งดำรงราชานุภาพรุ่นแรกนี้ ประกอบด้วยเนื้อ ทองคำ,เนื้อเงิน,เนื้อนวโลหะและเนื้อสัมฤทธิ์
ปัจจุบันพระกริ่งดำรงราชานุภาพค่อนข้างหายากเพราะผู้ที่ครอบครองไว้ต่างหวงแหนอย่างมาก เนื่องจากพุทธคุณตลอด 17 ปีที่ผ่านมา ผู้ที่บูชาต่างมีประสบการณ์ต่าง ๆ ทั้งทางแคล้วคลาด เมตตามหานิยม โชคลาภมากมาย โดยเฉพาะบรรดานักปกครอง ปลัดอำเภอ นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด ต่างประจักษ์ในความศักดิ์สิทธิ์ของพระกริ่งดำรงราชานุภาพนี้เป็นอย่างมากตลอดมา เนื่องจากเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการเป็นที่สุด

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top