หมวด พระเกจิภาคอีสานใต้
ประวัติเจ้าคุณพระคัมภีรธรรมาจารย์ วัดสว่างอารมณ์ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
ชื่อร้านค้า | ปัญญาคุณพระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | ประวัติเจ้าคุณพระคัมภีรธรรมาจารย์ วัดสว่างอารมณ์ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระเกจิภาคอีสานใต้ |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 064-932-6767 |
อีเมล์ติดต่อ | ืnainoom_wut@hotmail.com , nainoom_pok@yahoo.com |
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | อ. - 10 พ.ค. 2559 - 14:54.24 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ส. - 30 มิ.ย. 2561 - 23:35.26 |
รายละเอียด | |
---|---|
ชีวประวัติท่านเจ้าคุณพระคัมภีรธรรมาจารย์ (คำภู น.ธ.เอก ป.ธ.๕) วัดสว่างอารมณ์ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด เดิมชื่อ คำภู ฉายา กันตสีโล นามสกุล กันตศิล (เปลือยหนองแข้) โยมบิดาชื่อ นนท์ โยมมารดาชื่อ ทุมมี โดยโยมมารดาเป็นธิดาของ พระวิเศษฯ มีพี่น้องร่วมท้อง ๗คน ๑ ชื่อ บ่อ เป็นหญิง ๒ ชื่อ คำเภา เป็นชาย ๓ ชื่อ จันทร์ เป็นหญิง ๔ พระคำภีรธรรมาจารย์ ๕ ชื่อ โส เป็นหญิง ๖ ชื่อ จ่อย เป็นหญิง ๗ ชื่อ แดง เป็นหญิง ท่านเกิดที่บ้านหนองแข้ ตำบลหนองไผ่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันจันทร์ แรม๑๓ค่ำ เดือน๔ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ๑๑ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๔๙ อายุครบ๑๒ ขวบ ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๔๖๐ โยมบิดาถึงแก่กรรม และปีมะแม พ.ศ.๒๔๖๒ โยมมารดาถึงแก่กรรม การศึกษาเบื้องต้น เข้าเรียนหนังสือไทย ที่โรงเรียนหนองไผ่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ.๒๔๖๑ สอบไล่จบบริบูรณ์เมื่อปี๒๔๖๕ การบรรพชา อุปสมบท อายุ๑๗ปี ตรงกับวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๖ ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดหนองแข้ ตำบลหนองไผ่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด พระอาจารย์ใส อินโท เป็นพระอุปัชฌายะ เมื่ออายุครบ๒๐ปีจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ตรงกับวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๔๖๙ แรม๗ ค่ำ เดือน ๔ ปีขาล ณ พัทธสีมาวัดบางกระพี้ใหญ่ ตำบลบ้านเซ่า อำเภอบ้านเซ่า จังหวัดลพบุรี พระอธิการ บาล วัดสำโรงน้อย เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สมุห์พิมพ์ วัดหินปักใหญ่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์จอน วัดหินปักทุ่ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ การศึกษาภาคปริยัติ พ.ศ.๒๔๖๖ ศึกษาพระธรรมวินัย อักษรลาวกับอักษรขอม ที่สำนักพระอาจารย์พัน พ.ศ.๒๔๖๗ ได้ศึกษาพระธรรมวินัยจากพระอาจารย์เสน วัดบ้านเหล่าแถม อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด และได้เข้าอบรมครูที่อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ.๒๔๖๘ ตรงกับวันที่ ๑๗ ธันวาคม พระอาจารย์นวล เป็นหัวหน้าคณะ ท่านเจ้าคุณก็ร่วมคณะด้วยรวมทั้งพระภิกษุสามเณร ๕รูป ออกเดินทางเพื่อศึกษา ได้มุ่งหน้าสู่นครราชสีมา สระบุรี ลพบุรี และไปสิ้นสุดที่ วัดหนองพังนาค ตำบลเสือโฮก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท พ.ศ.๒๔๗๑ สอบนักธรรมตรี ได้ที่สำนักวัดอินทราราม อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท พ.ศ.๒๔๗๔ สอบนักธรรมโทได้ ที่สำนักเรียนวัดดุสิตาราม อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี พ.ศ.๒๔๗๗ สอบนักธรรมเอกได้ ที่สำนักเรียนอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ.๒๔๗๘ ได้เข้าร่วมเป็นครูสอนปริยัติธรรมอีกทั้งนักธรรม และบาลี รวมทั้งยังศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมกับ"ท่านพระครูวิจิตรปัญญาคุณ" ที่สำนักวัดหนองเต่า ตำบลหนองไผ่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ.๒๔๘๑ สอบประโยค เปรียญธรรม๓ ได้ที่สำนักเรียนคณะจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ.๒๔๘๒ สอบประโยค เปรียญธรรม๔ ได้ที่สำนักเรียนคณะจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ.๒๔๘๔ สอบประโยค เปรียญธรรม๕ ได้ที่สำนักเรียนคณะจังหวัดร้อยเอ็ด ท่านเป็นผู้บริหารการปกครอง เป็นครูสอนปริยัติธรรม และเรียนรู้ไปด้วยตัวเองพร้อมๆกัน สละเวลาส่วนใหญ่ให้แก่ญาติโยม ลูกศิษย์ลูกหา การเข้าสอบในชั้นต่อๆไปจึงไม่ค่อยได้ผลนัก การปกครองและผลงาน พ.ศ.๒๔๘๔ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ พ.ศ.๒๔๘๗ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระคณาธิการ ในตำแหน่งกรรมการสงฆ์จังหวัด ประจำองค์กรเผยแผ่ พ.ศ.๒๔๙๖ ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็นพระครูวิสุทธิธรรมภาณ พ.ศ.๒๕๐๑ เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.๒๕๐๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณะศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระคัมภีรธรรมาจารย์ งานด้านเผยแผ่ ท่านเจ้าคุณ เป็นผู้มีอุดมคติอันมั่นคง เป็นนักเทศน์เป็นพหูสูตผู้ทรงจำได้มาก เป็นผู้เคร่งครัดในระเบียบวินัย ขยันอดทน เป็นพิเศษ ได้จาริกอบรมศีลธรรมโดยทั่วถึงในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด และนอกเขตบ้างครั้งคราว โดยเฉพาะท่านได้เป็นหัวหน้า รักษาประเพณีเข้ากรรม(พระภิกษุเข้าปริวาสกรรม) โดยที่ท่านมีคุณลักษณะพิเศษสามารถโน้มน้าวใจมวลชนพุทธบริษัท ปีละเลยครึ่งแสนคน เข้ามาร่วมบำเพ็ญความดี หรือเรียกสั้นๆว่า เข้ากรรม คือ "เข้ากรรมดี หนีกรรมชั่ว" ตามจุดต่างๆในจังหวัดร้อยเอ็ดและใกล้ไกล จนร่างกายของท่านได้อ่อนเพลียลง ถึงขั้นล้มเจ็บลงในขณะที่อยู่ในพิธีทำการเผยแผ่ อบรมพิธีเข้ากรรม จนต้องนำส่งโรงพยาบาล เรียกได้ว่าชีวิตของท่านเจ้าคุณพระคัมภีรธรรมาจารย์ ท่านได้มอบให้การปฎิบัติและการเผยแผ่ และสิ้นสุดลงในขณะที่ทำการเผยแผ่ เหมาะสมแล้วอย่างยิ่งที่ท่านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการสงฆ์จังหวัด ประจำองค์การเผยแผ่ งานด้านสาธารณูปโภค ท่านเจ้าคุณพระคัมภีรธรรมาจารย์ ถือคติที่ว่า "การก่อสร้างเสนาสนะ เป็นเรื่องของชาวบ้านผู้มีศรัทธา" ถึงอย่างนั้นท่านก็มิได้แข็งกร้าว ท่านเห็นประโยชน์และความต้องการของสังคมปัจจุบันอยู่อย่างที่ว่า "ไผ่ต้องลู่ตามลม จึงไม่หัก" ท่านเปิดทางให้ทายกทายิกาผู้ศรัทธาได้สร้างกุฏิ ถาวรคอนกรีตสองชั้น สองหลัง และท่านเองก็ได้ร่วมสละทุนทรัพย์ในการก่อสร้างไปด้วย พร้อมทั้งอุโบสถหลังใหญ่ราคาเรือนล้านในสมัยนั้น ท่านสร้างเกือบจะแล้วเสร็จได้ร่วม๙๐ เปอร์เซ็น แต่ท่านก็มรณภาพเสียก่อน เราจะเห็นได้ว่า "สัตว์โลกย่อมเป็นไปได้ยากที่จะหลุดพ้นจากอำนาจของสังคม และเกือบจะทั้งหมด เมื่อความหวังยังไม่ถึงที่หมาย แต่ชีวิตก็มาถึงที่หมายเสียก่อน " กระนั้นท่านก็ยังปลอบใจลูกศิษย์ของท่านว่า "พวกคุณไม่ต้องเป็นห่วง งานทุกอย่างได้สิ้นสุดลงพร้อมกับชีวิตของตัวผม อนาคตเป็นหน้าที่ของผู้ยัง จริตพิเศษ ท่านถืออุดมคติอย่างมั่นคงว่า "จะสอนจนสิ้นชีพ" แรงแห่งอุดมคตินี้ เป็นแรงผลักดันอันสำคัญยิ่งเช่น ท่านสอนปริยัติธรรมนับจากเป็นครูสอนมาประจำทุกปี จวบจนปีสุดท้ายก่อนท่านมรณภาพ ก็ยังทำการสอนอยู่ ทั้งๆที่ในสำนักของท่านก็ไม่เคยขาดพระเปรียญชั้นสูง ท่านสวดพระปาฎิโมกข์เองทุกๆวันในพระอุโบสถ จนถึงอายุ๗๐ ปี ท่านจำบทสวดมนต์ได้ตลอดทั้งหนังสือสวดมนต์ฉบับหลวง และท่านแปลรู้อรรถของบทนั้นๆ ได้อย่างคล่องปาก ท่านนำสวดเป็นประจำทุกวัน ครั้งหนึ่งในพิธีเข้ากรรมที่ " นวอุทยานสันติวิเวก อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด " วัน ที่๑๙ ธันวาคม ท่านนำสวดพุทธาภิเษกวันละจบ วันนั้นเป็นจบที่3 พอสวดมาถึงประมาณครึ่งจบ ฟันของท่านเจ้าคุณได้หลุดออกมาจากปาก ท่านจึงหยิบแล้วยื่นให้พระมหาสุวิชช์ อมโร ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านรูปหนึ่งในสมัยนั้น ก็เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งในความเพียรความอดทนของท่าน ปีสุดท้ายของชีวิตท่าน ท่านสวดจนฟันกระเด็น ก็ยังไม่ยอมหยุดสวด ฯลฯ คำไว้อาลัยบางตอน จากผู้นับถือ เมื่อครั้งที่ท่านจากไป ท่านเจ้าคุณพระคัมภีรธรรมาจารย์ นั้นเคยเป็นศิษย์ของข้าพเจ้า ได้เคยเรียนบาลี ป.ธ.๕ จนสอบผ่าน ซึ่งก็นับว่าข้าพเจ้า มีลูกศิษย์ที่มีความรู้ชั้นสูงอีกองค์หนึ่ง ท่านเป็นผู้เคร่งในธรรมวินัย เป็นผู้ขยันท่องบทท่องมนต์ ภาวนา หาใครเสมอเหมือนได้ยาก ท่านตรงไปตรงมา ไม่พูดเล่นพูดแต่ความจริง เป็นตัวอย่างพระดีอีกองค์หนึ่ง จึงรู้สึกเสียดายท่านเป็นยิ่งนัก แต่ก็ไม่มีใครหลีหนีพ้นแม้แต่คนเดียว เข้ากับหลักที่ว่า ไปไม่กลับหลับไม่ตื่นนั่นเอง ทุกคนก็มีโลภ โกรธ หลง เว้นแต่พระอรหันต์เท่านั้น ตรงกับปริษณาที่ว่า ๔คนหาม ๓คนแห่ คนนึงนั่งแคร่เป็นเจ้านาย (แต่ไม่สบาย) .... จากท่านพระสุนทรธรรมประพุทธ อดีตเจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด... พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านเจ้าคุณ เป็นผู้มีปฎิปฑาหนักแน่นเคร่งครัดอย่างยิ่ง และเป็นผู้มีคุณ เเละควรเคารพบูชายิ่ง อันดีชั่วตัวตายเมื่อภายหลัง ชื่อนั้นยังยืนอยู่ไม่รู้หาย เหมือนดวงตราประทับตอกติดกาย เป็นเครื่องหมายทั่วทุกตัวตน .....พระครูวิจิตรธีรคุณ เจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด .... อันนักปราชญ์ มีดาดดื่น ในโลกา หาปัญญาจะสอนศิษย์ ไม่ได้ผล เพียงแต่บ่น จู้จี้ ดีแต่ตัว ท่านเจ้าคุณพระคัมภีร์ ดีทั้งตัว กว่ามวลชน ท่านได้สอน บอกบ่นจนชำนาญ ให้ลูกหลานสานุศิษย์เป็นตัวตน ....พระครูภาวนาภิมุข วัดโพธิ์ทอง บ้านหนองตอ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด.. ยังมีคำกล่าวของอีกหลายๆท่าน เช่น พระครูมนูญญชยาจารย์ วัดหนองเต่า พระมหาเจริญ ถิรธรรมโม วัดสว่างอารมณ์ พระถาวร กตปุญโญ วัดสว่างอารมณ์ จัตตสัลโล ภิกขุ สุมังคโล ภิกขุ วัดกลางมิ่งเมือง พระครูอดุลธรรมนิเทส วัดกลางมิ่งเมือง พระครูอดุลวิหารกิจ วัดสระแก้ว **** ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลจากวัดหนองเต่า**** |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments