หมวด พระเกจิภาคเหนือ
เหรียญหลวงพ่อน้อย-หลวงพ่อแกร วัดส้มเสี้ยว นครสวรรค์ ปี 2516
ชื่อร้านค้า | สกุลจันทร์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญหลวงพ่อน้อย-หลวงพ่อแกร วัดส้มเสี้ยว นครสวรรค์ ปี 2516 |
อายุพระเครื่อง | 44 ปี |
หมวดพระ | พระเกจิภาคเหนือ |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | labboy_hgr@yahoo.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | จ. - 10 ต.ค. 2554 - 20:09.43 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | จ. - 17 ธ.ค. 2555 - 21:01.13 |
รายละเอียด | |
---|---|
เหรียญหลวงพ่อน้อย-หลวงพ่อแกร วัดส้มเสี้ยว นครสวรรค์ ปี 2516 สภาพสวยสุดๆครับ มีประสบการณ์เหนียวสุดๆครับ หลวงพ่อแกร เป็นเกจิร่วมสมัยกับหลวงพ่อสว่าง วัดท่าพุทธา จนมีสมญานามว่า สิงห์เหนือเสือใต้ครับ ทีมงานร้านสกุลจันทร์(น้อย บรรพตพิสัย) พระครูนิยุตธรรมศาสน์ (แกร ฐาปโน ป.ธ.๕) ชาติภูมิ พระครูนิยุตธรรมศาสน์ นามเดิม แกร นามสกุล สุวรรณกิจ ฉายาฐาปโน นามโยมบิดา นิ่ม นามโยมมารดา จาด ชาติกาล วันเสาร์ แรม ๘ ค่ำเดือนยี่ ตรงกับ วันที่ 25 มกราคา พุทธศักราช ๒๔๔๒ ณ บ้านโพธิ์ขัย ตำบลหัวไผ่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี มีพี่น้องร่วมโยมบิดา โยมมารดา คือ ๑.นางผั่ว ปานกล่ำ(ถึงแก่กรรมแล้ว) ๒.พระครูนิยุตธรรมศาสน์(แกร สุวรรกิจ) ๓.นายปาน สิงห์พลับ(ถึงแก่กรรมแล้ว) ๔.นายไกร สิงห์พลับ(ถึงแก่กรรมแล้ว) การศึกษาเบื้องต้น เมื่อปฐมวัยอายุนับได้ ๑๑ ปีเศษ เรียนหนังสือภาษาขอมโบราณ ณ วัดธรรมสังเวช ต.หัวไผ่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี จนสมารถอ่าน-เขียน ภาษาขอมโบราณได้ ครั้นอายุได้ ๑๒ ปี ได้เข้าเรียนภาษาไทยที่วัดเดียวกัน จนสำเร็จชั้นป.๓ เมื่ออายุ ๑๕ ปี ต่อจากนั้น ก็ช่วยบิดามารดา ประกอบอาชีพกสิกรรมเท่าที่เด็กในวัยนั้นจะสามารถทำได้ จนบรรลุนิติภาวะอายุไ้ด้ ๒๐ ปี(พ.ศ.2462)จึงได้เข้าคัดเืลือกทหาร แต่่ปรากฎว่าผ่านการคัดเลือก อุปสมบท หลังจากผ่านคัดเลือกทหารได้ ๑ ปี ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๖๓ อายุได้ ๒๑ ปี จึงได้เข้าอุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๓ ณ พัทธสีมาวัดโพธิ์ชัย จ.สิงห์บุรี โดยมีพระเกษีวิกรม วัดสังฆราชาวาส จ.สิงห์บุี เป็นพระอุปชฌาย์ พระวินัยธรรมกิ่งสุวรรณ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย จ.สิงห์บุรี เป็นพระกรรมวาจารจารย์ ได้รับฉายาว่า "ฐาปโน" แล้วจำพรรษาอยู่ ณ วัดโพธิ์ชัย นั่นเอง การศึกษา-วิทยฐานะ พ.ศ.๒๔๖๓ สอบได้นักธรรมชั้นตรี สำนักวัดโพธิ์ชัย จ.สิงห์บุร พ.ศ.๒๔๖๖ สอบได้นักธรรมชั้นโทร สำนักวัดมหาธาตุฯ จ.กรุงเทพฯ พ.ศ.๒๔๗๔ สอบได้ ป.ธ.๕ สำนักวัดมหาธาตุฯ จ.กรุงเทพฯ การศึกษาพิเศษ ได้ศึกษาวิชานวกรรมจากกระบวนการช่างสิบหมู่ จนมีความรู้ด้านการออกแบบ ก่อสร้างได้ หน้าที่การปกครอง พ.ศ.๒๔๙๐ เป็นเจ้าอาวาสวัดบางแก้ว อ.พรรพตพิสัย จนถึง พ.ศ.๒๔๙๘ จึงได้รับคำสั่งให้ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดส้มเสี้ยว อ.พรรพตพิสัย พ.ศ.๒๔๙๑ เป็นเจ้าคณะ ต.บางแก้ว อ.พรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ พ.ศ.๒๔๙๘ เป็นเจ้าอาวาสวัดส้มเสี้ยว อ.พรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ พ.ศ.๒๔๙๘ เป็นเจ้าคณะ อ.พรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ด้านปฏิบัติธรรม ความเป็นพระสุปฏิบัติของครูนิยุตธรรมศาสน์ ได้มีมาแต่สมัยบวชใหม่ ดังปรากฏรายละเอียดที่นาวาโทธัญนพ ผิวเผือก เล่าไว้ในเรื่อง "หลวงพ่อของเรา" และเพราะความเป็นพระนักปฏิบัตินี้เอง ทำให้ท่านได้รับความยกย่องนับถือจากพระเถรานุเถระ ทั้งที่เป็นเจ้าคณะ ลูกคณะ ภิกษุ สามเณร และประชาชนทั่วไป ความเป็นพระสุปฏิบัติในส่วนสมถะกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐานนี่เอง บรรดาศิษยานุศิษย์ จึงได้หล่อรูปเหมือนของท่านไว้สักการะบูชา รูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริงที่ประดิษฐานในวิหารชื่อ "นิยุตธรรมศาสน์" ๕ แห่งดังนี้ แห่งที่ ๑. วัดบางแก้ว ต.บางแก้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ แห่งที่ ๒. วัดส้มเสี้ยว ต.ท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ แห่งที่ ๓. วัดธรรมรักขิตาราม ต.ตาขีด อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ แห่งที่ ๔. วัดสันติวราราม ต.ท่ามะเขือ อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร แห่งที่ ๕. วัดโพธิ์ขัย ต.หัวไผ่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี สมณศักดิ์ พ.ศ.๒๔๙๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็์นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท พ.ศ.๒๕๑๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก พ.ศ.๒๕๑๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ บั้นปลายแห่งชีวิต ในระยะหลังนี้ พระครูนิยุตธรรมศาสน์ เริ่มอาพาธด้วยโรคปอดอักเสก แพทย์ได้ถวายการารักษาและถวายคำแนะนำว่าควรหยุดพักงาน และพักผ่อนให้มากขึ้น แต่ท่านก็ได้หาหยุดไม่ ยิ่งเิร่งดำเนินการในสิ่งท่ยังคั่งค้างอยู่จนแล้วเสร็จทันตา และเคยปรารภกับศิษย์ผู้ใกล้ชิดว่า "เวลายิ่งเหลือน้อยต้องทำให้มาก" งานอย่างหนึ่งซึ่งท่านใส่ใจมาตลอดก็คือ การตั้งสำนักเรียนภาษาบาลี ที่วัดส้มเสี้ยว ท่านได้พยายามจัดหาทุนเพื่อตั้งเป็นมูลนิธินักเรียนบาลี จนได้เงินประมาณ ๑ บ้านบาท เมื่อมีทุนแล้ว ท่านก็ดำเนินการสร้าง "หอประชุมสงฆ์นิยุตธรรมศาสน์" เพื่อให้เป็นทั้งหอประชุมสงฆ์ประจำอำเภอ และเป็นโรงเรียนภาษาบาลีด้วย ต้นเดือนมกราคา ๒๕๒๘ พระครูนิยุตธรรมศาสน์ได้เข้าเีีรียนปรึกษาต่อพระเทพเวที เรื่อกำหนดฉลองหอประชุม และเปิดโรงเรียนบาลี และได้ตกลงกันว่า กำหนดการฉลองเดือนมิถุนายนศกนี้ เห็นว่าท่านรู้สึกดีใจ ปลื้มใจ มีอาการยิ้มแย้มแจ่มใส ได้ลงมาปรึกษาเจ้าคณะภาค ๔ ถึง ๒ ครั้ง ๒ คราว ในต้นเดือนมกราคมศกเดียวกัน แต่ความมุ่งหวังตั้งใจของท่านก็หาได้สำเร็จลงไม่ เพราะพอถึงวันที่ ๒๐ มกราคา ๒๕๒๘ เวลา ๒๑.๒๑ น.ท่านก็มรณภาพลงด้วยอาการอันสงบ ณ โรงพยาบาลเพชรบุรีตัดใหม่ จ.กรุงเทพฯ ด้วยโรคปอดอักเสบ สิริอายุได้ ๘๕ ปี ๓๖๐ วัน พระครูนิยุตธรรมศาสน์ได้มีหนังสือสั่งเรื่องงานศพของท่านไว้ ๒ ข้อคือ ๑. ให้ตั้งศพบำเพ็ญกุศล และฌาปนกิจ ที่วัดโพธิ์ชัย จ.สิงห์บุรี ๒. การจัดงานศพทั้งหมดให้อยู่ในดุลยพินิจของท่านเจ้าคุณ พระเทพเวที เจ้าคณะภาค ๔ วัดสุทัศน์เพทวราราม |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments