-
มีพระกรุยอดนิยมหลากหลายสภาพ ให้เลือกชมเน้นพระแท้ ดูง่าย รับประกันความแท้ตามสากลนิยม มีให้เลือกชมทั้งพระเนื้อดิน ชิน ผง
แทบทุกองค์ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชียวชาญ โดยมีรางวัลจากการผ่านงานประกวดมาตรฐาน
หรือ
ผ่านการออกใบรับรองพระแท้ จากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย
ที่สามารถยืนยันถึงความแท้และความถูกต้องของข้อมูล
ที่เกี่ยวกับองค์พระได้เป็นอย่างดี -
ส่วนใหญ่เป็นพระกรุพระเก่ายอดนิยมหลายองค์เป็นพระในตำนาน หาชมได้ยากในปัจจุบัน
บางองค์ไม่มีแม้แต่รูปให้ผ่านสายตา
ส่วนบางองค์มีให้เห็นแค่เฉพาะภาพในหนังสือพระเครื่องมาตรฐานสูงบางเล่มเท่านั้น
สนใจเชิญติดต่อกันเข้ามาได้
ยินดีต้อนรับด้วยความเป็นกันเองทุกท่านทุกสายเลยจ้า
หมวด พระกรุ เนื้อชิน
พระลีลา กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี องค์นี้ตัวจริงเสียงจริง แถมมีติดรางวัลมาด้วยจ้า
ชื่อร้านค้า | jorawis - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระลีลา กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี องค์นี้ตัวจริงเสียงจริง แถมมีติดรางวัลมาด้วยจ้า |
อายุพระเครื่อง | 606 ปี |
หมวดพระ | พระกรุ เนื้อชิน |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | Jorawis@gmail.com |
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | ศ. - 25 ก.พ. 2554 - 22:29.49 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | อา. - 10 เม.ย. 2554 - 04:19.43 |
รายละเอียด | |
---|---|
สภาพสวยขนาดพอเห็นหน้าตา ผิวมีรอยระเบิดนิดหน่อยตามริมขอบ ทำให้ดูง่ายขึ้นอีกตามธรรมชาติพระเนื้อชินเงิน รอยสีขาวที่เห็นน่าจะเกิดจากการเลี่ยมพระจับขอบมาแต่เดิม พระฟอร์มสวย เก็บองค์นี้ไว้เป็นองค์ครูไว้ดูเนื้อหาสำหรับนักสะสมพระเนื้อชินเงินที่สนใจเสาะหาพระมเหศวร เนื้อหาแบบนี้ สภาพผิวแบบนี้ แท้เป็นมาตฐานที่นิยมเป็นสากล หรือเอาไว้อาราธนาแทนพระมเหศวรได้เลย พระมเหศวรสภาพพอสวย ราคาไปไกลขนาดหลักหมื่น ปลายไปถึงหลักแสนแล้วจ้า องค์นี้จัดว่าถูกกว่ามากหากเทียบกัน สนใจเชิญติดต่อสอบถามเข้ามาได้เลยจ้า รับประกันความแท้เป็นสากลแน่นอน ด้วยรางวัลที่2 จากงานมาตรฐานพันทิพย์ฯ ที่จัดขึ้น ณ ศาลาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพรเจ้าตากสิน จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมา ส่งประกวดในรายการพระกรุวัดพระศรีฯ สุพรรณบุรี ไม่จำกัดพิมพ์ จ้า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาแต่สมัยโบราณ เดิมชาวบ้านเรียก วัดพระธาตุ ตั้งอยู่ที่ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรีฝั่งทิศตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณ (ท่าจีน) ห่างจากเชิงสะพานข้ามแม่น้ำสุพรรณประมาณ ๒๐๐ เมตร มีองค์พระปรางค์เป็นประธาน และมีเจดีย์รายรอบที่มีสภาพปรักหักพังหมด ประวัติการสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ยังเป็นข้อถกเถียง และโต้แย้งกันอยู่ว่า สร้างขึ้นในสมัยใดกันแน่ แม้จะปรากฏหลักฐานเป็นแผ่นลานทองจารึกประวัติการสร้าง ที่พบเมื่อครั้งเปิดกรุในปี ๒๔๕๖ แต่ก็ยังขาดความสมบูรณ์ เนื่องจากแผ่นลานทองสูญหายและชำรุดไปเป็นจำนวนมาก จากหลักฐานเอกสารแผ่นจารึกต่างๆ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ให้ข้อสันนิษฐานว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุนี้มีโอกาสที่จะเป็นไปได้มากว่าสร้างในรัชสมัย สมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ ๒ (เจ้าสามพระยา พ.ศ.๑๙๖๗-๑๙๙๑) และบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้งในรัชสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๓๑) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณบุรี มาแต่ครั้งโบราณ ในสมัยอู่ทองจำต้องร้าง เพราะภัยสงครามระหว่างไทย-พม่า เมื่อคราวกรุงศรีอยุธยาแตก พ.ศ.๒๓๑๐ ทหารพม่าได้ปล้นสะดมประชาชนคนไทย พร้อมทั้งกวาดต้อนครอบครัวไทยไปเป็นเชลยยังเมืองพม่า ชาวสุพรรณที่รักอิสระจึงต้องหนีซอกซอนไปอาศัยอยู่ตามป่าดงพงไพร ทิ้งบ้าน ทิ้งวัด ปล่อยให้รกร้าง ปราศจากผู้คนดูแล เมืองสุพรรณจึงรกร้างไปร่วมร้อยปี กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ นับเป็นแหล่งที่ค้นพบพระพิมพ์ที่สำคัญ และได้รับความนิยมสูงหลายต่อหลายพิมพ์ รวมถึงพระพิมพ์หนึ่งในชุดเบญจภาคี คือ พระผงสุพรรณ และอีกพิมพ์หนึ่งในชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพล คือ พระมเหศวร พระมเหศวร จัดได้ว่า เป็นพระที่มีพิมพ์ลักษณะแปลกพิมพ์หนึ่งของพระเครื่องเมืองไทย ที่ขุดพบในกรุวัดพระศรีฯ แห่งนี้ เป็นพระเนื้อ ชินเงิน ศิลปะอู่ทอง เช่นเดียวกับ พระผงสุพรรณ สันนิษฐานว่าเป็นพระที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์เมืองอู่ทองความแปลกของพระพิมพ์นี้ซึ่งเรียกได้ว่า มีเพียงแห่งเดียวในเมืองไทย คือ พระเศียรพระมเหศวรหน้าหนึ่ง กับพระเศียรอีกหน้าหนึ่งจะวางกลับกัน หรือสวนทางกัน ซึ่งทำให้พระพิมพ์นี้มีความแข็งแรง กว่าพิมพ์มเหศวรตรง หรือพิมพ์มเหศวรเดี่ยวที่มีจุดอ่อนอยู่ที่ช่วงของพระศอที่คอดกิ่ว ทำให้พระบอบบาง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้พระชำรุดผุพังได้ง่าย จึงไม่นาแปลกใจเลยว่า เหตุใด พระมเหศวรพิมพ์ศวรกลับจึงมีให้พบเห็นมากกว่าพิมพ์อื่น ๆ ด้วยเหตุที่พระเศียร ๒ ด้านวางสวนกลับกันไปมา นักพระเครื่องจึงเรียกพระพิมพ์นี้ “พระสวน " ต่อมามีขุนโจรชื่อคล้ายกัน ออกอาละวาดจนมีข่าวโด่งดังไปทั่วประเทศ ทำให้มีผู้เข้าใจผิดเรียกพระพิมพ์นี้ตามชื่อโจร จนเพี้ยนกลายเป็นเรียกขานพระด้วยความคุ้นลิ้นจนกลายเป็น " พระมเหศวร "นอกจากนี้ยังมีพระพิมพ์สำคัญๆ อีกหลากหลาย อาทิ พระสุพรรณหลังผาน (หลังพระ) พระสุพรรณยอดโถ พระปทุมมาศ พระกำแพงศอก พระท่ามะปรางค์ พระถ้ำเสือ พระอรัญญิก พระร่วงยืน พระร่วงนั่ง พระลีลาพิมพ์ต่างๆ รวมถึงพระพิมพ์นาคปรก ซึ่งมีทั้งพิมพ์หลังมียันต์ องค์ขนาดเขื่อง ขนาดใกล้เคียงกับพระสุพรรณหลังผาล และพิมพ์นาคปรกองค์ขนาดเล็ก หลังเรียบ ซึ่งเป็นพิมพ์เดียวกับที่ปรากฏด้านหลังของพระมเหศวรหลังนาคปรกนั่นเอง อาจมีรายการอื่น ๆ ที่ทำนกำลังค้นหาอยู่เชิญที่นี่เลยจ้า http://www.web-pra.com/Shop/jorawis |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments