พระอู่ทอง มารวิชัย กรุวัดเหนือ ของดีเมืองกาญจน์ พระนอนกรุมากับพระท่ากระดานมาแล้วจ้า-jorawis - webpra
VIP
  • มีพระกรุยอดนิยมหลากหลายสภาพ ให้เลือกชม
    เน้นพระแท้ ดูง่าย รับประกันความแท้ตามสากลนิยม มีให้เลือกชมทั้งพระเนื้อดิน ชิน ผง
    แทบทุกองค์ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชียวชาญ โดยมีรางวัลจากการผ่านงานประกวดมาตรฐาน
    หรือ

    ผ่านการออกใบรับรองพระแท้ จากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย
    ที่สามารถยืนยันถึงความแท้และความถูกต้องของข้อมูล
    ที่เกี่ยวกับองค์พระได้เป็นอย่างดี
  • ส่วนใหญ่เป็นพระกรุพระเก่ายอดนิยม
    หลายองค์เป็นพระในตำนาน หาชมได้ยากในปัจจุบัน
    บางองค์ไม่มีแม้แต่รูปให้ผ่านสายตา

    ส่วนบางองค์มีให้เห็นแค่เฉพาะภาพในหนังสือพระเครื่องมาตรฐานสูงบางเล่มเท่านั้น

    สนใจเชิญติดต่อกันเข้ามาได้
    ยินดีต้อนรับด้วยความเป็นกันเองทุกท่านทุกสายเลยจ้า
  • Page 1
  • Page 2
มีพระยอดนิยมมากมายให้เลือกชม เน้นพระแท้ดูง่ายโดยเฉพาะพระกรุ พระเก่า ประกันความแท้ตามมาตรฐานสากลนิยม

หมวด พระกรุ เนื้อชิน

พระอู่ทอง มารวิชัย กรุวัดเหนือ ของดีเมืองกาญจน์ พระนอนกรุมากับพระท่ากระดานมาแล้วจ้า

พระอู่ทอง มารวิชัย กรุวัดเหนือ ของดีเมืองกาญจน์ พระนอนกรุมากับพระท่ากระดานมาแล้วจ้า - 1พระอู่ทอง มารวิชัย กรุวัดเหนือ ของดีเมืองกาญจน์ พระนอนกรุมากับพระท่ากระดานมาแล้วจ้า - 2
ชื่อร้านค้า jorawis - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระอู่ทอง มารวิชัย กรุวัดเหนือ ของดีเมืองกาญจน์ พระนอนกรุมากับพระท่ากระดานมาแล้วจ้า
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระกรุ เนื้อชิน
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ Jorawis@gmail.com
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ส. - 25 พ.ย. 2566 - 13:33.26
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 20 เม.ย. 2567 - 14:45.53
รายละเอียด
องค์นี้เรียก "พระอู่ทองมารวิชัย" สนิมแดงจัดจ้านแบบเดียวกับพระท่ากระดาน พระได้หนาสมบูรณ์แข็งแรง สภาพนี้ในปัจจุบัน เห็นกันไม่บ่อยแล้วจ้า

พระพิมพ์นี้เป็นอีกพิมพ์หนึ่งที่พบเห็นกันค่อนข้างบ่อย เป็นพิมพ์ที่เป็นอัตตลักษณ์ของพระเครื่องที่ขุดพบจากกรุพระเจดีย์องค์หนึ่งในวัดเทวสังฆาราม หรือวัดเหนือ เมื่อปี พ.ศ.2500 อันสืบเนื่องมาจากพระเทพมงคลรังษี หรือหลวงพ่อดี เจ้าอาวาสวัดเหนือ และเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี ได้สั่งให้ดำเนินการขุดเจาะเจดีย์องค์หนึ่ง เพื่อบรรจุเก็บพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ที่ได้รับมอบมาไว้ในพระเจดีย์ โดยเมื่อดำเนินการจุดเจาะเป็นโพรงขนาดกว้างพอคนลอดเข้าไปได้ กว้างประมาณ 2 ศอก ก็พบว่าภายในพระเจดีย์นั้นบรรจุทรายละเอียดไว้เต็ม และอัดจนแน่น เมื่อได้ดำเนินการขนทรายออกจากพระเจดีย์จนหมดสิ้นแล้ว จึงได้พบไหเคลือบใบหนึ่งสีดำ ภายในบรรจุพระเครื่องพิมพ์ทรงต่างๆ ไว้อย่างมากมาย และที่ใต้ไหยังมีพระศิลาแลงชำรุดฝังล้อมรอบไว้ จำนวน 4-5 องค์ ส่วนตรงกลางนั้นมีพระเครื่องต่างๆ ฝังปนอยู่กับทรายเป็นจำนวนมาก เมื่อทางวัดได้ขนพระเครื่องออกจากพระเจดีย์ เหลือบางส่วนไว้ที่ก้นกรุนั้น พบว่ามีพระเครื่องในพิมพ์ทรงต่างๆ กัน เป็นจำนวนมากมายหลายสิบพิมพ์ ซึ่งนอกเหนือจากพิมพ์พระท่ากระดานอันโด่งดัง แล้วยังพบพระพิมพ์อื่น ๆ อีกมาก เช่น พิมพ์พระอู่ทองเศียรจักร พระอู่ทองนั่งพิมพ์ต่าง ๆ รวมถึงพระพิมพ์ป่าเลไลย์นี้ด้วย นอกจากนี้ยังมีการพบพระพิมพ์หลวงพ่อโต และ พิมพ์โคนสมอ เนื้อดินอีกจำนวนหนึ่งด้วย พระที่แตกจากรุนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อตะกั่วสนิมแดง มีทั้งแบบมีทองเดิมจากรุ แบบเดียวกับพระท่ากระดานทุกประการ หากแต่ถ้านับจำนวนพระที่มีทองเดิมจากกรุ จะมีจำนวนน้อยกว่าแบบไม่ปิดทองมาก


ทั้งนี้การพบกรุพระเครื่องในพระเจดีย์ของวัดเทวสังฆารามครั้งนี้มิใช่ครั้งเดียว เนื่องเพราะต่อมาได้มีโอกาสพบกรุพระเครื่อง อีกหลายครั้ง โดยการพบกรุพระเครื่องของวัดเทวสังฆารามในครั้งที่ 2 เนื่องด้วยพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธโชติ) อดีตเจ้าอาวาสได้มรณภาพลง ทางวัดจึงได้ทำการขุดเจาะเจดีย์องค์เดิมอีกครั้ง เพื่อนำพระเครื่องของพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธโชติ) บรรจุไว้ในกรุพระเจดีย์ โดยได้ขุดในด้านทิศตะวันตก ฝั่งตรงกันข้ามกับการขุดเจาะในครั้งแรก แม้ว่าจะได้พบพระเครื่องจำนวนน้อยกว่าครั้งแรก แต่ล้วนเป็นพระเครื่องอันสำคัญยิ่งของเมืองกาญจน์ ในการขุดครั้งนี้มีคณะกรรมการควบคุมการขุดด้วย ทั้งฆราวาส และบรรพชิต ประกอบด้วย พระครูปลัดอรรถจริยานุกิจ พระครูสิงคีคุณธาดา พระครูปลัดสนั่น ปญญฺธโร ส่วนในฝ่ายฆราวาสนั้น มี พ.อ. (พิเศษ) สัมผัส ภาสนยิ่งภิญโญ พ.ท.สนุทร และนายทหารอีก 3 นาย ร่วมกับคณะกรรมการวัด คือ นางประสงค์ เจริญพิบูลย์ นายแพทย์เกษม ภังคานนท์ นายวิเชียร กระแจะจันทร์ นายทองหล่อ มณีวงษ์ นายเชื้อ คงกำเหนิด นายเก็บ พลอยศิลา และ นายศิลป ศิริเวชภัณฑ์ ได้ทำการเปิดกรุเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2511 เวลา 06.30 น.

ต่อมาล่าสุดเมื่อปี2551 เมื่อวันที่25 ก.ย.2551 เวลา 12.00 น.ได้มีการพบพระอีกครั้งหลังจากพระครูอนุกูลกาญจนกิจรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดได้สั่งให้ปรับพื้นที่โดยใช้รถแทรกเตอร์ดันพื้นที่รอบเจดีย์และโบสถ์วิหารหลังเก่าที่สร้างขึ้นตั้งแต่ก่อตั้งเมืองกาญจนบุรี สมัยรัชกาลที่ 4 และเป็นสถานที่สมเด็จพระสังฆราชเคยใช้เป็นสถานที่อุปสมบท อีกทั้งทางวัดได้ทำการปรับพื้นที่เพื่อปรับภูมิทัศน์บริเวณรอบวัด โดยเฉพาะในส่วนของโบสถ์เก่าและหน้าเมรุเพื่อเตรียมพื้นที่จัดงานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ พระราชมงคลโมฬี เจ้าอาวาสองค์เก่าที่เสียชีวิตในเดือนกุมภาพันธุ์ 2552 แต่รถได้ดันไปที่บริเวณด้านหลังโบสถ์และเมื่อมาถึงยังบริเวณมุมโบสถ์ด้านหลังเจ้าหน้าที่พบหลุมปูนขว้างขนาด 1 ฟุตเจ้าหน้าที่จึงได้เปิดหลุมดังกล่าวพบวัตถุมงคลซึ่งส่วนใหญ่เป็น พระท่ากระดานหูช้าง เนื้อชิน และเนื้อตะกั่ว, พระสมัยอู่ทอง, และเครื่องลายครามจำนวนมาก ต่อมาหลังจากที่ข่าวแพร่ออกไปนายอำนาจ ผการัตน์ ผวจ.กาญจนบุรี ได้เดินทางไปตรวจสอบข่าวดังกล่าวพร้อมด้วยนายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ รอง.ผวจ.กาญจนบุรี ที่วัดเทวสังฆาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า วัดเหนือ ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นพระอารามหลวง โดยได้เข้าพบพระครูอนุกูลกาญจนกิจ รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดดังกล่าวเพื่อขอทราบรายละเอียดพร้อมทั้งนำหนังสือพระที่เกี่ยวกับกรุท่ากระดานไปตรวจสอบ เสร็จแล้วจึงเดินทางไปตรวจสอบยังบริเวณที่กรุแตก โดยพระที่พบส่วนใหญ่เป็นพระท่ากระดานหูช้าง เนื้อชิน และเนื้อตะกั่ว คาดว่า น่าจะเป็นพระสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ส่วนวัตถุมงคลทั้งหมดทางวัดจะเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้และจะไม่มีการจำหน่ายพระแต่อย่างใด

หากองค์นี้ยังไม่ถูกใจ อาจมีบางรายการที่ท่านกำลังค้นหาอยู่เชิญได้ที่นี่จ้า

http://www.web-pra.com/Shop/jorawis

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top