พระโคนสมอเนื้อชินมาอีกแล้วจ้า คราวนี้เป็นพิมพ์ยืนถวายเนตร ตะกั่วสนิมแดง-jorawis - webpra
VIP
  • มีพระกรุยอดนิยมหลากหลายสภาพ ให้เลือกชม
    เน้นพระแท้ ดูง่าย รับประกันความแท้ตามสากลนิยม มีให้เลือกชมทั้งพระเนื้อดิน ชิน ผง
    แทบทุกองค์ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชียวชาญ โดยมีรางวัลจากการผ่านงานประกวดมาตรฐาน
    หรือ

    ผ่านการออกใบรับรองพระแท้ จากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย
    ที่สามารถยืนยันถึงความแท้และความถูกต้องของข้อมูล
    ที่เกี่ยวกับองค์พระได้เป็นอย่างดี
  • ส่วนใหญ่เป็นพระกรุพระเก่ายอดนิยม
    หลายองค์เป็นพระในตำนาน หาชมได้ยากในปัจจุบัน
    บางองค์ไม่มีแม้แต่รูปให้ผ่านสายตา

    ส่วนบางองค์มีให้เห็นแค่เฉพาะภาพในหนังสือพระเครื่องมาตรฐานสูงบางเล่มเท่านั้น

    สนใจเชิญติดต่อกันเข้ามาได้
    ยินดีต้อนรับด้วยความเป็นกันเองทุกท่านทุกสายเลยจ้า
  • Page 1
  • Page 2
มีพระยอดนิยมมากมายให้เลือกชม เน้นพระแท้ดูง่ายโดยเฉพาะพระกรุ พระเก่า ประกันความแท้ตามมาตรฐานสากลนิยม

หมวด พระกรุ เนื้อชิน

พระโคนสมอเนื้อชินมาอีกแล้วจ้า คราวนี้เป็นพิมพ์ยืนถวายเนตร ตะกั่วสนิมแดง

พระโคนสมอเนื้อชินมาอีกแล้วจ้า คราวนี้เป็นพิมพ์ยืนถวายเนตร ตะกั่วสนิมแดง - 1
ชื่อร้านค้า jorawis - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระโคนสมอเนื้อชินมาอีกแล้วจ้า คราวนี้เป็นพิมพ์ยืนถวายเนตร ตะกั่วสนิมแดง
อายุพระเครื่อง 507 ปี
หมวดพระ พระกรุ เนื้อชิน
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ Jorawis@gmail.com
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ จ. - 28 มิ.ย. 2553 - 19:45.00
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ศ. - 02 ก.ค. 2553 - 22:35.45
รายละเอียด
พระโคนสมอกรุวังหน้า สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายคาบเกี่ยวกับรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยเรียกตามสถานที่ ๆ พบ คือวังหน้า หรือชื่อเป็นทางการคือ พระราชวังบวรสถานมงคล ที่ได้สร้างวัดไว้ในวังตามแบบราชประเพณีตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า และโปรดพระราชทานนามว่า “ วัดบวรสถานสุทธาวาส “แตกกรุออกมาครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๕ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เป็นผู้บูรณะโดยโปรดถอนวิสุงคามสีมาส่วนของวัดบวรฯ เพื่อสร้างโรงเรียนนาฏดุริยางศาสตร์ หรือโรงเรียนนาฏศิลป์ในปัจจุบัน พร้อมกันกับวัดพระแก้วในคราวเดียวกันเพื่อจัดงานฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ ๑๕๐ ปี ขณะทำการปรับรื้อได้พบพระเครื่องจำนวนมากใต้ฐานชุกชี ภายในบริเวณวัดบวรฯ มีทั้งเนื้อดิน ชินเงิน ตะกั่วสนิมแดง และผง เมื่อแรกพบคนงานได้นำมากองไว้ที่โคนต้นสมอพิเภกภายในบริเวณนั้น จึงเรียกกันต่อมาว่าพระโคนสมอ และภายหลังมีผู้พบอีกหลายครั้ง และ กรุ ตามวัดสำคัญ ๆ ต่าง ๆ รวมถึงวัดรั้วเหล็ก หรือ วัดประยุรวงศาวาส ต่อมาก็ได้พบพระแบบเดียวกันนี้อีกตามกรุต่างๆ ในกทม.และอยุธยา ซึ่งเมื่อพิจารณาจากพุทธศิลป์แล้วสันนิษฐานได้ว่าเป็นพระสมัยอยุธยาตอนปลาย เมื่อเสียกรุงศรี ฯ ครั้งที่ 2 หลังจากเริ่มสร้างกรุงเทพฯ นั้นก็ได้มีการชะลอพระพุทธรูปจากโบราณสถานต่างๆ ในจังหวัดที่เป็นวัดร้างเข้ามาประดิษฐานไว้ตามพระอารามต่างๆ ในกทม. พระพุทธรูปจากอยุธยาเองก็ถูกนำเข้ามาไว้ในกรุง หลายองค์ประจำอยู่ตามวัดต่างๆ ในกทม. นอกจากพระพุทธรูปที่ได้นำเข้ามาไว้ในกรุงแล้วก็ยังได้นำพระเครื่องที่พบตามกรุในอยุธยาเข้ามาบรรจุไว้ตามวัดต่างๆ ด้วย และพระโคนสมอก็ได้ถูกนำเข้ามาบรรจุไว้ตามสถานที่ต่างๆ ในครั้งนั้นด้วย แต่เป็นที่น่าเสียดายคือ ไม่มีบันทึกไว้ว่า พระทั้งหมดนั้นได้นำมาจากที่วัดใดในอยุธยา

พระโคนสมอ ที่ถูกพบนั้นส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อดินเผา ซึ่งมีขนาดใหญ่ และเป็นพระที่มีการลงรักปิดทองทั้งหมด และมีพระเนื้อดินเผาที่มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษที่มักเรียกกันว่า "พระท้าวชมพู" หรือหากจะเรียกให้ถูกต้อง ต้องเรียกขานกันตามพุทธประวัติที่นักสะสมรุ่นปู่ท่านเรียกขานกันว่าเป็นปาง " ทรมานพญาชมพู " ซึ่งเป็นพระยืนปางประทานพร ทรงเครื่องขัดติยราชประดับมงกุฎ สวยงามมาก ส่วนพระโคนสมอทั่วๆ ไปเป็นพระที่สร้างเป็นแบบพระประจำวันเสียเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะเป็นพระที่ประทับอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ฐานแบบย่อมุม ตามแบบศิลปะอยุธยายุคปลาย นอกจากพิมพ์พระประจำวันแล้วก็ยังมีพิมพ์อื่นๆ อีกบ้าง พระโคนสมอส่วนมากเป็นพระเนื้อดินเผา แต่ก็มีเนื้ออื่นๆ ที่พบน้อยมาก เช่น เนื้อว่าน เนื้อชินเงิน และเนื้อแก้วน้ำประสาน สำหรับเนื้อแก้วน้ำประสานนั้นแทบไม่ค่อยได้พบเห็นกันเลย

พระโคนสมอที่นิยมกันมากที่สุดก็คือโคนสมอเนื้อชิน ซึ่งเป็นพระที่มีขนาดเล็กที่สุดของพระชุดโคนสมอ พิมพ์ที่พบมักเป็นพระประทับนั่ง มีทั้งพิมพ์สมาธิและพิมพ์ประทับนั่งห้อยพระบาท และพระพิมพ์ห้อยพระบาทเป็นพิมพ์ที่นิยมกันมากที่สุด เนื่องจากว่ามีผู้นำไปห้อยบูชาแล้วเกิดประสบการณ์กันมากทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และมหาอุด พระโคนสมอเนื้อชินนี้มีการทำปลอมเลียนแบบกันมากนานแล้ว เนื่องจากได้รับความนิยมและหาค่อนข้างยาก พระแท้ๆ นั้นมักมีผิวผุกร่อนเป็นเกร็ดกระดี่ มีทั้งผิวปรอทและผิวสนิมตีนกา ส่วนที่ด้านหลังมักเป็นแอ่งเว้าแบบท้องกระทะ และขอบข้างของด้านหลังจะยกสูงเป็นขอบกระด้ง
พระโคนสมอเนื้อชินจึงเป็นพระที่มีสนนราคาสูงกว่าพระพิมพ์อื่นๆ ในพระชนิดเดียวกัน องค์นี้เป็นเนื้อตะกั่วสนิมแดง ปางถวายเนตร ยังมีทองเดิม ๆ จากกรุให้เห็น พลาดจากองค์นี้อาจต้องรอยาวกว่าที่คิด สนใจสอบถามกันเข้ามาได้เลยจ้า รับประกันความแท้ตามสากลนิยมเหมียนเดิม

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top