พระผงพิมพ์พระคันธาราษฏร์ หลวงปู่กิ วัดป่าสนามชัย-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน หลังปี 2525

พระผงพิมพ์พระคันธาราษฏร์ หลวงปู่กิ วัดป่าสนามชัย

พระผงพิมพ์พระคันธาราษฏร์  หลวงปู่กิ วัดป่าสนามชัย - 1พระผงพิมพ์พระคันธาราษฏร์  หลวงปู่กิ วัดป่าสนามชัย - 2พระผงพิมพ์พระคันธาราษฏร์  หลวงปู่กิ วัดป่าสนามชัย - 3พระผงพิมพ์พระคันธาราษฏร์  หลวงปู่กิ วัดป่าสนามชัย - 4พระผงพิมพ์พระคันธาราษฏร์  หลวงปู่กิ วัดป่าสนามชัย - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระผงพิมพ์พระคันธาราษฏร์ หลวงปู่กิ วัดป่าสนามชัย
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน หลังปี 2525
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ จ. - 26 ส.ค. 2567 - 22:06.01
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 07 ต.ค. 2567 - 22:34.34
รายละเอียด
พระผงพิมพ์พระคันธาราษฏร์ หลวงปู่กิ วัดป่าสนามชัย

เป็นพระยุคแรก องค์นี้ กดพิมพ์ ได้สวยงามมากครับ พระสวย ผิวสะอาด สวยเดิมครับ

ครูบา อาจารย์ สายกัมฐาน.


ประวัติ หลวงปู่กิ ธัมมุตฺตโม วัดป่าสนามชัย จ.อุบลราชธานี

หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล มรณภาพที่วัดอมาตยาราม เมืองจำปาศักดิ์
หลังจากหลวงปู่เสาร์ กลับมาจากสกลนคร เมื่อปี ๒๔๘๐ ท่านมาอยู่เมืองอุบลราชธานี ตั้งแต่ท่านลงมาพร้อมด้วยคณะลูกศิษย์ ซึ่งมีพระอาจารย์กิ โสธโร ร่วมอยู่ด้วย ในปี ๒๔๘๔ ท่านจำพรรษาสุดท้ายที่วัดดอนธาตุ ตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี หลวงปู่เสาร์ได้ปรารภถึงพระอาจารย์ของท่านคือหลวงปู่ยาครูสีทา ชยเสโน ซึ่งพื้นเพท่านอยู่เมืองสีพันดอน แขวงจำปาศักดิ์ ท่านไปเรียนที่กรุงเทพมหานคร แล้วมาเป็นพระอุปัชฌาย์ที่อุบลราชธานี หลังจากนั้นท่านได้ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ถิ่นมาตุภูมิ ท่านไปอยู่วัดดอนฮี ( วัดเกาะฮี ) เขตเมืองโขง แขวงจำปาศักดิ์ แล้วท่านมรณภาพที่นั้น หลวงปู่เสาร์ปรารภถึงพระอาจารย์ของท่าน อยากทำบุญเพื่ออุทิศกุศลให้ครูบาอาจารย์ หลังออกพรรษาแล้วปี ๒๔๘๕ จึงนำคณะลูกศิษย์เป็นจำนวนมากทั้งสายพระมหานิกายและพระธรรมยุต เป็นพระภิกษุสามเณร จำนวน ๑๑ รูป ซึ่งเป็นพระกรรมฐาน ลงไปจำปาศักดิ์ มีพระอาจารย์ทองรัตน์ กันตสีโล พระอาจารย์ดี ฉันโน พระอาจารย์บัวพา ปัญญาพาโส พระอาจารย์ทอง พระอาจารย์กองแก้ว ฯลฯ และมีคณะศิษย์ที่เป็นฆราวาสติดตามไปอีก ๕ คน คือ
๑. พระราชธรรมสุธี ( พวง สุขินฺทริโย )
ซึ่งขณะนั้นเป็นฆราวาส อายุ ๑๔ ปี
๒. พระครูโอภาสธรรมญาณ ( อำนวย )
๓. นายบุญมี ไชยงาม
๔. นายเจริญ ( ถึงแก่กรรม )
๕. นายกร
พระอาจารย์กิ ซึ่งอยู่วัดป่าสาลวัน ได้เดินทางมาต้อนรับคณะหลวงปู่เสาร์ ที่วัดอมาตยาราม จำปาศักดิ์ ในคราวนั้นพระอาจารย์บุญมากไม่อยู่ หลวงปู่เสาร์นำพาคณะศิษย์เยี่ยมชมปราสาทหินวัดภู จำปาศักดิ์ แล้วปรารภว่า ถ้าไปเมืองสีพันดอนแล้วให้กลับขึ้นมาทำมาฆบูชาร่วมกันที่ปราสาทหินวัดภูในวันเพ็ญเดือนสาม หลวงปู่เสาร์นำพาคณะลูกศิษย์ล่องเรือตามลำน้ำโขงไปสีพันดอนก่อน ส่วนพระอาจารย์ทองรัตน์และพระอาจารย์กิพร้อมพระสงฆ์จำนวนหนึ่งพักแรมอยู่ที่บ้านสาหัว เพื่อรอพระอาจารย์บุญมากมาสมทบ แล้วเดินธุดงค์ตามริมน้ำโขงรวมแล้วมีพระภิกษุสิบกว่ารูป เพื่อไปพบหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่เสาร์พร้อมคณะศิษย์ไปทำบุญที่วัดดอนฮี แล้วท่านเดินทางไปชมน้ำตกที่หลี่ผีแล้วมาพักอยู่ภูหม้อออมใกล้ที่ทำการจังหวัดจำปาศักดิ์ ประมาณ ๒ กิโลเมตร ( ในคราวนั้นรัฐบาลไทยได้ตั้งที่ทำการจังหวัดจำปาศักดิ์ ที่บ้านทัพเปือย ปากเซลำเพา เมืองสีพันดอน ) พระอาจารย์ทองรัตน์พร้อมด้วยพระอาจารย์บุญมาก พระอาจารย์กิ ฯลฯ ได้เดินทางถึงภูหม้อออมที่พักของหลวงปู่เสาร์ พระอาจารย์ดีรีบแจ้งข่าวอาการป่วยของหลวงปู่เสาร์ให้ทราบ นิมนต์ท่านกลับ ท่านก็ไม่เห็นด้วยและท่านพูดว่า “ท่านกิเข้าก่องเดียวชั้นบ่อท่านดี ข่อยอยากให้ฮอดเขมรพุ้น” หลวงปู่เสาร์ไม่ได้พูดถึงเรื่องที่จะเดินทางกลับ แต่พระอาจารย์ดีเกรงว่าหลวงปู่จะป่วยหนักและมรณภาพที่นี้ เกรงว่าศิษยานุศิษย์ที่ไม่ได้ไปด้วยจะตำหนิท่าน พระอาจารย์ดีจึงอยากให้พระอาจารย์ทองรัตน์และพระอาจารย์บุญมากช่วยนิมนต์หลวงปู่เสาร์กลับ คณะศิษยานุศิษย์ปรึกษาหารือกันว่าจะพูดอย่างไรดี ท่านจึงจะเห็นด้วย อย่างไรก็ดี ถ้าไม่ขึ้นถึงอุบลราชธานีก็เลื่อนขึ้นไปดอนไซหรือไปวัดป่าสาลวัน วัดพระอาจารย์บุญมากและพระอาจารย์กิสร้าง ซึ่งเป็นบ้านของพระอาจารย์กิด้วย หรือจะไปถึงวัดอมาตยารามก็ดี เมื่อคณะศิษย์ตกลงกันแล้วก็พากันเข้าไปกราบหลวงปู่เสาร์ พระอาจารย์ทองรัตน์และพระอาจารย์บุญมากพูดขึ้นว่า “ครูบาอาจารย์ อยู่ที่นี้มันกันดาร กันดารจังใดก็คือว่า ข้าราชการก็เป็นคนใหม่ มาตั้งบ้านเมืองใหม่ถ้าอาศัยข้าราชการก็เป็นแขก ( คนมาจากที่อื่น ) ถ้าอาศัยคนพื้นบ้านก็เป็นคนเขมร บางคนเว้าลาวก็บ่ได้ ผู้เว้าลาวได้ก็อาศัยเขาบ่ได้เพราะเขามีความทุกข์ยากอดอยาก ถ้าแม่นว่าป่วยเป็นมาหรือเป็นหนักพักฮ้ายมา เสียชีวิตที่นี้ รถก็มาบ่ถึง เรือมาก็คาแก่ง เหตุนี้จึงอยากนิมนต์ครูบาอาจารย์กลับขึ้นไปอุบลฯ หรือเลื่อนขึ้นไปดอนไซ หรือบ้านท่านกิ บ้านหนองผำ ดอนไซนี้ก็มีป่าที่สวยงามเหมาะสม สิเฮ็ดวัดป่าเพราะมีบ้านหลายหมู่บ้าน ส่วนวัดป่าสาลวันของท่านบุญมากบ้านท่านกินั้น ก็เป็นวัดป่าที่ร่มรื่นเหมาะสมกับคนเฒ่าคนแก่จะอยู่อย่างสะดวกสบายหรือไปฮอดวัดอมาตก็ได้” เมื่อหลวงปู่เสาร์ได้ฟังคำนมัสการของลูกศิษย์ ท่านพิจารณาสักครู่จึงพูดขึ้นว่า “เออ คันชั้นไปก็ไปติ นี่มันก็ถึงเดือนสามแล้ว ให้ท่านบุญมาก ท่านกิขึ้นไปสา ไปจัดเฮือมารับข่อย แล้วข่อยสิขึ้นไป แต่ให้สัญญาให้มาฮอดทันเดือนสามเพ็ง สั่งบอกท่านทองและพระที่รออยู่บ้านคันแยงบ่ให้รอถ้าทำมาฆบูชาที่ประสาทหินวัดภู เพราะกลับเมือบ่ทัน” เพราหลวงปู่เสาร์เคยปรารภไว้ว่าจะไปทำมาฆบูชาที่ปราสาทหินวัดภู จำปาศักดิ์ ระหว่างทางจะแวะชมวัดป่าสาลวัน บ้านหนองผำ พระอาจารย์บุญมากกับพระอาจารย์กิรีบเดินทางเพื่อไปจัดหาเรือ พระอาจารย์กิแวะดูสถานที่ดอนไซ เพื่อเรียนคณะสงฆ์ให้ทราบว่าจะนำหลวงปู่เสาร์มาพักที่นี้สักระยะหนึ่ง ส่วนพระอาจารย์บุญมากขึ้นมาวัดป่าสาลวันเพื่อจัดหาเรือ การจัดหาเรือก็ล่าช้ามากเนื่องจากทำเรือพ่วงและหาคนแจวเรืออีก ๔ คน จนถึงเดือนสามเพ็ญแล้วก็ยังไม่ได้ล่องเรือไปรับหลวงปู่เสาร์ เดือนสามเพ็ญหลวงปู่เสาร์เริ่มป่วยหนัก ถ่ายท้องอย่างแรง แรม ๑ ค่ำ เดือน ๓ คณะลูกศิษย์พร้อมด้วยข้าราชการ ตำรวจ ญาติโยม ช่วยกันนำท่านลงเรือ ถ่อเรือขึ้นมาถึงบ้านนาดี เซลำเพ พักแรมที่นี้ รุ่งเช้าถ่อเรือต่อถึงเมืองมูลปาโมกมืดค่ำพักแรมที่นี้ รุ่งเช้าถ่อเรือต่อ ผ่านดอนนางลอยทางด้านทิศตะวันออก แรม ๓ ค่ำ เดือน ๓ เป็นวันเดียวกับพระอาจารย์บุญมาก ล่องเรือจะลงไปรับหลวงปู่ ไปรับพระอาจารย์กิที่ดอนไซก่อนแล้วล่องเรือผ่านดอนนางลอยทางด้านทิศตะวันตก การผ่านเกาะคนละทิศเป็นสาเหตุที่เรือสองลำไม่เจอกัน เรือนำหลวงปู่มาถึงท่าน้ำวัดอมาตยาราม ส่วนเรือพระอาจารย์บุญมากและพระอาจารย์กิก็ถึงเมืองมูลปาโมกข์ พักแรมที่นี้ได้ทราบข่าวว่าเรือหลวงปู่ได้ถ่อขึ้นไปแล้ว เมื่อถึงวัดอมาตยารามตลอดระยะเวลา ๓ วันนั้นหลวงปู่ไม่ได้พูดอะไรเลย เมื่อเข้าในพระอุโบสถท่านจึงพูดขึ้นว่า “วัดใด วัดหนองผำบ่อ” ลูกศิษย์ตอบว่า “บ่อแม่น นี่วัดอมาต” คณะลูกศิษย์ประคองหลวงปู่นั่ง ท่านกราบพระประธานแล้วท่านมรณภาพในอิริยาบถท่านั่งมือสองข้างเท้ากับพื้นพระอุโบสถ พระอาจารย์กิกล่าวว่า การมรณภาพของหลวงปู่ประกอบด้วยสติอันไพบูลย์และอยู่ในอิริยาบถที่แปลกกว่าครูบาอาจารย์รูปอื่นๆ ท่านมรณภาพตรงกับวันอังคาร แรม ๓ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะเมีย วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๕ การที่หลวงปู่สอบถามว่า ที่ไหนบ้านหนองผำหรือไม่ ก็เพราะหลวงปู่เคยปรารภว่าจะแวะดูวัดป่าสาลวันบ้านหนองผำ ซึ่งเป็นวัดกรรมฐานแห่งเดียวในภูมิภาคนั้น เมื่อหลวงปู่มรณภาพแล้ว พระครูนาคบุรีพร้อมด้วยคณะ ลูกศิษย์ที่ติดตามหลวงปู่ได้ทำพิธีสรงน้ำศพและห่มผ้าไตรจีวร ข่าวการมรณภาพของหลวงปู่ทราบถึงพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ที่วัดแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พระอาจารย์สิงห์จึงได้เชิญศพมาประดิษฐานเก็บไว้ที่วัดบูรพาราม จังหวัดอุบลราชธานี
คืนที่หลวงปู่มรณภาพนั้น พระอาจารย์บุญมากและพระอาจารย์กิจำวัดที่เมืองมูลปาโมกข์ เมื่อทราบข่าวว่านำหลวงปู่ขึ้นไปวัดอมาตยารามแล้ว ก็ตามขึ้นมาแวะที่วัดป่าสาลวันเพื่อรอพระอาจารย์ทองรัตน์เดินธุดงค์ขึ้นมาจากเมืองสีพันดอน เมื่อพระอาจารย์ทองรัตน์ขึ้นมาแล้ว พระอาจารย์กิสะพายบาตรให้พระอาจารย์ทองรัตน์เดินทางมาวัดอมาตยาราม ทราบข่าวว่าได้เชิญศพหลวงปู่ขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดบูรพาราม จังหวัดอุบลราชธานีแล้ว

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top