ประวัติ หลวงพ่อแตง - วัดอ่างศิลานอก ต.อ่างศิลา อ.เมือง จ.ชลบุรี - webpra

หลวงพ่อแตง

ประวัติ วัดอ่างศิลานอก ต.อ่างศิลา อ.เมือง จ.ชลบุรี


ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อแตงหลวงพ่อแตง วัดอ่างศิลานอกวัดอ่างศิลานอก
ต.อ่างศิลา อ.เมือง จ.ชลบุรี

 

          ถ้าใครเคยไปเที่ยวเขาสามมุข จะต้องผ่านวัดอ่างศิลาแน่นอน วัดอ่างศิลาจะบอกว่าคนรุ่นหลังรู้จักเพราะปิดตาหลังยันต์กระบองไขว้ ของเจ้าคุณศรี ก็ไม่ผิดครับ แต่ถ้าถามคนย่านภาคตะวันออกวัดอ่างดังแต่สมัยก่อน ยุคร.5เสียอีก เพราะที่วัดนี้เป็นสำนักที่ใช้ร่ำเรียนสรรพวิชาโดยมี พระอาจารย์แตง ธมฺมโชโต เป็นเจ้าสำนักมีลูกศิษย์ลูกหาที่โด่งดังสมัยหลังมากมาย  อาทิ หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน, หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก, หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ และศิษย์อีกหลายคน เช่น ตาโต เพ่งวิจารย์, ตาบุญ หนังช้าง, ตากัน โจรสลัด จอมขมังเวทย์ แห่งภูเขาแหลมปู่เจ้า อ.สัตหีบ วัตถุมงคลที่มีชื่อสุดและหายากมาก(ของแท้ๆ) คือ เขี้ยวเสือแกะ ซึ่งเป็นต้นตำหรับ เขี้ยวเสือเงินล้านของหลวงพ่อปาน และยังมี ตะกรุด หมากทุย ผ้ายันต์ และเชือกมงคล อีกล้วนแล้วแต่โด่งดังจากการใช้หาของคนพื้นที่ทั่วท้องทะเลชลบุรีและพื้นที่ ใกล้เคียงหาจังหวัดล้วนแต่รู้จักท่าน

          หลวงพ่อแตง ธมฺมโชโต เป็นบุตรคนที่ ๒ ในจำนวนพี่น้อง ๓ คน ของนายบุญ และ นางมี ที่บ้าน ต.อ่างศิลา อ.เมือง จ.ชลบุรี เมื่อปีพ.ศ๒๓๔๒ จ.ศ.๑๑๖๑ แผ่นดินในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬ๋าโลกมหาราช (รัชกาลที่๑)

          ในวัยเด็กท่านเป็นเด็กฉลาด ว่านอนสอนง่าย เมื่อถึงวัยเรียนก็ศึกษามูลกัจจายนะและหนังสือขอมกับบิดา จาสามารถอ่านออกเขียนได้ทั้งภาษาไทยและภาษาขอม

          เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์ ปีพ.ศ.๒๓๖๒ บิดาของท่านจึงจัดให้บรรพชาอุปสมบท ณ วัดอ่างศิลา ได้รับฉายาว่า ธมฺมโชโต
          เมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้ศึกษาธรรมวินัยจนแตกฉาน ท่านศึกษาคัมภีร์ทำผงวิเศษทั้ง ๕ คัมภีร์อักขระยันต์ ๑๐๘และพระเวทย์วิทยาคมต่าง ๆ คัมภีร์โหราศาสตร์ ตำรายารักษาโรคจนชำนาญ
          เมื่ออกพรรษาก็จะนำพระภิกษุที่วัดออกธุดงค์ไปยังป่าเขาลำเนาไพร แสดงหาแหล่งพักอันสงบ พบชาวบ้านเจ็บป่วยก็ช่วยรักษา 
          หลวงพ่อแดง มรณภาพด้วยโรคชรา ในปีพ.ศ.๒๔๓๕ สิริอายุ ๙๓ ปี พรรษา ๗๓


เกร็ด ประวัติของหลวงพ่อแตงจากหลักฐานตามประวัติของหลวงพ่อปาน
          เมื่ออายุครบบวชจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดอรุณราชวรารามนั่นเอง โดยมีท่านเจ้าคุณศรีศากยมุนีเป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐาน รวมถึงไสยศาสตร์ ท่านได้รับการถ่ายทอดจากคณาจารย์หลายองค์จนเชี่ยวชาญ ภายหลังได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดบางเหี้ยนอก ปัจจุบัน เรียกว่าวัดมงคลโคธาวาส โดยมีพระที่เป็นสหายสนิทตามมาด้วยองค์หนึ่งชื่อ หลวงพ่อเรือน หลังออกพรรษาท่านและพระเรือนเริ่มออกธุดงค์ไปสถานที่ต่างๆ หลวงพ่อปานและหลวงพ่อเรือนได้ดั้นด้นไปจนถึง"วัดอ่างศิลา" อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และได้ฝากตัวเป็นสานุศิษย์ของ"หลวงพ่อแตง" เจ้าอาวาสวัดอ่างศิลา โดยศึกษาด้านวิปัสนาธุระ ไสยเวทย์มนต์ต่าง ๆ จนเชี่ยวชาญและสร้างชื่อเสียงให้หลวงพ่อปานเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะ " เขี้ยวซึ่งแกะเป็นรูปเสือนั่ง " เมื่อมีความเชี่ยวชาญแล้วจึงได้อำลาพระอาจารย์ "หลวงพ่อแตง" มาพำนักอยู่ที่วัดบ้านเกิดตนเองพร้อมด้วยพระอาจารย์เรือน เพื่อนสหาย ณ วัดบางเหี้ย (ปัจจุบันคือวัดมงคลโคธาวาส) และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสโดยมีหลวงพ่อเรือนเป็นรองเจ้าอาวาส ซึ่งทั้งสองรูปได้ปกครองพระลูกวัดทั้งด้านการศึกษาและการปฏิบัติธรรมอย่าง เคร่งครัดมาตลอด และในระหว่างที่หลวงพ่อปานและหลวงพ่อเรือนได้ธุดงค์ไปนั้นยังมีพระอาจารย์ อีกท่านหนึ่งที่ดั้นด้นไปเรียนคือ หลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง จังหวัดระยอง (ซึ่งได้พบกันในระหว่างธุดงค์) ได้ชวนกันไปเรียนวิทยาคมการปลุกเสกเสือ จากหลวงพ่อแตง วัดอ่างศิลาเป็นปรมาจารย์เจ้าตำหรับในการสร้างเขี้ยวเสือแกะที่มีฤทธิ์และ โด่งดังมากๆท่านหนึ่งพร้อมกันขณะที่เรียนอยู่นั้น เมื่อเรียนจนถึงขั้น ก็ต้องมีการทดลองพิสูจน์ดู โดยเอาเสือใส่บาตร ให้เอาไม้พาดไว้ ปลุกเสกจนเสือออกมาจากบาตร หายเข้าป่าไป ถ้าใครภาวนาเรียกเสือกลับมาได้ก็จะให้เรียนต่อไป ถ้าเรียกกลับมาไม่ได้ ก็ไม่ให้เรียน หลวงพ่อปานวัดบางเหี้ย ปลุกเสกเสือออกจากบาตรเข้าป่าไปได้ และเรียกกลับมาได้ ส่วนหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง ปลุกเสกเสือออกมาได้เข้าป่าไปเช่นกัน แต่เรียกเท่าไรๆ ก็ไม่กลับ ก็เป็นอันว่าหลวงพ่อปานเรียนต่อจนสำเร็จองค์เดียว หลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้งก็ต้องพักจากการเรียนเสือ (เหตุเพราะตบะทางมหาอำนาจยังไม่กล้าเกร่ง แต่โดดเด่นทางเมตตา) หลวงพ่อแตงท่านก็จึงให้หันมาเรียน สร้าง และปลุกเสกแพะ จนสำเร็จ เมื่อได้วิทยาคมนี้ต่อมาก็มาเป็นอาจารย์ของหลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก จังหวัดระยอง หลวงพ่ออ่ำนี่มีชื่อเสียงมากในการสร้างแพะ จนได้สมญาว่า "หลวงพ่ออ่ำแพะดัง" และหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้งนี้ ก็ยังเป็นอาจารย์ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จังหวัดระยอง ผู้โด่งดังมากในปัจจุบันนี้เช่นกัน หมายเหตุ หลวงพ่อเรือน พระที่เป็นสหายสนิทของหลวงพ่อปานในครั้งที่ออกธุดงธ์ไปด้วยนั้น ก็ได้มีสวนรู้เห็นและได้เรียนวิชากับหลวงพ่อแตงด้วย แต่ก็เรียนแค่เพียงน้อยนิด ไม่ถึงกับจบ อาจเพราะเกรงใจหรือเคารพพระสหายที่เป็นรุ่นพี่ที่ไปด้วยอย่างหลวงพ่อปานจึง ทำให้ไม่ได้เรียนจนจบ แต่กระนั้นหลวงพ่อเรือนก็เรียนจบวิชาสร้างเสือปลุกเสกเสือจนได้ ด้วยการถ่ายทอดวิชาจากหลวงพ่อปานอีกที ดังนั้นหลวงพ่อเรือนจึงเป็นทั้งศิษย์ของหลวงพ่อแตงและเป็นทั้งเพื่อนและเป็น ทั้งศิษย์ของหลวงพ่อปาน

 

ข้อมูลอ้างอิง : http://www.web-pra.com/Forum/Topic/Show/53821/Page/1

Top