ประวัติ หลวงพ่อเชย - วัดเสถียรวัฒนดิษฐ์ (ท่าควาย) จ.สิงห์บุรี - webpra

หลวงพ่อเชย

ประวัติ วัดเสถียรวัฒนดิษฐ์ (ท่าควาย) จ.สิงห์บุรี

หลวงพ่อเชย วัดเสถียรวัฒนดิษฐ์ (ท่าควาย)

ประวัติ

                 เกิด                     ปี พ.ศ.2412 พื้นเพเป็นคนสิงห์บุรีโดยกำเนิด

                อุปสมบท               อายุ 20 ปี  มีหลวงพ่อแดงเป็นพระอุปัชฌาย์

                มรณภาพ               พ.ศ.2469

                สิริอายุ                   57 ปี 37 พรรษา

 

หลวงพ่อเชยเป็นชาวเมืองสิงห์บุรี โดยกำเนิด ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ. 2412 ปีมะเส็ง พออายุได้ 2 ขวบ โยมบิดามารดาได้เสียชีวิตลง ลุงของหลวงพ่อจึงนำไปอุปการะเลี้ยงดู จนกระทั่งอายุของหลวงพ่อได้ 13 ปี จึงได้นำไปฝากเป็นบุตรบุญธรรมของหลวงพ่อแตง ที่วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ แห่งนี้ ครั้นอายุได้ 20 ปีบริบูรณ์ หลวงพ่อแตงและญาติโยมที่ยังมีชีวิตอยู่ขณะนั้นได้ทำการอุปสมบท ณ วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ โดยมีหลวงพ่อแตงเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อหลวงพ่อเชยอุปสมบทแล้ว หลวงพ่อเชยอุปสมบทแล้ว หลวงพ่อเชยอุปสมบทแล้ว หลวงพ่อก็อยู่ที่วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ตลอดมา

จนหลวงพ่อแตงมรณภาพ ชาวบ้านแถบถิ่นนั้นได้นิมนต์ให้หลวงพ่อเชยรับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสสืบแทนปกครองดูแลพระลูกวัดสืบทอดมา กระทั่งหลวงพ่อเชยมรณภาพลงเมื่อ พ.ศ. 2469 ปีขาล ด้วยโรคลมปัจจุบันทันด่วน สิริรวมอายุได้ 57 ปี พรรษาที่ 39 พรรษา มรณภาพมาแล้ว 62 ปี

ขณะ ที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นหลวงพ่อได้รับการศึกษาและออกธุดงควัตรหลายแห่ง และเรียนวิทยาการหลายแขนงจากหลวงพ่อแตง โดยศึกษาภาษาไทยบาลีกับหลวงพ่อแตงตั้งแต่อายุ 13 ปี เมื่อบรรพชาเป็นพระภิกษุแล้วได้ศึกษาพระธรรมวินัย พระปริยัติธรรม และวิปัสสนาธุระ รวมตลอดถึงพุทธาคมกับหลวงพ่อแตงมาโดยตลอด หลวงพ่อแตงเป็นพระที่เชี่ยวชาญในด้านวิทยาการหลายแขนง ในฐานะที่หลวงพ่อเป็นศิษย์ได้ถ่ายทอดวิทยาการแขนงต่าง ๆ จากหลวงพ่อแตง หลวงพ่อจึงดำเนินรอยตาม หลวงพ่อแตงทุกอย่าง ออกธุดงควัตรทุกปีรุกขมูลไปทั่วประเทศ เคยไปถึงประเทศ ลาว เขมร และพม่า การออกเดินธุดงควัตรของหลวงพ่อ ทำให้หลวงพ่อได้พบปะพระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคุณตามภาคต่าง ๆ และได้มีโอกาสร่ำเรียนวิทยาคมเพิ่มเติม รวมทั้งการแลกเปลี่ยนวิทยาคมซึ่งกันและกันกับพระอาจารย์นั้น ๆ ซึ่งในจำนวนนี้ก็มีหลวงปู่ศุข (พระครูวิมลคุณากร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า ,หลวงพ่อช้าง วัดตึก และหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
สำหรับหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือนั้น มีอายุอานามไล่เลี่ยกัน ไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ ถึงกับหลวงพ่อเชยเคยให้พระปิดตาของท่านไปแจกจ่ายที่ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ก็เคยมี และเพราะเหตุนี้เองพระปิดตาที่มีปัญหานี้มีคนเข้าใจว่าเป็นของหลวงพ่อรุ่ง อันที่จริงนั้นหลวงพ่อเชยท่านให้หลวงพ่อรุ่ง เพื่อนำไปแจกจ่ายเป็นของขวัญให้กับญาติโยมและผู้ที่เคารพนับถือ จึงมีคนเข้ใจว่าเป็นพระของหลวงพ่อรุ่งสร้างขึ้น ที่จริงแล้วเป็นพระของหลวงพ่อเชยให้หลวงพ่อรุ่งไปแจก

หลวง พ่อเชยขึ้นชื่อลือเลื่องในทางสมถะ เป็นพระมักน้อย ตลอดชีวิตของหลวงพ่อได้ถือปฏิบัติตลอดมาอย่างเคร่งครัด หลวงพ่อได้ถือปฏิบัติตลอดมาอย่างเคร่งครัด หลวงพ่อฉันอาหารวันละมื้อ ปฏิเสธการแต่งตั้งสมณศักดิ์หลายครั้ง ยินดีรับกิจนิมนต์ โดยเฉพาะกิจนิมนต์ที่เกี่ยวกับการตาย แม้หนทางจะไกลแสนไกลสักเพียงใด หลวงพ่อจะต้องไปเสมอ
ข้อยืนยันว่าหลวงพ่อเป็นพระสมถะเพียงใดนั้น จะเห็นได้จากข้อ ความด้านหลังของเหรียญเสมาพระภควัมบดี พ.ศ. 2468 โดยหลวงพ่อให้ใช้คำว่า "ที่รฤกอาจารย์เชย ที่สร้างศาลาโรงธรรม" เท่านั้น โดยไม่ยอมให้ใช้คำว่า "พระอาจารย์เชย" เพราะท่านไม่ต้องการโอ้อวดใด ๆ

วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์นี้ อยู่เหนือปากคลองลำน้ำลพบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 17 ไร่เศษ โดยทิศเหนือจรดบ้านและถนน ทิศใต้จรดบ้านไม่มีถนน ทิศตะวันตกจรดแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าวัดมีถนนลาดยาง ทิศตะวันออกจรดถนน และที่นาชาวบ้านละแวกนั้น ถนนด้านทิศตะวันออกเรียกว่า ถนนธรรมเสฐียร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างมาแต่เมื่อใด แต่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2481 ก่อนหน้านั้นคงมีเพียงวิหารการ ทำสังฆกรรมใด ๆ คงใช้วัดอื่น ปัจจุบันวัดนี้เป็นวัดมหานิกาย บรรดาโบสถ์ วิหารเสนาสนะ และถาวรวัตถุต่าง ๆ ของวัดเป็นของที่สร้างขึ้นใหม่ สมัยหลวงพ่ออ่อน และพระครูวิจิตรสังวรคุณ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันทั้งสิ้น เพราะของเดิมได้หักพังสิ้นสภาพไปตามกาลเวลา

การ ปกครองดูแลพระลูกวัด ท่านมุ่งให้พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ให้ได้รับการศึกษา และมุ่งการศึกษาให้มีแก่พระภิกษุ สามเณร โดยมิได้ย่อท้อต่อความเหนื่อยยาก ท่านมองเห็นการณ์ไกลเพื่อประโยชน์ของสังคม ทั้งทางพุทธจักร และอาณาจักร มิได้ประสงค์เพียงเพื่อจะเอาตัวรอดอย่างเดียว นี่คือตะเกียงดวงแรกของวัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ ที่หลวงพ่อเชยได้จุดไว้ยังวัดแห่งนี้ และขอฝากไว้กับพระภิกษุ สามเณร และพุทธบริษัททั้งหลาย ช่วยกันหาน้ำมันมาเติมใส่เข้าไว้เพื่อให้ตะเกียงดวงนี้มีแสงสว่าง และลุกโชติช่วงอยู่ตลอดไปคู่กับพระพุทธศาสนา

หลวง พ่อเชยเคยอบรมสืบสวนพระภิกษุ สามเณร ในปกครองของท่านตลอดเวลาว่า เป็นพระเป็นเณรต้องหมั่นสวดมนต์ไหว้พระ เจริญเมตตาภาวนาศึกษาเล่าเรียน พระธรรมวินัยบาลี จะได้มากน้อยอย่างไร ก็ให้พยายามไปช่วยกันทำกิจของสงฆ์ภายในวัด ให้มีความสามัคคี แบ่งปันส่วนเฉลี่ยเจือจุนกันถ้าองค์ไหนขี้เกียจขี้คร้าน ก็หอบเสื่อหอบหมอนไปนอนที่อื่น อย่ามาอยู่ให้หนักวัดเขา
หลวง พ่อเชยได้อบรมพระภิกษุสามเณรในปกครองของท่านอยู่ตลอดเวลา ก่อนทำวัตร สวดมนต์ เช้า - เย็น ท่านมีความเป็นห่วงภิกษุ สามเณร ในปกครองของท่านมากทีเดียว นี่เป็นความประสงค์อันแม้จริงของท่าน ที่อยากจะเห็นภิกษุ สามเณร ภายในวัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์แห่งนี้ได้รับการศึกษา

ปรากฏ เป็นหลักฐานอีกอย่างหนึ่งว่า หลวงพ่อเชยท่านมีความสามารถทางฝีมือช่างเป็นพิเศษ การก่อสร้างถาวรวัตถุหลายอย่าง หลวงพ่อเป็นผู้ออกแบบแกะสลักลวดลาย และทำงานก่อสร้างเองทั้งสิ้น แม้แต่การสร้างแม่พิมพ์พระ การแกะสลัก การปั้นรูปภาษี หลวงพ่อก็ออกแบบและทำเองด้วย ในโอกาสที่หลวงพ่อเชยได้พบปะแลกเปลี่ยนวิทยาคมกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่านั้น เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เสด็จมานมัสการหลวงปู่ศุขหลายครั้ง ทรงพบเห็นพระของหลวงพ่อเชยแล้ว ก็ทรงพระดำริว่าจะให้ช่างทางกรุงเทพฯ แกะแม่พิมพ์ถวาย ซึ่งเป็นแม่พิมพ์พระโคนสมอ กับแม่พิมพ์พระภควัมบดี บางพิมพ์ให้กับหลวงพ่อเชย

หลวง พ่อเชยได้สร้างวัตถุมงคลประเภทพระเนื้อผงผสมว่าน เนื้อผงใบลาน และเหรียญเสมาพระภควัมบดี มีอยู่หลายชนิด หลายพิมพ์ทรง และมีแบบต่าง ๆ กัน ซึ่งหลวงพ่อสร้างไว้แจกแก่บรรดาญาติโยมและศิษยานุศิษย์ที่เคารพนับถือในตัว ท่านปรากฏว่าพระของหลวงพ่อมีอยู่ประมาณ 75 พิมพ์ทรงในจำนวนนี้มีทั้วแบบพิมพ์ที่เสด็จในกรมถวายกับพิมพ์ที่หลวงพ่อเชย แกะเอง ส่วนการสร้างนั้น หลวงพ่อสร้างอยู่เรื่อย ๆ ครั้งละไม่มาก เมื่อสร้างเสร็จหลวงพ่อจะปลุกเสกองค์เดียว และแจกแก่ศิษย์ที่เสื่อมใส พระบางพิมพ์ของหลวงพ่อไม่สามารถจะรวบรวมมาได้ครบทั้ง 75 พิมพ์ จึงขอนำลงเฉพาะบางพิมพ์เท่าที่จะหาได้ เช่น
1. พระพิมพ์กำแพงทุ่งเศรษฐี
2. พระพิมพ์สิวลี
3. พระรอดทรงครุฑ
4. พระโคนสมอ
5. พระนาคปรก
6. พระสามพี่น้อง
7. ตะกรุด
8. พระหูยาน เนื้อว่านผสมผงใบสาน
9. พระสังกัจจายน์ เนื้อว่าน
10. พระพิมพ์ปิดตา 2 หน้าและหน้าเดียว เนื้อผงใบสาน
11. พระพิมพ์สมเด็จ เนื้อปูน
12. พระพิมพ์เมืองสวรรค์ ด้านหน้าเป็นพระสมเด็จ ด้านหลังเป็นพระรอด
13. พระปิดตาเนื้อผงใบลาน พิมพ์ใหญ่ - เล็ก หลังยันต์
14. พระปิดตาพิมพ์พิเศษ สร้างด้วยเนื้อตะกั่ว
15. พระพิมพ์ฤาษี สร้างทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 เนื้อดิน ครั้งที่ 2 เนื้อดิน ครั้งที่ 3 เนื้อผงใบลาน
16. เหรียญรูปเสมารูปพระภควัมบดี หลวงพ่อสร้างเป็นรูปรุ่นสุดท้ายเมื่อปี พ . ศ . 2468 ก่อนหลวงพ่อมรณภาพ 1 ปี

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

                พุทธคุณในวัตถุมงคลของท่านเด่นทาง เมตตามหานิยม


ข้อมูลอ้างอิงจาก : palungjit.com

Top