ประวัติ หลวงพ่อพวง - วัดหนองกระโดน อ.เมือง จ.นครสวรรค์ - webpra

หลวงพ่อพวง

ประวัติ วัดหนองกระโดน อ.เมือง จ.นครสวรรค์

หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน  นครสวรรค์

หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน อ.เมือง จ.นครสวรรค์

หลวงพ่อพวง เกิดเมื่อวันเสาร์ เดือนสิบ ปีวอก ตรงกับพ.ศ.๒๔๑๕ หลวงพ่อพวงเกิดที่บ้านฟากคลอง ต.หนองกระโดน อ.เมือง จ.นครสวรรค์  เมื่อเยาว์วัยได้ศึกษาเล่าเรียนที่วัดหนองกระโดน ซึ่งการเรียนนั้นมุ่งไปที่การอ่านหนังสือไทย และหนังสือขอม การท่องบทสวดมนต์ และต่อหนังสือกับพระในตอนเย็น

เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยรุ่น จึงลาออกจากวัดไปช่วย  บิดามารดาประกอบอาชีพ จนอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงเข้าอุปสมบทที่วัดมหาโพธิใต้ ต.มหาโพธิ อ.บรรพตพิสัยเดิม(ปัจจุบันขึ้นอ.เก้าเลี้ยว) โดยมีพระครูพิสิษฐ์สมถคุณเป็นพระอุปัชณาย์ อยู่ในสมณเพศได้ 1 พรรษา ที่วัดหนองกระโดน แล้วก็ลาสิกขา ไปช่วยบิดามารดาทำนาทำไร่ครองเพศฆราวาสอยู่ได้ไม่นานนักก็เบื่อหน่ายใน ฆราวาสวิสัย จึงกลับเข้าอุปสมบทอีกครั้งหนึ่ง เมื่ออายุ ๒๓ ปีบริบูรณ์ ตรงกับพ.ศ.๒๔๓๘ที่วัดมหาโพธิใต้ โดยมีพระครูพิสิษฐ์สมถคุณ(หลวงพ่อเฮง)วัดเขาดินใต้เป็นพระอุปัชณาย์ แล้วกลับไปอยู่ที่วัดหนองกระโดน

ในการอุปสมบทครั้งนี้ หลวงพ่อพวงได้ตั้งปณิธาน ไว้ว่าจะดำรงสมณเพศตลอดไป จึงตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัย  จากพระปลัดเคลือบเจ้าอาวาสวัดหนองกระโดน การปฏิบัติตามวิสัยของหลวงพ่อพวงนั้น จะออกบิณฑบาตรเป็นกิจวัตร มีการทำวัตรเช้า-เย็นทุกวันไม่มีขาด เวลากลางคืนท่านจะนั่งเจริญกรรมฐานจนดึกทุกคืน จริยาวัตรของท่าน เป็นที่น่าเคารพเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก ยึดมั่นในสัจธรรมที่ว่า"ยถาวาที ตถาการี"หมายถึง"คนตรงพูดอย่างไรทำอย่าวนั้น" จนมีคำพูดว่าหลวงพ่อพวงเป็นพระจริงๆ      

ในปีพ.ศ.๒๔๕๐ หลวงพ่อพวงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองกระโดนเมื่อ มีพรรษา ๑๒ พรรษา เนื่องจากพระปลัดเคลือบเจ้าอาวาสท่านเดิมนั้นประชาชนได้อาราธนาไปเป็นเจ้า อาวาสวัดหัวเมือง(วัดนครสวรรค์) ต่อมาปีพ.ศ.๒๔๖๘เมื่อต.ลาดยาว ได้ยกฐานะขึ้นเป็นอ.ลาดยาว ขณะนั้นตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดลาดยาวได้ว่างลง ขุนนิพัธ์ประสาสน์ นายอำเภอลาดยาวขุนลาดบริบาล พ่อค้า ประชาชนจึงได้จัดขบวนไปรับหลวงพ่อพวงที่วัดหนองกระโดน ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดลาดยาวและเจ้าคณะแขวงลาดยาว ในปีพ.ศ.๒๔๗๓ หลวงพ่อพวงได้ รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอตรี ชื่อ"พระครูนิวิฐธรรมสาร" และเป็นพระอุปัชฌาย์ในเขตแขวงลาดยาวเมื่อมีอายุ๕๘ ปี พรรษาที่ ๓๕      

หลวงพ่อพวงมีความรู้ด้านการช่างฝีมือเป็นอย่างดี โดยได้ช่วยพระปลัดเคลือบสร้างศาลาวัดหัวเมืองจนแล้วเสร็จ ต่อมาปีพ.ศ.๒๔๕๙ได้เป็นผู้นำการสร้างศาลาวัดหนองยาว อ.ลาดยาว ปีพ.ศ.๒๔๖๗ ได้บูรณะวัดหนองกระโดนโดยสร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ ปีพ.ศ.๒๔๖๘ได้เป็นกำลังสำคัญสร้างศาลาการเปรียญให้แก่วัดเก้าเลี้ยว ปีพ.ศ.๒๔๖๙ ได้สร้างศาลาการเปรียญให้แก่วัดทัพชุมพลและไปช่วยสร้างวัดหนองโรงต.หนองกรด อ.ปากน้ำโพ

นอกจากนี้ยังได้ไปช่วยหลวงพ่อขันสร้างวัดลาดยาว อ.ลาดยาว ปีพ.ศ.๒๔๗๐ ได้ก่อสร้างมณฑปที่วัดหนองกระโดนเพื่อประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองและก่อ สร้าวศาลาวัดเนินขี้เหล็กและวัดบ้านไร่ ในปีพ.ศ.๒๔๗๑หลวงพ่อพวงได้เริ่มก่อสร้างวัดเขาสมุกโดยสร้างศาลาการเปรียญ โรงน้ำร้อน กุฏิ ๔ หลัง หอฉัน ศาลา ๙ ห้อง สร้างรอยพระพุทธบาทจำลองไว้บนยอดเขาสมุก และสร้างมณฑปครอบไว้ การก่อสร้างใช้เวลา ๕ ปี แล้วเสร็จเมื่อพ.ศ.๒๔๗๕ มีเนื้อที่ดิน ๓๐ ไร่เศษ      

หลังจากหลวงพ่อพวงได้มรณะภาพแล้ว ได้มีการปั้นรูปเหมือนหลวงพ่อพวงไว้ที่วัดหนองกระโดน วัดลาดยาว วัดเขาสมุก วัดหนองยาว และวัดศรีสุธรรมาราม


พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

                พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง  เมตตามหานิยม

ข้อมูลอ้างอิงจาก : amulet.in.th

Top