ประวัติ หลวงพ่อปลื้ม จิตฺตสญฺญโต - วัดสวนหงส์ บางปลาม้า สุพรรณบุรี - webpra

หลวงพ่อปลื้ม จิตฺตสญฺญโต

ประวัติ วัดสวนหงส์ บางปลาม้า สุพรรณบุรี


ประวัติพระครูสุมนคณารักษ์
(ปลื้ม จิตฺตสญฺญโต)

เปรียญธรรม ๔ นักธรรมเอก

หลวงพ่อปลื้ม จิตฺตสญฺญโต

อดีตเจ้าอาวาสวัดสวนหงส์
อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

ชาติภูมิ

          หลวงพ่อปลื้ม เป็นบุตรของโยมผู้ชายสนและโยมผู้หญิงชื่น ถือ กำเนิดที่บ้านยอด ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ ตรงกับวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะแม

โยมผู้ชาย

          โยม ผู้ชายสน ศุภพินิจ เป็นชาวบ้านสวนขิง อำเภอบางปลาม้า จังหวัด สุพรรณบุรี บิดาของโยมผู้ชายเป็นผู้ใหญ่บ้านชื่อตู้ มารดาชื่อมอญ ปู่ตู้ได้ รับพระราชทานนามสกุลว่า ศุภพินิจ นามสกุลนี้ ภายหลังมีความผิดพลาดในการคัด ลอก ทำให้ผู้ใช้นามสกุลศุภพินิจบางครอบครัวต้องใช้ว่า สุขพินิจ

          ตัว โยมผู้ชาย มีอาชีพจารหนังสือขอม รับจ้างเขียนพระบฏ (ภาพวาดพระพุทธเจ้าบนผืน ผ้าสำหรับแขวนไว้เพื่อบูชา) ด้วยความสามารถในด้านการวาดภาพ โยมผู้ชายฝาก ฝีมือวาดภาพไว้ที่ฝาผนังมณฑปวัดน้อย อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี แม้ ปัจจุบันภาพส่วนมากจางหายไป เนื่องมาจากเวลาที่ผ่านมานานร่วมร้อยปี ประกอบ กับน้ำท่วม และน้ำฝนที่ไหลซึมตามรอยรั่วของหลังคามณฑป แต่ก็ยังคงเหลือบาง ส่วนที่ชัดเจน แสดงให้เห็นถึงฝีมือของผู้วาด ขนาดที่ว่า ช่างจากกรมศิลปากร ที่มาดูแลทำความสะอาดและรักษาภาพวาดฝาผนังมณฑปวัดน้อย ถึงกับออกปากว่า... ต้องการอนุรักษ์ฝีมือช่างพื้นบ้านที่ไม่ใช่ช่างหลวงนี้เอาไว้ ให้นักศึกษาทางด้านจิตรกรรมฝาผนังได้มาศึกษากัน

          นอกจากนี้ โยมผู้ชายยังฝากฝีมือวาดภาพไว้ที่หอสวดมนต์วัดมณีวรรณ ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นภาพวาดพุทธประวัติ

          ดัง ข้อมูลที่ปรากฏในหนังสือจิตรกรรมฝาผนังในจังหวัดสุพรรณบุรี จัดทำโดยคณะ กรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี เรียบเรียง โดยอาจารย์รัตนมณี คันธฐากูร ความว่า...

วัดน้อย บ้านยอด ตำบลโคกคราม"

จิตรกรรม ภายในมณฑป เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาวไม่รองพื้น อายุรัตนโกสินทร์ พ.ศ .๒๔๕๐ ฝีมือช่างพื้นบ้าน (อาจารย์สน ศุภนิมิตร) เรื่องราวของ จิตรกรรม เรื่องพุทธประวัติ เทพชุมนุม พระมาลัย

วัดมณีวรรณ ตำบลโคกคราม

จิตรกรรมคอสองหอสวดมนต์ เขียนด้วยสีฝุ่นบนไม้มีรองพื้น อายุรัตนโกสินทร์ พ.ศ.๒๔๕๙ ๒๔๖๔ ฝีมือช่างพื้นบ้าน (อาจารย์สน ศุภมิตร) และช่างกรุงเทพฯ เรื่องราวของจิตรกรรม เรื่องพุทธประวัติ

          จากข้อมูลในหนังสือนี้ อาจารย์รัตนมณีผู้เรียบเรียงให้คำชี้แจงเพิ่มเติมว่า นาม สกุลทั้งสองแห่งนั้น ผิดพลาดที่การเรียงอักษรและการตรวจอักษร ที่ถูกต้อง คือ อาจารย์สน ศุภพินิจ ซึ่งเป็นโยมผู้ชายของหลวงพ่อปลื้มนั่นเอง

          แม้ ว่าโยมผู้ชายมีความสามารถในด้านอ่านเขียนหนังสือไทย จารหนังสือขอมได้งด งาม และที่สำคัญโยมผู้ชายเป็นศิษย์ก้นกุฏิของหลวงพ่อเนียมวัดน้อย มีความ เพียรพยายามปฏิบัติธรรมกรรมฐาน จนมีความสามารถถึงขั้นที่หลวงพ่อเนียมครอบ เป็นครูกรรมฐาน มีความรวดเร็วในเรื่องของสมาธิ หลวงพ่อเคยเล่าว่า... “เคยถามโยมผู้ชายว่าจะศึกษาทางปริยัติไปได้แค่ไหน โยมผู้ชายหลับตาแล้วตอบทันทีว่า เห็นแค่เลข ๔” ภายหลังแม้ว่าหลวงพ่อจะตั้งจุดหมายไว้ว่า ต้องเรียนให้จบเปรียญ ๙ แต่ก็มีเหตุขัดข้องให้ได้แค่เปรียญ ๔ ตามที่โยมผู้ชายมองเห็น” และอีกความสามารถหนึ่งของโยมผู้ชาย คือความสามารถด้านหมอรักษาโรค เรื่องนี้หลวงพ่อเล่าให้ฟังว่า... “มี คนมาขอความช่วยเหลือจากโยมผู้ชาย โยมผู้ชายนั่งดู พิจารณาว่าจะต้องสร้าง พระ ก็บอกจำนวนไปจนเขาพอใจ แล้วเขาก็หันหลังไป แสดงว่าเขายอมรับ ก็รักษา ได้ แต่ถ้าเขาไม่ยอม ก็ช่วยไม่ได้ ต่อมาพระเกิดขลัง มีคนมาหาเช่า ...” นอก จากนี้โยมผู้ชายยังมีอีกหลายความสามารถ เช่นงานปั้นรูปเหมือนเล็ก ๆ เป็นเรื่องราวในนรกที่ปรากฏอยู่ในโบสถ์วัดน้อย การสร้างวัตถุมงคล ฯลฯ

          ด้วยความสามารถในหลาย ๆ ด้านของโยมผู้ชาย ผนวกกับที่ท่านเคยอยู่ในสมณเพศ จึงเป็นเหตุให้ผู้คนทั่วไปในแถบนั้นเรียกท่านว่า อาจารย์สน

          ในบั้นปลายของชีวิต โยม ผู้ชายย้ายไปอยู่ที่บ้านห้วยตายัง ตำบลหนองโอ่ง อำเภออู่ทอง จังหวัด สุพรรณบุรี มีครอบครัวใหม่ ภรรยาชื่อทิว มีบุตรสาวชื่อภณิดา โยมผู้ชายเริ่ม ป่วยในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ แล้วถึงแก่กรรมในปีถัดมา และในปี พ.ศ.๒๔๘๙ อาสำเนียงและญาติได้ไปนำกระดูกของโยมผู้ชายที่ฝังอยู่ที่เขาตะ เก้า บ้านห้วยตายัง กลับมาบำเพ็ญกุศลและฌาปนกิจที่วัดน้อย อำเภอบางปลา ม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ในครั้งนี้ อาสำเนียงเป็นแม่งานดำเนินการจัดการงานศพ ทั้งหมด

          ในงานศพ พระ มหาปลื้มซึ่งขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดปราสาททอง อำเภอเมือง จังหวัด สุพรรณบุรี ได้มาจัดทำพิธีมหาบังสุกุลให้แก่โยมผู้ชายที่บริเวณมณฑปวัด น้อย ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๐ ได้สร้างหนังสือพระไตรปิฏกหนึ่งชุดอุทิศให้แก่โยมผู้ชาย หนังสือ ชุดนี้ยังปรากฏอยู่ที่วัดสวนหงส์ จากนั้น ในปี พ.ศ.๒๕๐๗ พระมหาปลื้มตัดสินใจนำอัฐิของโยมผู้ชายมาบรรจุไว้ที่เสาป้ายชื่อ วัดสวนหงส์ ตรงท่าน้ำหน้าศาลาการเปรียญวัดสวนหงส์ แล้วจารึกข้อความไว้ว่า อิทํ สน ศุภพินิจ” อิตินามสฺส สจกฺขุโน อุปาสกสฺส พุทฺธสเก


โยมผู้หญิง

          โยม ผู้หญิงชื่น จันทร์กระจ่าง เป็นชาวบ้านยอด อำเภอบางปลาม้า จังหวัด สุพรรณบุรี บิดาของโยมผู้หญิงเป็นคหบดีชื่อจ่าย มีอาชีพทำสวน มีสวน มะม่วง บ้านของโยมตาโยมยายนั้นกว้างขวางมากขนาดวัดสวนหงส์ ภายหลังสมบัติก็ อันตรธานไปหมด หลวงพ่อเล่าว่า... “แม้โตขึ้น เห็นก็ไม่เสียดายหรืออยากได้ เพราะเคยมีเคยอยู่มาแล้ว

          ตัว โยมผู้หญิงมีความขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ มักจะเปลี่ยนอาชีพไปตามความจำ เป็น ทำนาบ้าง ทำสวนบ้าง หาบของขายบ้าง ค้าขายบ้าง ล่องเรือค้าขายบ้าง แต่ ละอาชีพล้วนลำบากตรากตรำ แต่ก็ไม่เคยได้ร่ำรวยและสุขสบายเลย ไม่เคยอยู่เป็น หลักแหล่ง โยกย้ายถิ่นทำมาหากินไปเรื่อย ๆ แม้เมื่อครั้งพระลูกชายสอบได้เปรียญ ๓ เป็นพระมหาปลื้ม ต้องการแจ้งข่าว ให้โยมผู้หญิงได้อนุโมทนา กว่าจะทราบข่าวคราวแหล่งที่อยู่ ก็ต้องออกธุดงค์ เพื่อสืบหาและตามร่องรอยไปเรื่อย ๆ จนที่สุดได้พบกับโยมผู้หญิงในขณะที่โยมผู้หญิงกำลังทำงานอยู่กลางทุ่ง โยม ผู้หญิงถึงกับตกตะลึง ด้วยไม่คาดฝันว่าผู้ที่มาหานั้นคือพระลูกชาย

          ใน บั้นปลายชีวิต ลูก ๆ จากครอบครัวใหม่ เห็นโยมผู้หญิงชราภาพมากแล้ว จึงขอร้องให้หยุดทำงาน หลวง พ่อถือโอกาสนี้ แสดงกตเวทิตาต่อโยมผู้หญิง โดยขอให้โยมผู้หญิงมาอยู่ที่ตลาด บางปลาม้า เพื่อให้ได้พักผ่อน และเข้าสู่กระแสธรรมบ้าง อย่างน้อย ก็ให้ได้ มีโอกาสเห็นชายผ้าเหลืองของพระลูกชายทุกวันก็ยังดี

          แม้ กระนั้น โยมผู้หญิงก็ยังไม่ละทิ้งความขยันขันแข็งที่ติดอยู่เป็นอุปนิสัย จะ ข้ามฟากจากบ้านเช่าฝั่งตลาดมาที่วัดสวนหงส์ ปลูกพริก กระ เพรา โหระพา พลู ประเภทพืชผักสวนครัว ตามริมตลิ่ง พืชผักของโยผู้หญิงงามมาก

          ที่ สุด โยมผู้หญิงก็ถึงแก่กรรมอย่างสงบด้วยโรคชรา งานศพอยู่ในความอนุเคราะห์ ดูแลของพระครูสุมนคณารักษ์ (ปลื้ม จิตฺตสญฺญโต) เจ้าอาวาสวัดสวนหงส์ ซึ่ง เป็นพระลูกชายของท่าน

          หลวง พ่อเคยเล่าให้ฟังว่า ตอนที่โยมผู้หญิงถึงแก่กรรมใหม่ ๆ หลวงพ่อให้นินาทนั่ง (สมาธิ) ดูว่าโยมผู้หญิงเป็นอย่างไรบ้าง นินาทบอก หลวงพ่อว่า กำลังท่องเที่ยวอยู่ สั่งให้ช่วยดูต้นพลูด้วย อย่าให้เหี่ยว รดน้ำให้ด้วย” หลังจากนั้นหลวงพ่อก็สั่งให้นินาทนั่งดูอีกครั้ง ครั้งหลังนี้นินาทบอกหลวงพ่อว่า ขึ้นไปอยู่บนท้องฟ้าแล้ว” เพื่อนของข้าพเจ้าถามหลวงพ่อว่า ที่ได้ภพภูมิสูงขึ้นนี้ เพราะบุญของโยมผู้หญิงหรือ ?” หลวงพ่อบอกว่า เรื่องทำบุญ โยมผู้หญิงไม่ค่อยได้ทำ ลำพังตัวเองคงไปสุคติไม่ได้ อาศัยความดีของหลวงพ่อช่วยเกื้อหนุน


กำเนิด

          เมื่อ โยมผู้ชายและโยมผู้หญิงแต่งงานกันแล้ว ได้มาพำนักอยู่ที่บ้านยอด อันเป็น ถิ่นฐานทางฝ่ายโยมผู้หญิง หลังจากนั้น ทั้งโยมผู้ชายและโยมผู้หญิงก็ชวนกัน รักษาศีล เพื่อขอให้ได้บุตรที่เป็นอภิชาตบุตร  ซึ่งโยมผู้ชายบอกให้หลวงพ่อทราบในภายหลังว่า... คุณ...ก่อน ที่คุณจะเกิดนั้น โยมผู้ชายตั้งจิตอย่างแน่วแน่ว่า ลูกที่จะเกิดนี้ ขอให้เป็นอภิชาตบุตร หรือ มิฉะนั้นก็ให้เป็นบุตรที่เสมอกับบิดา อย่าให้ได้บุตรที่ต่ำกว่าบิดามารดา มา เกิดเป็นอันขาด

          โยมผู้หญิงเล่าให้คุณจุน ศรีนาค น้องชายต่างบิดาของหลวงพ่อฟังว่า... ก่อน ที่หลวงพ่อปลื้มเกิดนั้น โยมผู้หญิงฝันว่า มีชีปะขาวคนหนึ่งนำมีดมาส่ง ให้ แล้วสั่งว่าเก็บรักษาไว้ให้ดี โยมผู้หญิงรับมีดนั้นด้วยความดีใจ เมื่อ นำมีดมาพิจารณาดู จะเห็นว่าไม่เหมือนกับมีดทั่วไป เพราะมีสามคม รูปร่าง คล้ายพระขรรค์

          ระหว่าง ที่โยมผู้หญิงตั้งครรภ์ โยมผู้ชายกำลังทำงานวาดภาพฝาผนังมณฑปวัดน้อย ดัง นั้น ทุกเส้นสีที่ปรากฏเป็นภาพบนฝาผนังนั้น ผสมผสานออกมาด้วยความรักของพ่อ และแรงอธิษฐานจิต ที่มุ่งหมายมอบลูกชายในท้องไว้กับพระพุทธศาสนา ปรารถนาให้ เป็นอภิชาตบุตร เจริญก้าวหน้ากว่าพ่อแม่ทั้งทางปริยัติและปฏิบัติ และที่ สำคัญก็เพิ่อให้เป็นกำลังสำคัญในการสืบทอดพระพุทธศาสนา...

          ใน วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๐ ตรงกับวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ปี มะแม โยมผู้หญิงให้กำเนิดบุตรชาย เป็นหลานคนแรกที่ญาติ ๆ ต่างปลื้มใจ อันเป็นต้นเหตุให้ได้ชื่อแต่นั้นมาว่า ปลื้ม ศุภพินิจ

          โยม ผู้ชายรักและหวงลูกชายมาก มีน้า ๆ ที่เป็นผู้หญิงหลายคนมักจะมาเล่นกับหลาน โยมผู้ชายไม่ค่อยยอมให้เล่นด้วย จะ ขัดขวางโดยอ้างว่าให้หลานนอนบ้าง อย่ากวนบ้าง ตามแต่ที่จะห้ามปรามได้ ที่ สุด ขนาสถือไม้เรียวขวางไว้ตลอดเวลา แล้วกำชับกับน้า ๆ ว่า คนมีบุญจะนอนอย่ามากวน แต่ น้า ๆ ก็ยังแอบมาเล่นด้วยและป้อนอาหารจนหลานชายชักตาตั้งนิ่งไป เหตุเพราะเสลดหางวัวตีขึ้น โยมตาเห็นเหตุการณ์ จึงร้องสั่งให้เอากระเพรามา เพื่อใช้แก้ไขอาการของหลานชาย ขณะนั้นโยมผู้ชายระลึกถึงคำพูดของหลวงพ่อ เนียมได้ว่า ถ้าจะแก้ไขลมชนิดนี้ให้เอาน้ำเกลือให้กิน โยมผู้ชายจึงเอาเกลือ มาบี้ ๆ ตามตำราของหลวงพ่อเนียม ครั้งแรกโยมตาไม่ยอม แต่เมื่อฟังเหตุผลของโยมผู้ชาย ที่กล่าวว่า... พ่อ ไม่ทำให้ลูกตายดอก จึงจำต้องยอมให้โยมผู้ชายรักษาด้วยการกรอกน้ำเกลือ และที่สุด เด็กชายปลื้มก็หายเป็นปกติ

          อีกเรื่องหนึ่งที่โยมผู้ชายเล่าให้หลวงพ่อฟังว่า หลวงพ่อเกิดมามีบุญพูดได้ของกิน เพราะ เมื่อตอนเด็ก ๆ เล่นอยู่บนบ้านที่ปลูกอยู่ติดกับริมแม่น้ำ มีแม่ค้าพายเรือผ่าน หลวงพ่อมอง เห็นก็เรียก แม่ค้า แม่ค้า จนเขาหันมา หลวงพ่อร้องถามไปว่า ขายอะไร ? เขาบอกว่า มีแต่กล้วย หลวงพ่อก็ตอบไปว่า มีแต่กล้วยก็ดี วันนั้นแม่ค้าขาย กล้วยได้เหมาไปหมดลำเรือ แต่แม่ค้าขอเก็บไว้หนึ่งหวี บอกผู้ซื้อว่า จะเอาไป ให้ไอ้หนู... เรื่องนี้จึงอาจจะเป็นเหตุหนึ่ง ที่ ของแก้บนที่มีผู้บนขอความช่วยเหลือจากหลวงพ่อ จะมีกล้วยเป็นหลัก และมีพวง มาลัยหรือดอกไม้ประกอบมาด้วย

          และ อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ เป็นเหตุบอกล่วงหน้า คือการเล่นของหลวงพ่อกับน้า ๆ ที่อยู่ในวัยใกล้คียงกัน ที่เล่นบ่อยมาก หลวงพ่อจะสั่งให้น้า ๆ ไปหาดอกไม้มาไหว้พระ เล่นไหว้พระกัน ผู้ที่เล่นเป็นพระก็คือหลวงพ่อนั่น เอง และน้า ๆ ก็จะทำตามที่หลวงพ่อสั่งทุกครั้งเช่นกัน

 

ใกล้ชิดวัดน้อย

          เนื่อง จากโยมผู้ชายเป็นศิษย์ก้นกุฏิของหลวงพ่อเนียม ลูกชายคือเด็กชายปลื้ม ศุภ พินิจ จึงตกอยู่ในแอ่ง มีหลวงพ่อเนียมวัดน้อยพระกรรมฐานชื่อดังของ สุพรรณฯ มีโยมผู้ชายเป็นศิษย์ก้นกุฏิของหลวงพ่อเนียมและทำกรรมฐานถึงขั้นที่ หลวงพ่อเนียมครอบให้เป็นครูกรรมฐาน มีหลวงลุงโตเคี่ยวเข็ญเรื่องการศึกษา มี โอกาสเข้าไปกราบและอยู่ใกล้ชิดกับหลวงพ่อเนียม ตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก ๆ เมื่ออายุประมาณ ๒ ขวบ หลวงพ่อเนียมเมตตาให้ตะกรุดสาม กษัตริย์ (เงิน ทอง นาก)

          หลัง จากนั้น ชีวิตในวัยเด็กก็จะวนเวียนอยู่ที่บ้านสวนขิง บ้านยอด และวัด น้อย กลางวันอยู่วัดน้อย กลางคืนอยู่บ้าน แม้เมื่อแรก ๆ ที่โยมแยกทางกัน กลางคืนก็จะกลับไปอยู่กับโยมผู้หญิงที่บ้านยอด จนกระทั่ง โยมผู้ชายมั่นใจว่าโยมผู้หญิงไม่ยอมใจอ่อนคืนดีด้วยแล้ว จึงละเพศฆราวาสบวช พระอยู่ที่วัดน้อยนั้นเอง ส่วนเด็กชายปลื้มต้องห่างวัดน้อยโยกย้ายตามไปอยู่ กับโยมผู้หญิงระยะเวลาหนึ่ง เพราะยังเป็นเด็กและยังติดแม่อยู่เช่นเด็กทั่ว ๆ ไป จนโยมผู้หญิงมีครอบครัวใหม่ อาสำเนียงและโยมผู้ชายจึงไปขอรับเด็กชาย ปลื้มกลับมาอยู่วัดน้อย ในครั้งนี้โยมผู้หญิงไม่ขัดข้อง เป็นเหตุให้เด็กชาย ปลื้มได้ใกล้ชิดโยมผู้ชายยิ่งขึ้นกว่าเดิม

          นับ แต่นั้นมา วันเวลาทั้งหมดของเด็กชายปลื้มจึงอยู่ที่วัดน้อย เป็นเด็กวัด บ้าง เป็นสามเณรบ้าง มีโอกาสบวชเณรหลายครั้ง ซึ่งส่วนมากจะเป็นการรับจ้าง บวชเณรหน้าศพ แล้วที่สุด เมื่อบวชเณรหน้าศพให้แก่โยมปู่ตู้แล้ว สามเณรปลื้ม ไม่ยอมสึก ตั้งใจอยู่ในสมณเพศ สมความปรารถนาที่ตั้งไว้ของโยมผู้ชาย

          โยม ผู้ชายห้อมล้อมและผลักดันให้เด็กชายปลื้มเข้าสู่กระแสธรรม พยายามฝึกฝนลูก ชายให้ภาวนาตั้งแต่ยังเป็นเณรน้อย ทำให้มีพื้นฐานการภาวนาจากโยมผู้ชายอยู่ บ้าง แต่ไม่ทั้งหมดที่โยมผู้ชายมีอยู่ในตอนนั้น เพราะเด็กชายปลื้มสนใจในทาง ปริยัติมากกว่า

          ครั้ง หนึ่งสามเณรปลื้มติดตามโยมผู้ชายไปจำพรรษาที่วัดม่วง อำเภออู่ทอง จังหวัด สุพรรณบุรี ในครั้งนี้ โยมผู้ชายพิจารณาดูแล้วจึงบอกกับเณรลูกชายว่า มาอยู่ห่างไกลเช่นนี้ ความก้าวหน้าทางการศึกษาของเณรคงจะเป็นไปได้ยาก จึงตัดสินใจพาสามเณรกลับมาวัดน้อย ได้หลวงลุงโตกวดขันวิชาพื้นฐานต่าง ๆ ให้

          ใน วัยเด็กนี้ ภาพที่สามเณรปลื้ม ศุภพินิจ จำได้ติดตาคือ คนในสมัยนั้นเคารพพระ ธรรมมาก สามเณรปลื้มองค์น้อย ๆ ถือคัมภีร์ใบลานแบกไว้บนบ่า เดินผ่านไปเท่านั้น ญาติโยมแม้จะแก่เฒ่าปาน ใด ก็จะนั่งลงไหว้ด้วยอาการอันนอบน้อมในทันที

          ชีวิตในวัยเด็กที่วัดน้อย หล่อหลอมให้สามเณรปลื้มมีพื้นฐานทั้งทางปริยัติและปฏิบัติ จนหลวงพ่อปลื้มต้องเอ่ยให้ฟังอยู่เสมอว่า... วัดน้อย เป็นวัดที่ให้ความสว่างแก่หลวงพ่อ

 

การศึกษา และ บรรพชา

          โยม ผู้ชายไม่สนับสนุนให้ลูกชายเรียนหนังสือเหมือนกับเด็กอื่น ๆ ตั้งใจให้ลูกชายก้าวหน้าในสมณเพศและมุ่งให้เรียนทางธรรม โดยเริ่มศึกษา วิชาต่าง ๆ จากหลวงลุงโต สามารถเรียนจบอักขระหนังสือไทย เรียนอ่านพระมาลัยที่เขียนด้วย อักษรขอม และเรียนมูลกัจจายน์

          หลวงพ่อเล่าให้ฟังว่า เมื่อตอนหลวงพ่ออายุได้ประมาณ ๑๒ ขวบ ฝันว่า อาบน้ำแต่งตัวห่มผ้าเฉวียงบ่า และนั่งเรียนหนังสือขอม เป็นความฝันที่หลวงพ่อจำได้แม่นยำ มี ผลต่อมาแก่ชีวิตของหลวงพ่อ คือได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดน้อย อำเภอบางปลา ม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ศึกษาก้าวหน้าทั้งทางปริยัติและปฏิบัติ และอยู่ใน สมณเพศตลอดชีวิต


 

มุ่งหน้าเข้าสู่...

เขตวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ

          อา สำเนียง ศุภพินิจ มีโอกาสกลับบ้านเกิด เมื่อได้พูดคุยกับหลานชาย ก็ทราบจุด ประสงค์ที่ต้องการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในด้านปริยัติธรรม อาจึงสอบถาม เรื่องสถานที่เรียน จนที่สุด มีความเห็นพ้องกันภายในครอบครัวว่า ควรได้ไป สู่สำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ

          เมื่อ โยมผู้หญิงทราบว่า สามเณรลูกชายจะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ สู่สำนักวัดมหาธาตุ ยุวราชรังสฤษฎิ์ เพื่อไปศึกษาหาความรู้ทางด้านปริยัติธรรม ก็ยินดีอนุโมทนา พร้อมทั้งได้มอบปัจจัยให้ติดตัวไปด้วย

          จาก นั้น อาสำเนียงจึงพาสามเณรปลื้มเข้ากรุงเทพฯ ผู้ที่นำเข้าไปฝากให้พำนัก ณ วัดมหาธาตุฯนั้น เป็นหมอนวดนวดพระเจ้าแผ่นดินและพระผู้ใหญ่ จึงมีโอกาสพิเศษ ให้เข้าอยู่ในกุฏิคณะ ๑ อันเป็นคณะของสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) มีหน้าที่ดูแลต้นชมพูและต้น มะตูมเปลือกบางที่อยู่หน้ากุฏิ ในระยะแรกโยมยายและโยมน้า ได้ติดตามสามเณร ปลื้มเข้ากรุงเทพฯมา ด้วยความห่วงใย โดยพักอาศัยและค้าขายอยู่ในวัง จุด ประสงค์ใหญ่ก็คือ ตามมาดูแลอำนวยความสะดวกให้แก่สามเณรหลานชายนั่นเอง ทำ หน้าที่ส่งปิ่นโตให้อยู่ระยะหนึ่ง จนมั่นใจว่า สามเณรปลื้มสามารถดูแลรักษา ตัวเองได้ดีแล้ว จึงหมดห่วงและจากไป

          อีก หน้าที่หนึ่งที่สามเณรปลื้มต้องรับผิดชอบก็คือ หน้าที่สามเณรเวรคอยรับใช้ สมเด็จฯ หน้าที่ตรงนี้เป็นส่วนสำคัญมากที่อบรมบ่มสามเณร ให้อยู่กับความ ระมัดระวัง ละเอียด ประณีต และอยู่ในกรอบของระเบียบวินัย จึงส่งผลถึงการ สั่งสมจริยาวัตรและวัตรปฏิปทาที่หมดจดงดงามในกาลต่อมา หากมีการพูดถึงวัตร ที่ถูกต้องเรียบร้อยประณีตของหลวงพ่อ ท่านจะบอกทันทีว่า... หลวงพ่อทำตามอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อ

          นอก จากนี้ในเวลาที่สมเด็จอุปัชฌาย์หงุดหงิด ท่านจะเรียกสามณรปลื้มเข้าไปอ่าน หนังสือให้ฟัง เมื่อสามเณรปลื้มอ่านคำใดไม่ออกท่านก็จะบอกให้ทีละคำ ๆ ไปเรื่อย ๆ  ส่งผลให้สามเณรปลื้มต้องพยายามพัฒนาการอ่านที่ขัดข้องอยู่ให้แตกฉาน หลวง พ่อสรุปให้ฟังว่า หลวงพ่อทำให้สมเด็จท่านหายหงุดหงิด

          ตลอด เวลาที่ศึกษาหาความรู้อยู่ที่วัดมหาธาตุฯนี้ สามเณรปลื้มจะไม่ค่อยกลับบ้าน เกิดเหมือนเพื่อนคนอื่น ๆ เพราะจิตใจมั่นอยู่วัด แต่ถ้าจะกลับ ก็กำหนดวันกลับวัดไว้เลยว่า จะไป ๒ วัน หรือ ๓ วัน

          มี ระเบียบของวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์อยู่ข้อหนึ่งว่า พระเณรที่เข้ามาอยู่ ใหม่ในวัด ต้องบวชใหม่ เพื่อให้พระเณรในวัดทุกรูปมีอุปัชฌาย์องค์เดียว กัน ดังนั้น ในวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๕ อายุได้ ๑๕ ปี สามเณรปลื้ม ศุภพินิจ จึงต้องบรรพชาเป็นสามเณรใหม่อีกครั้ง ในครั้งนี้  มีสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า จิตฺตหารี  และ มีสามเณรชื่อปลื้มพ้องกันอยู่อีก ๑ รูป มีพระอาจารย์ปกครองคือพระครูวินัยธร (ประหยัด แก้วดิลก)  ท่านเป็นพระนักเทศน์มหาชาติที่มีชื่อเสียง ส่งผลให้สามเณรมีความสามารถใน การเทศน์มหาชาติ และเคยขึ้นเทศน์ที่วัดมหาธาตุฯในขณะที่ยังเป็นสามเณร มีพระ อมรเมธาจารย์ (สาหร่าย) เป็นอาจารย์สอนภาคปริยัติ โดยศึกษาทั้งนักธรรมและ บาลีควบคู่กันไป

          หลวงพ่อเล่าถึงเรื่องการเรียนบาลีว่า เรียนได้ชนิดสอบได้ปีสอบตกปี แต่ ก็ด้วยความกตเวทิตาปรารถนาให้จุดประสงค์ของโยมผู้ชาย ที่ต้องการให้บุตรชาย เป็นอภิชาตบุตรนั้นสัมฤทธิ์ผล สามเณรปลื้มจึงตั้งใจเพียรพยายามศึกษาเล่า เรียนทางปริยัติ ณ สำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ จนประสบผลสำเร็จดังนี้


พ.ศ.๒๔๖๙ สอบได้นักธรรมชั้นตรี

พ.ศ.๒๔๗๑ สอบพระบาลีได้ประโยค ๓

พ.ศ.๒๔๗๒ สอบได้นักธรรมชั้นโท

พ.ศ.๒๔๗๔ สอบพระบาลีได้ประโยค ๔

พ.ศ.๒๔๗๖ สอบได้นักธรรมชั้นเอก

 สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)

อุปสมบท

          สามเณร ปลื้ม ศุภพินิจ ได้อุปสมบท เมื่อวันพุธที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๑ ตรงกับวัน ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะโรง เวลา ๑๔ นาฬิกา ๔๕ นาที ณ พัทธสีมาวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ โดยมีสมเด็จพระ วันรัต (เฮง เขมจารี) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระญาณสมโพธิ (สวัสดิ์) เป็นพระกรรม วาจาจารย์ พระนิกรมมุนี (ปลื้ม) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า จิตฺตสญฺญโต แปลว่า จิตที่สำรวมดีแล้ว

          หลวงพ่อเล่าถึงฉายาที่สมเด็จอุปัชฌาย์ตั้งให้ว่า ในบางครั้งที่พระมหาปลื้มไม่สำรวม สมเด็จอุปัชฌาย์จะขนาบดุเอาว่า อุตส่าห์ตั้งฉายาให้ดีแล้วนะ

          ใน ช่วงศึกษาอยู่ที่วัดมหาธาตุฯนี้ หลวงพ่อเล่าว่าสะสมหนังสือไว้มากมายหลาย ประเภท ขนาดมีอยู่เป็นตู้ มีเพื่อนบรรชิตมาขอยืมไปอ่านเป็นประจำ แต่มาภาย หลังเห็นว่าเป็นภาระ จึงแจกจ่ายให้ผู้ที่ต้องการไปหมด ผลจากการอ่านและ สามารถจดจำไว้ได้มากมาย ทำให้หลวงพ่อยกข้อความในหนังสือเหล่านั้นออกมา ประกอบการอบรม สั่งสอน ตักเตือน ให้สติแก่ศิษย์ ได้อย่างเหมาะสมกลมกลืนและ แจ่มแจ้ง เช่น ครั้งหนึ่ง มีผู้ซักถามหลวงพ่อเกี่ยวกับ โลกียะกับโลกุ ตตระ หลวงพ่อยกร้อยกรองของท่านสุนทรภู่ จากเรื่องพระอภัยมณี ขึ้นมาอธิบาย ว่า แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา ถ้ายังคิดอย่าง นี้ ยังเป็นโลกียะอยู่ โลกุตตระคือไม่มีเยื่อใย ไม่มีเยื่อใยกับความรู้สึก ที่มากระทบ ถ้ายังทำไม่ได้ก็ยังเป็นโลกียะอยู่ ก็ทำไป ถ้าหันเหมาได้ ก็เป็น โลกุตตระ

 

เริ่มทำหน้าที่ครูปริยัติ

          หลัง จากที่พระมหาปลื้มสอบได้เปรียญธรรม ๔ แล้ว ได้รับความไว้วางใจแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ครูสอนบาลีไวยากรณ์ ณ สำนักเรียนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.๒๔๗๔-๒๔๗๕ และหลังจากนั้นก็ได้ออกไปเป็นครู อยู่ในสำนักเรียนต่าง จังหวัดหลายแห่ง เช่น วัดเจ้าเจ็ดใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดโคก ทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดปราสาททอง จังหวัดสุพรรณบุรี และวัดสวน หงส์ จังหวัดสุพรรณบุรี

 หลวงพ่อปลื้ม จิตฺตสญฺญโต

เดินทางออกจากกรุงเทพฯ

          พระมหาปลื้มเคยตั้งใจและตกลงกับเพื่อน ๆ ว่า จะไม่ยอมออกต่างจังหวัด แต่ที่สุดก็ต้องเชื่อฟังพระผู้ใหญ่ที่ให้เหตุผลว่า ผู้ที่มีความรู้ควรกระจายกันออกไปอยู่ต่างจังหวัดบ้าง มิใช่มารวมกันอยู่แต่ที่กรุงเทพฯ จึง ยอมรับปากออกต่างจังหวัด หลังจากที่สอบได้เปรียญ ๔ นักธรรมโท โดยเดินทางไปจำพรรษาที่วัดเจ้าเจ็ดใน จังหวัดพระนครศรี อยุธยา ซึ่งตรงกับที่พระมหาปลื้มฝันก่อนหน้าที่จะรับปากพระผู้ใหญ่ ในฝัน ว่า ได้อาบน้ำหมดจด แต่งตัว และกราบที่กองหนังสือมากมาย

          ผลดี จากการที่พระมหาปลื้มเชื่อฟังพระผู้ใหญ่ครั้งนี้ ทำให้พระมหาปลื้มได้มี โอกาสพบครูกรรมฐานที่มากความสามารถเช่นครูจาบ สุวรรณ และได้ฝึกกรรมฐานเป็น ศิษย์ครูจาบในเวลาต่อมา รวมถึงได้สหายธรรมเช่นหลวงพ่อเชิญ วัดโคก ทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง จังหวัดนนทบุรี, หลวงพ่อ เทียม วัดกษัตราธิราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อสละและหลวงพ่อบุญ นาค วัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฯลฯ

 

๑. วัดเจ้าเจ็ดใน อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

          เป็นวัดแรกที่พระมหาปลื้มออกไปจำพรรษา ทำหน้าที่ครูสอนบาลีและนักธรรม ณ สำนักวัดเจ้าเจ็ดใน ในปี พ.ศ.๒๔๗๕-๒๔๗๗

          เกี่ยวกับการออกไปจำพรรษาที่วัดเจ้าเจ็ดในครั้งนี้ ก่อนที่จะได้รับคำสั่งจากพระผู้ใหญ่ หลวงพ่อเล่าว่า... คืน หนึ่งฝันไปว่า ยืนอยู่ด้านหนึ่งของแท่งคอนกรีต อีกด้านหนึ่งมีคนอีกคนหนึ่ง ยืนอยู่ แล้วเจ้าแท่งนี้ก็ลอยไปตามน้ำ ไหลไปตามทางลดเคี้ยว จนมาหยุด ณ สถานที่แห่งหนึ่ง ก็มีจระเข้เข้ามาหนุนกลางแท่งคอนกรีตนั้น ยกลอยขึ้นไป ต่อ มาก็ได้รับแต่งตั้งให้ไปเป็นครูที่วัดเจ้าเจ็ดใน อยุธยา การเดินทางไปวัด เจ้าเจ็ดในนั้น ก็เหมือนอย่างในความฝัน และจระเข้นั้นก็คือเจ้าอาวาสวัดเจ้า เจ็ดในนั่นเอง...

 

๒. วัดโคกทอง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

          เป็นวัดต่อมาที่พระมหาปลื้มย้ายไปจำพรรษา เพื่อทำหน้าที่ครูสอนบาลีและนักธรรม ณ สำนักวัดโคกทอง ในปี พ.ศ.๒๔๗๘-๒๔๘๐

สู่เส้นทางพระกรรมฐาน

          พระมหาปลื้มระลึกถึงคำเตือนของโยมผู้ชายว่า.. ลูก ต้องดีกว่าพ่อ ที่ผ่านมาก็บวชศึกษาปริยัติมีความรู้มาก จนโยมผู้ชายยอมรับ ว่าทางวิชาเหนือกว่าโยมผู้ชายแล้ว แต่ทางจิตนั้น โยมผู้ชายยังติงว่า สู้โยม ผู้ชายไม่ได้ เมื่อฉุกคิดได้ตรงนี้ และประกอบกับ ที่ได้ฟังผู้อื่นเล่าถึงผู้ฝึกกรรมฐานบางคน มีความสามารถเหาะได้ (ขณะที่ หลวงพ่อเล่ามาถึงตรงนี้ หลวงพ่อสรุปในตอนท้ายว่า ก็ได้แค่เรี่ย ๆ ยอดหญ้า) มีการปฏิบัติและได้ผลจริง มิใช่เพียงในพระไตรปิฎกเป็นตำราเท่า นั้น จึงเป็นแรงสนับสนุนให้มีความปรารถนาที่จะค้นหาความจริงด้วยตนเองให้ ได้ ดังนั้น พระมหาปลื้มจึงเริ่มเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์กรรมฐาน

          ใน ช่วงที่จำพรรษาอยู่ที่วัดโคกทอง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นี้ เอง มีโยมเล่าถึงเรื่องราวของครูจาบ สุวรรณให้ฟัง และเล่าว่า ที่วัดประดู่ ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีผู้สอนเป็นเจ้าอาวาสคะหลวงพ่อเหม็ง และ ฆราวาสคือครูจาบ ในขณะที่ฟังโยมเล่า พระมหาปลื้มตั้งจิตว่า ขอให้ได้อาจารย์ ที่เป็นฆราวาสมาเป็นครูสอนกรรมฐาน

          เมื่อ ตัดสินใจแล้ว จึงได้เดินทางไปที่วัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรี อยุธยา นมัสการเจ้าอาวาสว่ามาขอเรียนกรรมฐาน เจ้าอาวาสสั่งให้ครูจาบพาพระ มหาปลื้มไปขึ้นกรรมฐาน ซึ่งตรงกับที่พระมหาปลื้มตั้งจิตไว้แต่แรกแล้ว แต่ การที่พระมหาปลื้มต้องมีครูเป็นฆราวาสนี้ มีเพื่อนบรรพชิตกล่าวคำเปรียบเปรย ให้เข้าหูว่า มหาปลื้ม เปรียญ ๔ นักธรรมเอก ไปเป็นศิษย์ฆราวาส คำ กล่าวนี้มิได้กระทบกระเทือนให้พระมหาปลื้มต้องอับอาย เพราะคิดว่า การที่จะ มีครูเป็นพระหรือฆราวาสนั้น อยู่ที่เขามีความรู้สอนเราได้ และแม้ว่า การมี ครูเป็นฆราวาสนั้นจะลำบากต่อการวางตนของศิษย์ที่เป็นบรรพชิตก็ตาม แต่พระมหา ปลื้มก็พยายามวางตนให้เหมาะสมกับความเป็นสมณะ และมุมานะฝึกฝนชนิดที่ว่า เอา ชีวิตเข้าแลกทีเดียว

          เมื่อ ตกลงใจไปขึ้นกรรมฐาน เป็นศิษย์ของครูจาบ สุวรรณ สำนักวัดประดู่ทรง ธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัตรปฏิบัติประจำวันก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปจาก เดิมเพิ่มจากการสอนหนังสือคือ ทุกวันเมื่อพระอาทิตย์ตกดินจะเข้าที่นั่ง กรรมฐาน และเพื่อให้ได้ใกล้ชิดครู จะได้สอบถามข้อข้องใจในการปฏิบัติได้ ทันทีที่มีปัญหา จึงใช้เวลาในวันที่ไม่ได้สอนหนังสือคือวันโกนวันพระ เดิน ทางไปพำนักที่วัดประดู่ทรงธรรม โดยเดินทางทางเรือจากวัดโคกทองในตอนเย็นวัน โกน มาถึงท่าเรือหน้าวัดประดู่ทรงธรรมในตอนดึก แล้วเดินเท้าเปล่าไปตามสะพาน ไม้ที่ทอดยาวไปถึงวัด พระในวัดได้ยินเสียงฝีเท้าพระมหาปลื้มเดินบนสะพานทุก ดึกวันโกนตลอดเวลา ๑ ปี จนจำได้แม่นยำ เมื่อได้ยินเสียงสะพานไม้ดัง ต่างบอกได้ทันทีว่า ไม่ใช่ ใครอื่น เป็นพระมหาปลื้มองค์เดียว ตลอดเวลา ๑ ปีนี้ พระมหาปลื้มตั้งใจถึงขนาดตั้งจิตอธิษฐานไว้เลยว่า ถ้าไม่ได้ก็ขอตายคา วัดประดู่ฯนี่เลย

          หลวงพ่อเล่าถึงวัดประดู่ฯให้ฟังว่า... วัด นี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นวัดที่กษัตริย์และเจ้านายมาศึกษา สำคัญใน สมัยกรุงศรีอยุธยา เก่งในด้านคาถาอาคมวิชาต่าง ๆ ขรัวโตเคยมาเรียนนอกพรรษาสามเดือน เก็บเอาวิชาของวัดประดู่ฯไปหมด เกลี้ยง...

เพื่อให้ได้จำพรรษา ณ สำนักวัดประดู่ทรงธรรม 

แม้ต้องสึกเพื่อบวชใหม่...ก็ยอม

๓. วัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

          ครู จาบเห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจจริงของพระมหาปลื้ม จึงชวนให้มาจำพรรษาที่วัด ประดู่ทรงธรรม เพื่อจะได้ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งพระมหาปลื้มต้องใช้ ความพยายามทุกวิถีทาง เพื่อให้ได้มาจำพรรษา ณ วัดประดู่ฯ

          การ ทำเรื่องขอย้ายจากวัดโคกทองมาจำพรรษาที่วัดประดู่ฯ ลำบากมาก ไม่ใช่เรื่อง ง่าย ๆ เลย เพราะเจ้าอาวาสวัดโคกทองไม่อนุญาต  พระมหาปลื้มจึงใช้อุบาย เดินทางเข้าไปในหมู่บ้าน ไปหาผู้ใหญ่แปลก บอกให้ ช่วยหางานหน่อยจะสึก ในใจขณะนั้นได้ตั้งใจเด็ดขาดแน่วแน่แล้วว่า จะไปบวช ใหม่ที่วัดประดู่ฯ เพื่อที่จะได้จำพรรษาที่วัดประดู่ฯ เหตุผลที่ต้องลาสิกขา นั้น เพราะจะทำให้วัดโคกทองขาดครูสอน ดังนั้นทางวัดก็จะขอพระรูปอื่นมาเป็น ครูสอนแทนพระมหาปลื้มได้

          จาก นั้นพระมหาปลื้มก็เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปกราบขออนุญาตจากพระอุปัชฌาย์ ท่าน ก็ฟังที่พระมหาปลื้มพูด แต่ท่านไม่ยอมอนุญาต จึงต้องเดินทางกลับวัดโคกทอง ด้วยความไม่สมปรารถนา เจ้าอาวาสวัดโคกทองถามเรื่องไปนมัสการพระ อุปัชฌาย์ พระมหาปลื้มจึงตอบแต่ส่วนว่าไปนมัสการแล้ว แต่ที่ท่านไม่อนุญาต ไม่ได้บอก ทางวัดโคกทองจึงยอมอนุญาตให้ย้ายไปอยู่วัดประดู่ฯได้ เมื่อเอาใบ อนุญาตนั้นไปที่วัดประดู่ฯ เจ้าอาวาสยังไม่ลงชื่อรับ บอกให้รอก่อน พระมหา ปลื้มจึงเร่งรัดด้วยเหตุผลว่า ออกจากวัดโคกทองแล้วถ้าวัดประดู่ฯไม่รับก็ไม่ มีที่อยู่ ท่านเจ้าอาวาสจึงยอมรับให้จำพรรษาที่วัดประดู่ทรงธรรม

          หลวงพ่อเล่าถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า... พอ มาอยู่วัดประดู่ฯแล้ว ก็ศึกษากรรมฐานอย่างเดียว โดยที่ไม่เอาความรู้ทาง ปริยัติมาสอนหรือเล่าเลย แม้จะมีพระเณรมาสอบถาม ก็เฉยเสีย หรือเลี่ยงไปทาง อื่นเสีย

 

ได้รับยกไตรเป็นครูกรรมฐาน

ผล การฝึกกรรมฐานอย่างตั้งใจจริงและทุ่มเทชนิดเอาชีวิตเข้าแลก ตลอดเวลา ๓ ปี คือช่วงที่อยู่ที่วัดโคกทอง ๑ ปี และที่ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดประดู่ฯอีก ๒ ปี ทำให้การปฏิบัติก้าวหน้าจนถึงระดับที่สามารถเป็นครูสอนกรรมฐานได้ แล้ว ครูจาบจึงทำพิธียกไตรให้พระมหาปลื้มเป็นอาจารย์สอนกรรมฐานในปี พ.ศ.๒๔๘๓

 

เมื่อ ได้รับยกไตรเป็นอาจารย์สอนกรรมฐานได้ เท่ากับเป็นเครื่องหมายรับรองความ สามารถทางจิตของพระมหาปลื้ม ซึ่งครั้งหนึ่งโยมผู้ชายเคยติงว่า... ทางวิชาเหนือกว่าโยมแล้ว แต่ทางจิตนั้นยังสู้โยมไม่ได้ ดัง นั้น ในวันยกไตร จึงเป็นความปลื้มใจของพระมหาปลื้ม ที่สามารถเพียรพยายาม ฝึกฝนตนเอง จนพอจะเรียกได้ว่าเป็นอภิชาตบุตรได้ สมความตั้งใจชองโยมผู้ชาย

 

กตเวทิตาคุณ ครูจาบ

๔. วัดกล้วย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

          ใน ปี พ.ศ.๒๔๘๔ พระมหาปลื้มได้ย้ายไปจำพรรษา ณ วัดกล้วย สาเหตุจากลูกเขยครูจาบสร้างโบสถ์อยู่ที่วัดกล้วย ครูจาบต้องไปช่วย ลูกเขยดูแลการสร้างโบสถ์นั้น และออกทรัพย์สร้างโบสถ์ด้วย ดังนั้น พระมหา ปลื้มจึงตัดสินใจติดตามครูจาบไปเพื่อการณ์นี้ ต่อมาชาวบ้านแถบนั้น ขอให้พระ มหาปลื้มขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดกล้วย ท่านจึงธุดงค์หนีออกจากวัดเข้าป่าไป

 

ออกธุดงค์แล้วย้อนกลับสู่สำนักเดิม 

๕. วัดถ้ำตะโก เขาสมอคอน จังหวัดลพบุรี

          หลัง จากที่พระมหาปลื้มธุดงค์ออกจากวัดกล้วย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาแล้ว ได้ไปจำ พรรษาอยู่ ณ วัดถ้ำตะโก เขาสมอคอน จังหวัดลพบุรี แต่พักอยู่ได้ไม่นานก็เดินทางย้อนกลับ มาวัดประดู่ฯ ครูจาบชวนให้อยู่จำพรรษาที่วัดประดู่ฯ พอดีกับพระมหาบัวเล่า ให้ฟังว่า... ได้ส่งข่าวให้สมเด็จอุปัชฌาย์ทราบว่า พระมหาปลื้มได้เป็นครูกรรมฐานแล้ว สมเด็จฯจึงบ่นถึงว่า ออกหัวเมืองแล้วก็เงียบหายกันไปหมด เมื่อ พระมหาปลื้มได้ฟังคำบอกเล่าของพระมหาบัว ท่านจึงเปลี่ยนใจ เดินทางย้อนกลับ สู่สำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ พร้อมทั้งนำธูปเทียนแพดอกไม้ เพื่อไปกราบขอขมาที่ไม่ฟังคำสั่งของอุปัชฌาย์ ดื้อย้ายไปจำพรรษาที่วัด ประดู่ฯ


๖. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ

          ในปี พ.ศ.๒๔๘๕ พระมหาปลื้มจึงเดินทางย้อนกลับมาจำพรรษา ณ สำนักเดิม โดยตั้งจุดประสงค์ไว้ว่า... จะเรียนต่อให้ถึงประโยค ๙

          เมื่อ เข้าไปกราบขอขมาและแจ้งความประสงค์ที่จะขอกลับมาจำพรรษาต่อสมเด็จฯแล้ว ท่าน เมตตาอนุญาตให้จำพรรษาที่วัดมหาธาตุฯได้ แต่เพราะเหตุที่มหาปลื้มมาล่าช้า ใกล้วันเข้าพรรษา ทำให้ที่พักเต็มหมด ต้องไปพักอยู่ในที่ไม่สะดวกเท่าใดนัก

          พอ ดีกับในปีนี้เป็นปีที่น้ำท่วมมาก ขนาดถึงกับต้องใช้เรือพายในการคมนาคม แม้ การออกบิณฑบาตก็ลำบาก ต้องเดินท่องน้ำไป ประกอบกับพระมหาปลื้มเป้นพระมา ใหม่ ญาติโยมที่ใส่บาตรจะมีพระขาประจำกันอยู่ พระมหาปลื้มจะคอยต่อแถวพระรูป อื่น แต่พอมาถึงพระมหาปลื้ม อาหารที่ใส่บาตรก็หมดพอดี ต้องใช้วิธีเดินไป เรื่อยจนสายหน่อย เพื่อเก็บตกอาหารบิณฑบาตจากญาติโยมที่พระขาประจำมิได้ออก มาบิณฑบาต ทำให้ได้อาหารไม่ค่อยจะพอฉัน แต่เหตุนี้ก็มิใช่อุปสรรคสำคัญที่ทำ ให้ท่านต้องย่อท้อ

 

แสดงกตเวทิตาถวายแด่สมเด็จอุปัชฌาย์

          เมื่อ พระมหาปลื้มย้อนกลับมาจำพรรษาที่สำนักวัดมหาธาตุฯนั้น เป็นระยะเวลาที่ สมเด็จอุปัชฌาย์ของท่าน กำลังสนใจเรื่องการปฏิบัติธรรมกรรมฐานอยู่พอดี แม้ พระมหาปลื้มจะไม่แสดงตัวในด้านนี้ แต่สมเด็จอุปัชฌาย์ ก็สังเกตดูจากอากัป กริยา เมื่อมีโอกาส สมเด็จอุปัชฌาย์จึงเรียกเข้าพบและซักถามพูดคุยเกี่ยวกับ เรื่องของกรรมฐานเป็นระยะ ๆ จึงเป็นโอกาสอันดีที่พระมหาปลื้มจะได้แสดงกตเวทิตาถวาย

          เกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติกรรมฐานของสมเด็จอุปัชฌาย์นี้ หลวงพ่อเล่าว่า... หลวง พ่อเป็นคนไม่ค่อยพูด มีเพื่อนอีกคนช่างพูด ถูกเรียกเข้าพบอุปัชฌาย์คู่กัน เสมอ องค์นี้จะคอยซักคอยแคะไค้ให้พูด เป็นระยะที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรม พระยาวชิรญาณวโรรสกำลังนำเรื่องกรรมฐานเข้ามา อุปัชฌาย์ของหลวงพ่อก็ปฏิบัติ เรียกว่าเอาชีวิตเข้าแลก ท่านก็มีดีพอสมควร แล้วก็เอาชีวิตเข้าแลก หลวงพ่อ ออกจากวัดมหาธาตุฯครั้งนั้นได้ครึ่งปี ก็ทราบข่าวว่าท่านมรณภาพ

          หลวงพ่อเล่าถึงการได้ทราบข่าวมรณภาพของสมเด็จอุปัชฌาย์ของท่านว่า... ตอน รู้ข่าว หลวงพ่ออยู่วัดขวาง (อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี) บอกแก่ผู้ นำข่าวมาบอกคือท่านเจ้าคุณพระวิกรมมุนีฯว่า ไม่มีสตางค์จะไป ก็จะเข้า โบสถ์ นั่งสมาธิถวาย ท่านก็บอกว่า นั่งสมาธิถวายก็ดี...เป็นอันว่าดีไป

 

กลับคืนสู่มาตุภูมิ 

เพื่ออนุเคราะห์โยมผู้ชาย-โยมผู้หญิง 

เป็นกตเวทิตา

          เหตุการณ์ สำคัญที่ทำให้พระมหาปลื้มต้องเปลี่ยนใจ ไม่สามารถทำตามจุดประสงค์ที่ตั้งใจ ไว้ว่าจะศึกษาต่อให้ถึงเปรียญ ๙ ได้ เพราะอาจารย์ที่สอนหนังสือ ดุนักเรียนทั้งหมดด้วยข้อความว่า... พวกเรียนแต่ปริยัติไม่ปฏิบัติ นี่ไม่ไหว เนื่องเพราะคำพูดนี้ หลังจากนั้นจึงมีเสียงเข้าหูมาว่า... พระมหาปลื้มกลับมาคราวนี้ สะกดพวกเราอยู่ พระ มหาปลื้มเห็นถึงภัย อันจะเกิดจากเสียงกระทบกระเทียบเปรียบเปรยที่รุนแรงขึ้น ไปกว่านี้ จะตามมาในเวลาข้างหน้า และประกอบกับพระผู้ใหญ่มีดำริจะให้ท่านทำ หน้าที่สอนหนังสือด้วย จึงตัดสินใจกราบลาสมเด็จอุปัชฌาย์ ออกเดินธุดงค์ จากวัดมหาธาตุฯกลับสู่มาตุภูมิ...จังหวัดสุพรรณบุรี

 

๗. วัดเขาพระ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

          ใน ปี พ.ศ.๒๔๘๖ วัดเขาพระในขณะนั้นเป็นเพียงสำนักสงฆ์ การตัดสินใจกลับสู่บ้านเกิด และไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาพระนั้น ส่งผลให้พระมหาปลื้มมีโอกาสได้แสดง กตเวทิตาต่อโยมผู้ชายและโยมผู้หญิง เพราะเหตุด้วยโยมทั้งสองซึ่งต่างมีครอบ ครัวใหม่ ได้ย้ายถิ่นฐานจากอำเภอบางปลาม้าไปทำมาหากินที่อำเภออู่ทอง จึง เป็นโอกาสอันดีที่เปิดให้โยมทั้งสองได้อนุโมทนาบุญบวชและมีโอกาสมาทำบุญใส่ บาตรฟังธรรมจากพระลูกชาย นอกจากนี้ยังได้เอื้ออาทรต่อน้องชายต่างบิดา คุณ จุน ศรีนาค ซึ่งจบการศึกษาแล้วไม่ยอมเรียนต่อให้สูงขึ้นไป พระมหาปลื้มจึงนำ มาอยู่ที่วัดเขาพระด้วย ให้การอบรมสั่งสอนอย่างใกล้ชิด และเมตตาสอนวิชาการ รักษาโรคแบบสงเคราะห์ให้ โดยวิธีการต่อวิชาวันละข้อความ

 

คุณจุน ศรีนาค น้องชายต่างบิดา เล่าเรื่องราวตอนนี้ไว้ว่า...

          ตอน นั้นคุณจุนยังเป็นเด็กอยู่ ออกจากโรงเรียนไม่ยอมเรียนต่อ หลวงพ่อทราบข่าว จึงเดินทางมารับคุณจุนไปอยู่ด้วยในปี พ.ศ.๒๔๘๖ โดยพำนักอยู่ที่วัดเขาพระ อำเภออู่ทอง ที่วัดจะมีถ้ำอยู่ด้านตะวัน ตก ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ และทางด้านตะวันตกหลังเขาจะมีถ้ำอีกแห่ง หนึ่งกว้างพอสมควร มีพระพุทธรูปหลายองค์ หลวงพ่อใช้ถ้ำแห่งนี้เป็นที่นั่ง กรรมฐาน ส่วนกุฏิจะใช้จำวัดเฉพาะตอนกลางคืน กิจวัตรประจำวันของหลวงพ่อในตอน นั้น ท่านออกบิณฑบาตในตอนหกโมงเช้า เดินไปถึงตลาดท่าพระแล้วกลับถึงกุฏิ ประมาณสองโมงเช้า ฉันเสร็จ ปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ เรียบร้อยประมาณห้าโมงเช้า จากนั้นจะห่มจีวรพาดสังฆาฏิเข้าถ้ำ และออกจากถ้ำ ตอนห้าโมงเย็น หลวงพ่อฉันเวลาเดียวและไม่จับปัจจัย

 

อาจารย์ภณิดา ศุภพินิจ น้องสาวต่างมารดา เล่าเรื่องราวตอนนี้ไว้ว่า...

          ตอน นั้นอาจารย์ภณิดายังเป็นเด็กอยู่ อายุได้ประมาณ ๔ ขวบ จะตามพ่อสนและแม่ทิวมาทำบุญที่วัดเขาพระทุกวันพระ โดยเดินเท้ามาจากบ้าน ห้วยตายัง (หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บ้านเขาโกปิดทอง) ซึ่งอยู่ห่างจากวัด ไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๕ กิโลเมตร มีอยู่วันพระหนึ่ง หลังจากที่พระมหาปลื้มฉันจังหันแล้ว ก็พาพ่อสน และน้องสาวไปที่ถ้ำหลังเขาซึ่งอยู่ตรงข้ามกับถ้ำหน้าเขาพระ ภายในถ้ำมีพระ พุทธรูปปางไสยาสน์ ปากถ้ำจะแคบ แต่ภายในถ้ำกว้างขวางสะอาด และมีแสงสว่าง เพียงพอ ที่พื้นถ้ำมีฝุ่นละเอียดมาก เมื่อเดินไปจะเห็นรอยเท้าได้อย่าง ชัดเจน  มีหินงอกหินย้อยเป็นชั้น ๆ ตรงกลางถ้ำมีฐานหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สูงประมาณ ๑ ศอก เมื่อเข้าไปในถ้ำแล้ว อาจารย์ภณิดาจะแยกไปกระโดดโลดเต้นตามชั้นหิน ห่างออกไป แต่ก็คอยชำเลืองสังเกตดูพ่อและพระพี่ชายเป็นระยะ ๆ มองเห็นพระมหาปลื้มนั่งหลับตาภาวนาอยู่บนแผ่นหินกลางถ้ำ พ่อสนกำลังพยายาม ผลักก้อนหินกลมเกลี้ยงคล้ายลูกนิมิตขนาดใหญ่มากประมาณเท่าพ้อมบรรจุข้าว เปลือก ก้อนหินนั้นตั้งอยู่ตรงหน้าแผ่นหินที่พระมหาปลื้มนั่งหลับตาภาวนา อยู่ ถ้าก้อนหินเลื่อนไหลไปตามแรงผลักของพ่อสน ก็จะไปกระแทกกับร่างพระมหา ปลื้มพอดี แต่เท่าที่เห็น ไม่ว่าพ่อสนจะออกแรงผลักเท่าไรก็ตาม ก้อนหินนั้น ก็ไม่ขยับเขยื่อนแม้แต่น้อย พักหนึ่ง พระมหาปลื้มก็ลุกขึ้นแล้วเดินห่างออก ไปจากแท่นหินนั้น อาจารย์ภณิดาเห็นพ่อสนออกแรงผลักก้อนหินนั้นอีกครั้ง น่า อัศจรรย์นัก ครั้งนี้ก้อนหินกลับกลิ้งไปข้างหน้าได้อย่างง่ายดาย...

 

          ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ในครั้งนี้เอง ที่โยมผู้ชายต้องออกปากยอมรับกับพระลูกชายว่า... คุณ โยมพอใจแล้ว เหตุ เพราะพระลูกชาย ได้พยายามบ่มเพาะตนเองทางด้านกรรมฐานขึ้นมา จนมีความสามารถ ทัดเทียมกับโยมผู้ชายได้แล้ว ทำให้พระมหาปลื้มเป็นอภิชาตบุตรของโยม ผู้ชาย ครบทั้งทางปริยัติและปฏิบัติ สมความตั้งใจของโยมผู้ชาย ที่รอคอยมา เป็นเวลานานกว่า ๓๖ ปี

 

อีกเรื่องหนึ่งจากความทรงจำของอาจารย์ภณิดา...

          ใน ปี พ.ศ.๒๔๘๖ วัดเขาพระเป็นเพียงสำนักสงฆ์ ยังไม่มีโบสถ์ เมื่อพระมหาปลื้มไปจำ พรรษาอยู่นั้น หากต้องสวดปาติโมกข์ ท่านก็จะทำพิธีผูกพัทธสีมาชั่วคราวด้วย ตนเอง และถอนเมื่อสวดเสร็จแล้ว และการออกเดินบิณฑบาตของท่านจากวัดมาที่ตลาด ท่าพระนั้น นอกจากระยะทางจะไกลมากแล้ว ยังมีต้นโคกกระสุนขึ้นอยู่มากมาย ทำ ให้ต้องใช้ความระมัดระวังในการเดินเพิ่มขึ้น

          หลวงพ่อเล่าถึงเหตุการณ์ที่วัดเขาพระว่า... วัด เขาพระ อำเภออู่ทอง ตอนนั้นยังไม่มีโบสถ์ ต้องกำหนดเสมาในถ้ำ ส่วนส้วมนั้น ใช้ส้วมหลุม มีไม้พาดขวางสองต้น อยู่นอกทางเกวียน ซึ่งอยู่นอกทางที่กำหนด เสมาไว้ ธรรมดาเป็นโรคปวดท้องอยู่เป็นประจำ ในพรรษาปีนั้น (ประมาณปี พ.ศ.๒๔๘๖) มีอยู่วันหนึ่ง ไปส้วมแล้วกลับมาไม่ทันก่อนรุ่ง พอถึงเวลาออก พรรษาจึงไม่รับผ้ากฐิน ให้เจ้าอาวาสวัดเขาพระ ซึ่งมีอายุมากกว่าแต่มีพรรษา น้อยกว่า เป็นผู้ครองผ้ากฐินแทน โดยบอกท่านได้ขาดพรรษาไปแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าใจว่า การตัดสินใจยอมขาดพรรษาครั้งนี้ของหลวงพ่อ ก็เพราะมีจุดประสงค์ที่จะเสียสละให้เจ้าอาวาสได้ครองผ้ากฐินนั่นเอง

          ใน ช่วงเวลาที่อยู่จำพรรษาที่วัดเขาพระนี้ ตอนนั้นตัวอำเภออู่ทองยังตั้งอยู่ ที่จระเข้สามพัน พระมหาปลื้มจะออกเดินธุดงค์ตามแถบนั้นทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น จะร้าใหม่ จะร้าเก่า และได้พบว่าสถานที่ที่สัปปายะมากสำหรับท่านในตอน นั้น คือที่ห้วยตายัง

 

๘. วัดขวาง อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

          ปี พ.ศ.๒๔๘๗ เจ้าอาวาสวัดขวางซึ่งเป็นเจ้าคณะตำบลด้วย คือพระครูวิศาลสุตตผล หรือหลวงลุงโตที่เคยสอนหนังสือพระมหาปลื้มในสมัยที่เป็นเณรอยู่วัดน้อย เอ่ย ชวนให้พระมหาปลื้มมาจำพรรษาที่วัดขวาง เพื่อมาช่วยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ของครูสอนปริยัติธรรมวัดขวาง คุณจุน ศรีนาค ได้ติดตามพระมหาปลื้มด้วย เล่า เหตุการณ์ตอนนี้ว่า... การเดินทางจากวัดเขาพระ เพื่อมาจำพรรษาที่วัดขวางครั้งนั้น เบาสบาย เพราะสิ่งที่ติดตัวมา มีเพียง เครื่องอัฐบริขารเท่านั้น ออกเดินทางในตอนเช้า แวะบิณฑบาตที่ตลาด ท่าพระ หยุดพักฉันที่วัดยางยี่แส ฉันเสร็จเดินทางต่อตัดทุ่งไปทางวัด ม่วง วัดนก บ้านไผ่เดี่ยว มะขามล้ม บ้านเสาธงทอง ตลาดเก้าห้อง บ้าน สูตร บ้านเก่า ถึงบ้านยอดถิ่นกำเนิดในตอนเพล พระตีกลองเพลพอดี ข้ามแม่น้ำ ท่าจีน (แม่น้ำสุพรรณบุรี) ไปวัดน้อย เหนือวัดน้อยขึ้นไปคือวัดขวาง เดินทาง ด้วยเท้าโดยตลอด

          ใน ช่วงที่อยู่ที่วัดขวางนี้ มีประโยชน์ต่อพระมหาปลื้มมาก เพราะวัดขวางอยู่ ใกล้กับวัดน้อย อันเป็นวัดที่ให้ความสว่างแก่ท่าน จึงเป็นโอกาสเปิด ให้พระ มหาปลื้มได้ฝึกอสุภกรรมฐานที่ป่าช้าผีดิบ ตรงบริเวณมณฑปวัดน้อย ชาวบ้านใน แถบนั้นเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า… “รอบ ๆ มณฑปเก่าเป็นป่าช้าผีดิบ คือศพไม่มีญาติ ยังไม่ได้เผา หลวงพ่อปลื้มจะมา พิจารณาอสุภะที่บริเวณป่าช้านี้ โดยการนำเอาโครงกระดูกมาเรียงต่อกัน

 

ปรากฏผลงาน ครูสอนบาลี

๙.วัดปราสาททอง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

          ใน ปี พ.ศ.๒๔๘๗ เจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี ท่านเจ้าคุณพระวิกรมมุนีศรีสุพรรณเขต สังฆปาโมกข์ (ผล อุปติสฺโส) ขอพระมหาปลื้มจากพระครูวิศาลสุตผล ให้ไปจำพรรษา ที่วัดปราสาททอง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อทำหน้าที่สอนบาลี ไวยากรณ์ที่สำนักวัดปราสาททอง

          ด้วย ความตั้งใจทุ่มเทให้กับการสอนของพระมหาปลื้มในครั้งนั้น ปรากฏผลการสอบบาลี ณ สำนักเรียนวัดปราสาททอง มีพระนักเรียนสอบเปรียญ ๓ ได้ถึง ๑๓ รูป นับว่าเป็นจำนวนมากที่สุด เท่าที่เคยสอบกันมา สร้างชื่อเสียงให้แก่ สำนักเรียน เป็นที่ชื่นชมกล่าวขานทั่วไป

          ใน ช่วงที่จำพรรษาอยู่ที่วัดปราสาททองนี้ นอกจากพระมหาปลื้มจะทุ่มเทเวลาให้กับ การสอนบาลีแล้ว ก็ยังเร่งรัดด้านกรรมฐาน การพูดคุยกับผู้อื่นลดน้อยลงไป อีก ยังรักษาวัตรฉันมื้อเดียวไม่จับปัจจัยอยู่ หลวงพ่อเล่าให้ศิษย์ฟัง ว่า... ความสงบนี่ หลวงพ่อได้ที่วัดประดู่ฯและวัดปราสาททอง” วัตร ของหลวงพ่อกลับกันกับตอนที่จำพรรษาอยู่ที่วัดประดู่ฯ ซึ่งตอนนั้นหลวงพ่อไม่ ยอมพูดอธิบายและสอนปริยัติแก่พระเณรที่มาสอบถาม มุ่งหน้าเรื่องกรรมฐานอย่าง เดียว แต่ในครั้งที่มาจำพรรษาอยู่ที่วัดปราสาททองนี้ แม้กรรมฐานของหลวงพ่อ ก้าวหน้ามากแล้ว แต่หลวงพ่อกลับปกปิดความเป็นผู้มีความสามารถด้านกรรมฐาน มิดชิด เอาแต่ความรู้ทางปริยัติมาสอนอย่างเดียว ส่วนกรรมฐานนั้นก็ปฏิบัติ สม่ำเสมอ แต่ไม่ยอมเปิดเผยหรือคุยให้ใครฟังเลย หลวงพ่อเคยบอกว่า... หลวงพ่อแทบไม่ได้พูดคุยกับใครเลย

          มี เหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นที่วัดปราสาททอง ท่านจะเล่าให้ศิษย์ฟังบ่อยครั้ง มาก เป็นการสอนการตักเตือนที่สำคัญมากสำหรับบรรพชิต เรื่องมีอยู่ว่า...วัน หนึ่งหลวงพ่อเดินไปดูเจ๊กก่อสร้างห้องแถว ตอนนั้นยังไม่มีปูน เจ๊กก็ทำ ไป หลวงพ่อก็ดูไป ที่หลวงพ่อเห็น เขาก็ดูหลวงพ่อ แล้วก็ทำงาน แล้วก็ดูหลวงพ่อ พักหนึ่งเขาก็ พูดขึ้นมาว่า เป็นพระนี่ดีจริง ๆ อั๊วกินข้าวต้องเสียเงิน พระได้รับนิมนต์ไปกินข้าว แล้วยังได้เงินกลับมา

          มีอยู่เรื่องหนึ่งที่หลวงพ่อไม่เคยเล่าให้ฟัง ญาติผู้หนึ่งของหลวงพ่อทบทวนเรื่องนี้ให้พวกเราฟังว่า... ใน ขณะที่กำลังทำนาอยู่ที่บ้านสวนขิง มีคนมาตามให้ไปช่วยดูแลพระมหาปลื้มที่วัด ปราสาททอง ญาติท่านนั้นและมารดาจึงรีบเดินทางไป ตอนที่ไปถึง เห็นขันน้ำมนต์ ตั้งอยู่ มีตะกรุดกำลังลอยวนจี๋อยู่ในขันน้ำมนต์ใบนั้น

 

พระวินัยธร

          ปี พ.ศ.๒๔๘๘  พระมหาปลื้มได้รับความไว้วางใจจากเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี แต่งตั้งเป็น พระวินัยธรประจำจังหวัดสุพรรณบุรี มีหน้าที่ตัดสินคดีความในเขต ๗ ครอบคลุมจังหวัดสุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบ คีรีขันธ์ กาญจนบุรี และนครปฐม ในจังหวัดสุพรรณบุรีมีพระวินัยธรรวม ๓ รูป พระมหาปลื้มเคยได้รับคำสั่งให้ไปตัดสินคดีความถึงจังหวัดเพชรบุรี ด้วย ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เป็นเหตุให้พระมหาปลื้มต้องทุ่มเทเวลาทั้งหมด ให้ กับการทบทวนศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายสงฆ์อย่างละเอียดแจ่มแจ้ง

          และเมื่อประมาณปลายปี พ.ศ.๒๕๓๘ ท่านได้รับนิมนต์ไปสัมมนาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เรื่อง บทบาทของพระสงฆ์ เมื่อกลับมาแล้ว ท่านเมตตาตอบคำถามของข้าพเจ้าว่า...ก็ ดี เสียแต่เดินไปฉันไกลหน่อย คนอื่นเขาเดินไวสะดวก หลวงพ่อเป็นตาปลาเลยเดิน ช้า เขานิมนต์ให้หลวงพ่อกล่าวนำสวด... ได้เข้าไปในธรรมศาสตร์ถิ่นกฎหมาย ก็นึกถึงหน้าที่ของตัวหลวงพ่อเอง เคยเป็น พระวินัยธร ทำหน้าที่ผู้พิพากษาพระ ที่สุดตำแหน่งนี้ก็ยกเลิกไป เพราะพระแก่ ๆ อายุมาก ๆ ทำลืม ๆ ไป นี่แหละ เหตุที่จะให้อายุพระพุทธศาสนาสั้นลง

          อาจารย์ยุทธภูมิ สุขพินิจ เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า... ไป วัดวันที่ ๑๐ ธันวาคม ซึ่งเป็นวันรัฐธรรมนูญ วันนั้นเห็นหลวงพ่อถือดอกไม้ธูปเทียนเข้าไป ไหว้พระในโบสถ์ ผิดปกติที่หลวงพ่อจะไปไหว้พระในวันพระ แต่วันนั้นไม่ใช่ จึง ถามท่าน ท่านตอบว่า... มาไหว้ครูบาอาจารย์ทางกฎหมาย

 

ทุกหน้าที่รวมอยู่ที่นี่... วัดสวนหงส์ 

ครูสอนปริยัติ-ปฏิบัติ สร้างวัด สร้างคน 

มีแต่ให้ ให้ ให้ และให้

๑๐.วัดสวนหงส์ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

          พ.ศ.๒๔๙๑ เจ้า คณะจังหวัดสุพรรณบุรี พระวิกรมมุนีศรีสุพรรณเขตสังฆปาโมกข์ (ผล อุปติสฺโส ) ส่งพระมหาปลื้มมาเป็นเจ้าอาวาสวัดสวนหงส์ ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า  จังหวัดสุพรรณบุรี และเป็นเจ้าคณะตำบลโคกครามด้วย เพราะเป็นคำสั่งจากพระ ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ มหาปลื้มจึงไม่อาจหนีออกธุดงค์หลีกเร้นอย่างเช่น ครั้งวัดกล้วย

          พ.ศ.๒๔๙๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

          พ.ศ.๒๕๐๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูสุมนคณารักษ์ พัดยศพิเศษ จ.ป.ร.

          หลวงพ่อเล่าถึงพัดยศนี้ให้ฟังว่า... ตอน ไปรับ เป็นพัดที่เด่นที่สุด มีประกายสว่างวาบพวยพุ่ง คนถือหน้าบานไม่ยอม วาง เหลืออยู่อันเดียวที่ยังไม่เก็บคืน หลวงพ่อเป็นพระวัดราษฎร์องค์แรกองค์ เดียวที่ได้รับพัดยศ จ.ป.ร. นี้ หลังจากนั้น ก็มีข้อกำหนดไม่ให้วัดราษฎร์ได้รับพัดนี้...

          เมื่อ ครั้งที่มาจำพรรษาที่วัดสวนหงส์นั้น คุณจุน ศรีนาค เล่าให้ฟังว่า มีอุปสรรค ปัญหาในเบื้องแรกพอสมควร คุณจุนชวนหลวงพ่อย้ายวัด หลวงพ่อตอบคุณจุนว่า... อยู่ที่ไหนก็มีขวากหนาม ค่อย ๆ ถากถางไปก็หมด
หลวงพ่อปลื้ม จิตฺตสญฺญโต

การสร้างวัด

          นับ แต่ปี พ.ศ.๒๔๙๑ ที่หลวงพ่อยินยอมมาจำพรรษาและรับหน้าที่เจ้าอาวาสวัดสวนหงส์ สภาพ วัดในขณะนั้นกำลังร่วงโรย ชาวบ้านกำลังออกจากวัด หลวงพ่อจึงตั้งใจไว้ว่าจะ สร้างวัดให้สำเร็จ แล้วเริ่มดำเนินการตามที่ตั้งจุดประสงค์ไว้ตลอดมา

          หลวงพ่อเล่าถึงเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ว่า... ที่ หลวงพ่อมาอยู่วัดสวนหงส์นี้ จุดประสงค์ใหญ่ของหลวงพ่อ มิได้อยู่ที่การสอน กรรมฐาน อยู่ที่มาสร้างวัด การสอนกรรมฐานเป็นเรื่องพลอยได้ตามมาทีหลัง

          ในการสร้างวัด อุปสรรคส่วนหนึ่งอยู่ที่หลวงพ่อไม่จับปัจจัย จนนายอำเภอท่านหนึ่งทักท้วงเชิงเปรียบเทียบให้หลวงพ่อได้ยินว่า... ถ้าไม่ยอมจับปัจจัย ก็สร้างโบสถ์ไม่เสร็จ

          และอุปสรรคอีกส่วนหนึ่งก็คือ การไม่ออกปากขอให้ญาติโยมมาทำบุญถวายปัจจัย โดยให้เหตุผลว่า... การ บอกบุญที่วัด จะบอกและเรี่ยไรเพียงที่ศาลานี้เท่านั้น นอกนั้นไม่ทำ หลวงพ่อ ต้องการให้ผู้ทำบุญ มาทำเอง ด้วยความเต็มใจ จะได้บุญมาก ได้บุญเต็ม และเขา จะเข้ามาในวัดด้วยความสบายใจ

          แม้ ญาติโยมจะออกปากปวารณาเปิดทางให้ขอ ท่านก็จะไม่ยอมขอ เพราะครั้ง หนึ่ง ข้าพเจ้าขึ้นไปกราบหลวงพ่อที่หอสวดมนต์ มีโยมผู้หญิงสองคน ดูจาก เครื่องประดับก็คิดว่ามีฐานะ ทราบจากการสนทนาว่ามาจากต่างถิ่น ทั้งสอง คน เอ่ยปากบอกหลวงพ่อว่า... หลวงพ่อมีงานบุญงานก่อสร้างอะไรที่ต้องใช้ปัจจัยขอให้บอก หลวงพ่อนิ่งเฉย เขาเอ่ยอีกเป็นคำรบสอง หลวงพ่อก็ยังนิ่งเฉย เมื่อเขาเอ่ยเป็นคำรบสาม ข้าพเจ้าได้ยินหลวงพ่อตอบไปว่า... ญาติโยมแถบนี้เขาทำกันได้ แต่ มิได้หมายความว่าหลวงพ่อรังเกียจที่จะรับปัจจัยทำบุญจากญาติโยมต่าง ถิ่น เพราะปกติไม่ว่าญาติโยมจะมาจากท้องถิ่นใด นำซองปัจจัยถวายหลวงพ่อร่วม ทำบุญหรือถวายหลวงพ่อตามอัธยาศัย หลวงพ่อก็จะรับและให้พรเสมอเหมือนกัน หมด เพียงแต่หลวงพ่อจะไม่ยอมเอ่ยปากขอปัจจัยทำบุญจากญาติโยมทุกคน

          และ ที่สำคัญที่สุด ในยามปกติ ที่มิใช่งานประจำปีของวัด หรืองานทอดกฐิน งานบุญ สำคัญ ๆ แล้ว ผู้ที่เข้ามาในวัดสวนหงส์ จะไม่มีโอกาสเห็นตู้รับบริจาคแม้แต่ใบเดียว ในเขตวัดสวนหงส์

          อุปสรรค ทั้งสองประการนี้ หลวงพ่อยอมแก้ไขในเรื่องการจับปัจจัย เป็นความเสียสละ อย่างยิ่งของพระกรรมฐาน แต่เพื่อที่จะสร้างวัดสวนหงส์ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะ สมกับวัดที่ตั้งอยู่หน้าอำเภอ หลวงพ่อจึงยอมจับปัจจัยรับปัจจัยจากญาติ โยม แต่ในเรื่องการออกปากบอกบุญเรี่ยไร หลวงพ่อไม่ยอมแก้ไขปรับเปลี่ยน จน ถึงวันละสังขารของท่าน

          งาน สร้างวัดของหลวงพ่อ จึงดำเนินไปตามกำลังปัจจัยที่มีอยู่ มีปัจจัยก็ดำเนิน การ ปัจจัยหมดก็หยุด ไม่ยอมเป็นลูกหนี้ ดังนั้น การสร้างวัดของหลวงพ่อปลื้ม จึงใช้เวลายาวนาน ค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะการทำ พื้นที่ลุ่มของวัดที่น้ำท่วมถึง ขนาดว่าในฤดูน้ำหลาก การสัญจรภายในวัดทั้ง หมดต้องใช้เรือพาย ส่วนผู้ที่มาทำบุญสามารถพายเรือมาเทียบที่ศาลาการเปรียญ ได้รอบด้าน... ให้เป็นที่ดอนอย่างที่เห็นในปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องที่ต้อง ใช้ความเพียรพยายามและความอดทน เพื่อเห็นผล นานถึงเกือบ ๕๐ ปี บริเวณพื้นที่ทั่ววัดจึงค่อย ๆ ดอนขึ้นมาทีละน้อย ๆ จนหลวงพ่อถึงกับออกปากว่า... กว่าจะได้วัด ที่มีที่ดินกว้างขวางอย่างที่เห็นนี้ มันลำบากมาก

          เพราะ สภาพของวัดตอนที่หลวงพ่อมาจำพรรษาแรก ๆ นั้น รอบหอสวดมนต์จะเป็นสะพานไม้ผุ ๆ แล่นต่อ ๆ กันไป เพื่อให้เป็นทางเดินได้ในยามหน้าน้ำหลาก สะพานนั้นสูงขึ้นมาจากพื้น ประมาณสองช่วงความสูงของคน นั่นแหละ คือปริมาณพื้นน้ำทั้งหมดในวัดสวน หงส์ ที่หลวงพ่อทำให้กลับกลายเป็นผืนแผ่นดินได้อย่างที่เห็นในปัจจุบัน

โบสถ์

          เป็น สิ่งก่อสร้างสำคัญที่หลวงพ่อพยายามดูแลรักษา ให้สามารถใช้งานได้อยู่ตลอด เวลา แม้ต้องซ่อมแซม ก็อนุรักษ์รูปแบบของโบสถ์เดิมไว้ ไม่อนุญาตให้สร้าง โบสถ์ใหม่ ครั้งที่หลานชายของข้าพเจ้าบวชพระและมาขอพำนักที่วัดสวนหงส์หนึ่ง สัปดาห์นั้น ภรรยาและลูก ๆ ของเขามาเยี่ยม เขาสั่งภรรยาของเขาว่า... พาลูกไปไหว้พระในโบสถ์ไป โบสถ์วัดนี้ไม่เคยปิด ไม่ใส่กุญแจเหมือนวัดอื่น เรื่อง นี้เป็นเพราะพระเณรในวัด และศิษย์ฆราวาสที่ฝึกกรรมฐาน จะผลัดเปลี่ยนกันเข้า มาใช้โบสถ์เป็นที่นั่งกรรมฐานกันเป็นประจำ โบสถ์วัดสวนหงส์จึงเป็นโบสถ์ เปิด เอื้อประโยชน์ทั้งในด้านการทำสังฆกรรมและในด้านปฏิบัติธรรมกรรมฐาน แก่ บรรพชิตและฆราวาสมาตลอด

เมรุ

          เป็น สิ่งก่อสร้างที่หลวงพ่อตั้งใจก่อสร้างเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนชาวบางปลา ม้า หลวงพ่อเป็นผู้เลือกรูปแบบของเมรุด้วยตัวเอง โดยเดินทางไปดูตัวอย่าง จากวัดต่าง ๆ และที่สุดก็ได้รูปแบบเมรุที่เหมาะใจหลวงพ่อจากวัดพระ พิเรนทร์ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมรุที่มีรูปแบบเรียบง่าย ส่วนประกอบตรงยอด เมรุ หากได้พิจารณาแล้ว จะแสดงข้อคิดหลักธรรมที่ลึกซึ้ง  

          งานบูรณะ ซ่อมแซม ก่อสร้างต่าง ๆ มีตามมาเรื่อย ๆ ... ถมที่ สร้างห้องสุขา แก้ไขและย้ายกุฏิ สร้างถนนในวัด ศาลาท่าน้ำ มณฑป ซ่อมหอระฆัง ซื้อที่ขยายบริเวณวัด ปลูกต้นไม้สร้างสวนป่า ฯลฯ

          นับ แต่วันแรกที่หลวงพ่อปลื้มมาจำพรรษา ณ วัดสวนหงส์ ตราบถึงปี พ.ศ.๒๕๔๐ มีสิ่งก่อสร้างต่าง ๆที่ทยอยเกิดขึ้น จะเกิดขึ้นตามความจำเป็น รูปแบบสิ่งก่อสร้างส่งเสริมให้ เห็นเด่นชัด ถึงความสมถะของผู้ดำเนินการควบคุมการก่อสร้าง โดยเฉพาะรอบ บริเวณวัด หลวงพ่อจะรักษาต้นไม้ไว้เป็นป่าร่มรื่นล้อมวัด

          และ แล้ว...ด้วยกาลเวลาอันยาวนานเกินกว่า ๕๐ ปี สิ่งก่อสร้างแรก ๆ เริ่มทยอยกันชำรุดทรุดโทรม แต่สิ่งก่อสร้างหลังสุดคือเขื่อนริมน้ำ เพิ่ง สำเร็จ จนหลวงพ่อต้องปรารภว่า... การก่อสร้างวัดวา อาราม เมื่อสร้างใหม่ ๆ ก็ใหม่ดี หลวงพ่ออยู่วัดมานาน ได้อยู่ดู เห็นสิ่งที่ก่อสร้างมานั้น มันทรุด โทรม มีโอกาสได้เห็นความเสื่อมโทรม ได้เห็นหลักอนิจจัง

          ใน ช่วงปี พ.ศ.๒๕๓๙ เป็นปีที่มีการซ่อมแซมวัดอย่างต่อเนื่อง หลายครั้งที่หลวงพ่อจะพา พระเณรไปช่วยกันเก็บเศษไม้ที่ไม่ใช้และทิ้งไว้ระเกะระกะมารวม ๆ กันไว้ เพื่อให้ช่างมาเลือกเอาไปใช้ได้อีกเมื่อมีความจำเป็นต้องใช้ จะได้ ไม่ต้องเสียเงินไปซื้อหามาใหม่ให้สิ้นเปลือง

และ ก่อนที่จะอาพาธ (พ.ศ.๒๕๔๐) จนถึงขึ้นวางภาระในการสร้างวัดนั้น หลวงพ่อสั่ง ห้ามมีการก่อสร้างสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นในวัด แต่อนุญาตให้บูรณะของเก่าได้ เพราะเกรงว่าจะเกิดการติดขัดเรื่อง ปัจจัยในภายหลัง

          แต่มีบางสิ่งที่หลวงพ่อต้องการจะให้รักษาไว้ ซึ่งหลวงพ่อได้กล่าวให้ข้าพเจ้าฟังว่า... การ ทำสวนป่า เมื่อสมบูรณ์ เอาไว้ให้เป็นที่สัปปายะ สงบ ให้คนมาปฏิบัติธรรม อาจ จะมีที่นั่งตามโคนต้นไม้ มีสิ่งก่อสร้าง ๔ อย่าง ที่หลวงพ่อขอไว้ โลงเก็บศพ (ข้าพเจ้าไม่แน่ใจว่าคำว่าโลงนี้ ใช้อักษร ร หรือ ล แต่ในช่วงเวลานั้น ข้าพเจ้าไม่เห็นว่าที่วัดสวนหงส์มีโรงเก็บ ศพ และเป็นข้อบกพร่องที่ข้าพเจ้าไม่ได้ถามจากหลวงพ่อในตอนนั้น) กุฏิหลวง พ่อ หอระฆัง กุฏิที่เป็นแพท่าน้ำแล้วยกขึ้นมาเป็นกุฏิบนบกมีช่อฟ้า ขอ อนุรักษ์เอาไว้

          เมื่อ ต้นปี พ.ศ.๒๕๔๐ หลวงพ่อเริ่มอาพาธ ความทรงจำเริ่มไม่ดี ต้องเข้ารับการรักษาในโรง พยาบาล และอยู่ในช่วงรักษาตัว ท่านจึงวางภาระหน้าที่ภายในวัด แล้วมอบหมาย ให้รองเจ้าอาวาสพระอาจารย์ประสิทธิ์ ทำหน้าที่ดูแลแทน  จากนั้นมา การบูรณะ ซ่อมแซม ก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ภายในวัด ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๐ จึงอยู่ในความควบคุมดูแลและสั่งการของพระอาจารย์ประสิทธิ์ทั้งหมด


วัตรปฏิบัติ และ วัตรปฏิปทา

วัตรปฏิบัติประจำวัน

          วัตรปฏิบัติประจำวันของหลวงพ่อในช่วง พ.ศ.๒๕๓๔-พ.ศ.๒๔๓๙ ขณะนั้นท่านมีอายุ ๘๔-๘๙ ปี

          เท่า ที่ข้าพเจ้าสังเกตเห็น ท่านจะลงมาจากกุฏิชั้นบนซึ่งใช้จำวัดก่อนที่พระเณรจะ ออกบิณฑบาต แล้วลงมาเดินหน้ากุฏิ หรือไปนั่งที่ศาลาท่าน้ำซึ่งอยู่ตรงข้าม กับมุขหอสวดมนต์ที่เป็นกุฏิของหลวงพ่อ ถ้าเป็นช่วงฤดูหนาว หลวงพ่อมักจะใช้ เวลาช่วงเช้าก่อนฉันจังหันอยู่ที่ศาลท่าน้ำนี้ ท่านจะใช้ผ้าขนหนูสองผืน ผืน หนึ่งคลุมศีรษะ อีกผืนคลุมไหล่ และวัสดุที่ใช้จับผ้าขนหนูไม่ให้เลื่อน หลุด ก็คือไม้หนีบผ้า

          เมื่อ ได้เวลา จะขึ้นมาฉันบนกุฏิ จากนั้นอาจจะอ่านหนังสือ เปิดโอกาสให้ญาติโยม เข้าพบ ให้เวลาแก่ศิษย์แจ้งกรรมฐาน นั่งพักผ่อน หรือออกกิจนิมนต์ ตามความ สมควรก่อนหลัง

          ถ้า เป็นวันพระ หลังจากฉันจังหันแล้ว ท่านจะลงศาลาการเปรียญ เพื่อให้อุโบสถศีล แก่ผู้มารักษาอุโบสถ เรื่องการให้อุโบสถศีลนี้  หลวงพ่อถือเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ จะไม่มีงดเว้น  แม้จะออกกิจนิมนต์นอกวัด หากทำได้และทันเวลา เมื่อกลับมาถึงวัด จะลงให้ อุโบสถทันที

          จาก นั้นจะขึ้นเทศน์บนธรรมมาสน์ เรื่องราวที่หลวงพ่อนำมาเทศน์นั้น จะคัดเลือกมา จากใบลาน น้อยครั้งมากที่หลวงพ่อจะเทศน์ปากเปล่า ท่านขึ้นเทศน์บนศาลาการ เปรียญอย่างเป็นทางการครั้งสุดท้าย เมื่อวันพระ วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๐ แต่ไม่สามารถขึ้นเทศน์บนธรรมมาสน์ได้ เพราะเริ่มมีอาการ อาพาธบ้างแล้ว จึงนั่งเทศน์ที่อาสน์สงฆ์บนศาลาการเปรียญ หลวงพ่อปรารภว่า... มา...แต่ไม่รู้ว่าจะมีแรงเทศน์ไหม ? นั่งพักและนิ่งไปครู่ใหญ่ จากนั้น หลวงพ่อจึงเทศน์โดยไม่ใช้ใบลาน ท่านเทศน์เรื่องหน้าที่ จากมิลินทปัญหา... การ เกิดเป็นหน้าที่... (เนื้อความต่อจากนี้อีกสองสามข้อสั้น ๆ ข้าพเจ้าจำไม่ได้) ... ดับขันธ์ปรินิพพานก็เป็นหน้าที่ เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้ เทศน์จบแล้ว หลวงพ่อต้องนั่งพักนิ่ง ๆ อยู่นาน

          ถ้าเป็นวันธรรมดา ท่านจะสอนหนังสือแก่พระเณรในวัด พระอาจารย์ไพศาลเล่าว่า... สอนทั้งนักธรรมและบาลี ข้าพเจ้า เคยเห็นหลวงพ่อสอนหนังสืออยู่ที่โรงลิเกข้างต้นตะเคียน และเมื่อสอน เสร็จ ท่านจะเดินกลับจากโรงลิเกมาตามระเบียงศาลาการเปรียญ ลงทางบันไดด้าน ห้องน้ำ มีพระหรือเณรถือกาน้ำชาตามหลังมา ถ้าข้าพเจ้าจำไม่ผิด หลวงพ่อหยุด สอนหนังสือในราวปี พ.ศ.๒๕๓๕ หรือ พ.ศ.๒๕๓๖ เพราะอายุและสุขภาพ แต่สำหรับการสอนกรรมฐาน แล้ว หลวงพ่อไม่เคยหยุด จนถึงวันนี้  (คือในปีที่ปรับปรุงเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ พ.ศ.๒๕๔๔) หลวงพ่อก็ยังเมตตาให้คำสอน แนะนำ ตักเตือน อย่างแจ่มชัด ตามโอกาส อันควรและความจำเป็น

          วัตรปฏิบัติ หลังจากฉันเพลแล้ว เปิดโอกาสให้ญาติโยมเข้าพบ ศิษย์แจ้งกรรมฐาน อ่าน หนังสือ เดินสำรวจตรวจตราไปรอบ ๆ วัด นำพระเณรดูแลความสะอาดเรียบร้อยภายในวัด จนประมาณหกโมงเย็นถึงหนึ่งทุ่ม จึงขึ้นชั้นบน ในบางโอกาสที่หลวงพ่ออาพาธเล็ก ๆ น้อย ๆ ท่านจะหลบขึ้นไปเพื่อพักผ่อน แต่จะใช้เวลาไม่นานนัก เวลาส่วนใหญ่ของหลวง พ่อจะอยู่ชั้นล่าง เปิดโอกาสให้ศิษย์และญาติโยมเข้าพบได้ตลอดเวลา การที่ เข้าพบหลวงพ่อได้สะดวกโดยไม่มีการกีดกันจากศิษย์ทั้งที่เป็นพระและฆราวาส นั้น เป็นเรื่องที่ญาติโยมบางคนที่มาจากจังหวัดอื่น ถึงกับออกปากให้ ข้าพเจ้าได้ยินว่า... ดีจัง ที่วัดนี้ไม่มีทศกัณฐ์  ข้าพเจ้านำความนี้เล่าถวายให้หลวงพ่อฟัง หลวงพ่อยิ้ม แล้วบอกว่า... หลวง พ่อก็จัดไม่ให้มาคับคั่งที่วัด พอนาน ก็พูดถึงบ้านให้เขาคิดถึง เดี๋ยวเขาก็ กลับไป พรมน้ำมนต์ให้ เดี๋ยวเขาก็กลับไป ก็มีบ้างเหมือนกัน ที่พระบอก ว่า หลวงพ่อเพิ่งไปปลุกเสกมา

          ใน ช่วงปีนี้ หลวงพ่อจะออกเดินตรวจตราไปรอบ ๆ บริเวณวัด อาจจะเป็นวันละครั้ง สองครั้ง หรือมากกว่านั้นตามความจำเป็น และ ถ้าเป็นฤดูหนาว หลวงพ่อก็จะร่นเวลาให้วันขึ้นมากว่าปกติ คือจากเดิมเคยออก เดินตรวจวัดเวลาประมาณ ๑๗.๐๐ น. ก็จะเปลี่ยนเป็นเวลาประมาณ ๑๖.๐๐-๑๖.๓๐ น.

          วัตรปฏิบัติประจำวันของหลวงพ่อในช่วง พ.ศ.๒๕๔๐-พ.ศ.๒๕๔๒ ขณะนั้นท่านมีอายุ ๙๐-๙๒ ปี

          ใน ปี พ.ศ.๒๕๔๐ หลวงพ่ออาพาธ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพฯ หลัง จากนั้นเมื่อสุขภาพดีขึ้น วัตรปฏิบัติต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปบ้าง

          ๑๔ เมษายน ๒๕๔๐ หลวงพ่อย้ายจากหอสวดมนต์ลงมาพักอยู่ที่ชั้นล่างของกุฏิเรือนไทยริม น้ำ เพื่อความสะดวก เพราะมีความจำเป็นต้องใช้รถเข็น หลวงพ่อยังคงตื่นแต่ เช้าเช่นเดิม กราบพระแล้วเดินออกกำลังโดยเดินจงกรมกลับไปมาในกุฏิ ฉันจังหัน เวลาประมาณ ๐๖.๓๐ น. เมื่อฉันเสร็จจะเปิดโอกาสให้ญาติโยมเข้าพบ จากนั้นก็จะพักผ่อนอยู่ภายใน กุฏิ

          ตอน เพล ประมาณ ๑๐.๓๐ น. พระอุปัฏฐากเปิดกุฏิเตรียมจัดภัตตาหารเพลถวาย และเปิดโอกาสให้คณะศิษย์ และญาติโยมเข้าถวายภัตตาหารเพล ถวายสังฆทาน ขอความอนุเคราะห์ รับพร แจ้ง กรรมฐาน ฯลฯ จากนั้นก็จะพักผ่อน หรือบางครั้งก็จะให้พระอุปัฏฐากเข็นรถไป ตรวจตรารอบ ๆ บริเวณวัด

          ตอน เย็น ประมาณ ๑๗.๑๕ น. พระอุปัฏฐากจะพาหลวงพ่อออกไปไหว้พระที่โบสถ์ และไหว้รอยพระพุทธบาทที่ มณฑป หากมีปัจจัยที่ญาติโยมถวายไว้ตั้งแต่ตอนเช้าและตอนเพล ก็จะแวะที่กุฏิ รองเจ้าอาวาส เพื่อมอบปัจจัยให้แก่รองเจ้าอาวาสก่อน หลังจากที่ไหว้พระและ รอยพระพุทธบาทแล้ว พระอุปัฏฐากจะเข็นรถไปรอบ ๆ วัด หลวงพ่อใช้โอกาสนี้ตรวจตราดูความเรียบร้อยภายในวัดไปด้วยในตัว

          ใน ช่วงที่หายจากอาพาธใหม่ ๆ ยังมีกำลังพอ หลวงพ่อก็จะเดินไปโบสถ์เอง ตามคำสั่งของแพทย์และเป็นการออก กำลังไปด้วยในตัว ต่อมาระยะทางที่เดินเองจะสั้นลง ใช้รถเข็นบ้างในขาก ลับ บางครั้งขาไปก็จะเดินไปได้ครึ่งทางจากนั้นจะนั่งรถเข็น หลวงพ่อใช้ความ พยายามเช่นนี้อยู่นาน ดังที่หลวงพ่อเคยพูดให้ฟังว่า... หมอสั่งให้เดิน มีบางครั้งเดินถึงจุดหมายเลย แต่ไม่บ่อย นาน ๆ

          จน กระทั่งใน พ.ศ.๒๕๔๒ หลวงพ่อจะเดินเองเฉพาะภายในกุฏิ และในโอกาสเข้าโบสถ์เพื่อทำ สังฆกรรม หากเป็นการออกมาไหว้พระในตอนเย็นจะนั่งรถเข็นเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มี เดินเองบ้างเป็นระยะทางสั้น ๆ ตามแต่กำลังจะอำนวย

          ในช่วงเย็น หลังจากที่หลวงพ่อไปไหว้พระที่โบสถ์มาแล้ว ญาติโยมสามารถเข้าไปกราบในกุฏิได้ตามอัธยาศัย

ถ้าเป็นวันพระ ๑๔ หรือ  ๑๕ ค่ำ จะลงโบสถ์ฟังสวดพระปาติโมกข์ นอกจากนี้ถ้ามีการอุปสมบท หลวงพ่อจะเมตตาลงเป็นอุปัชฌาย์บวชให้

          การ เข้าพบหลวงพ่อ เวลาที่สะดวกคือ ช่วงเช้า เพล และเย็น แต่หากมีความร้อนใจ ต้องการพบนอกเวลานี้ พระอุปัฏฐากจะดูแลอำนวยความสะดวกให้ ตามความเหมาะสมและ โอกาสอันควร เพราะหลวงพ่อเคยสั่งพระแผนซึ่งเคยเป้นพระอุปัฏฐากไว้ว่า... ใครเขาตั้งใจมาพบหลวงพ่อ อย่าห้าม เขามีทุกข์มาระบาย ให้หลวงพ่อฟัง แล้วทุกข์บ้าง ความแค้นบ้าง จะเบาบางลง

          วัตรปฏิบัติประจำวันของหลวงพ่อช่วง พ.ศ.๒๕๔๓-พ.ศ.๒๕๔๔ ขณะนั้นท่านมีอายุ ๙๓-๙๔ ปี

          ใน วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๒ หลวงพ่ออาพาธต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบางปลา ม้า เมื่อกลับวัดแล้ว สุขภาพแข็งแรงดี จนทำให้คณะศิษย์ตั้งอยู่ในความ ประมาท ไม่มีใครคาดคิดเลยว่าในอีก ๓ ปีต่อมา จะเป็นช่วงปีสุดท้ายของหลวงพ่อ

วัตรปฏิบัติ หลายอย่างภายในช่วงปีนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างขัดเจน ท่านจะตื่นขึ้นมาพอดีกับ เวลาฉันจังหัน จากนั้นจะพักผ่อนอยู่ในกุฏิ ส่วนเวลาฉันเพลยังคงเดิม คณะ ศิษย์และญาติโยมเข้ากราบพูดคุยกับหลวงพ่อได้ แต่หลวงพ่อจะไม่พูด รับฟัง อย่างเดียว นอกจากมีเหตุจำเป็นจริง ๆ หลวงพ่อจึงจะพูดแก้ไขและสอนให้ ใครขอร้องให้หลวงพ่อทำอะไร ท่านจะ อนุเคราะห์ให้หมด ไม่ว่าจะพรมน้ำมนต์ พุทธาภิเษก เสกน้ำมนต์ จับด้าย มงคล ฯลฯ ยกเว้นแต่กิจที่จะต้องออกนอกกุฏิ เช่น เจิมรถ แต่ผู้มากราบก็ไม่จน ปัญญา นำป้ายทะเบียนรถมาขอให้หลวงพ่อเจิมถึงในกุฏิ แม้แต่ป้ายชื่อร้านค้า ขนาดใหญ่ ก็สามารถช่วยกันแบกหามเข้ามาให้หลวงพ่อเจิม ฯลฯ ทั้งหมดนี้ เป็น เรื่องที่น่าแปลก เพราะก่อนหน้านี้ หลวงพ่อไม่เคยตามใจผู้ขอถึงขนาดนี้ จะ ดุ หากขอให้หลวงพ่อทำในเรื่องที่ไม่ควรขอ และในเรื่องที่หลวงพ่อมอบหมาย หน้าที่ให้แก่พระลูกศิษย์ทำหน้าที่แทนแล้ว โดยเฉพาะในเรื่องพรมน้ำมนต์ ปกติ หลวงพ่อจะไม่พรมให้ มักจะสั่งให้ไปตักน้ำมนต์ในโอ่งน้ำมนต์เอาเอง หรือการนำ ขวดน้ำมนต์ที่ตักมาจากโอ่งน้ำมนต์มาให้หลวงพ่อเสกให้ใหม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ หลวงพ่อจะดุและสำทับว่า... เอากลับไปได้เลย หลวงพ่ออนุญาตไว้แล้ว ไม่ต้องมาให้หลวงพ่อเสกอีก

          ใน ช่วงเย็น เวลาประมาณ ๑๗.๑๕ น. (ถ้าเป็นฤดูหนาวจะเป็นเวลาประมาณ ๑๖.๐๐-๑๖.๓๐ น.) หลวงพ่อยังให้พระอุปัฏฐากเข็นรถพาไปไหว้พระที่โบสถ์ทุกวัน ท่านจะลงจาก รถเข็นตรงพาไลหน้าโบสถ์ เอาดอกไม้ พวงมาลัย หรือดอกการะเวก เดินไปถวายพระ พุทธรูปยืนที่อยู่ตรงข้างประตูโบสถ์ แล้วเดินกลับมาสองสามก้าว เอาดอกไม้ ไหว้ที่รูปหล่อของหลวงพ่อตรงหน้าโบสถ์ จากนั้นก็ขึ้นรถเข็นให้พระอุปัฏฐาก เข็นไปรอบ ๆ บริเวณวัดและโรงเรียนวัดสวนหงส์ ถือโอกาสตรวจตรารอบ ๆ บริเวณวัดไปในตัวเช่นเคย


วัตรปฏิบัติและวัตรปฏิปทาของหลวงพ่อ

 

การออกบิณฑบาต

          หากดูจากประวัติของหลวงพ่อแล้ว ท่านจะให้ความสำคัญในเรื่องการออกบิณฑบาตมาโดยตลอด ครั้งหนึ่งหลวงพ่อเคยบอกกับข้าพเจ้าว่า... บิณฑบาตเป็นวัตรที่สำคัญของพระสงฆ์” แต่ด้วยอาพาธเพราะเป็นตาปลาที่ฝ่าเท้า เป็นเหตุให้หลวงพ่อไม่สามารถเดินด้วยเท้าเปล่าได้ จึงจำเป็นต้องงดเว้นการออกบิณฑบาต 

          แต่ ก็มีบางครั้ง ที่หลวงพ่อปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะออกบิณฑบาต เช่นเมื่อวัน ที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๙ คณะศิษย์อันประกอบด้วยพระเณรและศิษย์กรรมฐานที่เป็นฆราวาส จำนวนประมาณ ๓๐ รูป/คน ได้กราบเท้าขอโอกาสทำพิธีขอให้หลวงพ่อเมตตาทรงสังขารไว้ก่อน หลวงพ่อ ปลื้มปิติที่ได้เห็นคณะศิษย์มารวมตัวกันได้เป็นปึกแผ่นเช่นนี้ ถึงกับออกปาก ว่า... พรุ่งนี้หลวงพ่อจะออกบิณฑบาต แต่ พอถึงเวลาเข้าจริง ๆ หลวงพ่อเดินลงจากกุฏิทางบันไดหลัง ผ่านทางใต้ถุนกุฏิพระไปได้สองหลังก็ไม่ สามารถเดินต่อไปได้ ในครั้งนี้จึงจำต้องงดออกบิณฑบาต

          จน กระทั่งหลวงพ่ออายุได้ ๙๔ ปี สุขภาพทรุดโทรมต้องนั่งรถเข็น ในเดือนสุดท้ายของชีวิต หลวงพ่อปรารภ เรื่องออกบิณฑบาตอีก ถึงกับออกปากสั่งให้พระอุปัฏฐากคือพระอาจารย์ ไพศาล เข็นรถพาหลวงพ่อออกบิณฑบาต ๒ ครั้ง คือในวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ออกสายหลังวัดไปทางโรงสี และวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ออกสายตลาด และหลังจากนั้นอีกยี่สิบวัน หลวงพ่อก็อาพาธ หนักจนละสังขารเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๕

          ในครั้งนี้ หลวงพ่อตอบคำถามข้าพเจ้าว่า... มีความรู้สึกว่า ถึงเวลาที่จะต้องทำอย่างนั้นขึ้นมาเอง ถ้าไม่ทำ กาลเวลาล่วงไป ๆ ก็จะไม่ได้ทำ เพราะทำไม่ได้ ความจริงถ้าไม่ออกไป หลวงพ่อก็มีฉันอยู่เรื่อย แต่ออกไปก็ดี และตอบคำถามคุณบุญธรรม พุ่มพันธุ์วงษ์ว่า... ถ้าไม่ออก ก็จะไม่มีเวลา เพราะวันนั้นใกล้เข้ามาแล้ว

 

การลงฟังพระปาติโมกข์

          เป็นวัตรที่หลวงพ่อไม่เคยขาด ในวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๐ เป็นวันพระ หลวงพ่อปรารภกับพระว่า... วันนี้คงเป็นวันสุดท้ายที่หลวงพ่อลงอุโบสถ และ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๐ ก็เริ่มมีอาการอาพาธต่อเนื่อง แต่เมื่ออาการอาพาธทุเลา ลง เท่าที่ข้าพเจ้าทราบ หลวงพ่อพยายามลงโบสถ์ในทุกวันพระอย่างสม่ำเสมอ แม้ ว่าการทรงตัวในท่านั่งพับเพียบจะเป็นอุปสรรคแก่หลวงพ่อมาก ท่านก็อดทน

          มี อยู่วันหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๐ วันมาฆบูชา ข้าพเจ้าไปกราบถวายดอกไม้ไหว้พระแด่หลวงพ่อ ได้ รับรู้ว่า หลวงพ่อกำลังอบรมสั่งสอนพระลูกศิษย์ที่เป็นพระอุปัฏฐากอย่างหนัก ต่อหน้าคณะสงฆ์ห้ารูป ให้กราบขอขมากรรมที่กักขังหลวงพ่อ ทั้งนี้เพราะพระ อุปัฏฐากทักท้วงที่หลวงพ่อจะออกจากกุฏิ เนื่องเพราะเห็นว่า วันนี้แพทย์มา ตรวจวัดความดัน ความดันขึ้นสูงกว่าสองร้อย มีอาการหวัดและดูเหมือนจะเป็นไข้ ด้วย การออกนอกกุฏิอาจจะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพของหลวงพ่อ หลังจากแหตุ การณ์ วันพระนี้หลวงพ่อถึงกับงดลงฟังปาติโมกข์

          ตาม ความเข้าใจของข้าพเจ้า ที่หลวงพ่อต้องทำเช่นนี้ ก็เพื่อประโยชน์แก่ศิษย์ที่ เป็นพระอุปัฏฐาก มิให้ต้องติดค้างในกรรมที่กักขังหลวงพ่อไว้ในกุฏิ เปิด โอกาสให้ศิษย์ได้กราบเท้าขอขมากรรมเพื่อรับคำอโหสิกรรมจากหลวงพ่อโดย เร็ว ศิษย์จะได้บริสุทธิ์จากกรรมนั้น

การลงให้ศีลอุโบสถและเทศน์สอนในวันพระ

          หาก ไม่มีกิจจำเป็นถึงที่สุดแล้ว หลวงพ่อไม่เคยขาด แม้ต้องออกกิจนิมนต์นอก วัด เมื่อกลับมาก็จะลงให้ศีลอุโบสถและเทศน์ทันที  จนกระทั่งอายุได้ ๙๐ ปี ความทรงจำเริ่มมีปัญหา อาการอาพาธเริ่มรุมเร้า และประกอบกับการขึ้นลง บันไดธรรมมาสน์ไม่สะดวกเช่นแต่ก่อน หลวงพ่อจึงงดเว้นตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.๒๕๔๐ แต่ทุกวันธรรมสวนะ คณะอุบาสกอุบาสิกาที่มารักษาอุโบสถศีลจะรอกราบ ถวายดอกไม้ไหว้พระที่หน้าหอสวดมนต์ตอนที่หลวงพ่อจะไปโบสถ์ และรอเข้ากราบ หลวงพ่อในกุฏิหลังจากที่หลวงพ่อออกจากโบสถ์มาแล้ว ในโอกาสนั้น ถ้าสุขภาพ เอื้ออำนวย นอกจากหลวงพ่อจะทักทายพูดคุยถามทุกข์สุขแล้ว ท่านก็จะเทศน์สอน สั้น ๆ ตามสมควร ทุกครั้งไป

 

การรับผ้ากฐิน การบวชพระในฐานะพระอุปัชฌาย์ และการบวชเณร

          กิจ เหล่านี้ หลวงพ่อไม่เคยขาด ทำหน้าที่ลงรับผ้ากฐิน และทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์ บวชพระเณรให้ทุกครั้ง แม้กระทั่งในยามอาพาธ จนถึงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ซึ่งเป็นวันที่หลวงพ่ออาพาธหนักและละสังขารในเวลาต่อมา

 

ระมัดระวังคำสอนและการเทศน์สอน ไม่ให้ผิดพลาดไปจากพระไตรปิฎก

          เท่า ที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสฟังหลวงพ่อเทศน์บนศาลาการเปรียญ ท่านระมัดระวังเรื่อง การเทศน์สอน ขึ้นธรรมมาสน์เทศน์จะเทศน์จากใบลานเท่านั้น การเทศน์สอนปาก เปล่าจะพิจารณาเป็นคน ๆ ไป ข้าพเจ้าเคยขออนุญาตอัดเทปคำสอนของท่านเพื่อนำไปให้แม่ฟัง ท่านไม่อนุญาต พร้อมทั้งให้เหตุผลที่ข้าพเจ้าสรุปความได้ว่า... คำ พูดของหลวงพ่อที่สอนคนแต่ละคนนั้น เมื่อรับฟังแล้ว รู้เรื่องแล้ว ก็หาย ไป แต่ถ้ามีการอัดเทปไว้ คนอื่นที่มีสภาวธรรมที่ต่างจากคนที่ฟังจากปากหลวง พ่อ มาเปิดเทปฟัง อาจจะเข้าใจคำสอนของหลวงพ่อ ผิดพลาดไปจากที่พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ ต่อมาภายหลัง ข้าพเจ้ามีโอกาสทราบว่า หลวง พ่อเรียบเรียงหนังสือไว้เล่มหนึ่งชื่อ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จึงสงสัย ว่า หลวงพ่อไม่ยอมอนุญาตให้อัดเทปคำสอนของท่าน แล้วทำไมจึงเขียนหนังสือให้ ปรากฏไว้ หลวงพ่อเมตตาให้คำตอบว่า... นักปราชญ์ท่านนำเอาคำเทศน์ มาขัดเกลาโดยไม่ผิดจากพุทธพจน์หรือคำตรัสของพระพุทธเจ้า ก็มีอยู่ ทำได้

 

และกับอีกสองคำสอนของหลวงพ่อที่ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ยิน...

การพูด ถ้าต้องการให้คนอื่นเข้าใจด้วย ต้องยกคำพูดของพระพุทธเจ้าขึ้นกล่าว

เวลาเป็นครูสอนคนอื่นเขา ก็เอาของจริงพระพุทธเจ้าสอน อย่าเอาที่ไม่ตรงกับกับพระพุทธเจ้าสอน

เคารพพระธรรม

          เมื่อ หลวงพ่อเริ่มอาพาธในปี พ.ศ.๒๕๓๙ ในวันธรรมสวนะจึงสั่งให้พระลูกวัดขึ้นเทศน์แทน พระท่านถือใบลานมา ไม่ถูกต้อง หลวงพ่อนั่งดูอยู่ จึงเอ่ยสอนว่า... ให้ทูนไว้บนบ่า เมื่อก่อนต้องถือทูนหัวมาเลยนะ  และกล่าวสอนญาติโยมว่า... หลวงพ่อไม่เทศน์แล้ว ตอนเทศน์มือถือใบลาน ตอนฟังมือพนม ใช้มือต่างกัน"

 

เคร่งครัดเรื่องวินัย

          หลวงพ่อเคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก ถึงขนาดว่า บางเรื่องแม้จะไม่ผิดธรรมวินัย แต่หลวงพ่อก็จะสำรวมระวังอยู่เป็นนิตย์...

          ครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้านมัสการเกี่ยวกับสิ่งที่รู้จากการปฏิบัติธรรมถวาย หลวงพ่อเมตตาบอกว่า... ไอ้เรื่องแปลก ๆ อย่างนี้ หลาย ๆ อย่างเกิดขึ้นกับหลวงพ่อ แต่หลวงพ่อพูดให้ใครฟังไม่ได้ จะกลายเป็นอุตริมนุสสธรรม

          ไอ เป็น โรคประจำตัวของหลวงพ่อ เวลาเริ่มไอจะมีเสมหะ เมื่อระงับอาการไอด้วยยาไม่ อยู่ ก็จะไอมีเสมหะสะสมไปเรื่อย ๆ และเสมหะก็จะเหนียวมากขึ้น ทำให้หายใจลำบาก เหนื่อย หอบ อาเจียน และเป็น ไข้ แม้เมื่อเริ่มมีอาการไอ พระอุปัฏฐากจะพยายามขอร้อง ให้หลวงพ่อขากเสมหะ ออกมา แต่ท่านก็ไม่เคยยอมทำแม้แต่ครั้งเดียว พระอุปัฏฐากบอกข้าพเจ้า ว่า หลวงพ่อเคร่งครัดในพระวินัย จึงไม่ยอมขากเสมหะ 

ข้าพเจ้าสงสัยว่าผิดวินัยข้อใด ? พยายามหาข้อมูล แต่ไม่พบ จึงนมัสการถามหลวงพ่อ หลวงพ่อตอบว่า... เป็นเรื่องของความระมัดระวัง

พี่ สังวาลเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า ถ้าจะเผาหญ้าในวัด ต้องรอให้หลวงพ่อออกกิจ นิมนต์นอกวัด จึงแอบเผาลับหลังหลวงพ่อ ทั้งนี้เพราะ หลวงพ่อห้ามเผาหญ้าและ ใบไม้แห้ง โดยที่ท่านเมตตาให้เหตุผลว่า... “การเผาหญ้าและใบไม้แห้ง จะทำให้สัตว์เล็ก ๆ ที่อยู่ที่ดิน ที่หญ้า และที่ใบไม้แห้งนั้น ได้รับอันตรายถึงชีวิต

          แว่นตา มี หลายครั้ง ที่ข้าพเจ้าทราบข่าวและบางครั้งก็เห็นเอง มีศิษย์นำแว่นตากรอบทอง มาถวาย เพื่อใช้แทนแว่นตากรอบกระอันเก่า ที่ขาแว่นบีบรัดตรงขมับข้างหูของ หลวงพ่อ หลวงพ่อจะฉลองศรัทธาผู้นำมาถวาย โดยใส่ให้เจ้าของเห็นในขณะ นั้น แล้วหลังจากนั้นจะเก็บใส่กล่อง ไม่เคยหยิบขึ้นมาใช้อีกเลย ภายหลัง ข้าพเจ้าทราบจากอาจารย์วสันต์ กัลย์จารึกว่า ส่วนประกอบของแว่นตาที่เป็นสี ทอง ไม่เหมาะกับสมณะ หลวงพ่อจึงไม่ยอมใช้แว่นตากรอบทอง และหลวงพ่ออธิบาย เพิ่มเติมกับอาจารย์วสันต์ว่า... ไม่บริสุทธิ์ ปลงอาบัติก็ไม่บริสุทธิ์ เพราะยังใส่ติดตัวอยู่ ปลงไม่หลุด

          หูฟัง ประมาณ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๓ หลวงพ่อมีปัญหาเรื่องการได้ยิน คณะศิษย์จึงจัดทำหู ฟังถวาย ต่อมา ในตอนเย็นวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๓ ข้าพเจ้าไปกราบหลวงพ่อ หลวงพ่อเอามือจับหูสายฟังแล้ว ปรารภขึ้นว่า...

 

หลวงพ่อ  ต่อไปคงต้องใช้อย่างนี้ตลอด

ข้าพเจ้า หลวงพ่อได้ยินชัดไหมเจ้าคะ ?

หลวงพ่อ ได้ยิน

 

          ข้าพเจ้า ปกติ หลวงพ่อมีอาพาธ จะไม่เคยบอกลูกศิษย์ มีครั้งนี้ที่หลวงพ่อพูดถึงหูฟัง แต่ จริง ๆแล้ว การใช้หรือไม่ใช้ หลวงพ่อไม่จำเป็นแล้ว แต่ที่หลวงพ่อใช้ เพราะเพื่อ คนอื่น มีคนที่มีทุกข์เป็นจำนวนมากมากราบหลวงพ่อ เขาไม่รู้สภาวะ ก็นมัสการ หลวงพ่อเสียงเบา ๆ ทำให้หลวงพ่อเข้าใจเรื่องไม่ตลอด จะช่วยเหลือหรือให้คำสอนก็ไม่ตรงจุด ประสงค์ หลวงพ่อจึงจำเป็นต้องใช้หูฟัง เพื่อประโยชน์ผู้อื่น เจ้าค่ะ

 

หลวงพ่อ ต้องใช้เพื่อผู้อื่น แต่หลวงพ่อก็ต้องไม่หลง หลงกับความก้าวหน้าของเครื่องใช้ ต้องพยายามอย่าให้หลงนะ

          วิทยุเทป มีศิษย์นำวิทยุเทปมาถวายและทดลองวิธีใช้ถวายให้หลวงพ่อดู หลวงพ่อบอกว่า... เครื่องเคราที่เอามาให้ จะทำให้เป็นพระทรงเครื่อง คือชาวบ้านมีอะไร พระก็มีอย่างนั้น หลวงพ่อไม่หลง ให้มาก็ไม่หลง

          กระดิ่ง โดย ปกติหลวงพ่อจะไม่ส่งเสียงดังหรือตะโกนเรียกพระเณร ท่านจะใช้วิธีสั่นกระดิ่ง ทองเหลืองที่มีด้ามจับ เป็นที่รู้กันว่า ถ้าได้ยินเสียงกระดิ่งดังขึ้น พระ เณรที่อยู่ ๆ บริเวณนั้น จะรีบเข้าไปรอรับคำสั่งจากหลวงพ่อ แต่เมื่อหลวงพ่อย้ายลงมาที่ กุฏิเรือนไทยแล้ว พระอุปัฏฐากต่อกริ่งไฟฟ้าถวาย หลวงพ่อจึงใช้กริ่งไฟฟ้า ใน เวลาที่จะเรียกพระเณรมาพบเพื่อรับคำสั่ง แต่ในเวลาหลังฉันจังหันและฉัน เพล ก็ยังใช้สั่นกระดิ่งทองเหลือง เรียกพระเณรให้มาลำเลียงอาหารจากโต๊ะฉัน ในกุฏิออกไปฉันกัน

กตัญญูกตเวทิตาต่อผู้มีพระคุณ 

          เรื่อง นี้ ได้เขียนไว้แล้วเป็นช่วง ๆ ในส่วนประวัติ หลวงพ่อจะหาโอกาสแสดงกตเวทิตาต่อผู้มีพระคุณ อันได้แก่ โยม ผู้หญิง โยมผู้ชาย พระอุปัชฌาย์ ครูบาอาจารย์ ฯลฯ

          โดย เฉพาะเพื่อตอบแทนคุณพระพุทธศาสนา และพุทธบริษัทที่เข้าวัดเอื้อประโยชน์แก่ พระพุทธศาสนา วัด และภิกษุสามเณร ทำให้หลวงพ่อทุ่มเทปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ เพื่อการสืบทอดพระพุทธศาสนา แม้ในยามอาพาธและเจริญอายุถึง ๙๔ ปี หลวงพ่อก็ยังทำหน้าที่ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาไม่มีคำว่าเหนื่อย และ หน้าที่ที่สำคัญของท่านก็คือ การอบรมหล่อหลอมศิษย์กรรมฐานให้เข้าถึงแก่นแท้ ของพระพุทธศาสนา เจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมไปตามกำลังความสามารถของแต่ ละคน

          งาน สร้างคนเป็นงานที่ยาก ดังนั้น งานสร้างนักกรรมฐานที่งามพร้อมนั้น ย่อมเป็น งานที่ยากกว่าอย่างประมาณไม่ได้ แต่หลวงพ่อก็พยายามอย่างไม่หยุดยั้ง ศิษย์ แต่ละคน กว่าจะปั้นให้งามพร้อมได้นั้น ต้องใช้ความละเอียด ความประณีต ความ อดทน และเวลาอันยาวนาน บางครั้ง ศิษย์บางคนก็หลงหลุดออกไปอย่างน่า เสียดาย บางคนก็ปั้นยาก แต่หลวงพ่อไม่เคยท้อถอย เพราะเป็นงานที่เต็มใจ ทำ เพื่อแสดงกตเวทิตาต่อพระพุทธศาสนาและพุทธบริษัท และ นอกจากนี้ ผลงานที่เริ่มปรากฏผลจากความเพียรพยายามของศิษย์กรรมฐานจำนวน หนึ่ง ก็เป็นกำลังใจให้หลวงพ่อเบาใจได้ว่า ต่อไปภายหน้า หลวงพ่อทิ้งสังขาร ไปแล้ว ศิษย์เหล่านี้ นอกจากพอจะเอาตัวเองรอดได้แล้ว ยังจะเป็นกำลังช่วยทำ หน้าที่สืบทอดพระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้อง... สมดังเจตนาของหลวงพ่อ


เมตตา 

          เมตตาของหลวงพ่อที่มีให้แก่ศิษย์และผู้มากราบนั้นประมาณไม่ได้ ดังที่หลวงพ่อเคยบอกกับข้าพเจ้าว่า... ใครมาหาหลวงพ่อ ขอให้หลวงพ่อช่วย ถ้าช่วยได้ หลวงพ่อจะทำทันที จะได้ไม่ต้องมาพูดว่า เสียใจ ในภายหลัง

          เมตตาในการให้คำสอน ใน การให้การอบรมสั่งสอน หลวงพ่อไม่เคยพิจารณาแยกแยะศิษย์ ว่ามีฐานะ ไม่มี ฐานะ เคยถวายลาภสักการะหรือไม่เคยถวายลาภสักการะ ท่าจะเมตตาให้คำสอน คำ เตือน แก่ทุกคนที่เข้ามาหา เสมอหน้าทัดเทียมกันหมด

          ข้าพเจ้าเคยนมัสการถามหลวงพ่อว่า... หลวงพ่อเจ้าขา การที่ลูกมาขอเป้นศิษย์ปฏิบัติธรรมและขอคำสอนจากหลวงพ่อ จะทำให้หลวงพ่อเหนื่อยเกินไปหรือไม่เจ้าคะ ? หลวงพ่อเมตตาตอบว่า... พูดธรรมะ พูดได้ทั้งวัน ไม่เหนื่อย

          เมตตาอนุเคราะห์ผู้มีทุกข์ ไม่ ว่าผู้มากราบจะมีทุกข์ใด หลวงพ่อพอจะช่วยได้ ท่านจะทำทันที จะด้วยการให้ สติ ให้กำลังใจ ให้คำเตือน พรมน้ำมนต์ เสกน้ำมนต์ ฯลฯ ตามควรแก่บุคคลและ เหตุการณ์

          ใน วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๔ มีลูกศิษย์มาปรึกษาปัญหากับหลวงพ่อว่า สามีของเขาได้รับ จดหมายจากคนที่ไม่รู้จัก แต่ผู้ส่งเขาบอกชื่อ-สกุล-ที่อยู่และหมายเลข โทรศัพท์ติดต่อของเขามาด้วย ในจดหมายกล่าวถึงนิมิตของผู้ส่งจดหมายมา นิมิต นั้นเกี่ยวเนื่องกับสามีของผู้ถาม ลักษณะจดหมายเป็นแบบฟอร์ม เว้นที่ว่างไว้ เติมข้อความ พร้อมที่จะส่งให้คนอื่น ๆ อีกได้ โดยใส่ชื่อ-สกุลของผู้รับตรงช่องว่างที่เว้นไว้ ผู้ถามอ่านเนื้อความ ในจดหมาย แล้วถามหลวงพ่อว่า เขาควรทำอย่างไรดี ? ข้าพเจ้าตั้งใจฟังตามและคิดว่าเรื่องนี้ ถ้าหลวงพ่อเมตตาก็จะต้องพูดอธิบาย แต่ตอนนี้หลวงพ่อไม่พูดและไม่สอนทาง กายหยาบแล้ว นอกจากจะจำเป็นจริง ๆ ข้าพเจ้าคิดว่า หลวงพ่อจะเมตตาผู้ถามอย่างไรหนอ ? หลวงพ่อฟังแล้วนิ่งอยู่พักใหญ่ จึงพูดขึ้นว่า... เลิก เว้นไปนิดหนึ่ง แล้วย้ำว่า... เลิก เลิก แค่ คำสอนคำเดียวนี้ สรุปทางปฏิบัติตนให้แก่ผู้ถามได้อย่างชัดแจ้ง รวมถึงผู้ อื่นที่นั่งฟังอยู่ด้วย ก็ได้รับประโยชน์จากคำสอนนี้ตามสมควรแก่ตนโดยถ้วน หน้ากัน

          หลาย ครั้ง ที่ข้าพเจ้าและเพื่อน ๆ มากราบหลวงพ่อแล้วหลวงพ่อออกกิจนิมนต์ พวกเราทราบว่ามีกิจนิมนต์ติดต่อ มา ตั้งแต่เย็นวันศุกร์ วันเสาร์ และวันอาทิตย์ กิจนิมนต์ฉันบ้าง พุทธา ภิเษกบ้าง แต่ละแห่งที่ไป บางครั้งก็จะเป็นต่างจังหวัดไกล ๆ ต้องใช้เวลาในการเดินทางนานหลายชั่วโมง พอกลับถึงวัดก็มีญาติโยมมานั่งรอ ที่กุฏิ รอเจิมรถบ้าง พรมน้ำมนต์บ้าง ระบายทุกข์บ้าง ขอความช่วยเหลือ บ้าง ฯลฯ ดังนั้น พอลงจากรถ ท่านก็จะทำหน้าที่เหล่านั้นทันที จนผู้ที่มารอ ทุกคนกลับไป หลวงพ่อจึงจะมีโอกาสนั่งพัก ฉันน้ำปานะ และให้เวลาตอบคำถาม ธรรมะแก่ข้าพเจ้าและเพื่อน จนเพื่อนข้าพเจ้าทนไม่ได้ นมัสการถามหลวงพ่อไป ว่า... หลวงพ่อเหนื่อยไหมเจ้าคะ ? หลวงพ่อให้คำตอบว่า...

ทำด้วยความไม่หนักใจ ไม่เหนื่อย

เหนื่อยกายก็ไม่เป็นไร อย่าเหนื่อยใจ เห็นอย่างนี้ เคยได้ยินหลวงพ่อบ่นเหนื่อยไหม ?

หลวงพ่อไม่เคยพูดคำว่าเหนื่อย ทำด้วยความยินดี ทำเสร็จเหนื่อย ขณะทำไม่เหนื่อย

          เมตตาต่อพระเณรลูกวัด หลวง พ่อจะเอาใจใส่สอดส่องดูแลพระเณรในวัดในทุก ๆ เรื่อง เมื่อมีเรื่องที่เริ่มจะไขว้เขวออกนอกลู่นอกทาง ก็จะอบรมสั่งสอนเป็นส่วน ตัว หรือบางครั้งก็อบรมสั่งสอนทั้งวัด ตลอดถึงเรื่องอาหารการขบฉันก็เป็น ห่วงใย เรียกพระเณรขึ้นมาฉันรวมกัน และจะแบ่งปันอาหารส่วนที่ญาติโยมมาถวาย หลวงพ่อให้ ในขณะที่อาพาธ พระอุปัฏฐากต้องใช้เวลาดูแลหลวงพ่อในขณะฉัน แม้ หลวงพ่อจะเริ่มใช้เวลาในการฉันเพลนานกว่าเดิม เพราะการใช้มือเริ่มมีปัญหา และการขบเคี้ยวไม่สะดวกนัก แต่ท่านก็จะคอยดูเวลาไม่ให้เกินกว่า ๑๑.๓๐ น. ท่านจะสั่นกระดิ่งให้พระอุปัฏฐากมาลำเลียงอาหารออกไปฉัน และที่ข้าพเจ้า สังเกตเห็น ปิ่นโตอาหารของร้านแม่บ๊วยที่มาถวายเพลทุกวันนั้น เป็นอาหารที่ หลวงพ่อเว้นไว้ไม่ฉัน เพื่อสงวนไว้ให้พระอุปัฏฐาก

          ก่อน ที่หลวงพ่อจะเริ่มอาพาธ ท่านมีดำริที่จะนำปัจจัยส่วนตัวของท่านทั้งหมด มา ดำเนินการจัดตั้ง มูลนิธิพระครูสุมนคณารักษ์ ขึ้น เพื่อนำดอกผลจากมูลนิธิไปช่วยเหลือพระภิกษุและสามเณรในวัดในด้านการ ศึกษาและการรักษาพยาบาล โดยมุ่งหวังที่จะรักษาปัจจัยก้อนนี้ไว้ให้แก่ผู้ อยู่หลัง หลวงพ่อพูดไว้เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๐ ว่า... ปี ใหม่ เป็นเทศกาลที่สมมุติกันขึ้น ที่ควรพิจารณาก็คือแก่ขึ้นไปอีกปี มี โครงการที่เกิดขึ้นคือเรื่องมูลนิธิ นิธิ แปลว่า ขุมทรัพย์ แต่ก็ไม่บอกบุญ เรี่ยไร...

          แม้ การจัดตั้งมูลนิธิจะไม่สำเร็จตามที่หลวงพ่อตั้งใจไว้ แต่ทุกคนก็ได้รับรู้ ถึงความรับผิดชอบห่วงใย ที่หลวงพ่อมีต่อพระเณรในวัดสวนหงส์ ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต

          เมตตาต่อทุกชีวิตในวัด เมื่อ หลวงพ่อมีอายุมากขึ้น วันใดที่ข้าพเจ้าไปกราบหลวงพ่อตอนเพล ข้าพเจ้าจะคอย สังเกตการณ์ฉันของท่าน ถ้าเห็นท่านฉันน้อย ข้าพเจ้าจะนมัสการว่า... วันนี้หลวงพ่อฉันน้อย ท่านตอบว่า... มี คนเล่าให้หลวงพ่อเนียมฟังว่า พระองค์นั้นองค์นี้ฉันมื้อเดียว หลวงพ่อเนียม บอก แล้วแมวหมาจะกินอะไร ? ... หลวงพ่อฉันคอยไปอย่างนั้นเอง

 

          หลวงพ่อยอมละวัตรปฏิปทาเรื่องฉันมื้อเดียว เพื่ออนุเคราะห์ให้พระเณรและทุกชีวิตในวัดสวนหงส์ มีอาหารเพียงพอแก่การดำรงอยู่โดยไม่ลำบากยากแค้นจนเกินไป

          เมื่อ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ เป็นวันพระ หลวงพ่อแบ่งข้าวและกับใส่จานวางไว้ที่โต๊ะฉันใน กุฏิ แล้วบอกกับพระอาจารย์ไพศาลที่เป็นพระอุปัฏฐากว่า ต้องการให้อาหารนี้ แก่สุนัขตัวผู้ พระอาจารย์ไพศาลขออนุญาตนำออกไปให้สุนัขเอง 

          หลวง พ่อไม่ยอม พระอาจารย์ไพศาลเดินออกไปหาสุนัขใกล้ ๆ กุฏิหลวงพ่อ ก็มีแต่สุนัขตัวเมียไม่ตรงจุดประสงค์ของหลวงพ่อ และเนื่องจาก วันนี้เป็นวันพระ สุนัขส่วนมากจะไปอยู่แถวศาลาการเปรียญกัน ข้าพเจ้าจึง เรียนพระอาจารย์ไพศาลว่าจะไปหาสุนัขตัวผู้ในวัดมาให้ ขอให้ท่านอยู่ดูแลหลวง พ่อ

          ข้าพเจ้า เคยเห็นมีสุนัขหลายตัวอยู่แถว ๆโบสถ์ จึงตั้งใจจะไปอุ้มลูกสุนัขตัวผู้ที่อยู่แถวโบสถ์มา แต่ขณะที่เดิน ผ่านกุฏิพระอาจารย์ประสิทธิ์ ข้าพเจ้าเห็นสุนัขสีดำตัวหนึ่งนอนอยู่ จึงสอบ ถามท่านและแจ้งความประสงค์ของหลวงพ่อให้ท่านทราบ ท่านจึงให้เด็กวัดอุ้ม สุนัขตัวนั้นซึ่งเป็นตัวผู้ไปให้ที่หน้ากุฏิหลวงพ่อ หลวงพ่อถือจานข้าวออกมา เทใส่กะละมังให้สุนัขด้วยตัวของท่านเอง ทีแรกข้าพเจ้าคิดว่า สุนัขคงจะไม่ หิวและต้องไม่กินข้าวของหลวงพ่อแน่นอน เพราะวันนี้เป็นวันพระ หมาแมวในวัดจะ ได้กินอิ่มขนาดที่มานอนผึ่งแดดพุงกางกันทุกตัว แต่ความคาดหมายของข้าพเจ้า ผิดพลาด มันกินข้าวที่หลวงพ่อเก็บไว้ให้จานใหญ่นั้นจนเกือบหมด เด็กวัดที่ อุ้มสุนัขมาส่ง แก้ความสงสัยให้ข้าพเจ้าว่า... สุนัขตัวนี้ตาบอดและมันยังไม่ได้กินข้าว

ยินดี อดกลั้น อดทน 

          เป็นคำสอนที่หลวงพ่อเมตตาถ่ายทอดให้ศิษย์ ได้เห็นคุณประโยชน์ของการรู้จัก ยินดี อดกลั้น อดทน และเป็นคุณธรรมที่หลวงพ่อย้ำบอกว่า... คำสอนนี้ หลวงพ่อใช้ และประจักษ์ผลมาแล้ว ด้วยตนเอง จึงนำมาบอก มาสอน ดังที่หลวงพ่อบอกว่า... เอาอย่างหลวงพ่อซิ ไม่ว่าหนักหนาเท่าใดก็ตาม ก็อดกลั้น อดทน แล้วก็จะเบาบางไปเอง

 

พึ่งตัวเอง

          หลวงพ่อจะบอกกับลูกศิษย์เสมอว่า... หลวงพ่อใช้หลักพึ่งตัวเอง ซึ่งก็เป็นผลที่ได้มาจากกรรมฐาน คุณลักษณะ นี้ นอกจากหลวงพ่อจะอบรมสั่งสอนศิษย์เป็นประจำแล้ว ท่านยังแสดงออกให้เห็นใน วัตรปฏิบัติของท่าน สิ่งใดที่ท่านทำเองได้ ท่าจะไม่เอ่ยปากขอให้ใครทำ ให้ แม้ในยามชราภาพ การเคลื่อนไหวเริ่มลำบาก ถ้าศิษย์พยายามเข้าประคับ ประคอง ก็จะถูกดุ ซึ่งหลวงพ่อจะบอกเสมอว่า... ให้สังขารเขาบริหารกันเอง เดี๋ยวจะเคยตัว ขาดคนประคับประคอง ก็จะทำอะไรไม่ได้

 

แม้เมื่อเริ่มอาพาธก็ปรารภกับศิษย์ว่า... ตัวหลวงพ่อเอง ก็ได้แต่ว่า อย่าเจ็บ อย่าเจ็บ คนอื่นจะได้ไม่ต้องมาคอยดูแลหลวงพ่อให้เป็นภาระ

 

ไม่เอ่ยปากขอ

          เรื่องการเอ่ยปากขอให้ญาติโยมช่วยเหลือการงานในวัดนั้น หลวงพ่อจะไม่ทำเด็ดขาด ท่านจะบอกว่า... ให้รู้สึก และ ทำเอง จะได้บุญมากกว่า

          ครั้ง หนึ่งข้าพเจ้ารอรับพรหลังจากที่หลวงพ่อฉันเพลแล้ว มีผู้ชานสองคนมากราบเรียน หลวงพ่อเรื่องการก่อสร้าง ที่จะล้อมที่วัด (ซึ่งมีผู้บริจาคให้วัดสวนหงส์ ไว้ และขณะนั้นมีคนเช่าทำนาอยู่) ว่าเขาเปิดทางออกไว้ให้แล้ว แต่จะมีปัญหา ตรงที่ของวัดตรงนั้นจะเป็นที่ลุ่ม เพราะเขาถมที่ก่อสร้างขึ้นมาสูง ทำให้ที่ วัดตรงนั้นเป็นแอ่ง เขานมัสการถามว่า... หลวงพ่อจะให้จัดการอย่างไรบ้างนอกเหนือไปจากนี้ ? หลวงพ่อตอบว่า... ที่ของตัวเองจะทำอะไรก็ทำไป ที่ของวัดวัดแก้ไขเองได้

          บ่อย ครั้งที่ข้าพเจ้าถวายเพลแล้ว จะช่วยพี่สังวาล (ซึ่งมีอายุมากและการเคลื่อน ไหวเริ่มเชื่องช้าและลำบาก) ดูแลจัดสำรับพระและเก็บกวาด หลวงพ่อคงจะสังเกต เห็นมาสักระยะแล้ว วันหนึ่ง ท่านพูดกับข้าพเจ้าว่า... มาทำบุญก็ได้บุญ ช่วยจัดการเรื่องอาหารก็ได้บุญ เรียกว่าไวยาวัจมัย ได้บุญสองต่อ

          ไม่เรียกร้องให้ญาติโยมมาหา  เมตตาให้ความช่วยเหลือ แต่ไม่เคยบอกว่า นี่คือสิ่งที่หลวงพ่อช่วยเหลื

          ตลอด เวลาที่ข้าพเจ้ามาวัด มีผู้คนมากมายมากราบหลวงพ่อ ท่านก็จะคุยด้วยตามปกติ อุปนิสัยของท่าน คือตอบคำถามที่ถาม ถ้าคำถามนั้นสมควรตอบ หรือบางครั้งก็จะ นิ่งเฉย แต่หากเป็นเรื่องของธรรมะ หรือ เรื่องของการปฏิบัติธรรม ก็จะตอบตาม ขอบเขตและตามกำลังความสามารถของผู้ถาม เมื่อญาติโยมแต่ละชุดเอ่ยคำนมัสการ กราบลา ข้าพเจ้าจะเห็นเพียงหลวงพ่อแสดงอาการรับรู้ แต่ไม่เคยได้ยินแม้แต่ ครั้งเดียว ที่หลวงพ่อจะเอ่ยปากว่า... แล้วมาใหม่นะ

          ญาติ โยมจำนวนมากที่มีทุกข์ ไม่ว่าจะเรื่องครอบครัว เศรษฐกิจ หน้าที่การงาน เจ็บ ไข้ได้ป่วย ฯลฯ มากราบนมัสการความทุกข์เหล่านั้นถวายให้หลวงพ่อฟัง ท่านก็รับฟังด้วย ความสงบ แล้วให้ความอนุเคราะห์ตามความเหมาะสมและเท่าที่ควรจะทำ เรื่องใดที่ สอนได้ก็สอน ให้สติได้ก็ให้สติ เตือนได้ก็เตือน และกับอีกหลายหลากวิธี ที่ หลวงพ่อเมตตาผู้คนเหล่านั้น แต่ข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินหลวงพ่อกล่าวว่า... จะช่วย หรือบางครั้ง เมื่อผู้ที่มาขอความเมตตาจากหลวงพ่อ เล่าเรื่องทุกข์ร้อนจบ หลวงพ่อจะบอกเพียงว่า... เอ้า ! รับพร  

          เวลา ผ่านไป เมื่อผู้มีทุกข์เหล่านั้นหมดเหตุแห่งทุกข์แล้ว ย้อนกลับมากราบหลวง พ่อ หลวงพ่อก็ไม่เคยเอ่ยทักถามถึงทุกข์ที่เขาเคยมีและผ่านพ้น-ไปแล้ว นั้น ว่าเป็นเช่นไร ? ไม่เคยมีคำพูด เพื่อให้รำลึกถึงบุญคุณที่ผ่านมา มีแต่สายตาแห่งความเมตตา ที่จะเอื้อให้ต่อไปเท่านั้น


ให้กำลังใจแก่พระเณรในการทำงานวัด

          ประมาณ ปี พ.ศ.๒๕๓๘ หลวงพ่อเกณฑ์พระเณรไปพัฒนาทำความสะอาดบริเวณสุขาเก่าที่อยู่ตรง ข้ามกับเมรุ และอีกครั้งให้พระเณรขุดลอกบ่อริมแม่น้ำตรงหน้าศาลาการ เปรียญ ทั้งสองครั้งที่ข้าพเจ้าเห็น หลวงพ่อจะนั่งดู ยืนดู ให้กำลังใจแก่ พระเณรที่ทำงาน จนงานเสร็จเรียบร้อย พระเณรแยกย้ายกันไปหมดแล้ว ท่านจึงจะ กลับขึ้นกุฏิ แต่ละครั้งใช้เวลาไม่ใช่น้อย สองถึงสามชั่วโมง ครั้งทำความ สะอาดสุขาเก่านั้น ลงพัฒนากันตั้งแต่บ่ายโมงกว่า ๆ เรียบร้อยประมาณสามโมงเย็น ขณะนั้นหลวงพ่อมีอายุได้ ๘๘ ปี

 

ใส่ใจในความทุกข์ของศิษย์

          โดย ปกติแล้ว คนทั่วไปจะเห็นหลวงพ่อเหมือนพระสูงอายุที่มีสุขภาพไปตามวัย หลวง พ่อจะดูเหนื่อย ไม่พูด ไม่คุย ไม่ทัก อยู่กับความนิ่งเฉยเสียเป็นส่วน ใหญ่ จนบางครั้งศิษย์ที่ใกล้ชิดก็เกือบจะคิดเหมือนเช่นนั้น หากแต่ว่า ในยาม ใดที่ศิษย์มีเรื่องทุกข์ใจมาก ๆ ชนิดที่ว่าจะทนไม่ไหวแล้ว แม้จะไม่เอ่ยปากบอกหลวงพ่อ แต่วันนั้น หลวงพ่อจะ เปลี่ยนแปลงไปจากปกตินั้น ดูแจ่มใส แข็งแรง พูดคุยทักทาย จนเป็นโอกาสเปิด ให้ศิษย์คนนั้นได้ระบายความทุกข์ให้หลวงพ่อฟัง แล้วหลวงพ่อจะให้สติให้คำ สอน เพื่อเป็นแนวทางแก่ศิษย์คนนั้น หากแม้ว่าเรื่องทุกข์ใจของศิษย์คน นั้น เป็นเรื่องที่เขาไม่ต้องการให้ผู้อื่นล่วงรู้ ในวันนั้นจะไม่มีศิษย์ อื่นเลย หรือถ้ามี ศิษย์เหล่านั้นก็จะไปอยู่ที่อื่น เช่น นอกกุฏิหลวงพ่อ ใน โบสถ์ ฯลฯ

 

ความประหยัด ความละเอียด ความรอบคอบ การตรวจตราบริเวณวัด

          โดย ปกติหลวงพ่อจะออกเดินตรวจตราบริเวณวัด วันละประมาณสองครั้ง เป็นกิจที่หลวง พ่อเอาใจใส่ดูแลทุกอย่างในวัด โดยออกเดินไปรอบ ๆ บริเวณวัด เมื่อเห็นสิ่งใดผิดปกติ หรือไม่เรียบร้อย ก็ดำเนินการแก้ไข ทันที หรือบางครั้งก็จะออกเดินสำรวจรอบนอกใกล้ ๆ วัด เมื่อเริ่มอาพาธก็จะลดลงเหลือวันละครั้ง พระอุปัฏฐากจะเข็นรถพาหลวงพ่อ ไปรอบ ๆ วัดในตอนเย็นหลังจากที่หลวงพ่อไปไหว้พระที่โบสถ์และไหว้รอยพระพุทธบาทที่ มณฑป จึงเป็นโอกาสที่หลวงพ่อได้ตรวจตราดูรอบ ๆ บริเวณวัดไปในตัว

          วัน ที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๘ ข้าพเจ้าไปวัด ขณะนั้นหลวงพ่อเดินอยู่ตรงบริเวณถนนหลัง วัด (คือถนนหน้าวัดในปัจจุบัน) เมื่อหลวงพ่อกลับมาก็เล่าให้ฟังว่า... หลวง พ่อเดินไปดูท้ายวัด ถามข่าวคราวคนอยู่ท้ายวัดบ้าง เห็นหมานอนกันเกลื่อน กลาด ถ้าเป็นอีสานหรือทางเหนือ ไม่มีเหลือ ถ้าพวกนั้นมาเห็นละน้ำลายหก นี่ ! บุญนำมาให้เกิด

          และ อีกครั้งหนึ่ง ประมาณปี พ.ศ.๒๕๔๑-๒๕๔๒ หลวงพ่อไปเห็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ที่ซุ้มพระพุทธรูปบน เจดีย์อัฐิหลวงพ่อแก้วใหญ่หลังโบสถ์หายไป ๑ องค์ ท่านสั่งให้พระอุปัฏฐากเข็นรถกลับมาที่หอสวดมนต์ ขึ้นไปเลือกพระพุทธ รูปถือมาด้วยตัวเอง แล้วนำไปประดิษฐานแทนองค์เดิมที่หายไปทันที

          ประมาณ ต้นปี พ.ศ.๒๕๔๓ พระอุปัฏฐากเข็นรถหลวงพ่อไปทางร้านก๋วยเตี๋ยว เดิมมีบ้านที่เช่า ที่วัดหมดสัญญาเช่า และทำสัญญากับทางวัดว่าจะรื้อถอนให้เสร็จสิ้นภายในปี พ.ศ.๒๕๔๓ ยังคงเหลืออีกสามหลังคาเรือน ในวันนั้น มีหลังหนึ่งที่เพิ่งรื้อ ถอนไปเสร็จไปใหม่ ๆ หลวงพ่อบอกให้พระอุปัฏฐากหยุดรถดูอยู่นาน พอดีมีโยมผู้หญิงที่พักอาศัย อยู่ที่บ้านหลังที่ยังไม่ได้รื้อถอนเดินกลับมาจากตลาด เขานมัสการถึงเจ้าของ บ้านหลังที่รื้อถอนไปว่าชื่ออะไร รื้อถอนไปอยู่ที่ไหน จบแล้ว จึงนมัสการ หลวงพ่อต่อไปว่า... ของฉัน ซื้อที่ไว้แล้ว แต่เศรษฐกิจไม่ดี ยังมีเงินไม่พอ จะรื้อถอนในตอนนี้ก็ยังทำไม่ได้ คงต้องขอผัดไปก่อน หลวงพ่อตอบไปทันทีว่า... ผัดผ่อนกันได้

          ครั้ง หนึ่ง กำลังมีการซ่อมแซมกุฏิพระ มีเศษไม้ทิ้งไว้เกะกะ หลวงพ่อเดินไปเห็น เข้า จึงสั่งพระเณรให้ช่วยกันเก็บมารวม ๆ กันให้เป็นที่ แล้วบอกว่า... เพื่อให้ช่างมาเลือกไปใช้ได้ แม้แต่เสาเก่า ๆ ท่านก็จะบอกว่า... ถ้าสั้นไปก็เอามาต่อกันให้ยาวได้ ในบางครั้งที่ท่านเห็นอะไรรกเกะกะไม่เรียบร้อย ก็จะเรียกพระเณรมาช่วยกันดูแลเก็บงำให้เป็นระเบียบเรียบร้อย แล้วสอนว่า... ที่เหละหละนั้น หายได้เพราะความเรียบร้อย

          ข้าพเจ้า เคยเห็นต้นมะกรูดหลายต้นในวัด ที่เมรุ ข้างศาลาการเปรียญ ข้ากุฏิหลวง พ่อ ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๔๕) เหลือที่เมรุแห่งเดียว นอกนั้นตายหมดเมื่อครั้งน้ำ ท่วมในปี พ.ศ.๒๕๓๗ และ พ.ศ.๒๕๓๘ ข้าพเจ้าไม่เคยใส่ใจมากนัก วันหนึ่งข้าพเจ้าเห็นใบ มะกรูดวางอยู่ที่หน้าพระบนกุฏิหลวงพ่อ จึงนมัสการถาม หลวงพ่อตอบว่า... หลวงพ่อปลูกไว้ตรงโน้น (ชี้ไปที่ศาลาการเปรียญ) สองต้น ตรงเมรุอีกหลายต้น สองสามต้น เผื่อคนเสียใจเป็นลม จะได้เด็ดใบขยี้ดม

          ต้น การะเวกที่ขึ้นปกคลุมยาวตลอดแนวหลังคาห้องสุขา เป็นภาพที่ข้าพเจ้าเห็นจำเจ ติดตา แต่ก็ไม่เคยเห็นความสำคัญหรือความจำเป็นที่มันจะต้องมาอยู่ตรงนั้น เลย มันก็แค่ต้นไม้ธรรมดา ๆ เท่านั้นเอง

          จน กระทั่งหลวงพ่ออาพาธ และหลังจากนั้น เวลาที่พระอุปัฏฐากพาหลวงพ่อไปไหว้พระ ในทุก ๆ เย็น ข้าพเจ้าสังเกตเห็นเณรเก็บดอกการะเวกมาวางไว้ที่ฝาโอ่งน้ำมนต์ ประมาณ ๓-๔ ดอก เพื่อถวายให้หลวงพ่อนำไปไหว้พระที่ในโบสถ์ มณฑป และในกุฏิ ข้าพเจ้าจึง เริ่มคุ้นเคยกับดอกการะเวกมากขึ้น เพราะวันใดที่เณรยังไม่เก็บดอกการะเวกมา วางไว้ที่ฝาโอ่งน้ำมนต์ ข้าพเจ้าก็จะทำหน้าที่นั้นแทน

          เมื่อ หลวงพ่อละสังขารไปแล้ว ข้าพเจ้ามาทบทวนเรื่องต้นมะกรูด จึงพิจารณาถึงเหตุ ที่หลวงพ่อปลูกต้นการะเวกคลุมทับหลังคาห้องสุขาไว้ได้ว่า ดอกการะเวกจะส่ง กลิ่นหอมในตอนเย็น ยิ่งมีดอกมากกลิ่นหอมก็จะอบอวลไปทั่ว ผู้ที่มากราบหลวง พ่อในตอนเย็นส่วนมากจะอดใจไม่ได้ ต้องแวะเวียนไปใกล้ ๆ เพื่อดมกลิ่น หรือบางคนก็ขออนุญาตเด็ดมาดม ความแยบคายละเอียดลออของหลวงพ่อ ก็ตรงที่ ห้องสุขาในเวลาเย็นนั้นกลิ่นจะฉุนรบกวนจมูก เพื่อดับกลิ่นนี้ ต้น การะเวกจึงต้องเจาะจงมาปกคลุมอยู่ตลอดแนวหลังคาห้องสุขา

          ใน ปี พ.ศ.๒๕๓๘ น้ำท่วมมาก เมื่อน้ำเริ่มลดลงจนระดับน้ำเรี่ย ๆ จะเสมอกับพื้นดิน หลวงพ่อให้เณรปังไปวัดความลึกของแอ่งน้ำท้ายวัด เณรปังใช้ ไม้ไผ่วัดระดับน้ำแล้วนำไม้ไผ่นั้นมาถวายให้หลวงพ่อดู ถึงระดับความลึกของ แอ่งน้ำนั้น ข้าพเจ้ากราบลากลับบ้านก่อน เหตุการณ์หลังจากนั้นข้าพเจ้าไม่ ทราบและไม่ได้ติดตามถามเรื่องราว แต่ภายหลังข้าพเจ้าทราบจากพระชาติ ว่า... หลวงพ่อให้พระเณรขนถุงทรายที่ทำเป็นคันกั้นน้ำที่ถนนหน้าโบสถ์มาทิ้ง ลงไปในแอ่งน้ำนั้น เพื่อให้ปลาหรือสัตว์น้ำที่ยังตกค้างอยู่ในแอ่ง รู้สึก ตัว ขยับตัวเองให้สูงขึ้นมา จะได้ลอยตัวขึ้นมาพ้นจากแอ่งน้ำ ออกสู่แม่น้ำไป ได้ ไม่ต้องตกคลักตายอยู่ในแอ่งน้ำนั้น


อาจารย์จาบ สุวรรณ
การสอนกรรมฐาน

          พระ มหาปลื้ม เพียรพยายามศึกษาด้านปริยัติ จนสามารถสอบได้เปรียญธรรม ๔ นักธรรมเอก ใช้เวลาศึกษาในสำนักวัดมหาธาตุยุวราชรัง สฤษฎิ์ กรุงเทพฯ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๕ ถึง พ.ศ.๒๔๗๖ รวมเวลา ๑๑ ปี แล้วตัดสินใจมาศึกษาทางด้านปฏิบัติกับครูจาบ สุวรรณ สำนักวัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๐ ถึง พ.ศ.๒๔๘๓ ใช้เวลา ๓ ปี ครูจาบ สุวรรณ จึงทำพิธียกไตรให้เป็นอาจารย์สอนกรรมฐาน

          นับ แต่นั้นมา พระมหาปลื้มจะมีวัตรปฏิบัติในด้านกรรมฐานอย่างสม่ำเสมอมาโดยตลอด และแก่กล้าขึ้นตามลำดับ แต่ก็ยังไม่ยอมเปิดเผยตัวเอง และยังไม่รับศิษย์ กรรมฐาน ปกปิดไว้นานเกือบยี่สิบปีนับจากที่ได้รับยกไตรมา ข้าพเจ้าได้มี โอกาสคุยกับอดีตศิษย์วัดสวนหงส์ท่านหนึ่งชื่อคุณเสนาะ  คุณเสนาะเล่าว่า... เป็นศิษย์วัดสวนหงส์ในช่วงปี พ.ศ.๒๔๙๐ ถึง พ.ศ.๒๔๙๕ ไม่เคยทราบเลยว่าหลวงพ่อเป็นพระกรรมฐาน

เหตุการณ์ตอนนี้หลวงพ่อเล่าให้ฟังว่า...

ได้เป็นครูสอนกรรมฐาน แต่หลวงพ่อก็ปกปิดตัวเองอยู่ไม่เปิดเผย

ตอนนั้นการศึกษาปริยัติกำลังเฟื่องฟู ครูบาอาจารย์เก่า ๆ ต้องลำบากมาก ต้องอดทน อย่างเช่นหลวงพ่อสด

เมื่อ หลวงพ่ออยู่วัดปราสาททอง หลวงพ่อปิดเงียบ ไม่มีใครรู้ว่าหลวงพ่อเป็นครูกรรม ฐาน ที่เปิดเผยก็เมื่อมาอยู่วัดสวนหงส์ มีคนจีนชื่อเมี่ยกิ้มมานั่งกรรมฐาน กับหลวงพ่อ ก็ต้องเปิดเผยแต่นั้นมา

 

สำนักวัดสวนหงส์

          ก่อนจะมาเป็นสำนักปฏิบัติธรรมวัดสวนหงส์ มี ความสืบเนื่องมาจากสำนักวัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระมหา ปลื้มในขณะนั้นตัดสินใจหยุดทำหน้าที่ครูสอนปริยัติ เข้าฝึกฝนทางกรรมฐานจาก ครูจาบ สุวรรณ ณ สำนักวัดประดู่ทรงธรรม โดยให้เหตุผลว่า ครูปริยัติหาเมื่อไหร่ก็หา ได้ ครูกรรมฐานหายาก 

          เมื่อ ได้รับยกไตรจากครูจาบแล้ว พระมหาปลื้มก็ยังปกปิดตัวเองในเรื่องที่มีความ สามารถสอนกรรมฐานอยู่นาน จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดสวน หงส์ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี คาดว่าประมาณหลังปี พ.ศ.๒๔๙๕ จึงจำเป็นต้องเปิดเผยตัวเองในเรื่องนี้ และหลังจากนั้น พระมหา ปลื้มก็ทำหน้าที่ครูกรรมฐานอย่างทุ่มเทสุดกำลังสืบมาจนถึงวันละสังขาร

ความเป็นมาของสายปฏิบัติ

          ส่วนหนึ่ง สืบ ทอดการปฏิบัติจากสำนักวัดประดู่ทรงธรรม ซึ่งมีหลวงพ่อรอดเสือมาเริ่มฟื้นฟู ขึ้นในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และอีกส่วนหนึ่ง จากการปฏิบัติของครูจาบที่ ศึกษามาจากหลายสำนัก แต่กรรมฐานหลักที่ครูจาบนำมาถ่ายทอดให้ศิษย์ สืบมา จาก หลวงพ่อศรี สุวณฺณโชติ สำนักวัดประดู่ทรงธรรม อำเภอเมือง จังหวัดพระ นครศรีอยุธยา และหลวงพ่อม่วง วัดโบสถ์ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรี อยุธยา ส่วนที่เหนือขึ้นไปกว่าหลวงพ่อม่วงไม่สามารถสืบค้นได้

          ดังนั้น สายปฏิบัติสำนักวัดสวนหงส์ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จึงเป็นผลจากการศึกษากรรมฐานของหลวงพ่อปลื้ม ซึ่งมาจาก ๒ สาย 

          สายแรก รับจากโยมผู้ชายที่ถ่ายทอดและซึมซับคำสอนกรรมฐานของหลวงพ่อเนียมวัดน้อยสุพรรณบุรีให้ท่านไว้ตั้งแต่เป็นเณรน้อยเป็นต้นมา

          อีกสายหนึ่ง รับมาจากครูจาบ สุวรรณ สำนักวัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

          รวมความลงแล้ว กรรมฐาน ที่ครูจาบประมวลมาสอนศิษย์ จะเป็นกรรมฐานที่สืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนานนับมา แต่ครั้งกรุงเก่า เป็นการปฏิบัติที่ใช้สมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปตาม ลำดับ โดยใช้การนั่งสมาธิกำหนดเป็นสมถะ และใช้คำภาวนานำทางปริยัติควบคุม ความก้าวหน้าในธรรมที่อยู่ในคำภาวนานั้น ๆ ซึ่งจะเป็นวิปัสสนาไปในตัว สำหรับคำภาวนานั้น ครูที่ควบคุมกรรมฐานจะ เปลี่ยนให้ศิษย์ตามความก้าวหน้าในธรรม ว่าสมควรอยู่ที่คำภาวนาใดไปตาม ลำดับ คำภาวนาแต่ละคำเรียกว่าห้อง ถ้าเปลี่ยนคำภาวนาเรียกว่าเลื่อนห้อง คำ ภาวนาทุกคำเป็นหลักธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หากดูจากลำดับธรรมแต่ละห้อง ที่สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ แล้ว จะประจักษ์ถึงความสามารถทางปริยัติของครูกรรมฐานที่เป็นต้นกำเนิดการ ปฏิบัติธรรมสายนี้ แม้ผู้ปฏิบัติที่ไม่มีความรู้ทางปริยัติมาก่อนเลย หาก ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ ก็จะเรียนรู้และซึมซับหลักธรรมที่เป็นแก่นของพระพุทธศาสนาได้จากคำ ภาวนา ทำให้การปฏิบัติไม่หลงทางหลุดไปจากคำสอนขององค์พระบรมครูสัมมาสัมพุทธ เจ้า

          ความสมถะของสายปฏิบัติ วิธี การสอนตามสายปฏิบัตินี้ ครูจะสอนศิษย์แบบตัวต่อตัว กรรมฐานของศิษย์แต่ละคน จะรู้ได้ระหว่างศิษย์คนนั้นกับครูเท่านั้น ถือว่าเป็นเรื่องเฉพาะตัว จะไม่ เปิดเผยหรือนำมาพูดคุยกันเลย ไม่มีการเทศน์สอนกรรมฐานเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ครูและศิษย์จะปิดตัวเงียบ ไม่ประกาศตัว ไม่ประกาศสำนัก แต่จะเรียนจะสอน กันไปเงียบ ๆ ดังนั้น การขยายตัวของสำนักจึงเป็นไปอย่างช้า ๆ ไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวางของคนทั่วไป จะรู้จักและมีชื่อรู้กันอยู่ใน กลุ่มเล็ก ๆ เป็นเหตุให้น่าเป็นห่วงว่า การปฏิบัติธรรมกรรมฐานที่มีคุณค่าสายนี้จะ เรียวลงไปเรื่อย ๆ เพราะจำนวนผู้ทำหน้าที่สืบทอดที่มีความสามารถสูงลดน้อยลงไปตามกาลเวลา

          พิธีกรรมในการปฏิบัติ เริ่ม จากผู้ที่ต้องการจะปฏิบัติกรรมฐาน มากราบแจ้งความประสงค์ต่อครูผู้สอน ครู ผู้สอนจะทำพิธียกกระทงกรรมฐานให้ ให้คำภาวนาคำแรก ควบคุมการนั่งกรรมฐานทั้ง ที่นั่งกรรมฐานอยู่กับครูและนั่งกรรมฐานอยู่ที่อื่นซึ่งห่างไกลครู มีการ แจ้งกรรมฐานต่อครู เรื่องที่นำมาแจ้งกรรมฐานต่อครูนั้น แรก ๆ ก็จะเป็นเรื่องนิมิต อันได้แก่ภาพที่เห็นในสมาธิและแสงสีต่าง ๆ รวมไปถึงความฝัน ซึ่งครูจะนำทางให้ศิษย์พิจารณานำนิมิตเหล่านี้ลงในหลักธรรม จนชำนาญ ในเรื่องของนิมิต อาจารย์วสันต์ กัลย์จารึกเล่าว่า... หลวงพ่อปลื้มให้หลักเกี่ยวกับนิมิตไว้ว่า...นิมิตที่เกิด ให้พิจารณาว่า เป็นปริศนาธรรม หรือ เป็นสภาวธรรม ซึ่ง หลักตรงนี้จะเป็นระดับการพิจารณาที่สูงขึ้นไปอีกขั้นตอนหนึ่ง นอกจากเรื่อง นิมิตแล้ว ที่ก้าวหน้าขึ้นไปก็คือเรื่องตัวรู้ ความรู้ทางธรรม สภาวธรรม ที่ จะนำไปใช้ขัดเกลากิเลสตัณหาอุปาทานในตัวผู้ปฏิบัติให้เบาบางลงไปเรื่อย ๆ หลวงพ่อปลื้มจะใช้คำว่า...ให้กร่อนไปเรื่อย ๆ โดยวิถีทางปฏิบัติที่ดำเนินไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เรื่องของอิทธิเรื่อง ของฤทธิ์แม้จะมีตามมา แต่ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติธรรมในช่วงที่ มีความสามารถพร้อมที่จะนำไปใช้และควบคุมให้อยู่กับความถูกต้องทางธรรมได้ แล้ว

          พิธียกไตร เมื่อ ศิษย์มีความสามารถทางธรรมผ่านห้องธรรมคำภาวนาที่กำหนดไว้ถึงระดับหนึ่ง ครู จะทำพิธียกไตรให้ ศิษย์ที่ครูยกไตรให้นี้ เป็นผู้ปฏิบัติธรรมธรรมดาที่กำลัง เพียรพยายามนำตัวเองก้าวเข้าสู่ธรรมที่ละเอียดขึ้นไปเรื่อย ๆ หากผู้นั้นไม่ทอดทิ้งการปฏิบัติธรรม เขาก็จะงดงามในธรรมขึ้นไปเรื่อย ๆ และก้าวสู่จุดหมายตามที่ปรารถนาไปตามลำดับ ดังนั้น ศิษย์ที่ครูยกไตรให้ นั้น ก็ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องไปทำหน้าที่ครูสอนกรรมฐาน เพียงแต่เป็น เครื่องแสดงว่า ครูยอมรับในความสามารถและประกาศให้ทราบว่า ศิษย์ผู้นั้นถ้า ยังมีความเพียรพยายามในธรรมอย่างต่อเนื่องจะมีความรู้ความเข้าใจพอที่จะหา ทางหลบหลีกกิเลสตัณหาได้ระดับหนึ่ง แต่ถ้าในภายหน้ามีความประมาทในธรรมก็อาจ จะพลัดหลงตกต่ำในวังวนของความโลภ ความโกรธ ความหลง...ได้ไม่ยาก

 

เริ่มทำหน้าที่ครูสอนกรรมฐาน

          เกี่ยว กับท่านอาจารย์เมี่ยกิ้ม  ท่านเป็นคนจีน เจ้าของโรงสีซุ่นเฮงหลี ออกบวชแล้วตั้งคำถามกับลูกศิษย์ที่ เคยเรียนธรรมบทกับพระมหาปลื้มว่า... บวชเรียนแล้ว นอกเหนือไปจากการทำวัตรสวดมนต์ ต้องทำอะไรอีก ? ศิษย์ ของพระมหาปลื้มผู้นั้น จึงแนะนำพระเมี่ยกิ้มให้มานั่งกรรมฐานกับพระมหาปลื้ม ที่วัดสวนหงส์ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้นเหตุให้พระมหาปลื้ม จำเป็นต้องเปิดเผยตัวเองทำหน้าที่เป็นครูสอนกรรมฐานนับแต่นั้นมา และด้วย ความตั้งใจมั่นคงเด็ดเดี่ยวของศิษย์คนแรก แม้จะเป็นคนจีนฟังพูดภาษาไทยไม่ คล่องแคล่ว แต่ก็สามารถใช้เวลาในพรรษานั้น มุ่งมั่นปฏิบัติธรรมอย่างทุ่มเท ชีวิตจิตใจ จนที่สุดก็ได้เป็นศิษย์คนแรก ที่พระมหาปลื้มยกไตรให้

ปรากฏผลงาน  “ครูสอนกรรมฐาน

          นับ จากนั้นมาก็มีศิษย์ทั้งพระ เณร และฆราวาส เข้ามาปฏิบัติอย่างต่อเนื่องไม่ ขาดสาย ศิษย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของหลวงพ่อท่านหนึ่งคือ อาจารย์ วสันต์ กัลย์จารึก  ศิษย์ท่านนี้ หลวงพ่อได้อบรมบ่มมาตั้งแต่เป็นสามเณรน้อย ด้วยวัยเด็กที่ บริสุทธิ์ ปราศจากภาระรับผิดชอบทางโลก จึงปฏิบัติธรรมได้ก้าวหน้าอย่างรวด เร็ว เป็นศิษย์คนที่สอง ที่หลวงพ่อทำพิธียกไตรให้ เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๑๒ โดยมีคณาจารย์ที่มาร่วมพิธียกไตรให้ครบถ้วน คือ หลวงพ่อ กี๋ หลวงพ่อเทียม หลวงพ่อปลื้ม หลวงพ่อสละ และหลวงพ่อบุญนาค หลังจากยกไตร แล้ว สามเณรวสันต์ได้รับการเรียกขานจากหลวงพ่อปลื้มว่า หลวงพ่อเณร

          หลวงพ่อเคยเล่าเรื่องเกี่ยวกับอาจารย์วสันต์ว่า... วสันต์อยู่กับหลวงพ่อ ขนาดกำขาเตียงหลวงพ่อไว้ บอกว่าไม่มีพ่อ-แม่แล้ว มีหลวงพ่อเท่านั้น

          ข้าพเจ้ามีโอกาสนมัสการหลวงพ่อว่า... หลวง พ่อสอนธรรมนำศิษย์ไปถึงแก่นพระพุทธศาสนา มิใช่เปลือก มิใช่กระพี้ แต่บุคคล ที่จะเป็นคนขยายธรรมของสำนักเรานั้น มีจำนวนจำกัดจำเขี่ยเหลือเกิน หลวงพ่อทวนคำว่า... จำกัดจำเขี่ยนี่ มีวสันต์ไง ได้จากหลวงพ่อไปมาก 

 

แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดที่หลวงพ่อมีอยู่ ดังที่หลวงพ่อพูดไว้ว่า...

ในตัวหลวงพ่อนี้ยังมีอะไรอีกมากมายที่ยังขยายไม่ออก

ลูกศิษย์ต้องเข้มแข็ง ดูหลวงพ่อเป็นตัวอย่าง เข้มแข็ง มีลูกศิษย์มาก แต่ก็ไม่มีลูกศิษย์คนไหนที่เท่าหลวงพ่อ

          อาจารย์วสันต์เล่าว่า ในตอนนั้นเริ่มมีการจัดนั่งกรรมฐาน มีลูกศิษย์เพิ่มขึ้น หลวงพ่อมอบหมายให้ หลวงพ่อเณร ช่วยเหลือท่าน เมื่อถึงวาระ หลวงพ่อเณร ต้องลาสิกขาบท ก็มีผู้รับช่วงหน้าที่การสอนกรรมฐานในวัดสวนหงส์ สืบต่อกันมาไม่ขาดสาย ดังนี้

อาจารย์สงคราม โสตถิปิณฑะ

อาจารย์พิทักษ์ วาทยะกร (ถึงแก่กรรม)

พระอาจารย์ประสิทธิ์ (มกรางกูร) อโสโก

พระอาจารย์ไพศาล (วาทยะกร) ฌานวิสาโล

          หลวง พ่อว่างเว้นการยกไตรให้ศิษย์มานาน จนถึงปี พ.ศ.๒๕๓๙ ถึง พ.ศ.๒๕๔๒  จึงได้จัดยกไตรให้คณะศิษย์ด้วยตัวหลวงพ่อเอง ๓ ครั้ง นับรวมศิษย์ที่ได้รับการยกไตรเพิ่มขึ้นอีก ๑๙ รูป/คน รวมกับอาจารย์และพระอาจารย์ที่ได้รับการยกไตรมาก่อนหน้านี้นับแต่ อาจารย์เมี่ยกิ้มมา ทั้งหมด ๒๙ รูป/คน แต่มิได้หมายความว่า ศิษย์ของหลวงพ่อปลื้มจะมีเพียงจำนวนที่ได้รับยก ไตรเท่านั้น ยังมีอีกจำนวนหนึ่งที่ปฏิบัติธรรมถึงขั้นพร้อมที่จะได้รับการยก ไตรได้แล้ว และมีอีกเป็นจำนวนมากที่กำลังเพียรพยายามปฏิบัติเดินตามทางธรรม ขึ้นมาเรื่อย ๆ แม้ในปี พ.ศ.๒๕๔๔ อันเป็นปีสุดท้ายของชีวิตหลวงพ่อ ก็ยังมีทั้งบรรพชิตและฆราวาสมาขอมอบตัว เป็นศิษย์ของหลวงพ่อไม่ขาดสาย


 

การอบรมสั่งสอนศิษย์กรรมฐาน

          ศิษย์ แต่ละรุ่น จะได้รับการอบรมสั่งสอนต่างกันไป ตามวัยและสังขารของหลวง พ่อ เมื่อครั้งแรก ๆ นับแต่อาจารย์วสันต์ ศิษย์จะได้รับการอบรมเข้มงวดทุก ๆ ด้าน หลวงพ่อจะดูแลละเอียดยิบทั้งในด้านกิริยามารยาท ความมีระเบียบเรียบ ร้อย กิจวัตรประจำวัน ให้การศึกษาทางปริยัติทั้งบาลีและนักธรรม สนับสนุนการ ศึกษาตามความสนใจของศิษย์ เคยส่งศิษย์ไปเรียนอภิธรรม ณ สำนักเรียนอื่น แม้ทางด้านกรรมฐาน หลวงพ่อก็พยายามให้ศิษย์ได้มีความกว้าง ขวาง โดยส่งไปอยู่ใกล้ชิดกับพระอาจารย์รูปอื่น ๆ ที่เป็นศิษย์ครูจาบ สุวรรณ ตามความสมัครใจของศิษย์แต่ละคน

          ต่อ มา เมื่อวัยสังขารร่วงโรยลง อาพาธเริ่มปรากฏขึ้นทีละน้อย ท่านจึงค่อย ๆ ลดการสอนในเรื่องรอบนอกลงไปเรื่อย ๆ แต่ก็ยังใช้วิธีดุ เพื่อดึงให้ศิษย์จดจำคำสอนแม่นยำ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๔๐ อาการอาพาธปรากฏชัดเจน ความทรงจำลดลง หลวงพ่อจึงงดการอบรมสั่งสอน ทางกายหยาบไประยะหนึ่ง

          ประมาณ ปลายปี พ.ศ.๒๕๔๐ อาการอาพาธเริ่มดีขึ้นจนเกือบเป็นปกติ หลวงพ่อเริ่มตอบคำถามและแนะ นำกรรมฐานแก่ศิษย์ การสอนในระยะนี้ จะสอนแต่เนื้อแท้ ๆ ส่วนที่เป็นรอบนอกทิ้งหมด แม้การดุก็ไม่ปรากฏให้เห็น ศิษย์รุ่นหลัง ๆ นี้ ถ้าได้ยินคำบอกเล่าจากศิษย์เก่าว่า... หลวงพ่อดุมาก เขา จะนึกภาพและเสียงของหลวงพ่อปลื้มตอนดุไม่ออกเลย แต่สิ่งที่เหมือนกัน ที่ ศิษย์ตั้งแต่คนแรกถึงคนสุดท้าย ได้รับจากหลวงพ่อก็คือ การควบคุมด้านการ ปฏิบัติกรรมฐาน หลวงพ่อจะทุ่มเทให้แก่ศิษย์ทุกคนที่มุ่งมั่นจริงจัง ผลักดัน ไปตามกำลังที่แต่ละคนจะก้าวไปได้ แม้ในยามอาพาธหนักในปี พ.ศ.๒๕๔๐ ศิษย์ทุกคนไม่มีโอกาสเข้าไปกราบเพื่อขอรับคำสอน คำชี้แจง คำ แก้ไข จากหลวงพ่อ เพราะทุกคนต้องการให้ท่านได้พักผ่อนรักษาสังขารอย่างเต็ม ที่ แต่หลาย ๆ คนก็สามารถรับรู้การควบคุมที่หลวงพ่อสื่อมาให้ เหมือนกับได้แจ้งกรรมฐาน ได้ รับคำตอบ คำสอน คำชี้แนะที่แจ่มแจ้ง จากปากของหลวงพ่อเอง

          โดย ปกติ หลวงพ่อจะไม่พูด ถ้าหมดเรื่องจำเป็นที่จะพูดท่านก็จะนิ่งเฉยอยู่อย่าง นั้น จนผู้ที่มากราบรู้สึกตัวว่าทนไม่ได้กับความเงียบนั้น ก็จะเอ่ยปากกราบ ลาท่านกลับไปเอง ดังนั้น คำสอนที่หลวงพ่อสอนจึงเป็นคำพูดสั้น ๆ นอกจากจำเป็นจริง ๆ จึงจะพูดยาว ๆ ยิ่งในตอนอาพาธ จะเหลือคำสอนที่สั้นที่สุด เพียงครั้งละ ๑-๒ คำก็มากแล้ว และในปีสุดท้าย หลวงพ่อไม่พูดเลย

 

คุณลักษณะเหล่านี้ หลวงพ่อบอกว่า...

 

ฝ่ายปริยัติเขาสอนมาก มีคำพูดคำอธิบายยาว ๆ ของเราฝ่ายปฏิบัติ จะพูดสั้น ๆ อย่างที่เราใช้กันนี้

 

ไม่พูด ที่พูดมากนี่ เพราะพูดแล้วเหมือนฝนตกลงในภูเขา ในลำธาร ในต้นไม้ มีประโยชน์ ไม่ใช่ตกลงในทะเลทราย เดี๋ยวก็หายไป ไม่มีประโยชน์

 

ที่ต้องเปิดเผยอีกอย่างหนึ่ง คือนิสัยของหลวงพ่อเอง ถ้าคนไม่ขอ ไม่ถาม (ธรรมะ) ก็ไม่บอก

 

ในการขอเป็นศิษย์ปฏิบัติธรรม นั้น ต้องกราบ นมัสการขอต่อหลวงพ่อด้วยตัวเอง จากนั้นท่านจะให้พระอาจารย์ที่ได้รับมอบหมาย หน้าที่ พาไปขึ้นกรรมฐานในโบสถ์ เสร็จพิธีแล้วกลับมากราบขอคำสอนเพิ่มเติม จากหลวงพ่อ ท่านให้ใช้คำภาวนาว่า สัมมาอรหัง แม้จะใช้คำภาวนาคำเดียวกับสำนักวัดปากน้ำหลวงพ่อสด แต่หลวงพ่อบอกว่า... มีความแตกต่างกันไปบ้าง ต่อจากนั้นผู้เป็นศิษย์ต้องขวนขวายเพียรพยายามปฏิบัติเอง แล้วนำเหตุการณ์ที่พบเห็นที่รู้สึกรับรู้ในการปฏิบัติ มาแจ้งให้หลวงพ่อทราบ แล้วหลวงพ่อจะเลื่อนคำภาวนาให้ตามความก้าวหน้าในธรรมของแต่ละคน 

 

หลวงพ่อจะกล่าวเสมอว่า...

 

ในการปฏิบัติ ให้สังเกต ดู จำ คิด แล้วนำมาเล่าให้หลวงพ่อฟังทันที มีอะไรผิดปกติจะได้แก้ไขทัน

 

เมื่อรู้สึกก็จำไว้ เอามาเล่า

 

มีครูบาอาจารย์เป็นคน ดีกว่าอ่านหนังสือ ตรงที่สงสัยถามได้

 

มีครูไว้เป็นที่ปรึกษา เป็นพี่เลี้ยง

 

การปฏิบัติที่มีครูบาอาจารย์เป็นที่ปรึกษา จะทำให้ไม่หลง หลงทาง

 

เพราะใกล้ชิดครู สงสัยก็ถามครูได้ ถามหนังสือไม่ได้

 

ครู เป็นแต่ผู้บอกแนะชี้ อยู่ที่ตัวเอง ต้องทำเอง ฝึกฝนเอง ปฏิบัติเอง

 

ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อจะฝึกศิษย์ โดยยึดหลัก ๓ ประการคือ

 

๑. ให้รู้ธรรมะ ตามกำลังสติปัญญาของศิษย์ในขณะนั้น โดยท่านบอกว่า...

 ทำกรรมฐาน ก็เหมือนช่างตัดเสื้อ ต้องตัดให้พอดีกับตัวคนใส่

๒. ให้พึ่งตัวเองให้ได้ ท่านบอกว่า...

 ต้องถามตัวเองต่อไปว่า ทำไมหนอ ทำไมหนอ ทำไมหนอ ใส่หนอลงไป แล้วจะได้คำตอบเอง ไม่ต้องมานั่งถามหลวงพ่ออย่างนี้

 ให้ถามครูกรรมฐานในตัวเราว่า เกิดอะไรขึ้นหนอ เกิดอะไรขึ้นหนอ เกิดอะไรขึ้นหนอ แล้วจะได้คำตอบเอง

 ๓. ให้ ยินดีอดกลั้นอดทน ท่านจะย้ำคำสอนนี้เสมอ เพื่อปลูกฝังไว้ในจิตใจของศิษย์ เช่น

 ไม่ ว่าเราจะทำสิ่งหนึ่งประการใด เราต้องมีความอดทน ในการทำงานหรือประพฤติ ปฏิบัติธรรม คำว่าอดทนคำเดียวยังไม่เป็นการเพียงพอ จึงมีคำที่เพิ่ม เติม เพื่อให้จิตใจนั้นแจ่มใสเบิกบานในการปฏิบัติ คือคำว่า ยินดี เติมไว้ ข้างหน้า เมื่อทำสิ่งหนึ่งประการใดก็ตาม ให้เล็งเห็นถึงประโยชน์จากความดี งามที่จะได้รับ แล้วก็จะก่อให้เกิดกำลังใจ ไม่ย่อท้อ ประพฤติปฏิบัติการงาน ด้วยด้วยจิตใจที่เป็นสุข

 

ยินดี อด กลั้น อดทน มาจากคำว่า ขันติ-ความอดทน โสรัจจะ-ความสงบเสงี่ยม แต่หลวงพ่อมา แปลงเป็นยินดีเสีย เพื่อจะได้ไม่ต้องบอกว่า ทนไม่ได้

 

ต้องมีคำว่า ยินดี (อดกลั้น อดทน)ด้วย ถ้าไม่มี เดี๋ยวก็จะมีคำว่า ทนไม่ได้ ขึ้นมา ซึ่งมันก็เป็นคำแก้ตัว

 

ให้อดกลั้นอดทนด้วยความยินดีในประโยชน์ที่จะได้รับ

 

ให้เห็นความดีของการอดกลั้นอดทน ก็จะทนได้ จะไม่ปรากฏว่า ทนไม่ได้ ขึ้นมา

 

ชอบ ก็ยินดีอดกลั้นอดทน ไม่ชอบก็ยินดีอดกลั้นอดทน ไม่ต้องทำในสิ่งที่ชอบก็ยินดี อดกลั้นอดทน ต้องทำในสิ่งที่ไม่ชอบก็ยินดีอดกลั้นอดทน สามัคคี ตะโป สุข โข ร่วมกันทำเป็นตบะอย่างยิ่ง คือ มีความอดทน ที่จะทำ หรือ จะไม่ทำ จะทำให้ อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างเป็นสุข

          สรุปโดยความรวมก็คือ ท่าน จะปลูกฝังให้ศิษย์มีความยินดีอดกลั้นอดทนเป็นคุณธรรมประจำใจ ในส่วนทาง กรรมฐานนั้นท่านจะสอนแต่เฉพาะเรื่องที่พอดีกับสภาวธรรมที่ศิษย์คนนั้นกำลัง ได้รับอยู่ ไม่สอนให้ลึกละเอียดเกินไปกว่าความสามารถของศิษย์ ให้ไต่เต้า ขึ้นไปเป็นขั้นเป็นตอน และจะสอนให้รู้จักคิดพิจารณาด้วยตนเองเป็นหลัก มิใช่ มาคอยถามให้หลวงพ่อตอบ ต้องพิจารณาหาคำตอบ แล้วมาสอบทานกับหลวงพ่อ ว่าถูก ต้องหรือไม่

เมื่อศิษย์มาแจ้งกรรมฐานต่อหลวงพ่อ

 

          ถ้าไม่ถูกต้อง ท่านจะใช้คำพูดสั้น ๆ เตือน ติง ให้ศิษย์นำไปไตร่ตรองใหม่ให้ถูกทาง

 

          ถ้าถูกต้อง ท่าน ก็จะเฉย ๆ นิ่ง ๆ บางครั้งก็จะยกชาดกขึ้นมาเล่าเป็นเชิงเทียบเคียงสนับสนุน(โดยที่ศิษย์ต้อง นำไปคิดเทียบเคียงด้วยตนเอง) หรือมิฉะนั้นก็จะยกกลอนของหลวงพ่อเนียมวัด น้อย ขึ้นมารับรองความถูกต้องนั้นว่า...

 

ใครทำเองเห็นเองเพ่งพิยุกติ์

 

ครั้นถึงธรรมนำผุดประจักษ์เอง

 

กายวิเวก จิตวิเวก เอกวังเวง

 

พลมารครื้นเครงกำจัดไกล

 

ถ้าเป็นเรื่องที่จะทำให้ศิษย์เนิ่นช้า ท่านจะให้คำเตือนว่า...

 

รู้ไปก็ไม่มีประโยชน์ เพราะเอาไปตัดกิเลสไม่ได้

 

รู้ก็ไม่เกิดประโยชน์ มันจะบดบังไม่ให้รู้ธรรม

 

หลง มันจะวนเวียนอยู่ตรงนั้น แล้วไม่ก้าวหน้าทางธรรม

 

หลง ทำให้ไม่ได้พิจารณาธรรมะของพระพุทธเจ้า

 

ไม่สิ้นสุด

 

ฯลฯ

 

ถ้าผู้แจ้งกรรมฐานยังไม่สามารถพิจารณาในธรรมที่ตนมาแจ้งหลวงพ่อให้แจ่มชัดได้ ยังเคลือบแคลงสงสัยลังเลอยู่ หลวงพ่อจะบอกสั้น ๆ ว่า...

 

แล้วต่อไปก็จะได้รู้เอง

 

ปฏิบัติไป แล้วจะรู้คำตอบเอง

 

พิจารณาไปถามไปในสมาธิ

 

ฯลฯ

 

          ถ้าหากถูกต้องและผู้แจ้งกรรมฐานจะสามารถก้าวหน้าในธรรมนั้นขึ้นไป หลวง พ่อจะมีชาดกเล่าเทียบเคียงให้ หรือมีคำพูดสั้น ๆ นำทางให้ผู้แจ้งกรรมฐานไปทบทวนไตร่ตรองพิจารณา เพื่อเป็นแรงส่งให้เข้าถึง ธรรมที่ละเอียดขึ้นไปอย่างแจ่มชัดและถูกต้องด้วยตัวเองในเวลาต่อไป

 

          ในกรณีที่ศิษย์ปฏิบัติแล้วไม่มาแจ้งกรรมฐานต่อองค์หลวงพ่อ ศิษย์ บางคนไม่กล้าที่จะเข้าไปแจ้งกรรมฐานกับหลวงพ่อ แต่เขาก็ยังขยันปฏิบัติ และ เท่าที่คุยด้วย ข้าพเจ้ารู้สึกทึ่งในความสามารถของเขา ดังนั้นเมื่อสบ โอกาส ข้าพเจ้าจึงนมัสการถามหลวงพ่อเพื่อความกระจ่างในความข้องใจนั้น...

 

ข้าพเจ้า หลวงพ่อเจ้าคะ มีบางคนที่ปฏิบัติแล้วไม่มาแจ้งกรรมฐานหลวงพ่อ เขาจะก้าวหน้าได้อย่างไรเจ้าคะ ?

 

หลวงพ่อ เขา รู้สึกห่างไกลหลวงพ่อ จึงไม่เข้ามาแจ้ง อีกทั้งเขารู้เขาเข้าใจแล้วก็พอ... ใครทำเองเห็นเองเพ่งพิยุกติ์ ครั้นถึงธรรมนำผุดประจักษ์เอง กายวิเวกจิต วิเวกเอกวังเวง พลมารครื้นเครงกำจัดไกล

 

ข้าพเจ้า เขาไม่ได้เลื่อนห้อง แต่พิจารณาออกมาได้ ?

 

หลวงพ่อ เหมือนกัน เมื่อถึงธรรมก็รู้ มีตัวเหมือนไม่มีตัว ถึงธรรมแล้วรู้ได้

 

ข้าพเจ้า ไม่ต่างกัน ?

 

หลวงพ่อ เหมือนกัน

 

ข้าพเจ้า ต่างกันตรงที่ ได้เลื่อนห้องจะเร็วกว่า ?

 

หลวงพ่อ ไม่แน่! ได้เลื่อนห้องไปแล้ว ยังต้องย้อนกลับลงมาใหม่ มีที่ได้ถึงพระไตรลักษณ์ก็ได้แต่แสงสีเท่านั้น ต้องให้ ย้อนลงมาใหม่

          การส่งเสริมศิษย์ ทุก คนที่มาเป็นศิษย์ของหลวงพ่อ ต่างมีเส้นทางเฉพาะของตัวเอง ดังนั้น การส่ง เสริมกรรมฐานของหลวงพ่อที่ให้แก่ศิษย์แต่ละคน จึงมิได้ยึดเอาตัวหลวงพ่อเป็น หลัก แต่จะเป็นไปตามเส้นทางธรรมที่ศิษย์คนนั้น ๆ สั่งสมมา เช่น บางคนหลวงพ่อจะย้ำให้ศึกษาปริยัติก่อนแล้วค่อยมาปฏิบัติ กรรมฐาน บางคนปฏิบัติกรรมฐานไปศึกษาปริยัติไปควบคู่กัน บางคนปฏิบัติกรรมฐาน แล้วจึงนำไปเทียบเคียงกับปริยัติ บางคนก็จะปฏิบัติกรรมฐานไปอย่างเดียว บาง คนหลวงพ่อก็จะให้เลือกเอาเอง ว่าจะปฏิบัติกรรมฐาน หรือจะเรียนบาลี หรือจะ เรียนอภิธรรม ฯลฯ ทั้งหมดนี้ เป็นการส่งเสริมศิษย์ตามกำลังความสามารถและ ความสนใจของศิษย์แต่ละคน ซึ่งแนวการสอนแบบนี้ ถ้าพูดตามศัพท์ทางวิชาการ ก็ เป็นรูปแบบการสอนที่ทันสมัยมาก ๆ คือ การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นั่นเอง สิ่งสำคัญที่สุด หลวงพ่อจะย้ำ ศิษย์ ไม่ให้หลุดไปจากคำสอนของพระพุทธเจ้า และหากหลวงพ่อละสังขารไป แล้ว ศิษย์เกิดสงสัยและหาคำตอบไม่ได้กับสิ่งที่รู้ที่เห็นนั้น ๆ ก็ให้เทียบเคียงกับปริยัติ และ ให้เอาเข้าหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา


 

ความเป็นครูของหลวงพ่อ

 

          อาจารย์ ยุทธภูมิ สุขพินิจ  เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า... คราวหนึ่ง มีผู้มาขอถ่ายภาพหลวงพ่อเป็นวีดีทัศน์เพื่อนำไปออกอากาศ หลวงพ่อ ก็ให้ถ่ายไปเรื่อย ๆ พอถ่ายจบ เขามากราบขออนุญาตหลวงพ่อว่า จะเอาไปเผยแพร่ออกรายการ โทรทัศน์ หลวงพ่อไม่อนุญาต ให้เหตุผลว่า ถ้าเอาไปออกอากาศ ก็จะมีคนมาหาหลวงพ่อมาก เวลาที่หลวงพ่อจะให้แก่ศิษย์กรรมฐานก็จะลดน้อยลง ภาย หลังทราบข่าวว่า วีดีทัศน์ม้วนนั้นทั้งม้วน ไม่มีภาพใด ๆ ปรากฏอยู่เลย อาจารย์ยุทธภูมิพูดถึงความรู้สึกในขณะที่ได้ยินคำตอบของหลวง พ่อว่า... ผมน้ำตาซึมในเมตตาของหลวงพ่อ โอกาสที่ หลวงพ่อจะปรากฏชื่อเสียงโด่งดัง ลาภสักการะสรรเสริญจะไหลมา แต่หลวงพ่อ ปฏิเสธ เพราะเกรงศิษย์กรรมฐานจะเสียประโยชน์จากการศึกษากับหลวงพ่อ

 

          ครั้ง หนึ่ง ข้าพเจ้าอ่านพบโจรสูตรในพระไตรปิฎก เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับ ธรรมที่ทำให้โจรไม่เสื่อม เช่น ไม่ฆ่าผู้ไม่ฆ่าตอบ ไม่ลักพาสตรี ไม่ทำร้าย กุมารี ไม่เอาไปหมด ไม่ทำงานใกล้ถิ่น ฯ ก็สงสัยว่า ทำไมพระพุทธเจ้าจึงบอก ทางไม่เสื่อมให้แก่ผู้ประพฤติทุจริต ? จึงนำความสงสัยนี้ไปกราบนมัสการถามหลวงพ่อ ท่านตอบว่า... พระพุทธเจ้าสั่งสอนคนทั้งหมด

 

          จาก ที่ข้าพเจ้าเห็น... หลวงพ่อมุ่งมั่นในการอบรมสั่งสอนศิษย์อย่างเต็มกำลัง ให้การประคับประคองมิ ให้ตกต่ำไปกว่าที่เป็นอยู่ พยายามผลักดันให้ดีขึ้น แต่หากเหลือกำลัง หลวง พ่อก็ยังถือว่าเขาเป็นศิษย์ของหลวงพ่ออยู่ และพร้อมที่จะให้คำสอนถ้าเขายอม รับฟัง ฯลฯ ดังนั้น หลังจากที่ข้าพเจ้าได้รับฟังคำตอบของหลวงพ่อในเรื่องโจรสูตร แล้ว ข้าพเจ้าจึงรับรู้ถึงเส้นทางของหลวงพ่อ ว่าท่านเดินตามรอยพระบาทของ องค์พระบรมครูสัมมาสัมพุทธเจ้า... หลวงพ่อเป็นครูของคนทุกประเภท

 

          อาจารย์ วสันต์ กัลย์จารึกเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า... เมื่อครั้งที่บวช มารดาบิดาไม่อนุญาต โดยระเบียบถ้าพระอุปัชฌาย์บวชให้ผู้ ที่มารดาบิดาไม่อนุญาต จะต้องถูกถอดออกจากอุปัชฌาย์ ในครั้งนั้น หลวงพ่อ เมตตาเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้อาจารย์วสันต์ แม้จะรู้ชัดถึงผลที่จะตกกระทบถึง หลวงพ่อ แต่ท่านก็ทำเพื่อประโยชน์ของศิษย์ หลวงพ่อบอกกับอาจารย์วสันต์ในวัน นั้นว่า... ถ้าหลวงพ่อไม่บวชให้วสันต์ วสันต์จะเสียคน เหตุเกิดกับหลวงพ่อ หลวงพ่อแก้เองได้ ถ้าเกิดกับวสันต์ วสันต์แก้ไม่ได้ และหลังจากนั้น หลวงพ่อก็ถูกถอดออกจากอุปัชฌาย์จริง ๆ

 

ด้วย ความที่ข้าพเจ้ามีอาชีพครู เคยสอนทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั้ง ตอนต้นและตอนปลาย ทำให้ข้าพเจ้าทราบดีถึงการปั้นศิษย์ในระดับประถมศึกษา ว่า เป็นงานรากฐานที่ยากที่สุดและเหนื่อยที่สุดของครู โดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ ในระดับชั้นอนุบาล จึงนึกเทียบกับการเรียนกรรมฐานว่า การที่ครูกรรมฐานจะขัด เกลาจิตใจของศิษย์ในระดับอนุบาลนั้น น่าจะเป็นงานที่ยากที่สุดเช่น กัน ข้าพเจ้านำเรื่องนี้ไปกราบนมัสการหลวงพ่อ ท่านตอบด้วยน้ำเสียงเมตตา ว่า... ครูบาอาจารย์ที่ได้รับคำสั่งให้มาสอนในระดับอนุบาลนี้ ท่านต้องเตรียมพร้อม เหมือนแม่ที่มีลูกต้องดูแล

 

          และ ด้วยความต้องการให้ศิษย์ไปทำหน้าที่ครูสอนกรรมฐานอย่างถูกต้อง ไม่ออกนอกลู่ นอกทางจนเป็นต้นเหตุแห่งความเสียหายทั้งปวง หลวงพ่อจึงย้ำเตือนและบอกศิษย์ ที่ได้รับการยกไตรจากหลวงพ่อ เกี่ยวกับเรื่องความหมายและหน้าที่ของครูไว้ ว่า...

 

ครูแปลว่าผู้ที่ควรเคารพ แล้วก็แปลว่าหนัก

 

มีความรู้เป็นครูเขา จะเบาตน เร่งขวนขวาย

 

ความเป็นครู ไม่ควรย่อท้อ ให้ทำด้วยหน้าที่

 

กาลเทศะนี่สำคัญ คนเป็นครูบาอาจารย์นี่ต้องรู้จักใช้

 

การเป็นครูบาอาจารย์ ต้องทำตัวให้รู้สึกเหมือนแม่ให้นมลูก ลูกจะกัดก็ไม่โกรธ

 

ฯลฯ

 

และอีก ๒ คำสั่งที่สำคัญที่สุดก็คือ...

 

เวลาเป็นครูสอนคนอื่นเขา ก็เอาของจริงของพระพุทธเจ้าสอน อย่าเอาที่ไม่ตรงกับพระพุทธเจ้าสอน

 

การ เป็นครูบาอาจารย์ ถ้าศิษย์มาแสดงอาจาริยบูชา ให้แสดงมุทิตาจิต ให้ยินดีกับ เขาที่กำลังแสดงอาจาริยบูชา บุญกุศลที่เขาทำ อย่าเหลิงกับคำว่าครูบา อาจารย์ ถ้าไม่มีตัวนี้แล้ว จะหลุดจากคำว่าครูบาอาจารย์ เขามาบูชาธรรม ไม่ ใช่มาบูชาเรา

หลวงพ่อปรารภเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมว่า

 

เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ แต่คนเข้ามาให้ถูกทางพุทธนั้นน้อยมาก มาปฏิบัติกันน้อย อาจเป็นเพราะเกียจคร้าน ทำไปยังไม่ได้ผลก็ป้อแป้

 

หลวง พ่อเคยคิดเหมือนกันว่า ทำไมคนไม่ค่อยปฏิบัติภาวนา มีเสียงบอกว่า มันไม่ อร่อย หลวงพ่อล่ะจำไว้เลย หนังสือที่ครูยืมไปอ่าน (ขุมทรัพย์จากพระ โอษฐ์-ท่านพุทธทาส) เป็นหนังสือที่นับว่าดีที่สุดเล่มหนึ่ง แต่ก็ไม่มีใคร หยิบไปอ่าน มันก็เหมือนกัน

พระที่บวชมา จะตั้งใจบวชนาน ๆ นั้นไม่มี ที่จะทำให้พระอยู่ได้นาน ก็ด้วยการฝึกกรรมฐาน


วิธีสอนและคำสอน

 

          หลวงพ่อเป็นครู มิใช่เฉพาะแต่เวลาที่ศิษย์มากราบขอคำสอนคำเตือนเท่านั้น หากศิษย์ช่างสังเกตช่างดูในรายละเอียด จะเห็น คำสอน ของหลวงพ่อ ที่ออกมาจากวัตรปฏิปทาของท่าน เรียกว่าทุกอากัปกริยาและทุกความ เคลื่อนไหว แล้วแต่ปัญญาของศิษย์แต่ละคน ในจุดเดียวกันที่มอง บางคนได้ปัญญา เรื่องหนึ่ง บางคนได้ปัญญาอีกเรื่องหนึ่ง แตกต่างกันไป

 

          เทศน์ สอนกรรมฐานยาว ๆ ของหลวงพ่อไม่มีปรากฏให้เห็นเป็นลายลักษณ์อักษร จะ มีเทศน์ยาวทางปริยัติธรรมในสมัยที่หลวงพ่อยังไม่ได้ทำหน้าที่ครูกรรมฐานซึ่ง หลวงพ่อร่างบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรตกทอดอยู่ที่เจ้าอาวาสวัดสวนหงส์ องค์ปัจจุบัน และได้นำลงพิมพ์ในหนังสือประวัติหลวงพ่อของทางวัดเรื่องหนึ่ง คือ อานิสงส์ทานบริจาคตามประสงค์ และมีหนังสือเล่มเล็กที่หลวงพ่อเรียบเรียงไว้ ๑ เล่ม คือพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร นอกนั้นจะเป็นคำสอนสั้น ๆ เฉพาะหน้าเฉพาะตัวของแต่ละคน

 

          ข้าพเจ้า มีโอกาสได้ฟังคำสอนของหลวงพ่อ ซึ่งมีทั้งคำสอนในเรื่องทั่ว ๆ ไปและคำสอนทางกรรมฐาน ที่สอนข้าพเจ้าเองบ้าง เพื่อนที่มากับข้าพเจ้าบ้าง คน อื่นที่มากราบหลวงพ่อบ้าง ตลอดถึงที่ท่านอื่น ๆ ได้ฟังมาจากหลวงพ่อและมาเล่าให้ข้าพเจ้าฟังบ้าง ทำ ให้ข้าพเจ้าได้มองเห็นแนวทางการให้คำสอนของหลวงพ่อ (ตามกำลังปัญญาของข้าพเจ้า) ว่ามีหลากหลายอุบายวิธีที่จะนำทางให้แก่ผู้ที่มากราบขอคำสอนจากหลวงพ่อ...

 

หลากหลายวิธีสอน

 

          ๑. วิธีดุ ก่อนที่หลวงพ่อจะดุ จะขึ้นเสียงว่า ฮึ๊ยยย !” ขึ้นมาก่อน ถ้าเป็นเรื่องไม่ถูกต้องเล็กน้อย ฮึ๊ยยย!” นั้นก็จะดังค่อย ๆ แต่ถ้าเป็นเรื่องไม่ถูกต้องมาก ๆ น้ำหนักของเสียงก็จะหนักแน่นและดังขึ้นตามระดับความไม่ถูกต้องที่มากขึ้น ไป ศิษย์ทุกคนพอได้ยินเสียงนี้ จะนิ่งเงียบและตั้งใจฟังคำสอนคำดุของหลวงพ่อ

 

          การดุ เป็นการดึงจิตของศิษย์ให้เข้ามาอยู่ที่คำสอนไม่แส่ส่ายไปเรื่องอื่น ข้าพเจ้าโดนดุตั้งแต่วันแรกที่ยกกระทงขึ้นกรรมฐานเป็นศิษย์หลวงพ่อ จำได้แม่นยำว่านมัสการถามหลวงพ่อว่า... หลวงพ่อสูงอายุแล้ว (ขณะนั้นหลวงพ่ออายุ ๘๔ ปี) จะเหนื่อยเกินไปหรือเปล่าเจ้าคะที่จะสอนกรรมฐานให้ลูก ? หลวงพ่อตอบว่า... พูดธรรมะ พูดได้ทั้งวัน ไม่เหนื่อย ด้วยความที่ข้าพเจ้าขาดมารยาท ไม่รู้ว่าสิ่งใดควรสิ่งใดไม่ควร จึงนมัสการถามต่อไปว่า... หลวงพ่อปฏิบัติธรรมมาก่อนบวชหรือหลังบวชเจ้าคะ ? หลวงพ่อดุเสียงดังว่า... ฮึ๊ยยยเรื่องของครูบาอาจารย์ ถ้าครูบาอาจารย์จะให้รู้ก็บอกเอง ไม่ต้องมาถาม ข้าพเจ้า กลับมาไตร่ตรองแล้ว หลังจากนั้น ไม่ว่าข้าพเจ้าจะไปกราบครูบาอาจารย์ที่ใดก็ ตาม ข้าพเจ้าจะระมัดระวังไม่ใช้คำถามในทำนองนี้อีกเลย

 

          และ เพราะความที่ข้าพเจ้าไม่คุ้นเคยกับวัด ไม่เคยเข้าวัด เป็นเหตุให้มีความผิด พลาดเกิดขึ้นจนต้องโดนดุเป็นประจำ โดนดุทั้งในยามที่ไม่มีคนอื่น ต่อหน้า กลุ่มคนเล็ก ๆ ต่อหน้าคนมาก ๆ จนที่สุดก็คุ้นเคยกับการดุของหลวงพ่อ เพราะทุกครั้งที่ถูกดุ จะจดจำคำสอน ได้แม่นยำ ชัดเจน ขึ้นใจ จนพอใจที่จะได้คำสอนโดยวิธีการดุ วันหนึ่ง หลังจาก ที่โดนหลวงพ่อดุแล้ว หลวงพ่อกล่าวกับข้าพเจ้าว่า... ครู รู้ไหมว่า เวลาที่หลวงพ่อดุนี่ มันเหนื่อยนะ เหนื่อยกว่าสอนธรรมดา

 

          การดุ เป็น การทดสอบด้วยว่า ศิษย์คนนั้นจะอดทนต่อคำสอนของครูบาอาจารย์ได้หรือไม่ ถ้า เปราะบางเกินไปกับคำดุคำสอนของครูบาอาจารย์ ก็จะหลุดออกไปโดยปริยาย เพราะ ยิ่งปฏิบัติละเอียดมากขึ้นเท่าใด ก็ต้องมีความอดทนมากขึ้นเป็นทวีคูณ หาก เพียงคำดุเล็ก ๆ น้อย ๆ แค่นี้ยังทนไม่ได้ ต่อไปเบื้องหน้า ถ้าเป็นเรื่องที่ละเอียดและหนักหนาสาหัส กว่านี้ ครูบาอาจารย์จะควบคุมอบรมสั่งสอนได้อย่างไร ?

 

          แต่ หลวงพ่อจะดุ เฉพาะกรณีที่ศิษย์ปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องหรือกระทำผิดพลาดมาก ๆ จะดุหนักและสอนหนักตรง ๆ เพื่อมิให้ศิษย์ล่าช้าในการแก้ไขข้อผิดพลาดของตนเอง แต่วิธีที่หลวงพ่อไม่เคยใช้จนเป็นเหตุให้ศิษย์ต้องเสียใจเลยก็คือ การตำหนิติเตียน การพูดเสียดสี เปรียบเปรย กระทบกระเทียบ ยอกย้อน หรือแม้กระทั่งคำดุที่หยาบคาย

 

          ใน ปี พ.ศ.๒๕๔๐ หลวงพ่ออาพาธ และหลังจากนั้นประมาณหนึ่งหรือสองปี หลวงพ่อก็วาง วิธีการสอนแบบนี้ ดังนั้น นับแต่ปีนั้นมาจนถึงวันที่หลวงพ่อละสังขาร ไม่มี ใครต้องถูกหลวงพ่อดุอีกเลย

 

หลวงพ่อกล่าวถึงเรื่องดุไว้ดังนี้...

 

ที่ ต้องดุ ต้องสอน เพราะคนมันดื้อรั้น ไม่ฟังครูบาอาจารย์ แล้วยังจะมาสั่งให้ ครูบาอาจารย์ทำตามเสียอีก เวลาหลวงพ่อดุแล้ว ก็ไม่มีความโกรธตกค้างอยู่

 

ลูกศิษย์ได้ดีเพราะครูดุ ที่ครูดุก็อยากให้ศิษย์ได้ดี ก็ดุไปตามกริยา

 

ที่ดุ ๆ ไปน่ะ ดุแล้วก็แล้วไป ไม่จำ

          ๒. วิธีอธิบาย การอธิบายของหลวงพ่อ จะเป็นการอธิบายสั้น ๆ กระชับได้ใจความครบถ้วน เทศน์สอนของหลวงพ่อ ยาวที่สุดน่าจะไม่เกิน ๑๐ ประโยค เช่น

 

เมื่อ เช้าหลวงพ่อสอนพระเณรเรื่องการนั่งสมาธิ ว่าก่อนนั่งต้องให้ที่นั่ง สะอาด ต้องกวาดก่อน กวาดตรงที่จะนั่งให้สะอาด พระพุทธเจ้าทรงบอกไว้ ไม่งั้น ระคายผิวหนัง ก็คันนั่นแหละ มันสกปรกก็คิดอะไรไม่ออก ไม่เกิดปัญญา

 

ทำได้ทำไป ถ้าศรัทธาดับให้หยุด ศรัทธาดับหมายถึงทำไม่ไหว ไม่ครบตามกำหนดเวลาที่ตั้งไว้ ก็เปลี่ยนได้ อย่ายึด อย่างเช่น นั่งสมาธิเมื่อยทนไม่ไหว ก็นอนสมาธิได้

 

ให้ เอาชนิดที่เข้าหลักเลย นัตถิ สันติ ปรัง สุขัง สุขอื่นเสมอด้วยความสงบไม่มี ... ที่รู้ ที่อ่าน ที่เข้าใจ ให้เอาเข้าหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา อย่าให้ผิด จากนี้ ถ้าผิดจากนี้ไม่ถูก อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ ความไม่ประมาททั้งปวง ข้อ ความนี้  ครอบคลุมพระไตรปิฎกทั้งหมด

 

อย่าประมาททุกอย่าง แม้ความสามารถของผู้อื่น ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท

 

พิจารณา เกิด แก่ เจ็บ ตาย รับความแก่ ความเจ็บ ความตาย พิจารณาให้ชัด แล้วจะไม่กลัว

 

ใคร ทำเองเห็นเองเพ่งพิยุกติ์ ครั้นถึงธรรมนำผุดประจักษ์เอง หมายถึงต้องมีครูบาอาจารย์มาก่อน ยึดครูบาอาจารย์ ต่อจากนั้น เมื่อรู้ธรรม เห็นธรรมก็ยึดธรรมนั้น

 

ให้ยึดคำสอนของพระพุทธเจ้าที่บอกที่สอนมานั้น ต้องยึดก่อนเพื่อปล่อยวาง

 

"อุปาทานทำให้ได้ดี พอได้ดีแล้ว ต้องละอุปาทานนั้น

 

ความโกรธ ทำให้มันค่อย ๆ กร่อนไป ทำให้หมดนั่นมันเป็นความอยาก กร่อนไป จะค่อย ๆ เป็นไป

 

อย่างอื่นไม่เป็นแก่นสาร มีแต่ธรรมะนี่แหละ... ร้องไห้ แล้ว หัวเราะ เป็นเรื่องของชีวิต ชะตาชีวิต

 

การ ให้ทานอาหารการกินอยู่ นำให้ผู้ให้ ได้มีอายุยืน วรรณะผุดผ่อง มีความสุข มี พลกำลัง สุขภาพดี มียศ และมีปฏิภาณ เพราะอาหารนั้น ไปเป็นการยืดชีวิตของผู้ รับทานนั้น

 

รวยก็ทุกข์ ทุกข์เพราะการเก็บรักษา จนก็ทุกข์ ทุกข์เพราะความอยาก ทุกข์ทั้งนั้น

 

มี ญาติโยมจากสุโขทัยเดินทางมากราบหลวงพ่อ แล้วนมัสการว่า ที่วัดนี้เงียบ ดี หลวงพ่อตอบว่า เงียบสงัด เงียบสงบ แล้วก็มีเงียบเหงา ซึ่งถ้าเงียบ เหงา ก็อยู่ไม่ได้ ต้องออกไปเสาะแสวงหาความสนุกสนานภายนอก"

 

          ๓. วิธียกตัวอย่างเปรียบเทียบ เช่น ข้าพเจ้านมัสการหลวงพ่อว่า ชวนแม่ให้ปฏิบัติธรรมเท่าไร ๆ แม่ก็ไม่ยอม หลวงพ่อบอกว่า อย่าไปเร่ง ให้สุกเองเหมือนมะขามป้อม ถ้ายังไม่ แก่จัด ขย่มให้ลูกหล่น อาจทำให้กิ่งฉีกหักได้ แต่ถ้าแก่จัดเต็มที่ แค่ลมโชย มาถูกเบา ๆ ก็หล่น

 

ความประณีตในโบสถ์ ประกอบด้วยอิฐหินหลายประเภท

 

หลวงพ่อไม่อยากเห็นลูกศิษย์นั่งคุกเข่าขอทาน เพราะว่ามันเจ็บ เคยเห็นไหม ? ที่เขานั่งคุกเข่าขอทานน่ะ

 

คน ที่เคยช่วยเหลือข้าพเจ้า ทราบว่าข้าพเจ้ามากราบหลวงพ่อเป็นประจำ จึงขอร้อง ให้ช่วยพาเขามาด้วยทุกครั้ง ข้าพเจ้าดูเหตุการณ์แล้วน่าจะเป็นภาระที่หนัก เอาการ ขาดอิสระในเรื่องของเวลา และข้าพเจ้าเองก็ยังอยู่ในสภาพตั้งไข่ ล้ม จึงมากราบเรียนหลวงพ่อ ท่านให้คำสอนว่า... เวลา ช่วยคนตกน้ำ มือหนึ่งต้องจับหลักให้มั่น อีกมือถึงจะยื่นไปช่วยเขาได้ แต่ก็ มีอีกวิธีนะ ช่วยคนตกน้ำโดยช่วยประคองแผ่ว ๆ อย่าให้เขาจับตัวได้ เดี๋ยวจะจมทั้งคู่

 

ในเรื่องความโลภ หลวงพ่อจะเตือนให้ระมัดระวังอยู่ในความพอดี โดยเล่าเรื่องให้ฟังว่า... รู้จัก กินมีเนื้อ ไม่รู้จักกินเสือหาย เสือจับสัตว์กิน เหลือเนื้อที่กินไม่หมด ทิ้งไว้ ไปนอนพัก พอหิวก็กลับมากินใหม่ คนมาเห็นเนื้อก็เอาไปหมด บ่อย เข้า เสือก็หนีไป คนก็ไม่มีเนื้อกิน เพราะตัวโลภ

 

          ๔. วิธีสอนทันทีที่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น เช่น ข้าพเจ้ากับเพื่อนหลายคนไปวัด หลวงพ่อไม่อยู่ที่กุฏิ เพื่อน ๆ ต่างแยกย้ายกันไปเดินดูว่าหลวงพ่ออยู่ที่ไหน ข้าพเจ้าคนเดียวที่ไม่ไป เพราะ ต้องขึ้นไปจัดเปลี่ยนดอกไม้ เมื่อเรียบร้อยแล้วจึงเดินลงมาจากกุฏิ ก็เห็น หลวงพ่อเดินมาถึงหอระฆัง ด้วยความดีใจที่คนอื่นไปเดินตามหาแต่ไม่พบ ส่วน ข้าพเจ้าไม่ได้เดินตามหากลับพบหลวงพ่อก่อนคนอื่น ข้าพเจ้าจึงเข้าไปกราบและ นมัสการเล่าเรื่องราวถวายพร้อมสรุปว่า... ลูก ดีใจที่พบหลวงพ่อ ก่อนเพื่อนคนอื่น ๆ หลวงพ่อสอนทันทีว่า... ดีใจ เป็นอุปาทาน ทำให้หลงตัว ว่าตัวเองดีกว่าคนอื่น ต่อไปก็จะเป็นยกตนข่มท่าน

 

มีโยมผู้ชายคนหนึ่งตรงเข้ามากราบบนหลังเท้าของหลวงพ่อ ท่านขยับตัวถอยห่างออกมานิดหนึ่ง แล้วพูดว่า... กราบ ถึงเนื้อถึงตัวเลยหรือ อันนี้มันไม่แน่นอน เดี๋ยวมันก็เน่าเปื่อย เอาพระ ธรรมซิ เคยรู้บ้างไหม ตัวโกรธ ตัวโลภ ตัวหลงน่ะ เป็นยังไง ?

 

เด็กเล็ก ๆ ร้องไห้วิ่งหนีแมว ที่ไล่ตามแย่งปาท่องโก๋ในมือ หลวงพ่อโยนแหนบธูปให้ บอกเอาไว้ไล่แมว ย้ำสอนว่า... หลวงพ่อให้เครื่องป้องกันตัว จะได้ป้องกันตัวเองได้ ไม่ต้องร้องไห้ให้คนอื่นช่วย

 

ข้าพเจ้าทำบุญถวายสังฆทาน แล้วนมัสการว่า... ทำบุญให้พ่อที่ตายไปแล้ว หลวงพ่อสอนว่า... ทำไป จนกว่าจะหมดรัก มันก็หลุดพ้น

 

มีการซ่อมหอระฆัง ข้าพเจ้าดูช่างลงเสา จึงเข้าใจว่างานช่างนั้น ไม่ใช่งานง่าย ๆ จึงเล่าถวายหลวงพ่อ... ลูก ดูช่างเขาวางเสาหอระฆัง พิจารณาดูว่ามันยาก กว่าจะตั้งเสาต้นหนึ่งให้ใช้งาน ได้ ไม่ใช่ง่าย ๆ เหมือนคิดเลย ดูเสร็จเหนื่อยเลยเจ้าค่ะ หลวงพ่อตอบว่า... ดูไป แล้วเกิดความชอบใจ ชาติหน้า อาจได้เกิดเป็นช่างอย่างเขา การดูให้ถูกก็ ดูแล้ว เข้าใจ รู้เรื่อง แล้วก็กอบทิ้งไป ละวางทิ้งไป

 

มี ผู้มาถวายสังฆทานและมีพระพุทธรูปด้วย หลวงพ่อให้ข้าพเจ้านำไปจัดเก็บใน ห้องกระจก ในห้องแน่นไปหมด หาที่วางพระพุทธรูปไม่ได้ ต้องขยับของเดิมให้ชิด ๆ กัน จึงจะมีที่วางพอที่จะวางได้ ในระหว่างที่จัดพระพุทธรูปอยู่ นั้น ข้าพเจ้าพุ่งความสนใจไปที่รูปหล่อของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาล ก่อน ๆ ที่วางอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าพระพุทธรูป แล้วนึกอยู่ในใจตลอดเวลาว่า ไม่สมควร หลวงพ่อเดินตามมายืนอยู่ที่ประตู แล้วบอกข้าพเจ้าว่า... พระเจ้าอยู่หัว อยู่สูงกว่าพระเพราะความจำเป็น ก็ไม่เป็นไร... จาก นั้นหลวงพ่อเดินไปที่ตู้เย็นที่ตั้งอยู่ใกล้เสากลางหอสวดมนต์ หยิบแก้วน้ำ ปานะที่วางบนหลังตู้เย็นมาฉัน แล้วสอนข้าพเจ้าต่อไปว่า... ...ปรับอิริยาบถ ไม่มีวินัยของพระพุทธเจ้าห้ามยืนดื่มกิน ไม่ผิด ถ้าถือตามสมมติมาก ๆ ไป ก็เป็นอุปาทานนะ

 

          ๕. วิธีให้สติ เช่น เมื่อหลวงพ่อทราบว่า รอยพระพุทธบาทจำลองที่ประดิษฐานอยู่ในมณฑปวัดสวนหงส์ ถูกโจรกรรมไป คณะศิษย์และชาวบ้านทราบข่าวก็เริ่มกล่าวร้ายผู้กระทำบาป นั้น หลวงพ่อให้สติว่า...

 

อย่าไปแช่งเขา บาป

 

เขาเอาไปบูชาเพราะความจน แต่เราไม่จนใจ มีใหม่ได้ ใครจะมาเอาไป เราก็มีใหม่ได้

 

เสร็จแล้วเขียน พ.ศ. ไว้เลย จะได้ไม่มีคนมาลักไป เพราะเป็นของใหม่ พวกเราก็จะได้บุญ ได้ร่วมกันสร้าง

 

มี ผู้ชายคนหนึ่งมากราบและนั่งคุยกับหลวงพ่ออยู่ ข้าพเจ้าไม่ทันสังเกต เห็น เดินขึ้นไปกราบหลวงพ่อ และทันได้ยินหลวงพ่อสอนชายคนนั้นว่า... ...จะถอนอย่างไร ? เมียนั้นยังถอนได้ ลูกนี่ถอนไม่ได้ ดี-ชั่ว ก็ต้องดูแลไปจนกว่าเขาตาย หรือเราตายนั่นแหละ

 

เพื่อนของข้าพเจ้าหย่าร้างกับสามี มีทุกข์เกี่ยวกับการดูแลลูก หลวงพ่อเมตตาให้คำเตือนว่า... สิ่งที่เสียไปแล้วก็แล้วไป รักษาสิ่งที่เหลืออยู่คือลูก ให้ดูแล แม้จะต้องทุ่มเทเสียทรัพย์ก็ต้องยอม ผลมันกระทบถึงตัวเรา

 

ลูก ไม่ต้องตี พูดบ่อย ๆ ตี...เด็กจะบอกว่า ทำไม่ได้เดี๋ยวแม่ตี

 

ขณะที่คณะศิษย์ปรึกษากันเรื่องจะทำมุ้งลวดติดประตูหน้าต่างกุฏิถวายหลวงพ่อ อาจารย์ภณิดาพูดถึงแซ่ปัดยุงขึ้นมา หลวงพ่อเตือนว่า... จะมียุงติดอยู่ระหว่างมุ้งลวดกับหน้าต่าง ต้องมีสวิงตักออก แล้วเอาไปปล่อยข้างนอก ใช้แซ่จะทำให้เจ็บ

 

ลูกศิษย์หลายคนมาปรารภว่า... ทำไมหนอถึงยากจน ? หลวงพ่อสอนว่า... ลูกศิษย์หลวงพ่อ ทำใจได้ทุกคน เอาแค่พอกิน


          ๖. วิธีแก้ไขภาษา-คำพูด
 เช่น ข้าพเจ้านมัสการหลวงพ่อเรื่องก่อนหน้านี้หลายปี น้องชายชวนให้มากราบหลวงพ่อ ปลื้ม วัดสวนหงส์ แต่ข้าพเจ้าไม่สนใจปล่อยเวลาล่วงเลยจนพ่อถึงแก่กรรม จึง ได้มากราบหลวงพ่อ... ถึงวันนี้ลูกรู้สึกว่าเสียเวลา หลวงพ่อเมตตาแก้ไขให้ว่า... ไม่ใช่เสียเวลา ยังไม่ถึงเวลา รอเวลา พูดอะไรอย่าให้เสียแก่ตัวเอง ให้ร้ายตัวเอง

 

ข้าพเจ้านมัสการหลวงพ่อว่า... เสียดายที่มาพบพระพุทธศาสนา มาพบเส้นทางนี้ เอาเมื่อบั้นปลายของอายุ หลวงพ่อดุว่า... พูด ไม่ถูก ไปเอาคำพูดของชาวบ้านที่ว่าไปมาพูด ไม่ควรพูด ไม่ควรคิด ต้องคิด ว่า ดีแล้วหนอ ที่ได้มาพบธรรมะ ให้คิดปัจจุบัน ไม่ให้คิดอดีต ไม่ให้คิด อนาคต ปัจจุบันดีแล้วหนอ ที่ได้มาปฏิบัติธรรม

 

เพื่อนปรารภกับข้าพเจ้าว่า... การปฏิบัติธรรม เมื่อทำไป ๆ นาน ๆ เข้า ถ้าวันไหนไม่ได้ทำ รู้สึกเหมือนขาดอะไรไป เหมือนติดยาเสพติด ข้าพเจ้าได้นำความนี้ กราบนมัสการหลวงพ่อ ท่านดุว่า... ยาเสพติดไม่ดี ไม่ให้เอามาเปรียบเทียบกับการปฏิบัติธรรม

 

ข้าพเจ้า นมัสการเรื่องขั้นตอนการหล่อพระพุทธรูปที่เห็นมา เมื่อกะเทาะดินที่พอกออก แล้ว เห็นเหล็กแหลมทิ่มแทงโผล่ออกมาทั่วองค์รูปหล่อ... ดูแล้วรู้สึกสังเวชสลดใจ แต่ไม่ทราบว่าสังเวชสลดใจด้วยเหตุใด แล้วก็ทิ้งไป หลวงพ่อติงว่า... ใช้ภาษาไม่ถูกต้อง ทิ้งไปหรือ ? ข้าพเจ้านมัสการตอบไปว่า... ลืมไป ไม่ได้จดจำไว้ เจ้าค่ะ หลวงพ่ออธิบายต่อว่า... ทิ้งไปก็คือไม่เอา มันลืมต่างหาก ข้าพเจ้านมัสการต่อว่า... ต่อมา ลูกพิจารณาได้ว่า พระพุทธรูป กว่าจะเหลืองอร่ามงามตา มีคนเคารพบูชากราบไหว้นั้น ผ่านความเจ็บปวด... หลวงพ่อท้วงว่า... คำว่าเจ็บปวดเป็นภาษาโลก ข้าพเจ้าจึงนมัสการแก้ไขว่า... ผ่านทุกข์มา มากมายไม่รู้จักเท่าไหร่ กว่าจะงดงามเช่นนี้ แล้วนึกเปรียบเทียบถึงพระอริย สงฆ์ ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็เช่นเดียวกัน ท่านผ่านทุกข์มานับไม่ถ้วน มาก มายมหาศาล กว่าจะมาเป็นพระอริยสงฆ์ที่งดงามมีคนเคารพสักการบูชา

 

ข้าพเจ้า นำข้าวคลุกปลาทูมาให้ลูกแมวเล็กที่วัด บังเอิญว่าข้าวแฉะ เมื่อลูกแมวกิน เข้าไปก็ติดเพดานปาก มันดิ้นรนและพยายามใช้สองตีนหน้าตะกุยที่ปากของมัน อย่างน่าสงสาร ข้าพเจ้าเสียใจ เอ่ยขึ้นมาว่า... ทำบุญได้บาป หลวงพ่อเตือนว่า... พูด อย่างนี้ไม่ได้ เอาของไม่ดีเข้าตัว อย่าพูด อย่าพูดอย่างนี้อีกนะ คนอื่นได้ ยินเดี๋ยวเขาจะพูดตามอย่าง ทำบุญก็ต้องได้บุญ ไอ้ที่มันเกิดขึ้นนั้น มันไม่ มีเจตนา

 

ข้าพเจ้านมัสการหลวงพ่อเกี่ยวกับเรื่องที่พิจารณาได้ว่า...

 

ข้าพเจ้า การได้ทางโลกและทางธรรมมันสวนทางกัน ทางโลกต้องขวนขวายขยับเขยื่อนจึงจะได้ผล ส่วนทางธรรมนั้นนั่งเฉย ๆ จึงจะได้ผลเจ้าค่ะ

 

หลวงพ่อ คือการนั่งให้สงบ แต่ก็จะมีอิริยาบถอื่นเปลี่ยนแปลงบ้าง

 

          ๗. วิธีเล่าเรื่อง เล่าเรื่องเทียบคียง โดย ปกติ หลวงพ่อจะสอนแล้วยกนิทาน/ชาดกมาประกอบได้อย่างกว้างขวาง ไม่อับจน นิทาน/ชาดกที่จะนำมาเล่าสอนใจศิษย์ ให้นำไปคิด นำไปพิจารณา หลวงพ่อมีความ ฉับไวเป็นเอก ในการดึงเอาชาดกและเรื่องราวในพระไตรปิฎก มาสอนเทียบเคียงกับ คำถามของศิษย์ เช่น

 

ข้าพเจ้า นมัสการถามหลวงพ่อ เกี่ยวกับเพื่อนคนหนึ่งเขาบอกว่า เรื่องศีล ถ้าแค่ คิด ยังไม่ทำตามที่คิด อย่างนี้ไม่ผิด ? หลวงพ่อเมตตาให้คำอธิบายว่า... มิจฉา ทิฏฐิ เห็นผิด จึงทำให้คิดผิด ก่อให้พูดผิด แล้วทำผิด พระเทวทัตเห็นผิด จึง คิดผิดอยากจะแทนพระพุทธเจ้า พูดผิดยุแยงพระเจ้าอชาตศัตรู จนทำผิดให้พระเจ้า อชาตศัตรูฆ่าพระบิดา... ไปอธิบายให้เขาฟัง เอาแสงสว่างจากหลวงพ่อไปถามเขาว่า เขาห้ามใจเขา ไม่ให้ คิดอย่างนั้นได้ไหมล่ะ ?

 

หลวงพ่อเล่านิทานเรื่องหนึ่งให้ฟังว่า... หลวง พ่อจะเล่าเรื่องขันที่ฟังมา  ให้ฟัง... ในพระอุโบสถ คนเห็นพระพุทธรูปถูกแดดส่อง จึงเอาผ้าขี้ริ้วบังแดดให้ แล้วออก ไป อีกคนเข้ามาเห็น ว่าผ้าขี้ริ้วอยู่สูงกว่าพระพุทธรูป ไม่เป็นการเหมาะ สม ก็ดึงออก

          ๘.วิธีชักนำให้ใส่ใจธรรมะ คณะญาติโยมและกลุ่มศิษย์ที่ไปกราบถวายเพลหลวงพ่อทุก ๆ วัน และวันละหลาย ๆ คนไม่ขาดนั้น จะจัดเป็น ๓ ความประสงค์ใหญ่ ๆ คือ กลุ่มหนึ่งมีทุกข์ มากราบขอความช่วยเหลือทางใจ อีกกลุ่ม ต้องการโชคลาภ ทางทรัพย์สิน มารอตัวเลข ซึ่งกลุ่มนี้จะมารอในช่วงวันหวยออกและวันก่อนหวย ออกหนึ่งหรือสองวัน ส่วนกลุ่มสุดท้ายต้องการความก้าวหน้าทางธรรม หลวงพ่อไม่ เลือกที่จะเอื้อให้เฉพาะศิษย์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ท่านจะเมตตาเอื้อให้แก่ ศิษย์ทุกกลุ่มและทุกคน

 

ใน เรื่องหวยนี้ หลวงพ่อจะเมตตาเฉพาะศิษย์ที่ใกล้ชิด และมีทุนเก่าที่จะเรียก คืนได้ตามโอกาส ถ้าเป็นญาติโยมทั่วไปที่ไม่รู้ มาถึงก็กราบหลวงพ่อขอเลข บ้าง ขอโชคบ้าง หลวงพ่อก็จะเมตตาสอนด้วยการดุการเตือนกลับไป เพื่อให้ ตระหนักถึงโทษว่า... ไม่เอา เรื่องการพนันไม่ใช่ของดี ให้ตั้งหน้าทำมาหากิน ไปเอาน้ำมนต์กินไล่ผี ผีการพนันเสีย และอีกครั้งที่ข้าพเจ้าได้ยิน... โชค ลาภ แก้วแหวน เงินทอง จะเอาไปทำไม มันนำแต่ทุกข์มาให้ เอาพระพุทธ พระ ธรรม พระสงฆ์ ให้อยู่กับตัวดีกว่า ไม่ว่าจะนั่ง กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ให้ อยู่กับ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นโชคลาภที่ควรหา ให้นึกไว้ว่า วันนี้ โชคดี ที่ได้มากราบพระพุทธ และกับอีกหลาย ๆ ครั้ง หลวงพ่อจะย้ำบอกไปว่า... หลวงพ่อไม่ใช่พระใบ้หวย

 

ศิษย์ ใกล้ชิดจะรู้ว่าควรทำตัวเช่นไร เขาจะไม่เอ่ยปากขอจากหลวงพ่อตรง ๆ แต่จะตั้งจิตมาจากบ้าน มาถึงวัดก็นั่งตั้งใจฟังหลวงพ่อสอน เพื่อจะจับเป็น ตัวเลข ซึ่งเป็นจังหวะที่ใครจะมีโอกาสก็จะได้ตัวเลขไป เช่น

 

วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๑ ตอนเพล หลวงพ่อฉันแล้วสั่งว่า... เอาลงไปกิน กิน ๆ เลือกที่ชอบใจกิน

วันที่ ๓๑ มีนาคม พงศ.๒๕๔๑ ตอนเพล หลวงพ่อฉันแล้วบอกว่า... ที่ฉัน พิจารณาเป็นเพียงธาตุ ๔

 

งวดนี้ กลุ่มรอหวย ได้เลข ๙ กับ เลข ๔ แต่ข้าพเจ้าไม่ได้ติดตามว่าที่เขาตีเลขกันครั้งนี้ถูกหรือไม่ ?

 

กลุ่มรอธรรม  ได้ คำสอนเรื่องการกิน อย่าเลือกนัก อย่ากินแพง อย่าติดในรส เพราะเป็นเพียงธาตุ ๔ กินเข้าไปเพื่อบำรุงเลี้ยงสังขาร เข้าไปอยู่ในท้องแล้วก็ปะปนกันไม่รู้ว่า อะไรเป็นอะไร

 

กลุ่ม รอหวย จะคอยฟังทุกเรื่องที่หลวงพ่อเล่าด้วยความจดจ่อตั้งใจ แล้วเอามาทบทวน เป็นตัวเลข เขาจะแม่นยำในเรื่องที่หลวงพ่อเล่า แต่ไม่แจ้งใจ เพราะมุ่งไปที่ ตัวเลข แต่ต่อไปภายหน้า เมื่อปัญญากล้าขึ้น เขาจะสามารถเข้าใจได้ สามารถที่ จะดึงคำสอนของหลวงพ่อที่เขาจดจำจนขึ้นใจเหล่านั้น มาทบทวนเป็นธรรมะสอนตัว เขาเองได้ไมยาก เพราะคำสอนของหลวงพ่อจะวนเวียนอยู่ในเรื่องกรรมฐาน และใน เรื่องราวจากพระไตรปิฎก ไม่หลุดไปจากนี้ นี่เอง !  คืออุบายวิธีสอนธรรมะของหลวงพ่อสำหรับกลุ่มรอหวย

 

ตาม ความเข้าใจของข้าพเจ้า เหตุที่หลวงพ่อไม่เปิดโอกาสเรื่องตัวเลขให้แก่ญาติ โยมทั่วไป เพราะญาติโยมเหล่านั้นจะมาเพียงครั้งคราวแล้วก็ผ่านไป ไม่เปิด โอกาสให้หลวงพ่อได้ติดตามอบรมสั่งสอน หากหลวงพ่อสงเคราะห์ เขาก็จะลุ่มหลงพา ตัวเองสู่เส้นทางวิบัติ หลวงพ่อจึงใช้วิธีขนาบดุอย่างรุนแรง เพื่อให้เขาได้ เห็นชัดถึงโทษและผลที่จะได้รับ จะได้กลับตัวทัน ผิดกับศิษย์ใกล้ชิด ที่จะ มากราบหลวงพ่อเป็นประจำ ก็จะได้ยินคำสอนซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ย่อมซึมซับไว้ได้มากขึ้นเป็นลำดับ พอที่หลวงพ่อจะค่อย ๆ ดึงเข้าสู่ทางธรรมได้ในโอกาสต่อไป หรือหากไม่มีหลวงพ่อแล้ว เมื่อถึงโอกาส ของเขา เขาก็จะเข้าทางธรรมได้ไม่ยากจนเกินไป แม้เข้าทางธรรมไม่ได้ แต่เมื่อ ถึงคราวคับขัน เขาอาจจะระลึกถึงและดึงเอาคำพูดคำสอนของหลวงพ่อ ออกมาใช้ แก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ ซึ่งหลวงพ่อจะเตือนเสมอไม่ให้ลุ่มหลงในตัว เลข เช่น มีศิษย์คนหนึ่งมากราบนมัสการเรื่องความฝัน หลวงพ่อจะตักเตือนทันที ว่า... ให้โยงฝันเข้าหาธรรมะ  อย่าโยงเข้าหาตัวเลข เป็นการพนัน

          ๙.วิธีตอบคำถาม ยกตัวอย่างประกอบ แก้ไขคำพูด เช่น

ข้าพเจ้า ทุกสิ่งอย่าง ดิ้นรนอยู่ด้วยกรรม

หลวงพ่อ ดิ้นรนทำกรรม เช่นพระเทวทัต มันมีทั้ง ดิ้นรนที่จะทำกรรมดี ดิ้นรนที่จะทำกรรมชั่ว

ข้าพเจ้า    กรรมคือเครื่องร้อยรัดผูกพัน

หลวงพ่อ พระเทวทัตตกนรก เท้าถูกตรึงอยู่ในพื้นถึงตาตุ่ม มือถูกตรึงอยู่กับฝาผนังถึงข้อมือ ตรงส่วนหัวถึงหน้าผาก

ข้าพเจ้า ตัดกรรม ไม่ทำกรรมชั่ว กรรมดีทำ แต่ตัดได้ด้วยการ ไม่หวังผลในการกระทำ เช่นหลวงพ่อเมตตาสั่งสอนโดย ไม่หวังผลจากศิษย์

หลวงพ่อ สิ่งตอบแทน

อีกตัวอย่างหนึ่ง

ข้าพเจ้า    ทำไมครูบาอาจารย์จึงไม่ใช้อิทธิบาท ๔ ให้อายุยืน ละสังขารไปทีละองค์สององค์

หลวงพ่อ เราเป็นปุถุชน ไม่รู้ความรู้สึกของพระอรหันต์ ท่านไม่อยากแล้ว ตัวตัณหาท่านละแล้ว

ข้าพเจ้า ทำไมท่านไม่คิดเมตตาที่จะทรงสังขารอยู่ เพื่อดึงคนเข้าพบพระพุทธศาสนา ให้คนปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

หลวงพ่อ เมื่อ พระสารีบุตรนิพพาน พระอานนท์ร้องไห้ พระพุทธเจ้าถามถึงสาเหตุ พระอานนท์ทูล ตอบไปว่า เมื่อพระสารีบุตรยังอยู่ ยังได้ฟังธรรมเป็นที่เบิกบานใจ พระ พุทธเจ้าจึงถามว่า เมื่อพระสารีบุตรนิพพาน ธรรมะสูญหายตามไปด้วยหรือไม่ ? พระอานนท์ตอบว่า ไม่

ข้าพเจ้า หากใช้อิทธิบาท ๔ เพื่อความมีอายุยืนยาว สังขารจะเป็นเช่นไร ?

หลวงพ่อ ให้ คาดคะเนเอาใช่ไหม ? หลวงพ่อจะเล่าเรื่องโบราณ ไม่ค่อยมีคนเล่า ให้ฟัง มีพระอยู่องค์ หนึ่ง ท่านไปไหน ท่านจะหาบขี้วัวขี้ควายแห้งไปด้วย ใครก็ว่า พระบ้า ก็เพราะ ทำอะไรไม่เหมือนคนอื่นเขา คนทำอะไรไม่เหมือนคนอื่นเขา เขาว่าบ้า

 

          ๑๐.วิธีใช้อุปกรณ์ของจริงสาธิตให้ดู เช่น

          หลัง ฉันเพลแล้ว หลวงพ่อฉันกล้วยน้ำว้าสามลูก แล้วแยกกล้วยที่เหลือ เอาเปลือก กล้วยและกล้วยที่สุกงอมจนเละออกมา สั่งให้อาจารย์ลักขณาเอาถุงมาใส่ จากนั้น หลวงพ่อจัดกล้วยที่ลูกยังสวยอยู่ใส่อีกถุง มีถุงไม่พอ ท่านจึงเทกล้วยงอมเละ และเปลือกกล้วยออกจากถุงลงไปข้างกุฏิให้ไก่กิน ส่งถุงเปล่าให้อาจารย์ลักขณา ใส่กล้วยที่เป็นหวี แล้วให้วางทั้งสองถุงไว้ต้ตู้พระธรรม จากนั้นจึงพูดขึ้น ว่า... กล้วยที่ไม่สวย ก็คัดแยกออกไปแล้ว เหลือแต่ กล้วยที่สวย พระพุทธเจ้าตรัสสอน ให้พิจารณาสังขารร่างกายว่า มันไม่สวย ไม่ งาม เน่าเหม็น ก็แปลกนะ พระพุทธเจ้าเอาร่างกายที่สวยงาม มาสอนว่าไม่สวย ไม่ งาม  ข้าพเจ้านมัสการหลวงพ่อตามภาพที่เห็นหลวงพ่อแสดงว่า... พิจารณา แยกสังขารที่ไม่งามออกมาเรื่อย ๆ เหมือนหลวงพ่อแยกกล้วย ก็จะเหลือแต่ความงาม เหมือนกล้วยในถุง กล้วยในถุง ที่สวยงาม ที่หลวงพ่อคัดออกมาแล้วนั้น ต่อไปก็จะต้องเน่าเหม็น ไม่สวย ไม่ งาม ก็ต้องถูกคัดทิ้งไป จนกระทั่งไม่มีอะไร ว่างเปล่า

          วิธี สอนที่กล่าวมาแล้ว และ กับอีกหลาย ๆ วิธีสอนที่เกินความสามารถของข้าพเจ้าที่จะนำมากล่าวได้... สืบเนื่องมาจากปฏิภาณไหวพริบที่ปรากฏมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็ก ๆ ซึ่งหลวงพ่อเคยเล่าให้ฟังว่า... ตอนเป็นเณรอยู่ ที่วัดน้อย หลวงพ่อเด็ดดอกจำปี เพื่อน ๆ ว่าจะต้องถูกตี หลวงพ่อก็คิดว่า ทำอย่างไรจะไม่ถูกตี ? ก็เอาดอกไม้ไปถวายพระที่จะตีนั่นแหละ ท่านก็ถามว่าชอบไหม ? หลวงพ่อตอบท่านไปว่าชอบ ท่านบอกว่าชอบก็เอาไป เป็นอันไม่ถูกตี... เพราะปฏิภาณไหวพริบในการคิดค้นวิธีการและการโต้ตอบที่เฉียบคมทันควันนี้ ส่ง ผลให้หลวงพ่อปลื้มมีกลวิธีที่แยบคายในการปรับเปลี่ยนวิธีอบรมสั่งสอนศิษย์ ได้อย่างไม่รู้จบ

 


 

หลักธรรมของพระพุทธองค์

ย้อนความทรงจำจากคำกล่าวสอนของหลวงพ่อปลื้ม

เรียบเรียงโดยอาจารย์วสันต์ กัลย์จารึก

 

เสริมสร้างกำลังใจกำลังกายด้วยสมาธิ พยายามรักษาจิตและกายให้เสื่อมช้า รักษาใจอย่าพ่ายแพ้ต่ออารมณ์ที่มารบกวน พยายามค้นหาความสุขที่แท้จริง  พยายามหลีกเลี่ยงความสุขที่เกิดจากการปรุงแต่ง  ดำรงตนอยู่ด้วยความพอดี คิดค้นความพอดีเหตุให้เกิดความสุข  สร้างความสบายกายและใจให้พอดี รักษาสันโดษให้สม่ำเสมอ พอใจในสิ่งเฉพาะหน้า รู้จักปล่อยวาง  รำลึกเสมอว่าทุกสิ่งเป็นธรรมดา มองโลกในแง่ดี พูดจาอ่อนหวานและเสริมสร้างประโยชน์แก่ผู้ฟัง มองสิ่งรอบตัวเราให้เป็นครู เมื่อใจสงบกายก็เย็น พยายามนึกว่าธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ทำใจให้เข้าถึงธรรมะอย่างแท้จริง  เดินทางสายกลาง ใช้ธรรมะเป็นแสงสว่างทางใจ มีจิตใจสุขโดยไม่ได้ปรุงแต่ง  รู้เท่าทันต่อสิ่งทั้งปวง เรียนรู้หลักเกณฑ์เพื่อความอยู่รอดในสังคม โอนอ่อนผ่อนตาม ลดทิฏฐิมานะ ให้รู้ว่าสรรพสิ่งมีความเปลี่ยนแปลง ใช้ธรรมะพิจารณาสิ่งที่อยู่รอบตัว ขจัดความทุกข์จากการปรุงแต่ง หาความสงบจากธรรมชาติ หาความสุขที่เกิดจากวิเวกและจำไว้ว่าสุขใดยิ่งกว่าความสงบไม่มี  อามิสสุขความสุขที่ต้องอาศัยเครื่องจูงใจ ทำใจให้มีความสงบทุกสถานที่ ตั้งสติควบคุมสภาพจิตใจให้คงที่ รักษาใจให้มั่นคง มีชีวิตอยู่ในโลกอย่างสงบสุข หมั่นควบคุมอารมณ์ของตนเอง เตรียมตัวในการรับการกระทบจากสิ่งต่าง ๆ ไว้เสมอ สติในการกำหนดรู้  เรียนรู้กฎของธรรมชาติ  ตอบรับธรรมชาติด้วยหลักการของธรรมะ  ใช้ธรรมะต่อสู้กับปัญหาชีวิต  ต้องรู้ว่าตัณหาต้นเหตุของการเกิดทุกข์ ค้นหาหลักธรรมเพื่อการหลุดพ้นจากความทุกข์ ใช้กำลังใจตนเองยกตนขึ้นจากหล่มแห่งความทุกข์ ใช้ธรรมะเป็นแสงสว่างนำทางให้ชีวิต  ช่วยเหลือและพึ่งตนเอง ควรรู้ว่าตัวต้นเหตุของทุกข์ทั้งปวงเกิดจากความยึดถือ ควรใช้สติปัญญาเป็นเครื่องควบคุมจิตใจ พยายามอยู่อย่างผู้ชนะตนเอง...


 หลวงพ่อปลื้ม จิตฺตสญฺญโต

คำสอนของหลวงพ่อ

..........คำ สอนของหลวงพ่อต่อไปนี้  เป็นคำสอนที่ข้าพเจ้าได้จดบันทึกไว้  จากที่ได้ฟังเองบ้าง  เพื่อนเล่าให้ฟังบ้าง  รวบรวมมาเรื่อย ๆ  คำสอนส่วนนี้จะคละกันไป  ในเรื่องของกรรมฐานซึ่งยากง่ายลึกซึ้งแตกต่างกันไปตามกำลังความสามารถของผู้ ถามบ้าง  ในเรื่องของการให้กำลังใจแก่ศิษย์ที่กำลังมีทุกข์ต่าง ๆ บ้าง  และบางคำสอนก็จะยกแต่คำสอนมาโดยที่ไม่ได้กล่าวถึงบริบท  ฯลฯ  ดังนั้น  จึงอาจจะทำให้อ่านแล้วไม่สู้เข้าใจนัก  เหมือนที่เพื่อนหลาย ๆ ท่านอ่านแล้วบอกข้าพเจ้าว่า  ไม่รู้เรื่อง  หากเป็นเช่นนั้น  ข้าพเจ้าก็ขอกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ 

          ๑.  วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์  พ.ศ.๒๕๔๐  มีพระรูปหนึ่งคุยกับหลวงพ่ออยู่  ข้าพเจ้านำน้ำปานะเข้าไปถวาย  หลวงพ่อยังไม่รับน้ำปานะ  ข้าพเจ้าจึงต้องนั่งรออยู่ตรงนั้น  มีโอกาสได้ยินหลวงพ่อพูดกับพระองค์นั้นว่า... “การหลุดพ้น  เป็นหลักสำคัญของการปฏิบัติ  อิทธิ  เอาไว้ปราบพยศ  มี  พระพุทธเจ้ากล่าวไว้  แต่ห้ามใช้…”

          ๒.  วันที่ ๑๖ มกราคม  พ.ศ.๒๕๓๘  หลวงพ่อกล่าวถึงความหมายของคำว่า  “ปาฏิหาริย์”  ว่า... “ปาฏิหาริย์  คือสิ่งที่ผู้หนึ่งทำได้  แต่ผู้อื่นทั่ว ๆ ไปทำไม่ได้  พระพุทธเจ้าทำปาฏิหาริย์  แล้วขึ้นไปโปรดพุทธมารดาบนดาวดึงส์  ก้าวขึ้นไป ๓ ก้าวก็ถึง”

          ๓.  วันที่ ๒๔ มกราคม  พ.ศ.๒๕๓๙  หลังจากที่ข้าพเจ้าแจ้งกรรมฐาน  หลวงพ่อได้กล่าวถึงเหตุที่ไม่พูดเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ว่า... “เรื่องแปลก ๆ อย่างนี้  หลาย ๆ อย่างเกิดขึ้นกับหลวงพ่อ  แต่หลวงพ่อพูดให้ใครฟังไม่ได้  จะกลายเป็นอุตริมนุสธรรม”

          ๔.  วันที่ ๑๓ กรกฎาคม  พ.ศ.๒๕๓๙  มีเด็กผู้ชายอายุประมาณแปดเก้าขวบสองคนมากราบหลวงพ่อ  คนหนึ่งโดนมีดบาด  ชูนิ้วให้หลวงพ่อดู  แล้วบอกว่า...
เด็ก           “แม่บอกให้หลวงพ่อเป่า”
หลวงพ่อ    “รอเดี๋ยว”
..........หลวง พ่อสั่งแล้วลุกเดินไปหยิบขนมเปี๊ยะหนึ่งอันจากในย่ามที่แขวนอยู่ที่หัวเสา บันไดขึ้นชั้นบน  เอามายื่นให้เด็กทั้งสอง  แล้วบอกให้เอาไปแบ่งกัน  พร้อมทั้งเป่านิ้วที่เจ็บให้  เมื่อเด็กลงไปแล้ว  หลวงพ่อเล่าให้ฟังว่า...
หลวง พ่อ    “เด็กสองคนนี่ชอบมากราบหลวงพ่อ  ขนมเปี๊ยะนี่  เขานิมนต์หลวงพ่อฉันเช้า  หลวงพ่อเก็บใส่ย่ามมา  พระที่เห็นชอบใจ  ถามหลวงพ่อว่าเอาอีกไหม ?  หลวงพ่อว่าอันเดียวก็พอแล้ว... มันก็แปลก  ญาติโยมนี่ชอบใจที่เห็นเราโลภ  พอดีที่นิมนต์นี่เป็นญาติกัน”
ข้าพเจ้า  “ลูกก็แปลกใจ  เพราะหลวงพ่อไม่เคยเก็บ(ตุน)ของกิน”

          ๕.  วันที่ ๖ กันยายน  พ.ศ.๒๕๓๙  หลวงพ่อเล่าเรื่องพระขออนุญาตทำสวนหย่อมในวัดว่า... “พระ ท่านจะทำสวนหย่อม  หลวงพ่อจะให้เทปูน  เอาเศษเหล็กที่ไม่ดีวางบนถนนปูน  ส่วนเหล็กดีก็วางบนดิน (บริเวณที่จะทำสวนหย่อมจะเป็นพื้นดินที่ติดกับถนนปูนเก่า)  เทปูน  ได้ประโยชน์ไว้จอดรถ  คำว่าสวนหย่อม  ไม่น่าเข้ามาในวัด  มันเสียเวลาดูแลรักษา  แย่งเวลาทำกิจอย่างอื่น  คงต้องเป็นไปตามความคิดของหลวงพ่อ”  

          ๖.  วันที่ ๑ ธันวาคม  พ.ศ.๒๕๓๙  มีศิษย์ถามคำถามหลวงพ่อ...
ศิษย์        “สังขาร (ปรุงแต่ง)  กับ  ปัญญา  ต่างกันอย่างไร ?”
หลวงพ่อ  “รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ...ถามใหม่ซิ ?”
ศิษย์        “การปรุงแต่ง  กับ  ปัญญา  เมื่อเกิดขึ้นแล้วต่างกันอย่างไร ?”   
หลวง พ่อ  “ปรุงแต่งนั้นมันเกิดแล้วก็ดับ  ปัญญาก็เกิดแล้วดับเหมือนกัน  เช่นดวงไฟ  พระพุทธเจ้าขึ้นไปโปรดพุทธมารดา  จนพุทธมารดาได้ปัญญาเป็นพระโสดาบัน  ท่านก็จะทรงสภาพโสดาบัน...ตอนนี้ก็คงจะยังไม่เข้าใจ  แล้วต่อไปก็จะเข้าใจเอง”

          ๗.  วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์  พ.ศ.๒๕๓๙  มีศิษย์ถามคำถามหลวงพ่อ
ศิษย์         “เกิด มีเรื่องที่รู้ที่เข้าใจในสมาธิ  พอจดบันทึก  ก็รู้เพิ่มขึ้น  จึงไม่แน่ใจว่า  ที่รู้เพิ่มขึ้นนี้  เป็นการปรุงแต่งของสัญญาหรือไม่ ?”
หลวง พ่อ    “รู้แล้ว  มั่นใจในสิ่งที่รู้ไหม ?  ถ้ามั่นใจก็คือตัวปัญญา  รู้ด้วยปัญญา  รู้ด้วยสมาธิ  รู้ได้ทุกอิริยาบถ  ยืน  เดิน  นั่ง  นอน  แม้จะเขียนก็ยังมีสมาธิอยู่  มันก็ปรุงแต่งทั้งนั้น  อยู่ที่ว่าปรุงแต่งถูก  หรือ  ปรุงแต่งผิด”

 

          ๘.  วันที่ ๒๐ มิถุนายน  พ.ศ.๒๕๓๘  เป็นครั้งแรกที่ข้าพเจ้าและเพื่อน ๆ ไปวัดประดู่ทรงธรรม  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  เมื่อกลับมาถึงสุพรรณบุรี  ได้แวะกราบหลวงพ่อที่วัดสวนหงส์ก่อน  พวกเราเล่าความรู้สึกว่า  เสียดายวิหารที่ทรุดโทรม  หลวงพ่อสอนว่า... “อย่าง นี้  ก็ต้องย้อนกลับไปอีกละซิ... ที่ไปนี้  เพื่อการพิจารณาละวาง  มิใช่เพื่อการยึดการย้อนทวนกลับไปอีก  จะทำให้ไม่หลุดพ้น  ให้พิจารณาดูว่า  ทุกสิ่ง  มีการแตกดับไปเป็นธรรมดา  ใช้วิปัสสนาพิจารณา  นามรูปังอนิจจัง  นามรูปังทุกขัง  นามรูปังอนัตตา”

          ๙.  วันที่ ๑๗ มกราคม  พ.ศ.๒๕๔๑  ข้าพเจ้าอ่านข่าวเรื่องการโคลนนิ่งกบไม่มีหัว  และแนวคิดที่จะโคลนนิ่งคนไม่มีหัว  เพื่อเอาอวัยวะไปเปลี่ยนให้คนไข้  ข้าพเจ้ามีข้อข้องใจ  จึงนมัสการถามหลวงพ่อ...
ข้าพเจ้า    "การกระทำเช่นนี้  จะผิดศีลธรรมหรือไม่ ?  จะรู้ว่ามีจิตตอนไหน ?  เจ้าคะ”
หลวงพ่อ   “จะบาปหรือไม่  ให้ดูว่า  สิ่งนั้นมีความรู้สึกหรือไม่”

          ๑๐.  วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์  พ.ศ.๒๕๓๙  มีผู้ชายคนหนึ่งมากราบหลวงพ่อ  และนมัสการว่า...
ผู้ชาย        “ต้องทำงาน  ต้องรับผิดชอบ  หาเวลาปฏิบัติธรรมไม่ได้  ต้องต่อสู้กับกิเลสสิ่งรอบตัวทางโลก”
หลวงพ่อ    “เพราะการงาน  ทำให้สิ่งที่มีเหมือนไม่มี”

          ๑๑.  วันที่ ๒๔ เมษายน  พ.ศ.๒๕๓๙  แมวที่บ้านของข้าพเจ้าไม่สู้แมวตัวอื่น  บางครั้งข้าพเจ้าต้องยุให้มันสู้  ข้าพเจ้านำเรื่องนี้นมัสการหลวงพ่อ  ท่านสอนว่า... “อย่าไปสอนเขาอย่างนั้นนะ  มันบาป  นโปเลียนกล่าวไว้ว่า  ผู้ชนะที่แท้คือผู้ล่าหนี”

          ๑๒.  วันที่ ๓ พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๕๔๑  คณะรักษาอุโบสถนมัสการถามหลวงพ่อว่า...
ผู้ถาม        “มีคนพูดว่า  พระองค์อื่นทำบุญ  สร้างอะไรต่อมิอะไรมากมาย  หลวงพ่อปลื้มไม่เห็นทำบุญอะไรเลย ?”
หลวงพ่อ    “หลวงพ่อทำตามอย่างพระพุทธเจ้า”

          ๑๓.  วันที่ ๑๔ มีนาคม  พ.ศ.๒๕๓๘  ข้าพเจ้าไปงานพระราชทานเพลิงศพน้าชาย  แล้วมากราบนมัสการหลวงพ่อ...
ข้าพเจ้า     “ลูกไปงานศพน้าชายมา  ศพอยู่ในโกศ  มีแตรสังข์บัณเฑาะว์ประโคม  ขณะอยู่ในงานพิจารณาว่า  ยามผู้ที่อยู่ในโกศยังมีชีวิต  ลาภ  ยศ  สรรเสริญ  สุข  ทุกข์  ห้อมล้อมอยู่  เมื่อไม่มีชีวิตแล้ว  ขณะสวดพระอภิธรรมศพ  และในงานพระราชทานเพลิงศพ  แม้น้าชายไม่เห็น  สิ่งเหล่านั้นก็ยังมาห้อมล้อมอยู่  แต่เมื่อนำสังขารร่างกายเข้าสู่เตาเผามอดไหม้ไปแล้ว  โกศและเครื่องบรรเลงแสดงฐานะของผู้ตายก็จากไป  ผู้คนที่มาร่วมงานก็จากไป  ญาติ ๆ ก็จากไป  มีเพียงลูกเมียใกล้ชิด  รอเวลาที่จะนำส่วนที่เหลือของเขา... ไปสู่ทะเลไกลแสนไกล  สุดท้าย  ไม่มีอะไรเหลือสำหรับเขา... เจ้าค่ะ”
หลวงพ่อ   “นั่นคืออนัตตา  ที่สุดไม่เหลืออะไร  เป็นอนัตตา  เหลือคุณความดีความชั่วอยู่”

          ๑๔.  วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๕๓๘  ข้าพเจ้าไปวัดสวนหงส์  ได้ยินเสียงแมวร้องอย่างที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน  จึงไปกราบนมัสการหลวงพ่อ...
ข้าพเจ้า     “หลวงพ่อเจ้าคะ  ลูกได้ยินเสียงแมวร้องคล้ายเสียงเด็กร้องไห้โยเย”
หลวงพ่อ    “มันร้องเพราะเหตุใด ?  ทุกขเวทนาหรือไม่ ?”
ข้าพเจ้า     “ร้องเพราะทุกขเวทนาเจ้าค่ะ”
หลวงพ่อ    “อบาย  อบายภูมิ  นรกภูมิ  เปตภูมิ  เดรัจฉานภูมิ  อสุรกายภูมิ... เป็นมนุษย์นี่ดีแล้ว  รักษาภูมิมนุษย์ไว้ ให้ดี !”
..........หลัง จากวันที่กราบเรียนหลวงพ่อ  ข้าพเจ้าเห็นแมวตัวนั้น  มาป้วนเปี้ยนอยู่ข้าง ๆ หลวงพ่อ  ดูมันสดชื่นแจ่มใส  และไม่ร้องเสียงแปลก ๆ อย่างนั้นอีก... นอกจากนี้  มันจะคอยไล่ตะปบชายจีวรของหลวงพ่อเล่นอย่างเพลิดเพลิน  จนทำให้ข้าพเจ้าเกิดความเข้าใจและซาบซึ้งอย่างประมาณไม่ได้กับคำว่า  “ชายผ้าเหลือง”

          ๑๕.  วันที่ ๑๒ มกราคม  พ.ศ.๒๕๓๙  อาจารย์จากวิทยาลัยพลศึกษาท่านหนึ่งพาเพื่อนมากราบหลวงพ่อ  ข้าพเจ้าได้ยินคำสนทนาในวันนั้นดังนี้...
อาจารย์     “ทางโลกยังไปไม่ได้คือดวงอาทิตย์... มันร้อน”
หลวงพ่อ    “พระพุทธเจ้าสามารถลูบได้ทั้งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์  ของร้อนก็ไม่ร้อน เป็นเรื่องของอิทธิปาฏิหาริย์”
เพื่อน        “อยากปฏิบัติธรรมครับ”
หลวงพ่อ   “เอาเดี๋ยวเลยไหมล่ะ ?”
เพื่อน       “ยังเตรียมอะไรมาไม่พร้อมครับ”
หลวงพ่อ   “ต้องเตรียมอะไร ?  ปฏิบัติธรรม... เตรียมอย่างเดียวพอ  อะไรล่ะ ?”
อาจารย์    “เตรียมใจครับ”
หลวงพ่อ หัวเราะชอบใจ  แล้วบอกว่า...
 ..........   .“ถูกแล้ว  เตรียมใจอย่างเดียวพอแล้ว  ใช้มือกราบไหว้บูชาพอ”
.......... จากนั้นหลวงพ่อเรียกพระอาจารย์ไพศาลให้พาไปขึ้นกรรมฐานที่โบสถ์  สั่งพระอาจารย์ไพศาลว่า...“วันนี้วันเด็ก  ก็พาเด็ก ๆ ไปขึ้นกรรมฐาน”

          ๑๖.  วันที่ ๑๘ กันยายน  พ.ศ.๒๕๓๙  หลวงพ่อเมตตาตอบคำถามข้าพเจ้าเกี่ยวกับเรื่อง  “นิพพานธาตุ”  ว่า... “นิพพาน ธาตุ  มีในพระไตรปิฎก  ยังต้องใช้คำพูดมาแสดง  จะสงัดหรือสงบ  ก็เป็นการหาคำพูดมาอธิบาย  แต่จริงแล้ว  นิพพานไม่มีคำอธิบาย  ไม่มีรูปร่าง  ไม่มีขนาด  มีคำกล่าวว่า  เอเสวนฺโต  ทุกฺขสฺส  สิ้นทุกข์”

          ๑๗.  วันที่ ๘ ตุลาคม  พ.ศ.๒๕๔๐  ศิษย์ผู้หนึ่งเล่าความฝันให้หลวงพ่อฟัง  แล้วบอกว่าเป็นฝันร้าย  หลวงพ่อเมตตาให้คำแนะนำว่า... “โยม ผู้ชายเคยสอนว่า  ฝันร้ายให้สวดยันทุนฯ  ถ้าสวดไม่ได้  ให้อยู่ในสมาธิ  ลงมาที่  นามรูปังอนิจจัง  นามรูปังทุกขัง  นามรูปังอนัตตา  พิจารณาว่า – รูป-นาม  ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  ไม่ควรยึด  จนจิตสงบดีแล้ว  ก็ค่อยเข้าห้องภาวนา”

          ๑๘.  วันที่ ๒๙ ธันวาคม  พ.ศ.๒๕๔๑  มีศิษย์มาแจ้งกรรมฐานหลวงพ่อว่า...
ศิษย์        “เรื่องที่รู้แล้วจริงตามรู้นั้น  จะเกิดในโอกาสที่ว่างจากตัวโลภ  โกรธ  หลง  และตัวอยาก”
หลวงพ่อ   “ปัญญานี้  รักษาไว้ให้ดี”
ศิษย์        “รักษาอย่างไรเจ้าคะ”
หลวงพ่อ  “พิจารณาโลกโดยเป็นของสูญ... รักษาโดยการฝึกบ่อย ๆ  โดยการใช้ให้คล่อง”

          ๑๙.  วันที่ ๑ มิถุนายน  พ.ศ.๒๕๓๙  ข้าพเจ้าไปตามวัดต่าง ๆ  ที่ประชาชนนิยมไปกราบไหว้เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง  เห็นลักษณะพุทธพาณิชย์เป็นส่วนใหญ่  ไม่ว่าการมีพระมานั่งประจำคอยพรมน้ำมนต์  คอยรับสังฆทาน  ให้เช่าวัตถุมงคล  ฯลฯ  เห็นแล้วไม่สบายใจนัก  เมื่อมีโอกาสจึงเล่าถวายหลวงพ่อ...
หลวงพ่อ “เรามันเคยเห็นที่ดี  ต่อไปก็คิดว่าไม่ไปอีกแล้วซิ ?” 
ข้าพเจ้า  “คงไม่ไปอีกแล้วเจ้าค่ะ”
หลวงพ่อ “ยึดคำสอนของพระพุทธเจ้า  อย่าติเตียนผู้อื่น  ให้พิจารณาถึงความเสื่อม”

          ๒๐.  วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๕๓๙  มีศิษย์มาแจ้งกรรมฐานหลวงพ่อ...
ศิษย์       “มีชีวิตอยู่  ทำหน้าที่  รักษาศีลห้าให้บริสุทธิ์  เมื่อตายไป  ก็สืบชาติใหม่”
หลวง พ่อ “คือ ธรรมะก้อนโตเป็นอย่างนี้  ทำไม่ได้หรอก  มันละได้ชั่วคราว  แล้วก็กลับมาใหม่(ชั่วคราว)  ถ้าค่อย ๆ ละได้  ความดีก็เพิ่มขึ้น  ก็ค่อย ๆ ละได้  ความดีก็เพิ่มขึ้น ๆ ๆ ๆ  ที่สุดก็ละได้หมด  คือนิพพาน”

          ๒๑.  วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๕๓๙  ข้าพเจ้านมัสการหลวงพ่อถึงเหตุที่กว่าจะมาเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อ...
หลวงพ่อ “แล้วจะได้รู้ว่า  ทำไมจึงต้องมาอยู่ตรงนี้  ตรงนั้น”
ข้าพเจ้า “ลูก เข้าใจว่า  ทุกคนมีที่มา  มีที่ไป  จุดที่จะไปนั้น  มันอาจจะหักเหไปได้  ทำให้ที่ไปนั้นไม่เป็นไปเหมือนเดิม  อาจจะไปไม่ถึงที่ที่ควรจะไป  หรือไปเลยที่ที่ควรจะไป  เจ้าค่ะ”
หลวงพ่อ “ตรงนั้นคืออุปสรรค  ที่มาขัดขวาง  อุปสรรคนี้  อาจจะเป็นสิ่งดีก็ได้  สิ่งไม่ดีก็ได้”
..........วัน รุ่งขึ้น  ขณะที่ข้าพเจ้ากำลังแจ้งกรรมฐานหลวงพ่ออยู่  มีคนขึ้นมากราบขอให้หลวงพ่อเจิมรถให้เป็นเหตุให้การแจ้งกรรมฐาน  ต้องหยุดชะงักลง  ก่อนที่จะไปเจิมรถให้โยมผู้นั้น  หลวงพ่อหันมาถามข้าพเจ้าว่า...
หลวงพ่อ “เมื่อกี้พูดเรื่องอะไรค้างอยู่ ?”
ข้าพเจ้า  “แจ้งกรรมฐานหลวงพ่อค้างอยู่เจ้าค่ะ”
หลวงพ่อ “นี่ !  คืออุปสรรค”

          ๒๒.  วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๕๓๙  ตอนเพล  ขณะที่หลวงพ่อกำลังฉันอยู่  แมวกระโดดขึ้นมาป้วนเปี้ยนอยู่บนโต๊ะฉัน  หลวงพ่อใช้ด้ามช้อนเคาะหัวมัน  แล้วหันมาสอนข้าพเจ้าว่า... “แมวนี่  ต้องตีมันให้เจ็บ  เคาะหัวมันให้เจ็บ  มันจะได้หดเล็บที่กางอยู่เข้าไป  แล้วมันก็จะเป็นสุข  ตีแมวอย่างนี้ไม่บาป”

          ๒๓.  วันที่ ๔ มกราคม  พ.ศ.๒๕๔๐  มีลูกศิษย์คนหนึ่งของหลวงพ่อมาบวชพระ  เขามาตามลำพังคนเดียว  เด็กวัดจึงมาตามข้าพเจ้าให้ไปเป็นโยมช่วยถวายดอกไม้พระ  เป็นเหตุให้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสอยู่ในพิธีบวชพระองค์นั้น  และได้ยินหลวงพ่อสอนพระบวชใหม่ว่า... “... เรื่องสำคัญคืออาบัติปราชิก  เมื่อรู้ว่าพระข้างในดับ  แม้พระข้างนอกยังห่มผ้าเหลือง  ก็ไม่ใช่พระแล้ว  ต้องถอดผ้าเหลืองไว้ที่ต้นไม้แล้วหนีหายไป  อาบัติปราชิกมี ๔ ประการ อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน  เสพเมถุน  เจตนาฆ่ามนุษย์  หยิบของผู้อื่นตั้งแต่ ๑ บาท  ให้เหมือนเป็นพ่อลูกกัน  มีความอ่อนน้อม  เชื่อฟัง  ตักเตือนกันได้...”  หลวงพ่อหันมาทางพระมหาบุญงาม  แล้วสอนต่อไปว่า... “ในตัวหลวงพ่อ  ยังมีอะไรอีกมากมาย  ที่ยังขยายไม่ออก”  (คำพูดครั้งนี้  เป็นเหตุให้พระมหาบุญงามต้องพักการเรียนบาลีไว้ระยะหนึ่ง  มาจำพรรษาที่วัดสวนหงส์  ศึกษากรรมฐานกับหลวงพ่อ)

          ๒๔.  วันที่ ๒๖ มิถุนายน  พ.ศ.๒๕๓๘  ข้าพเจ้าท้อแท้กับนักเรียน  ที่คุณธรรมต่าง ๆ ลดน้อยถอยลงไปเอามาก ๆ  จึงมากราบนมัสการปรับทุกข์กับหลวงพ่อ  หลวงพ่อเมตตาให้ข้อคิดว่า... “ให้ยินดีอดกลั้นอดทนเอาไว้  เด็กก็คือเด็ก”

          ๒๕.  วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๕๓๙  ตอนเพลข้าพเจ้าไปกราบหลวงพ่อ  ท่านเมตตาสอนว่า... “ราคะ  กับ  โลภะ  เป็นตัวเดียวกัน  กลับกันได้  สลับกันได้  มีคนมากราบหลวงพ่อที่ตักเพื่อแสดงความใกล้ชิด  หลวงพ่อก็ดุไปว่า  เป็นตัวโลภ  แต่ถ้าเขาถูกตัวใกล้ชิดกับคู่ของเขา  นั้นเป็นราคะ”
..........ข้าพเจ้านำคำสอนนี้ของหลวงพ่อไปทบทวนพิจารณา  แล้วกลับไปนมัสการหลวงพ่ออีกครั้งเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๕๓๙
ข้าพเจ้า “หลวง พ่อเจ้าคะ  เรื่องโลภะกับราคะ  ที่หลวงพ่อว่าสลับกันได้  ตอนนี้ลูกเข้าใจแล้วว่า  ต้นตอของโลภะมี ๒ อย่างคือ  ราคะ  เป็นต้นตอให้เกิดโลภ  เรียกว่าราคะ  และอยาก  เป็นต้นตอให้เกิดโลภ  เรียกว่าโลภะ  เจ้าค่ะ”
หลวง พ่อ “ใช่ แล้ว  แม้ไม่ได้เรียนปริยัติ  แต่ก็สามารถรู้ได้  เข้าใจได้  เมื่อได้ยินคนเรียนปริยัติพูด  เขารู้ปริยัติกันอย่างไร  เราก็จะรู้อย่างนั้น”

          ๒๖.  วันที่ ๙ กันยายน  พ.ศ.๒๕๓๘  ข้าพเจ้านมัสการหลวงพ่อเกี่ยวกับเรื่องรูป-นาม  การละอุปาทานในรูป-นาม  หลวงพ่อเมตตาให้คำตักเตือนว่า... “เมื่อปฏิบัติรู้แล้ว  ก็อ่านปริยัติทบทวนดูแนวทาง  หนังสือเป็นปริยัติ  หนังสือผิดก็มี  จะเข้าใจผิด ๆ”

          ๒๗.  วันที่ ๑๐ พฤษภาคม  พ.ศ.๒๕๓๙  ข้าพเจ้านมัสการหลวงพ่อเรื่องพระเครื่อง...
ข้าพเจ้า “พระ เครื่อง  มีเกจิอาจารย์ที่มีพลังจิตกล้าแข็งเปี่ยมด้วยเมตตาพุ่งกระแสพลังประจุไว้  เมื่อเอามาแขวน  กระแสพลังนั้นจะกระจายแผ่คลุมทั่วตัวผู้นั้น  หากมีกรรมมากระทบ  ถ้าเป็นกรรมอ่อน  พลังนี้จะทำให้กรรมนั้นเข้ามากระทบไม่ได้  ใช่ไหมเจ้าคะ ?”
หลวงพ่อ “กรรมนั้นหลุดไป  แต่จะไปรอส่งผลในชาติหน้า”

          ๒๘.  วันที่ ๒ พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๕๓๙  น้องสะใภ้ของข้าพเจ้าเป็นโรคไต  กำลังอยู่ในระหว่างการรักษา  ข้าพเจ้าพาไปถวายสังฆทานหลวงพ่อ  และขออนุญาตหลวงพ่อให้เขายกกระทงกรรมฐาน...
หลวงพ่อ “เคยขึ้นกรรมฐานแล้วหรือยัง ?”
ข้าพเจ้า  “เคยแล้วเจ้าค่ะ  แต่ไม่ได้นั่งประจำ  เพิ่งมาเริ่มต้นนั่งตอนเริ่มไม่สบาย”
หลวง พ่อ “ถ้า จำได้ก็บริกรรมไป  ไม่ต้องขึ้นใหม่  การนั่งกรรมฐาน  เป็นการป้องกันพวกมารที่จะเข้ามาซ้ำเติม  ให้เข้ามาไม่ได้  ต้องใช้เวลารักษา  แล้วก็จะค่อย ๆ หายไปเอง... ช่วยให้รอดรักให้ชิดพิสมัย”

          ๒๙.  วันที่ ๒ ตุลาคม  พ.ศ.๒๕๓๙  ข้าพเจ้าถามหลวงพ่อเรื่องการสวดมนต์  ว่าสามารถปัดเป่าเรื่องร้ายได้หรือไม่  หลวงพ่อตอบว่า... “ได้  เอาพระเข้าตัวให้มาก ๆ  เรื่องที่หนักก็เบา  เรื่องที่เบาก็หายไป”

          ๓๐.  วันที่ ๓๐ สิงหาคม  พ.ศ.๒๕๓๙  หลวงพ่อเมตตาเล่าเรื่องของท่านพาหิยะฯ  แล้วอธิบายคำว่า  “สักว่าเห็น”  ให้ฟัง.. “มองเห็นสิ่งใดก็สักแต่ว่าเห็น  สักแต่ว่าเห็น  สักว่าเห็น  หมายถึง  เห็น  แต่ไม่เข้าถึงรสเปรี้ยว  หวาน  มัน  เค็ม  อร่อย  แค่เห็นเท่านั้น”

          ๓๑.  วันที่ ๑ กรกฎาคม  พ.ศ.๒๕๓๙  มีผู้นำโสมผงมาถวายหลวงพ่อไว้  แล้วขอร้องข้าพเจ้าให้ช่วยชงถวายหลวงพ่อด้วย  แต่ทุกครั้งที่มาวัด  ข้าพเจ้าจะชงนมขิงถวาย... วันนี้มีศิษย์หลวงพ่อคนหนึ่งอยู่ด้วย  ข้าพเจ้าจึงเล่าให้เขาฟัง  และขอร้องเขาว่า  ถ้ามาวัดช่วยชงโสมนี้ถวายหลวงพ่อแทนด้วย  เพราะข้าพเจ้าจะชงนมขิงของข้าพเจ้าถวายหลวงพ่อ  ในขณะที่บอกเขา  หลวงพ่อได้ยิน  จึงสอนทันทีว่า... “นั่นแหละ  มันเป็นตัวหลง  ตัวยึด  แล้วมันจะหลงทาง  หลง  ต้องระวังให้ดีนะ”

          ๓๒.  วันที่ ๕ มีนาคม  พ.ศ.๒๕๔๔  ศิษย์คนหนึ่งเล่าให้หลวงพ่อฟังว่า  ทนกับคำยั่วโมโหของน้องสาวไม่ได้  ขณะนั้นกำลังปอกมะม่วงอยู่  จึงเอามีดที่ใช้ปอกมะม่วงนั้นไล่แทงน้องสาว  พอปลายมีดจ่อที่ท้องของน้องสาว  จึงรู้สึกตัว  ยั้งมือไว้ได้  เขาเล่าไปร้องไห้ไป  หลวงพ่อสอนว่า... “ยังอดทนไม่พอ  ต้องฝึกต่อไป”  และในวันที่ ๙ มีนาคม  พ.ศ.๒๕๔๔  หลวงพ่อก็ย้ำสอนศิษย์คนนั้นอีกว่า... “เอาความดีแก้ไข  แล้วก็จะดีเอง”

 

          ๓๓.  วันที่ ๒ พฤษภาคม  พงศ.๒๕๓๙  ข้าพเจ้านมัสการถามหลวงพ่อเกี่ยวกับเรื่องที่รู้ในสมาธิ  แน่ใจว่าสิ่งที่รู้นี้รู้จริง  แต่ก็ยังมีความเคลือบแคลงสงสัยอยู่ในรู้นั้น… หลวงพ่อสอนว่า... “ที่ เคลือบแคลงสงสัยนั้น  มันเข้าพระไตรลักษณ์  คืออนัตตา  มันยังไม่ถึง  ก็ทำไปตามที่รู้  มันเป็นรู้จริงตามสมมุติ  จริงนั้น  มันมีจริงตามสมมุติ  จริงตามปรมัตถ์  ก็จริงตามสมมุติไปก่อน  แล้วมันจะเป็นอนัตตาทั้งหมด  ทุกอย่างมันเป็นอนัตตา”

          ๓๔.  วันที่ ๕ มิถุนายน  พงศ.๒๕๓๙  ข้าพเจ้าได้รับผลกระทบจากงานในหน้าที่  ได้รับคำสั่งเรื่องงานมาแต่ทำไม่ได้  ที่สุดก่อให้เกิดความเบื่อหน่ายในหน้าที่การงาน  อยากจะวาง  อยากจะลาออกจากงาน  หลวงพ่อเมตตาให้คำแนะนำ  ให้กำลังใจ  และบอกทางแก้ไขให้... “การเรียน  ก็ต้องเรียนให้จบหลักสูตรระยะหนึ่งก่อน  การทำงาน  ก็ต้องให้ปลดเกษียณ  อย่าท้อแท้  ให้กำหนดหนอลงไป  ตัวหนอนี้จะให้ได้คำตอบ  ทำไมเป็นเช่นนี้หนอ ?  ... ที่รู้สึกเช่นนี้  เพราะรู้สึกว่า  ทำไปแล้วไม่มีประโยชน์  มันรู้สึกพอแล้ว... ให้กายสมังคี  แม้จิตจะไม่สมังคีก็ตาม... ก็ให้ไปถามผู้รู้เขา  ว่าทำอย่างไร ?  อาจจะคิดออกก็ได้  ทำไปให้ดีที่สุด  ทำอย่างไม่ยึดมั่น...”

          ๓๕.  วันที่ ๒ มิถุนายน  พ.ศ.๒๕๓๙  มีญาติโยมจากกรุงเทพฯมากราบหลวงพ่อ  แล้วนมัสการถามหลวงพ่อว่า... ที่จังหวัดสุพรรณบุรี  มีพระวัดใดบ้างที่ควรกราบไหว้ ?  หลวงพ่อดุทันทีว่า... “ฮึ๊ยยยย!  ถามอย่างนี้ได้อย่างไร  อย่าถามให้หลวงพ่อตอบ”

          ๓๖.  วันที่ ๑๖ มีนาคม  พ.ศ.๒๕๔๓  ข้าพเจ้ากราบนมัสการหลวงพ่อ  เรื่องที่ฟังรายการวิทยุแล้วมีพระรูปหนึ่งประกาศอ้างว่า  เป็นร่างของพระสำคัญที่มีชื่อเสียงมากในอดีต  ลักษณะการพูดและน้ำเสียงไม่น่าฟังเลย  หลวงพ่อเมตตาตักเตือนสั่งสอนข้าพเจ้าว่า... “เห็นสัก ว่าเห็น  รู้สักว่ารู้  อย่ายึดถือเป็นอารมณ์  ทำให้จิตว้าวุ่น  ไม่เกิดประโยชน์... คนอยากสร้างความดี  แต่ไม่รู้วิธีว่าจะทำอย่างไร  จึงแสวงหาอย่างสุกเอาเผากินไปเรื่อย ๆ  ชั่วชาติหนึ่ง”


ข้อมูลอ้างอิง : http://www.oknation.net/blog/Aug-saraporn/2010/05/24/entry-1

Top