ประวัติ หลวงพ่อบุญชื่น ฐิตธมฺโม - วัดลี ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา - webpra

หลวงพ่อบุญชื่น ฐิตธมฺโม

ประวัติ วัดลี ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา

 

ประวัติและปฏิปทา  หลวงพ่อบุญชื่น ฐิตธมฺโม   วัดลี  ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา

ประวัติและปฏิปทา 
หลวงพ่อบุญชื่น ฐิตธมฺโม 

วัดลี 
ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา 


๏ อัตโนประวัติ 

“หลวงพ่อบุญชื่น ฐิตธมฺโม” หรือ “พระครูอนุรักษ์บุรานันท์” เจ้าอาวาสวัดลี เป็นพระนักปฏิบัติและพระนักพัฒนา ที่ญาติโยมชาวเมืองพะเยาและพุทธศาสนิกชนทั่วไปต่างเลื่อมใสศรัทธา และภาคภูมิใจยิ่งในฐานะผู้บำเพ็ญศาสนกิจเพื่อความจำเริญแห่งพระพุทธศาสนา ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ถึงพร้อมด้วยศีลาจารวัตรอันงดงาม ดำเนินตามรอยธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 

หลวงพ่อบุญชื่น มีนามเดิมว่า บุญชื่น เสมอเชื้อ เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2482 ตรงกับวันอังคาร แรม 8 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ ณ บ้านแม่ต๋ำสายใน ต.แม่ต๋ำ อ.เมือง จ.พะเยา โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายมืด และนางปัน เสมอเชื้อ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 7 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 

ปัจจุบัน สิริอายุรวมได้ 71 พรรษา 50 (เมื่อปี พ.ศ.2554) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดลี ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา และเจ้าคณะอำเภอเมืองพะเยา จ.พะเยา 


๏ การศึกษาเบื้องต้น 

ในช่วงวัยเยาว์ สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านหล่ายอิงราษฎร์บำรุง (เทศบาล 3) ต.เวียง อ.เมืองพะเยา จ.เชียงราย (ในขณะนั้น) 

 

 พระธาตุวัดลี อ.เมือง จ.พะเยา

พระธาตุวัดลี อ.เมือง จ.พะเยา 

 

 

๏ การบรรพชาและอุปสมบท 

พ.ศ.2497 เมื่ออายุ 15 ปี ได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดแม่ต๋ำเมืองชุม อ.เมือง จ.พะเยา โดยมีพระครูขันตยาลังการ เป็นพระอุปัชฌาย์ 

ครั้นมีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ พัทธสีมาวัดแม่ต๋ำเมืองชุม อ.เมือง จ.พะเยา โดยมีพระครูขันตยาลังการ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระมหาสะอาด ปัญญาสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาอุดม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ 

ภายหลังอุปสมบทแล้ว ท่านได้มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างมุ่งมั่น พ.ศ.2498 สอบได้นักธรรมชั้นตรี พ.ศ.2499 สอบได้นักธรรมชั้นโท 


๏ งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา 

พ.ศ.2507 ดำรงตำแหน่งพระธรรมทูต ประจำอำเภอเมืองพะเยา จนถึงปัจจุบัน 


๏ ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ 

พ.ศ.2512 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดลี 

พ.ศ.2521 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะตำบลเวียง 

พ.ศ.2525 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองพะเยา 

พ.ศ.2527 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ 


๏ ลำดับสมณศักดิ์ 

พ.ศ.2523 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูอนุรักษ์บุรานันท์ 

พ.ศ.2526 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอชั้นโท ในราชทินนามเดิม 

พ.ศ.2529 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก ในราชทินนามเดิม 

 

  สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) 

 

๏ ผลงานและเกียรติคุณดีเด่น 

พ.ศ.2535 ได้รับเกียรติบัตรการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน จากโครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานล้านนา ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

พ.ศ.2536 ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และได้รับประทานเกียรติบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติในด้านส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมมรดกไทยทางพระพุทธศาสนาจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) 

หลวงพ่อบุญชื่น มีความสนใจใฝ่ศึกษางานด้านศิลปวัฒนธรรมและโบราณคดีศึกษามาช้านาน ด้วยวัยเด็กมีชีวิตคุ้นเคยกับซากโบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่มีอยู่ดาษดื่นในเมืองพะเยา ตลอดการดำเนินวิถีชีวิตอย่างสงบงาม ท่ามกลางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ยังเข้มแข็ง สิ่งนี้ได้หล่อหลอมให้ท่านได้ซึมซับและตระหนักถึงคุณค่าของงานด้านศิลปวัฒธรรมท้องถิ่นและโบราณคดี จนเกิดจิตสำนึกรักษ์บ้านเมืองถิ่นเกิด 

ในช่วงที่อยู่จำพรรษาอยู่วัดแม่ต๋ำเมืองชุม ท่านได้เริ่มศึกษาและเก็บรวบรวมโบราณวัตถุที่ถูกกระจัดกระจายอยู่ตามวัดร้างต่างๆ ในเขตเมืองพะเยาอย่างจริงจัง 

นอกจากนี้ ท่านยังได้แสวงหาด้วยตนเองทุกครั้งที่ได้มีโอกาสไปแลกเปลี่ยน ได้พบและเกิดความชื่นชอบจึงหามาเก็บรักษาไว้ และยังได้มีชาวบ้านนำมาถวายให้เป็นบางส่วน บางชิ้นได้มาอย่างยากลำบาก บางชิ้นได้มาอย่างง่ายดาย แต่ทว่าโบราณวัตถุทุกชิ้นมีความหมายในตัวของมัน ที่สำคัญบางชิ้นยังเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองพะเยา 

 

 มเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)

 

๏ บทบาททางสังคมในปัจจุบัน 

ด้วยความเป็นพระนักพัฒนาที่ช่วยเหลือสังคมและพัฒนาเมืองพะเยามาตลอดเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ทำให้พระครูอนุรักษ์บุรานันท์ ได้มีส่วนร่วมในการผลักดันงานในโครงการต่างๆ ของชุมชนหลายโครงการจนบรรลุผลสำเร็จ ทั้งด้านการศึกษา ด้านประวัติศาสตร์ ด้านศาสนา ด้านศิลปะและวัฒนธรรม เป็นต้น 

ต่อมาท่านได้จัดตั้ง พิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี) เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมโบราณวัตถุ รวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรมเมืองพะเยาอีกแห่งหนึ่ง ปัจจุบัน โบราณวัตถุที่เป็นสถาปัตยกรรมและประติมากรรมจากหินทรายได้ถูกเก็บรักษาไว้ จำนวนไม่น้อยกว่า 5,000 ชิ้น ไม่นับเครื่องชามสังคโลกสมัยสุโขทัย หรือภาชนะลายครามสมัยราชวงศ์หมิง นับแล้วมีไม่น้อยกว่า 10,000 ชิ้น 

ท่านได้ทำทะเบียนรวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไว้อย่างเป็นระเบียบ เช่น หลักศิลาจารึกสำคัญของเมืองพะเยาทุกหลัก ทำให้ผู้ที่ต้องการศึกษาสามารถศึกษาและค้นคว้าได้อย่างสะดวก 

จากระยะเวลาที่ยาวนานกว่า 50 ปี ท่านได้สั่งสมประสบการณ์ในการศึกษาและเรียนรู้รักษาโบราณวัตถุสำคัญของเมืองพะเยา ทำให้ผู้คนในวงวิชาการและผู้ที่สนใจให้การยอมรับผลงานของท่าน ที่สำคัญได้ทำให้ พิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี) กลายเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์เมืองพะเยา และประวัติศาสตร์อาณาจักรล้านนาที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในภาคเหนือ นอกเหนือจากหอวัฒนธรรมนิทัศน์และวัดศรีโคมคำ 

“ในการเก็บรวบรวมหลักศิลาจารึกของเมืองพะเยา อาตมาได้รับแรงบันดาลใจจากหลวงพ่อวัดพระเจ้าตนหลวง คือ พระเดชพระคุณพระธรรมวิมลโมลี เพราะเห็นท่านได้เป็นผู้เก็บรวบรวมศิลาจารึกมาก่อน ทำให้อาตมาทราบว่าศิลาจารึกมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ เพราะเป็นเอกสารโบราณที่บ่งบอกถึงเรื่องราวในอดีตได้อย่างดีอันดับแรก โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ของการสร้างวัด เพราะศิลาจารึกแต่ละวัดจะมีเพียง 1 หลักเท่านั้น แตกต่างจากพระพุทธรูปหินทรายมีเห็นมีอยู่ทั่วไป แต่จะว่าไปแล้ว สมัยนั้นพระพุทธรูปหินทรายยังมีเหลืออยู่มากมายตามวัดร้างต่างๆ ผู้ที่พบเห็นไม่กล้าเอาไปเพราะกลัวบาปกรรม ต่างจากปัจจุบันคนไม่กลัวบาปกรรม ยิ่งเห็นเป็นของเก่ายิ่งกระหายอยากได้ แม้แต่ของวัดก็ไม่ละเว้น” 

ด้วยจำนวนโบราณวัตถุชิ้นสำคัญจำนวนนับพันนับหมื่นชิ้น ทำให้ท่านประสบปัญหาในการเก็บรักษา เพราะมิจฉาชีพที่จ้องจะลักขโมย “อาตมาเป็นห่วงมากกลัวของจะหาย และก็หายไปแล้วไม่น้อย เพราะสถานที่เก็บปัจจุบันยังไม่มีระบบป้องกันที่ดีพอ ยิ่งขณะนี้โจรขโมยมากขึ้น” 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2552 ณ วัดลี ได้มีการจัดพิธีเปิดอาคารพิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี) โดยมี เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.), เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ และเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ เป็นประธานพิธีเปิด โดยมี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธัมมปัญโญ) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 6 วัดศรีโคมคำ จ.พะเยา พร้อมด้วยพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ อาทิพระราชวิริยาภรณ์ (ศรีมูล มูลศิริ ป.ธ. 6) เจ้าคณะจังหวัดพะเยา วัดศรีอุโมงค์คำ จ.พะเยา และ พระครูอนุรักษณ์บุรานันท์ (หลวงพ่อบุญชื่น ฐิตธมฺโม) เจ้าคณะอำเภอเมืองพะเยา วัดลี จ.พะเยา รองผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้แทนท้องถิ่นร่วม ร่วมถวายการต้อนรับ ซึ่งมีคณะศรัทธาประชาชนเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก 

ในการนี้สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ กล่าวว่า “การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุนี้เป็นสิ่งที่ดี ช่วยให้คนรุ่นหลังสามารถมาศึกษาเรียนรู้ได้ต่อเนื่อง อีกทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัตถุ โบราณวัตถุที่มีค่าได้ตลอดชีวิต ทำให้จะได้มีความเข้าใจในประวัติศาสตร์โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองพะเยา จึงขอให้ทั้งทางคณะสงฆ์และประชาชนทุกคนถือว่าทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน รวมถึงต้องช่วยกันรักษาอนุรักษ์ไว้ให้ยั่งยืนต่อไป” 

ปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี) ได้เปิดให้ประชาชนที่สนใจโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ตลอดจนนักท่องเที่ยว มาเยี่ยมชมได้แล้ว โดยเปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น. ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 054-431-835 หรือ 089-636-7194 

จะเห็นได้ว่าทั้งผลงานทางวิชาการ และผลงานด้านบทบาทต่อสังคมที่หลวงพ่อบุญชื่นท่านได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ประกอบกับการยึดมั่นอยู่ในศีลาจารวัตรเสมอมา ส่งผลให้ท่านได้รับการเคารพยกย่องสรรเสริญจากสาธุชนและบุคคลโดยทั่วไป 

หลวงพ่อบุญชื่น เป็นพระที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรม เป็นพระนักพัฒนาที่อุทิศชีวิตเพื่อการทำงานด้านพระศาสนาและสังคม เป็นพระที่มีผลงานดีเด่นด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้ดำรงสืบไป สมดังพระราชทินนาม “พระครูอนุรักษ์บุรานันท์” โดยแท้ 

 

 พิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี)

พิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี) 

 

 ป้ายชื่อวัดลี ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา

ป้ายชื่อวัดลี ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา 

 

รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก :: 
(1) http://www.watleephayao.com/ 
(2) หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 1 คอลัมน์ มงคลข่าวสด 
วันที่ 04 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ปีที่ 16 ฉบับที่ 5911 
ขอกราบขอบพระคุณที่มาของรูปภาพทุกแหล่ง

 

 พระครูอนุรักษณ์บุรานันท์ (หลวงพ่อบุญชื่น ฐิตธมฺโม)  ยืนอยู่ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี) จ.พะเยา

พระครูอนุรักษณ์บุรานันท์ (หลวงพ่อบุญชื่น ฐิตธมฺโม) 
ยืนอยู่ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี) จ.พะเยา 

 

บทสัมภาษณ์พิเศษ 
พระครูอนุรักษณ์บุรานันท์ (หลวงพ่อบุญชื่น ฐิตธมฺโม) 
เจ้าอาวาสวัดลี ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 


• มีมูลเหตุจูงใจอะไร ? ที่ทำให้พระคุณเจ้าได้มาสนใจและศึกษาค้นคว้างานเกี่ยวกับทางด้านประวัติ ศาสตร์และโบราณคดี โดยเฉพาะเมืองพะเยา 

ตอบ เป็นเพราะอาตมาเคยเข้าไปเที่ยวชมในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติตามที่ต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เกิดความประทับใจในความคิดว่าเมืองพะเยาของเราก็เป็นเมืองพะเยาของเราก็เป็น เมืองประวัติศาสตร์ที่มีอายุเก่าแก่มาช้านานหลายแห่ง และมีโบราณวัตถุจำนวนมากถูกทอดทิ้งอยู่ตามวัดร้างต่างๆ ในเขตเมืองเก่า อาตมาจึงอยากจะนำมาเก็บรวบรวมรักษาเอาไว้เพื่อจำได้มาศึกษาค้นคว้าหาประวัติ ความเป็นมาโบราณวัตถุแต่ละชิ้นนอกจากนี้ยังเอื้อประโยชน์ต่ออนุชนรุ่นหลัง ที่มีความใฝ่รู้อยากทราบเรื่องราวของบ้านเมืองตนเองในอดีตมีความเป็นมาอย่างไร ? แต่ที่สำคัญอย่างน้อยเป็นการสร้างจิตสำนึกให้กับอนุชนรุ่นหลังได้เกิดความรักและหวงแหนโบราณวัตถุทรงคุณค่าเหล่านี้ 

• อยากทราบว่าพระคุณเจ้าได้เริ่มต้นการเก็บรวบรวมโบราณวัตถุอย่างไร ? 

ตอบ โบราณวัตถุต่างๆ ที่เก็บรวบรวบเอาไว้ โดยมากจะไปเสาะแสวงหาตามเมืองเก่าหรือแหล่งที่มีซากโบราณสถานตั้งอยู่เพราะ ส่วนใหญ่จะพบเศษโบราณสถานตั้งอยู่เพราะส่วนใหญ่จะพบเศษโบราณสถานตั้งอยู่ เพราะส่วนใหญ่จะพบเศษโบราณสถานตั้งอยู่เพราะส่วนใหญ่จะพบเศษโบราณวัตถุ กระจายอยู่เกลื่อนกลาด บางครั้งถ้าทราบว่าใครมีโบราณวัตถุหรือทราบว่าใครบางคนมีโบราณวัตถุ ก็จะไปดูและขมาเก็บไว้ที่วัด โดยอาตมาจะบอกวัตถุประสงค์ของของต้องการค่าตอบแทนบางรายก็ง่าย บางรายก็ยาก ซึ่งอาตมาต้องใช้ความมุมานะพยายามและความอดทน นอกจากนั้นยังมีอีกวิธีคือ เอาของไปแลกเปลี่ยนกัน 

อาตมาจำได้ มีอยู่ครั้งหนึ่งเมื่อหลายสิบปีก่อนเคยคนมาบอกข่าวว่า ชาวบ้านที่บ้านแม่กาขุดพบไห โบราณ ตอนที่มาบอกขณะนั้นเป็นเวลาค่ำแล้วด้วยความเป็นห่วงกลัวว่าของจะถูกขายไป ถ้าขืนซักช้ากลัวจะไม่ทันกาล อาตมาจึงตัดสิใจไปหาชาวบ้านคนนั้นทันทีทั้งๆ รู้ว่า ระยะทางจากวัดลีไปบ้านแม่กาไกลไม่ใช่น้อยๆ สิบกว่ากิโลเมตร สมัยนั้นหนทางไปลำบากและที่วัดก็ไม่มีรถยนต์ อาตมาเลยเหมาสามรถถีบไป โชคดีของอาตมาที่สามล้อกล้าไป คืนนั้น กว่าอาตมาจะไปถึงของบ้านแม่กาก็เลยเวลาเกือบเที่ยงคืนพอไปพบกับเจ้าของบ้าน ซึ่งเป็นผู้หญิง เขาก็ตกใจจู่ๆ มีพระมาหายามวิกาล กว่าจะพูดให้เข้าใจต้องรอให้เขาหายตกใจและต้องใช้เวลา นึกๆ อยู่และในที่สุดเขาก็ถวายไหใบนั้นให้กับมาอาตมาพร้อมกับถวายเงินร่วมทำบุญ คืนนั้นก็เลยอิ่มใจทั้งให้และผู้รับ และอยากให้โยมลองคิดดูก็แล้วกันว่ากว่าอาตมาจะกลับถึงวัดสักกี่โมง ? 

• ส่วนงานการเก็บรวบรวมศิลาจาลึกเป็นมาอย่างไร ? 

ตอบ อาตมาได้รับแรงบังดาลใจจากหลวงพ่อวัดพระเจ้าตนหลวง (ปัจจุบันคือ พระธรรมวิมลโมลี เจ้าอาวาสวัดพระเจ้าตนเอง) เพราะเห็นท่านได้เป็นผู้เก็บรวบรวมศิลาจารึกมาก่อนและทำให้อาตมาทราบว่า ศิลาจารึกมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาประวัติศาสตร์เพราะเป็นเอกสารเรื่องราว ในอดีตได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะเรื่องราวประวัติของการสร้างวัด 

อาตมาต้องใช้เวลาความพยายามอย่างมากในการเสาะแสวงหา เพราะศิลาจารึกหายากกว่า วัดๆ หนึ่งจะมีแค่ 1 หลักเท่านั้น แตกต่างจากพระพุทธรูปหินทรายที่มีอยู่ดาษดื่น จะว่าไปแล้วสมัยนั้นพระพุทธรูปหินทรายที่มีหลงเหลืออยู่มากตามวัดร้างต่างๆ ผู้คนที่พบเห็นไม่กล้าเก็บเอาไปกลัวจะเป็นบาปเพราะพุทธรูปทรายยังมีหลงเหลือ อยู่มากตามวัดร้างต่างๆ 

ผู้คนที่พบเห็นไม่กล้าเก็บเอาไป กลัวจะเป็นบาปเพราะเป็นของวัดของวาต่างจากปัจจุบันผู้คนไม่เกรงกลัวต่อบาป แม้กระทั้งเป็นของวัดของวาก็ยังไม่ละเว้น 

ปัจจุบันศิลาจาลึกที่อาตมาได้รวบรวมไว้มีอยู่ประมาณ 30 กว่าหลัก ส่วนใหญ่ค้นพบได้ในเมืองพะเยามีบางส่วนได้มาจากแหล่งอื่น คือนอกพื้นที่จังหวัดพะเยา การค้นหาของอาตมา มักจะไปสำรวจตามแหล่งโบราณสถานหรือตามวัดร้างต่างๆ ในเขตเมืองเก่าพะเยา บางครั้งก็พบศิลาจารึกอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมเพราะถูกปล่อยทิ้งไว้ไม่มีใคร สนใจคิดว่าเป็นเพียงเศษก้อนหิน อาตมาก็ได้นำมาเก็บรวบรวมเอาไว้ที่วัดและแจ้งให้หน้าที่กรมศิลป์ ทราบเพื่อจะได้มาอ่านแปลและมาทำทะเบียนประวัติจารึก 

อาตมามักจะใช้โอกาสในวันพระที่ชาวบ้านมางานทำบุญที่วัด เช่น วันพระหรือวันสำคัญทางศาสนาประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านทราบและสร้างความเข้าใจ ให้เห็นคุณค่าช่วยกันอนุรักษ์โบราณวัตถุ เพราะสิ่งของต่างๆ ที่อาตมาเก็บรักษาไว้ก็เพื่อให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าถ้าไม่ช่วยกันรักษาเอาไว้แล้ว อีกหน่อยก็สูญหายไปหมด 

• จากประสบการณ์ของพระคุณเจ้าคิดว่า มีอุปสรรคหรือสำคัญอะไร ? กระทบต่อการทำงานอนุรักษ์ด้านอนุรักษ์วัฒนธรรม 

ตอบ ไม่คอยมีหน่อยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องงานทางด้านวัฒนธรรมมาช่วยเหลือหรือสนับ สนุนอย่างจริงจัง ที่ผ่านมามักจะมองข้ามความสำคัญของวัฒนะธรรม ในส่วนของชาวบ้านเองบางคนมีโบราณวัตถุมักจะเก็บซ่อนเอาไว้ คนรุ่นหลังก็เลยไม่มีโอกาสได้ศึกษาค้นคว้า แต่ที่ซ้ำร้ายคือเอาไปขายให้กับชาวต่างชาติทำให้สมบัติของชาติต้องไปอยู่ ต่างประเทศและอาตมาเชื่อว่าอีกหน่อยมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทยจะเหลืออะไร ให้รุ่นหลานได้ดูได้ศึกษาถ้าจะดูที่เมืองนอก 

• ในฐานะพระคุณเจ้าเป็นบุคคลหนึ่งที่มีบาบาทต่องานอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นของเมืองพะเยา มีความคิดเห็นอย่างไรว่า พระสงฆ์ควรจะมีบาบาทมากขึ้นสำหรับการอนุรักษ์ฯ 

ตอบ โดยทั่วไปพระสงฆ์เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน และชาวบ้านมักจะเชื่อฟังพระสงฆ์ ฉะนั้นความเป็นผู้นำมีอยู่ในตัวของพระสงฆ์อยู่แล้วขึ้นอยู่กับพระสงฆ์แต่ลพ รูปจะชี้นำชาวบ้านไปในทางใด ดังนั้นอาตมาเห็นว่า งานด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ทุกๆคนในชาติควรช่วยกันโดยถือเป็นภาระหน้าที่ช่วยกันปกป้องรักษามรดกของชาติ ให้ดำรงอยู่ส่วนพระสงฆ์ควรจะมีบทบาทเพิ่มบาทเพิ่มมากทางวัฒนธรรมที่มีในอดีต บรรพบุรุษได้สร้างมาจนถึงรุ่นหลานโบราณสถานโบราณโบราณวัตถุศิลปวัตถุจารึก และคำสอน รวมทั้งตำนานต่างๆ ที่เป็นลายลักษณ์อักษรล้วนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่ผูกพันและเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาแทบทั้งสิ้น ฉะนั้น การที่พระสงฆ์ได้ภาระหน้าที่ มันก็เป็นการช่วยสืบทอดหรือจรรโลงพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนเช่นเดียวกันกับการ สั่งสอนคนให้เป็นคนดี 

• พระคุณเจ้าจะมีวิธีการอย่างไร ? ที่สร้างจิตสำนึกกับให้ประชาชนในท้องถิ่นโดยเยาวชน หันมาสนใจการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม 

ตอบ ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจเสียก่อนว่า ภาระหน้าที่การดูแลรักษามารดทางวัฒนธรรมไม่ใช่เป็นของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือ หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งแต่เป็นภาระหน้าที่ของคนไทยทุกคนต้องช่วยกันต้องรวมกัน เท่าที่อาตมาทราบมาในอนาคตกรมศิลปากรจะโอนอำนาจท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมใน การจัดการงานทางด้านดูแลโบราณ และโบราณวัตถุในท้องถิ่น โอยเฉพาะองค์กรบริหารส่วนตำบล (อบต.) ฉะนั้น อาตมาคิดว่า เราต้องมีการตระเตรียมรองรับเรื่องนี้แต่เนินๆ 

โดยเฉพาะคนของเราในท้องถิ่นมีความพร้อมแค่ไหน อาตมาอยากเจอะจะฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าควรเข้าใจ และสร้างความภาคภูมิใจให้เห็นว่ามรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นมีประโยชน์มีคุณ ค่าต่อชุมชน ภูมิปํญญาของคนในอดีตสามารถปรับเปลี่ยนมาใช้ได้ในชีวิตประจำวันและสอดคล้อง กับการใช้ชีวิตแบบพอเพียงดังพระบรมราโชวาทของในหลวง 

อีกประการหนึ่ง อาตมาอยากจะให้หน่วยงานทางราชการมีความจริงใจกับการแก้ปัญหา เพราะเท่าที่ผ่านมาทางราชการไม่คอยให้ความสำคัญงานทางด้านนี้ถ้าทางฝ่าย อาณาจักรและฝ่ายศาสนาจักรร่วมมือกันประสานงาน เพื่อออกไปอบรมชี้แจงทำความเข้าใจกับชาวบ้านตามชุ่มชนต่างๆในท้องถิ่น อาตมาเชื่อว่ามรดกทางวัฒนธรรมของชาติจะไม่สูญหายไปแน่และวัฒนธรรมของชาติจะ มีการสืบสานต่อไปจนชั่วลูกชั่วหลานและไม่ต้องกลัวว่าวัฒนธรรมต่างชาติจะมาครอบงำเราได้ สิ่งที่สำคัญสุด 

• ทราบว่าปัจจุบันโบราณวัตถุต่างๆที่พระคุณเจ้าได้จัดเก็บรวบรวมเอาไว้เพิ่ม จำนวนมากขึ้นจนเกิดปัญหาในขณะนี้ คือไม่มีสถานทีเพียงพอเพื่อจัดเก็บโบราณวัตถุ พระคุณเจ้าจะมีแนวแก้ไขปัญหาอย่างไร ? 

ตอบ โบราณวัตถุที่อาตมาได้เก็บรวบรวมมาตามสถานที่ต่างๆ นั้น ยังไม่มีที่เก็บเป็นสัดเป็นส่วนกระจัดกระจายไว้ตามอาคารต่างๆ ภายในวัด เช่น ตามกุฏิบ้างในวิหารบ้างหรือศาลาการเปรียญบ้าง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนเพราะอาตมาขาดปัจจัย (เงินทุน) สำหรับการสร้างอาคารถาวรเพื่อเก็บโบราณวัตถุอาตมาเป็นห่วงอยู่เหมือนกันกัน ว่ากลัวจะของจะหาย เพราะสถานที่เก็บในปัจจุบันยังไม่มีระบบป้องกันภัยที่ดีพอยิงเดี๋ยวนี้โจรขโมยเยอะ แม้กระทั้งของวัดของวายังไม่ละเว้น คนที่จิตใจอำมหิตมากขึ้นคนกระทำชั่วมากขึ้น ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ 

อาตมาตั้งใจไว้ว่า ในอนาคตมาอยากจะสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์สักหลังหนึ่งที่มีความมั่นคงแข็งแรงและ มีระบบจัดเก็บที่ดีขึ้นภายในวัดและการจัดเก็บรักษาโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์ก็ เพื่อความสะดวกให้กับคนพะเยาหรือต่างจังหวัดที่สนใจได้มีโอกาสมาดูและความรู้ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีวัฒนธรรมท้องถิ่น และรวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นของเมืองพะเยา 

ดั้งนั้น อาตมาจึงอยากให้ทางบ้านเมืองตลอดจนชาวเมืองพะเยาทุกคนได้เล็งเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมการสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์วัดลี 

• พระคุณเจ้ามีความประสงค์อย่างไร ? ในการดูแลรักษาโบราณวัตถุที่อยู่ภายในวัด 

ตอบ ตามเจตนาของอาตมาตั้งใจไว้ว่าต้องการจะให้โบราณวัตถุที่อาตมาได้เก็บรวบรวม รักษาเอาไว้ทั้งหมดนี้ เป็นทรัพย์สมบัติของวัดลีและของประชาชนชาวพะเยาเพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสมา ศึกษาค้นคว้าประวัติความเป็นมาของเมืองพะเยาและของชาติสืบไป โดยมีสถานที่เก็บรักษา คือ พิพิธภัณฑ์วัดลี ซึ่งอาตมาอยากจะให้คนพะเยาช่วยกันรักษา 

• พระคุณเจ้าจะเริ่มโครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์วัดลีเมื่อไหร่ ? 

ตอบ อาตมาก็อยากจะสร้างให้เร็วที่สุดเพราะอาตมาเป็นห่วงโบราณวัตถุที่อยู่ในวัด กลัวจะสูญหาย ยิ่งทราบข่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ โบราณวัตถุล่ำค่าที่เก็บรักษาไว้ในวิหารเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ถูกโจรใจบาปโจรกรรมลักไปหลายรายการอาตมาว่าขนาดวัดนี้อยู่กลางเวียง ผู้คนก็พลุกพล่านโจรก็ยังกล้านับประสาอะไรกับวัดที่อยู่ห่างไกล ที่อาตมาพูดเช่นนี้ก็เพราะเป็นห่วง เพราะเป็นทรัพย์สมบัติของชาติที่เป็นโบราณวัตถุแต่ละชิ้นต้องเลาในการแสวง หรือค้นหาเกือบทั้งชีวิต 

แต่สูญหายไปแคเพียงชั่วข้ามคืนเท่านั้น ดั้งนั้นอาตมาจึงคิดที่อยากจะสร้างพิพิธภัณฑ์วัดลีให้เป็นสถานที่ถาวรมั่นคง แข็งแรงสำหรับเก็บโบราณวัตถุภายในวัดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหน่อยงานหลายๆ ฝ่าย ทั้งทางราชการและเอกชน ตลอดจนประชาชนจะช่วยกันผลักดันโครงการนี้ให้สำเร็จลุล่วงซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและลูกหลานเราในอนาคต 

• สิ่งพระคุณเจ้าอยากจะชี้แนะเพื่อเป็นแนวทางสำหรับชนรุ่นหลังได้เห็นคุณค่าและช่วยกันอรุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น 

ตอบ ในฐานะเราเป็นคนในท้องถิ่นภาคเหนือหรือคนเมือง เราเป็นคนท้องถิ่นภาคเหนือหรือคนเมือง เรามีวัฒนธรรมทางภาษาของตนเองคืออู้คำเมือง มีการใช้อักษรตัวเมือง มีการแต่งกายแบบคนเมือง มีภูมิปัญญาท้องถิ่นตลอดจนมีวิถีชีวิตอย่างเรียบง่าย วัฒนธรรมของเราก็ดีอยู่แล้วน่าจะช่วยกันส่งเสริมช่วยกันรักษาไม่ควรจะไปทำลาย โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น หรือกลุ่มเยาวชนและสำคัญตัวใหญ่เองก็ตามเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก 


สัมภาษณ์เมื่อช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2544 
ผู้สัมภาษณ์ : ลูกศิษย์ของหลวงพ่อบุญชื่น ฐิตธมฺโม 
http://www.watleephayao.com/

 

นำมาจากเว็บธรรมจักร www.dhammajak.net


Top