หลวงพ่อทัพ อินทโชติ
ประวัติ วัดสุวรรณาราม (ทอง) จ.กรุงเทพฯ
ประวัติ
เกิด วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2390 ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม ณ ตำบลเกาะชายเลน บางขุนนนท์
บรรพชา พ.ศ.2408 อายุ 18 ปี
อุปสมบท อายุ 21 ปี ปีมะโรง พ.ศ.2411 ณ พัทธสีมาวัดตลิ่งชัน
มรณภาพ วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม 2455 ตรงกับแรม 9 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด เวลา 4 ทุ่มเศษ ๆ
รวมสิริอายุ 66 ปี 44 พรรษา
เมื่อครั้งอดีตกาลย้อนหลังไปกว่า 150 ปี พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี หรือหลวงปู่ทับอดีตเจ้าอาวาสลำดับที่ ๙ ของวัดสุวรรณาราม หรือวัดทอง บางกอกน้อย กรุงเทพฯได้ถือกำเนิดขึ้น ๑๕ค่ำ เดือน๗ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๓๙o ณ บ้านคลองชักพระอ.บางกอกน้อยจ.ฝั่งธนบุรีในปัจจุบันเป็นบุตรคนโตของนายทิมและนางน้อย ปัทมานนท์ เมื่ออายุได้๑๗ปีบิดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์ของพระปลัดแก้วซึ่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดสุวรรณารามในช่วงก่อนที่พระศีลสารพิพัฒน์ ( ศรี )จะย้ายจากวัดสุทัศเทพวรารามมาเป็นเจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม เพื่อเป็นศิษย์ร่ำเรียนหนังสือไทย และขอมอีกหนึ่งปีต่อมาเมื่ออายุได้ ๑๘ ปีได้บรรพชาเป็นสามณรอยู่ศึกษาเล่าเรียนในสำนักพระปลัดแก้ว แล้วยังได้ศึกษาเพิ่มเติมกับพระอาจารย์พรหมน้อย และพระครูประสิทธิ์สุตคุณ ที่วัดอัมรินทร์อีกด้วย
ในปีพุทธศักราช ๒๔๑๑ เมื่อมีอายุครบ ๒o ปี ได้อุปสมบทที่วัดช่างเหล็ก คลองบางกอกน้อย ธนบุรี มีพระอธิการม่วง วัดตลิ่งชันเป็นพรีอุปัชฌาย์ พระปลัดแก้ววัดทองและพระอาจารย์พึ่งวัดรวกเป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า อินฺทโชติ เมื่ออุปสมบทแล้วได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดทอง หากแต่ได้ร่ำเรียนวิปัสสนากรรมฐานและวิชาพุทธาคม ไสยศาสตร์จากพระอุปัชฌาย์มิได้ขาดจนกระทั่งสำเร็จ
หลวงปู่ทับโดยนิสัยส่วนตัวชอบใฝ่ศึกษาหาความรู้อยู่เสมออาจารย์รูปใดที่มีชื่อเสียงได้ยินมาถึงตัวท่านไม่ว่าจะไกลลำบาก
เพียงใดท่านก็ดั้นด้นไปฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อขอถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆจากพระเกจิอาจารย์เหล่านั้นโดยมิย่อท้อ ก่อนสิ้นอายุขัยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ได้เสด็จมาเยี่ยมหลวงปู่ทับ เพื่อถวายแพทย์หลวงให้รักษา แต่อาการอาพาธของหลวงปู่ทับหนักเกินกว่าแพทย์จะรักษาไว้ได้ 2 - 3 วันต่อมาหลวงปู่ทับก็มรณะภาพลง
ด้วยอาการอันสงบเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม เวลา o๔.oo น.โดยประมาณ สิริรวมอายุได้ ๖๖ ปี พรษาที่ ๔๕ จากวันนั้นถึงปัจจุบัน ๑oo ปีแล้ว แต่ชื่อเสียงความขลังความเป็นอมตะของท่านในวงการพระปิดตายังเป้นที่กล่าวขานไม่มีวันสิ้นสุด
มรดกของหลวงพ่อทับที่รู้จักกันดี คือ พระปิดตามหาอุตม์ ซึ่งมีทั้งเนื้อสำริดเงิน เนื้อชินตะกั่ว เนื้อเมฆพัด เนื้อสำริดแบบขันลงหิน เนื้อผงคลุกรัก และเนื้อแร่บางไผ่ซึ่งถือได้ว่าเป็นเนื้อพิเศษที่พบเห็นได้น้อยหายาก ด้วยหลวงพ่อทับได้เนื้อแร่บางไผ่มาจากหลวงปู่จัน วัดโมลี นนทบุรี ต้นฉบับพระปิดตาแร่บางไผ่ แห่งนนทบุรีนั่นเอง
พระปิดตายันต์ยุ่ง พิมพ์เศียรบาตร
พระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดทอง เนื้อสำริด กรุงเทพมหานคร มีพิธีการสร้างอย่างปราณีตและสร้างขึ้นมาจากแม่พิมพ์และองค์พระเท่านั้น ทำให้ไม่มีองค์ไหนที่จะเหมือนกัน นอกจากใกล้เคียงกันทางด้านพิมพ์ทรงเท่านั้น แต่สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นงาน
ช่างเดียวกันและเนื้อหาเป็นหลักสำคัญในการพิจารณาพระแท้หรือพระปลอม
พระปิดตาเนื้อเมฆพัตร์
พระปิดตามหาอุตม์ที่สร้างขึ้นด้วยเนื้อโลหะ เป็นการสร้างขึ้นด้วยการปั้นหุ่นขี้ผึ้งทีละองค์ จากนั้นจึงปั้นด้วยยันต์ขึ้นมา เบ้าหล่อพระปิดตา
วัดทองทำแบบเบ้าหล่อละลายตัว หุ่นขี้ผึ้งจะละลายไปด้วยเมื่อเทโลหะหลอมลงไปในเบ้าทีละเบ้า ทำให้พุทธลักษณะขององค์พระออกมา
ไม่เหมือนกัน แต่จะกันในบางองค์เท่านั้น ในทำเนียบเบญจภาคีมหาอุตม์บรรจุพระปิดตามหาอุตม์หลวงพ่อทับ ไว้ คือ พระปิดตาพิมพ์
ยันต์ยุ่งเศียรบาตร และพระปิดตาพิมพ์ยันต์น่อง แต่ปิดตาหลวงพ่อทับมีอีกหลายพิมพ์คือ พิพม์ชะลูด พิมพ์นั่งยอง พิมพ์ภควัม พิมพ์หัวบายศรี พิมพ์ตุ๊กตา ยันต์น่อง พิมพ์นั่งบัวเศียรแหลม ฯลฯ
พระปิดตาพิมพ์ยันต์ยุ่ง
พระปิดตาพิมพ์ยันต์น่อง หน้า- หลัง พระปิดตามหาอุตม์"พิมพ์ยันต์ยุ่ง" เป็นพระปิดตานั่งสมาธิเพชร ขาไขว้ บางองค์มีพระกร 3 คู่ บางองค์มีถึง 4 คู่ โดยคู่แรกยกขึ้นปิดพระพักตร์ คู่ที่สองยกมือขึ้นปิดพระกรรณ คู่ที่สามล้วงลงปิดทวารหนักและทวารเบา คู่ที่สี่ปิดพระนาภี(สะดือ) ลักษณะขององค์พระที่ปิดตานั้นมีทั้งในลักษณะต้อ บางองค์ก็มีเข่ากว้าง บางองค์เข่าแคบ ซึ่งแยกเป็นพิมพ์ พิมพ์ยันต์ยุ่งเศียรโต พิมพ์ยันต์ยุ่งต้อเข่ากว้าง พิมพ์ยันต์ยุ่งชะลูดเข่าแคบ พิมพ์ตุ๊กตา และพระปิดตาพิมพ์ยันต์ยุ่งนี้หากพระองค์ใดมีอักขระขอมปรากฏตรงขาและแข้งจะเรียกว่า " พิมพ์ยันต์น่อง" ด้านหลังองค์พระตรงกลางเป็นยันต์เฑาะว์อุณาโลมหางสะบัดขึ้นด้านบนเศียร หรืออาจเป็นตัวอักขระขอมตัวอื่น ด้านข้างตัวเฑาะว์อุณาโลมเป็นตัวอุณาโลมขนาบข้าง 2 ตัว ด้านล่างเป็นอักขระว่า "นะ มะ พะ ทะ" ใต้ฐานองค์พระเป็นแอ่งลึก การพิจารณาแบ่งแยกพิมพ์ทรงนั้น"พิมพ์นั่งยอง" ถือว่าเป็นพิมพ์หนึ่งที่สวยงามและหายาก เนื้อหาโดยทั่วไปจะออกสีดำนวลๆ องค์ที่ไม่เคยผ่านการสัมผัสใช้มาก่อนจะเห็นผิวปรอทจับอยู่ตามซอกมุมองค์พระที่เป็นส่วนลึกอย่างชัดเจน และด้านความเก่าแล้วเนื้อและปรอทจะแห้งคล้ำคล้ายๆกับปรอทตาย ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการพิจารณาพระปิดตาหลวงพ่อทับ พระปิดตาพิมพ์นั่งยอง
ส่วนพิมพ์ภควัม พิมพ์ยันต์น่อง พิมพ์ยันต์ยุ่งเศียรบาตร พิมพ์ชะลูด พิมพ์หัวบายศรี พิมพ์ตุ๊กตา พิมพ์นั่งบัวเศียรแหลม ฯลฯ ถือว่าเป็นพิมพ์ทรงที่มีศิลปะงดงามยิ่งเช่นเดียวกัน หากพระปิดตาหลวงพ่อทับ ได้ผ่านการใช้มาแล้วเนื้อหาจะกลับดำทุกองค์ และพระปิดตาทุกองค์มีข้อพิจารณาคือพระทุกองค์จะไม่มีรอยตะเข็บปรากฏให้เห็นเป็นอันขาด เพราะเป็นการสร้างโดยการหล่อทีละองค์ พระปิดตาพิมพ์ตุ๊กตา พระปิดตาพิมพ์ลูกอม พระปิดตามหาอุตม์ของหลวงพ่อทับ การล้วงปิดทวารนั้น เป็นการล้วงจากด้านในของหน้าตัก พิมพ์ที่มีราคาการเช่าหาบูชากันแพงที่สุด เป็นพิมพ์ยันต์ยุ่งเศียรบาตร พิมพ์ยันต์น่อง
พิมพ์ยันต์ยุ่งเศียรบาตรนั้นมีการปลอมกันมากที่สุด เป็นพิมพ์ที่มีเนื้อหาเข้มข้น เส้นยันต์ลึกคมชัดทุกองค์ พิมพ์นี้มีการสร้างไว้จำนวนมากและมีหลายเนื้อด้วยกัน คือเนื้อสำริด เนื้อชิน เนื้อเมฆพัดและเนื้อผง พระพิมพ์นี้เศียรขององค์พระจะมีลักษณะคล้ายบาตรใส่ข้าวพระ มีทั้งขนาดใหญ่และเล็กอีกด้วย ส่วนพิมพ์ยันต์น่องจะมีลักษณะสำคัญ คือมียันต์คล้ายเลขหนึ่งอยู่ที่น่องขององค์พระ
พระปิดตาสำนักวัดทองของหลวงพ่อทับ เป็นพระปิดตามหาอุตม์ที่ขึ้นชื่อมากทางด้านมหาอุตม์ ที่สำคัญของแท้หายากเพราะมีจำนวนการสร้างน้อย
พระภควัมบดี...หลวงปู่ทับวัดทอง
" พระปิดตา หลวงปู่ทับ วัดทอง" ในแวดวง ผู้นิยมพระเครื่อง มีความเชื่อว่าอัดแน่น ด้วยสรรพมงคล อันขลัง ไม่แพ้ "พระปิดตา วัดหนัง ของเจ้าคุณเฒ่า"
" วัดทอง” หรือ "วัดสุวรรณาราม" ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อยฝั่งตะวันตก เขตบางกอกน้อย กทม. เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา อดีตเจ้าอาวาสที่โด่งดังสุดกู่ในหมู่นักเลงพระเครื่องมาหลายสมัย คือ พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี หรือที่รู้จักกันในนาม “ หลวงปู่ทับ” เป็นชาวบางกอกน้อยโดยกำเนิด เกิดในยุคใกล้เคียงกับหลวงปู่เอี่ยม วัดหนังแต่อ่อนกว่า ๑๔ ปี
หลังจากหลวงพ่อทับได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส ต่อจากหลวงพ่อเนียม ( พระครูวิมลปัญญาจาร) เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐ ในปีเดียวกันนั้นเองก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี" ก็ได้เริ่มสร้างพระภควัมบดีหรือพระปิดตาเลื่องลือในด้านพุทธคุณและพุทธศิลป์อันงามเลิศ ยากที่จะหาพระปิดตาองค์ใดในยุครัตนโกสินทร์เทียบได้
พระเครื่องที่หลวงพ่อทับสร้าง เนื้อหามักจะเป็นเนื้อโลหะ ได้แก่ เนื้อสำริด ซึ่งแยกออกดังนี้ เนื้อสำริดแก่ทอง สำริดแก่เงินเนื้อขันลงหิน เนื้อทองผสม เนื้อทองแดงเถื่อน เนื้อชินเงิน ชินตะกั่ว ชินผสมแร่ และเนื้อเมฆพัตร์ แต่จะเขียนเฉพาะเนื้อหาที่นิยมกันมาก อันได้แก่ เนื้อสำริดเงิน สำริดทอง และเนื้อเมฆพัตร์ ซึ่งในวงการพระเครื่องถือว่าเป็นเนื้อมาตรฐาน ส่วนพุทธลักษณะท่านก็ได้สร้างไว้หลายแบบหลายพิมพ์ แต่ก็มีจุดเด่น และโครงสร้างเป็นเอกลักษณ์ของท่านเอง ดังจะขอยกตัวอย่างไว้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการพิจารณาศึกษากันต่อไป
พระปิดตามหาอุตม์ที่หลวงพ่อทับสร้างขึ้น ส่วนมากมักจะเป็นแบบลอยองค์นั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ที่ล้วงปิดทวาร จะล้วงลงทางด้านในไม่ผ่านหน้าแข้ง จึงทำให้เห็นกิริยาลักษณะที่ขัดสมาธิเพชรเด่นชัด หรือจะเรียกว่าเป็นแบบโยงก้นด้านในก็ดูจะเหมาะสมดี ด้านข้างองค์พระไม่ปรากฏรอยตะเข็บเลย เพราะท่านสร้างโดยวิธีปั้นหุ่นด้วยเทียนขี้ผึ้งทีละองค์แล้วจึงใช้ดินเหนียวประกอบ
ด้านนอก
จากนั้นจึงใช้โลหะที่หลอมละลายเทหยอดทางก้นหุ่น เนื้อโลหะที่ร้อนจัดจะทำให้เทียนสลายตัวสำรอกออกทางรูที่เจาะไว้ เหลือแต่เนื้อโลหะเป็นรูปองค์พระแทน นอกจากจะไม่ปรากฏรอยตะเข็บแล้ว พระมหาอุตม์วัดทองจะไม่เหมือนกันเลยทั้งรูปองค์ และลวดลายของอักขระยันต์ ถึงแม้จะเป็นพระที่มีลักษณะเดียวกัน หรือพิมพ์เดียวกันอย่างเช่นพิมพ์เศียรโตยันต์ยุ่ง พิมพ์เศียรบายศรี พิมพ์ยันต์ย่อง พิมพ์ตุ๊กตา ซึ่งต่างก็มีพุทธลักษณะเหมือนกันทุกองค์ มิฉะนั้นเราจะเปรียบเทียบแบ่งแยกพิมพ์ได้อย่างไร แต่ที่ว่าทุกองค์ไม่เหมือนกันนั้นคือ ไม่เหมือนแบบถอดออกมาจากบล็อกเดียวกันเหมือนกันทุกกระเบียดนิ้ว ถ้าเจอชนิดนั้นก็เป็นของเก๊
การกำหนดเลขยันต์ที่จะบรรจุลงบนพระนั้น หลวงพ่อท่านจะเลือกอักขระที่เหมาะสมมีความหมาย มีอำนาจแห่งพุทธาคม บรรจุลงตามส่วนต่างๆ ขององค์พระ เว้นช่องไฟได้เหมาะเจาะสวยงามลึกซึ้งจับตาจับใจ สมกับเป็นฝีมือของท่านนักปราชญ์ ผู้มีจินตนาการอันล้ำเลิศบรรลุถึงฌานสมาบัติชั้นสูงนั่นเชียว จะหาผู้อื่นใดมาลอกเลียนสร้าง
ให้เหมือนได้ยาก นอกเสียจากใช้วิธีถอดพิมพ์ แต่วิธีนี้ก็ยังมีพิรุธให้จับได้ เช่น รอยตะไบตกแต่งเพื่อลบรอยต่อข้างองค์พระ เส้นอักขระจะลดความคม และไม่เหมือนเส้นขนมจีน แต่ของปลอมเส้นยันต์ จะเหมือนกับเส้นหวายที่ผ่าครึ่งซีก และดูกระด้าง ไม่มีชีวิตชีวา ไม่มีความซึ้ง
นอกจากการพิจารณาเอาความเรียบร้อยขององค์พระเป็นหลักใหญ่แล้ว ยังจะต้องศึกษาทางด้านเนื้อหาควบคู่กันไป เนื้อพระปิดตาวัดทองที่มีค่านิยมสูง อันได้แก่ เนื้อสำริดเงิน ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นวัตถุมงคลอันมีค่าหาชมได้ยาก อย่าว่าแต่จะหาไว้เป็นสมบัติของตนเลย พระปิดตาหลวงพ่อทับที่ท่านสร้างจากเนื้อสำริดเงินนี้ ผิวนอก มีวรรณะแดงปนทองคล้ายสีนาค ถ้าใช้แว่นขยายส่องดูจะเห็นเป็นเกล็ดสีทองแพรวพราวทั้งองค์ ส่วนตามซอกที่เราสัมผัสไม่ถึง จะมีประกายทองผิวปรอทจับอยู่ประปราย ส่วนด้านที่นูนเด่นถูกจับต้องอยู่เสมอ จะปรากฏผิวคราบดำอมเทาเคลือบอยู่อีกชั้นหนึ่ง แลดูงามซึ้งยากที่จะบรรยายได้
เนื้อหาที่นิยมรองลงมาได้แก่เนื้อสำริดแก่ทองพระปิดตาที่ท่าน สร้างจากเนื้อนี้ตามซอกขององค์พระจะปรากฏผิวสีทองปนนากจับ
ประกาย และมีสนิมเขียวแทรกซึมอยู่ทั่วไป ผิวเนื้อด้านนอกจะเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ส่วนด้านที่ไม่ได้ถูกเหงื่อ สีจะออกเป็นสีทองจางๆ
คล้ายจำพวกขันลงหิน แต่เข้มกว่า ผิวโลหะจะตึงเรียบและมีน้ำหนักกว่าเนื้อชนิดอื่น
เนื้อทองผสม เป็นเนื้อที่มีค่านิยมด้อยกว่าสองชนิดที่กล่าวมาแล้ว การทำปลอมก็ทำได้ง่ายแต่ยังมีข้อสังเกตได้คือ ของแท้เนื้อ
พระจะแห้ง ถ้าส่องด้วยแว่นขยายจะเห็นเป็นเกร็ด คล้ายโรยไว้ด้วยทรายทองมีผิวคราบน้ำตาลอ่อนจับอยู่เป็นแห่งๆ ตามซอกองค์พระจะปรากฏผิวไฟสีออกซีดๆ จับอยู่ประปรายและแห้งสนิท ทางด้านความเรียบร้อยก็เหมือนกับพระเนื้ออื่นๆ
เนื้อเมฆพัตร์ เป็นเนื้อที่นักนิยมสะสมรุ่นโบราณนิยมกันมาก ถือว่าเนื้อมีความวิเศษอยู่ในตัว เป็นเนื้อศักดิ์สิทธิ์ สีขององค์พระจะออกสีน้ำเงินอมดำ ผิวตึงเป็นประกายสวยงาม แต่เปราะ ถ้าทำตกหรือถูกกระทบกับของแข็งจะชำรุดแตกหักได้ง่าย เนื้อเมฆพัตร์จะพบมาก ในพระปิดตาพิมพ์เศียรบายศรี พิมพ์เศียรโต และพิมพ์ยันต์น่อง ผู้เขียนสังเกตพบว่า พระปิดตาเนื้อเมฆพัตร์นี้ ความคมชัดสู้เนื้อพระที่สร้างจากเนื้อสำริดไม่ได้ ส่วนที่ทำเทียมจากเนื้อเมฆพัตร์นี้ก็พบอยู่เสมอ แต่สีจะจืดกว่าของจริง น้ำหนักเบากว่าและดูสดกว่ามาก นับว่าเป็นข้อสังเกตได้อีกวิธีหนึ่ง เนื้อชินเงินผสมแร่ เป็นเนื้อพระปิดตาหลวงพ่อที่พบน้อยมาก ท่านสร้างไว้ในสมัยแรกๆ และสร้างจำนวนน้อยองค์ ความสวยงามและความเรียบร้อย ออกจะด้อยกว่าเนื้อพระชนิดอื่น ผิวจะย่น ไม่ตึง ปรากฏพรุนทั้งองค์ ตามซอกจะปรากฏสนิมสีน้ำตาลจับอยู่ทั่วไป เนื้อพระคล้ายเนื้อแร่บางไผ่ ผิดกันตรงที่ไม่มีเสี้ยนให้เห็น น้ำหนักเบากว่าเนื้อพระชนิดอื่น มีความเปราะมาก ถ้าตกจะแตกเป็นเสี่ยงๆ ทันทีและเป็นเนื้อที่ติดแม่เหล็กด้วย สนนราคาและค่านิยมเป็นรองเนื้อสำริดเงิน แต่สูงกว่าเนื้อเมฆพัตร์
ในด้านพุทธคุณแล้วเสมอเหมือนกันหมด เป็นพระปิดตาที่เราท่านควรหาไว้ ถ้ามีกำลังเงินพอไม่มีคำว่าผิดหวังเลยเป็นอันขาด การสร้างพระปิดตาเริ่มได้รับความนิยมแพร่หลายตั้งแต่ตอนต้นยุครัตนโกสินทร์เรื่อยมา มีพระเกจิอาจารย์หลายสำนักพากันจัดสร้าง
พระปิดตาขึ้นและได้รับความนิยมไปทั่ว เช่น พระปิดตาวัดพลับ (วัดราชสิทธาราม) พระปิดตาวัดหนัง พระปิดตาวัดทอง พระปิดตาหลวงปู่ศุข พระปิดตาแร่บางไผ่ และ พระปิดตาหลวงปู่ยิ้ม เป็นต้น
จากข้อมูลดังกล่าวอาจได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่า พระปิดตาทั้งหมดเป็นพระปิดตาคณาจารย์ ซึ่งหมายถึงพระเกจิอาจารย์
ผู้ทรงวิทยาคุณเป็นผู้จัดสร้าง ไม่ใช่เป็นพระกรุที่สร้างโดยเจ้าพระยามหากษัตริย์ แม้แต่กรณีพระปิดตาท้ายย่านก็น่าจะจัดอยู่ในลักษณะ
เดียวกัน และไม่มีการสร้างก่อนสมัยอยุธยาตอนปลาย
ลักษณะเด่นของพระปิดตานั้นนับเป็นพระเครื่องที่แสดงถึง "นัย" หรือ "ปริศนาธรรม" แห่งงานพุทธศิลปะอย่างโดดเด่น ยากจะหาพระเครื่องประเภทใดเทียบเทียมได้
ความหมายเบื้องต้นแห่งการปิดตาก็คือ การปิด "ทวาร" หรือทางเข้าทางออกแห่งอาสวะกิเลสทั้งหลาย ซึ่งเราชื่อกันว่าร่างกาย
ของมนุษย์ (หรือสัตว์) มี "ทวาร" หมายถึง ประตูแห่งการเข้าออก ๙ ทาง ได้แก่ ตา ๒ จมูก ๒ หู ๒ ปาก ๑ รวมทั้ง ช่องทางขับถ่ายด้านหน้า
และ ด้านหลังอีก ๒ รวมเป็น ทวารทั้ง ๙
การปิดกั้นทวารทั้ง ๙ เป็นปริศนาธรรมที่กั้นกิเลสจากภายนอกไม่ให้เข้ามาสู่ภายใน เพื่อจุดหมายแห่งการปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งโบราณาจารย์ที่สร้างพระปิดตา (หรือปิดทวาร) ในอดีตจะเป็นพระภิกษุที่ขึ้นชื่อลือเลื่องทางวิปัสสนาธุระทั้งสิ้นแต่การสร้างรูปจำลอง
ในลักษณะนี้ค่อนข้างยากต่อการออกแบบ ส่วนใหญ่จึงพบการแสดงความหมายให้เห็นเพียงการปิดพระพักตร์ ซึ่งรวมถึงการปิดปากเท่านั้น
หากมองในแง่ความสำคัญทางการเมืองการปกครองจะพบว่า อำนาจของภิกษุสงฆ์ไม่ได้จำกัดอยู่ใน "พุทธจักร" อย่างเดียว หากแต่ยังก้าวไปถึง " อาณาจักร" อีกด้วย ตัวอย่างของบทบาทดังกล่าวจะเห็นได้ชัดในกรณี ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง ธนบุรี ที่สามารถเดินเข้าไปถาม เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ถึงข่าวลือเรื่องการยึดอำนาจกลับจาก ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ และขอคำยืนยันว่าจะไม่เกิดเหตุดังกล่าว หรือแม้แต่การที่ท่านเจ้าประคุณ
สมเด็จฯ จุดไต้ตอนกลางวันเข้าไปเตือนพระสติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้วนแล้วแต่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ
" พุทธจักร" ที่มีต่อ "อาณาจักร" อย่างเด่นชัด
เป็นที่น่าสังเกตว่า พระเกจิอาจารย์ที่สร้างพระปิดตาในระยะแรกๆ จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับราชสำนักไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อาทิ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) หลวงปู่ศุข หลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่ทับ เป็นต้น ดังนั้น "พระปิดตา" อาจถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการ
ประกาศตนไม่ยุ่งเกี่ยวกับ " อาณาจักร" เพื่อมิให้เกิดการถูกนำไปอ้างอิงหรือใช้เป็นเครื่อง "ชี้นำ" ในชะตาของบ้านเมือง ในระยะเวลา
ต่อมา คติการสร้างพระปิดตาหรือปิดทวารเกี่ยวเนื่องกันเรื่อยมา มีการจำลองเป็นพระอ้วนพุงพลุ้ย ซึ่งได้ต้นเค้าจากเรื่องราวของ
พระสังกัจจายนะ หรือ พระภควัมบดี อัครสาวกองค์สำคัญของพระพุทธองค์
พระภควัมบดี หรือ พระมหาสังกัจจายน์ นั้น ไม่ใช่รูปสมมติแทนองค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า คำว่า "ภควัมบดี" หรือ
"ภควัมปติ" แปลว่า " ผู้มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า" อันเป็นอีกนามหนึ่งของพระมหาสังกัจจายนะ หนึ่งในพระสาวกผู้ทรงเอกทัคคะ (เป็นเลิศ) ๘๐ รูป ของพระพุทธองค์
พระมหาสังกัจจายนะ เกิดในวรรณะพราหมณ์ ณ กรุงอุชเชนี มีผิวกายประหนึ่งทองคำมาตั้งแต่กำเนิด จึงได้นามว่า
"กาญจน" และได้อุปสมบทโดยเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา (พระพุทธเจ้าทำการบวชให้) พระมหาสังกัจจายนะท่านมีความเป็นเลิศทางการย่อพระธรรมคัมภีร์ให้สั้นลง และอธิบายความหมายให้ผู้ฟังเข้าใจได้อย่างละเอียดแจ่มแจ้ง
นอกจากนี้ท่านยังมีรูปร่างและผิวกายงดงามมาก จนได้ชื่อว่า "พระภควัมปติ" อันมีความหมายว่า "ผู้มีความงาม
ละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า" ความงดงามแห่งรูปกายนี้เองก่อให้เกิดความหลงใหลคลั่งไคล้จากฝูงชนทั้งชายหญิงจนเกิดเรื่อง
พิพาทกันไม่รู้จักหมดจักสิ้น ทำให้พระมหาสังกัจจายนะเกิดสลดสังเวชในใจพิเคราะห์ดูว่าการมีรูปกายงดงาม ก่อให้เกิดทุกข์
มากมาย ท่านจึงตั้งสมาธิอธิษฐานเปลี่ยนสรีระรูปร่างกลายเป็นร่างต่ำเตี้ย พระอุทรพลุ้ย ศีรษะใหญ่ ขาสั้น อันเป็นลักษณะของ
"พระสังกัจจายน์" ที่เห็นในปัจจุบัน
แม้จะอธิษฐานเปลี่ยนสรีระแล้วผลแห่งกุศลในอดีตชาติยัง ส่งให้พระสังกัจจายน์เป็นที่รักใคร่นิยมยินดีมีแต่ผู้ให้ลาภสักการะ
สรรเสริญตลอดมามิมีขาด ด้วยความนิยมในพุทธสาวกองค์นี้ โบราณาจารย์จึงได้จำลองลักษณะแห่งพระภควัมบดีในรูปพระเครื่องศักด
ิ์สิทธอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น โดยแสดงความหมายที่สำคัญของพระภควัมปติ อันเป็นผู้มีความละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า
ในหลายลักษณะ อาทิ
- พระสังกัจจายน์ อันเป็นที่รักใคร่นิยมยินดีเปี่ยมไปด้วยลาภสักการะสรรเสริญ
- พระปิดตาทวารทั้ง ๙ อัน เป็นการปิดกั้นอาสวะกิเลสแห่งทวารเข้าออกทั้ง ๙ ของร่างกาย
- พระปิดตามหาอุด อันเป็นการป้องกันสรรพภยันตรายทั้งหลายทั้งปวง
ในกระบวนพระปิดตาของคณาจารย์แต่โบราณนั้น มีที่ขึ้นชื่อลือเลื่องหลายสำนักด้วยกัน วัสดุมวลสารที่นำมาประกอบเป็นองค์พระมีทั้งเนื้อชินตะกั่ว เนื้อผงคลุกรัก เนื้อผงใบลาน เนื้อผงมวลสาร เนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อเมฆพัด เนื้อเมฆสิทธิ์ เป็นต้น
- พระปิดตามหาอุดหรือพระปิดทวารทั้ง 9 กันดูบ้าง ความเป็นจริงพระปิดตา ที่มีมือคู่เดียวยกขึ้นมาปิดที่ใบหน้า และพระปิดทวารทั้ง 9 นั้นก็หมายถึงพระภควัมปติหรือพระภควัมบดี เช่นเดียวกัน และพระมหาสังกัจจายน์ ก็คือพระอรหันต์องค์เดียวกันนั่นเองครับ
ตามประวัติว่ากันว่าพระมหาสังกัจจายน์นั้นมีรูปร่างงดงาม และได้รับคำชมจากพระบรมศาสดาว่า พระมหาสังกัจจายน์นั้นเป็นเอตทัคคะ และฉลาดล้ำเลิศในการอธิบายความแห่งคำที่ย่อได้อย่างพิสดาร ด้วยความฉลาดล้ำเลิศของพระมหาสังกัจจายน์นั่นเอง
พระมหาสังกัจจายน์ ท่านเป็นผู้ที่มีผิวพรรณวรรณะงดงาม ตามพระบาลีว่า สุวณฺโณจวณฺณํ คือมีผิวเหลืองดังทองคำ เป็นที่
เสน่ห์นิยม มิว่าท่านจะไปในสถานที่แห่งใด เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายต่างก็พากันสรรเสริญว่า ท่านคือ พระบรมศาสดาเสด็จมาแล้ว
เพราะเหตุที่ท่านมีรูปโฉมละม้ายเหมือนพระศาสดานั่นเอง ท่านจึงได้รับสมญานามอีกชื่อหนึ่งว่า “ พระภควัมปติ” ซึ่งมีความหมายทำนองว่าผู้มีความงามละม้ายเหมือน พระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเอง
เมื่อเหตุการณ์เป็นไปดังนี้ ท่านจึงมาคิดว่า การที่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายพากันสรรเสริญท่านดังนี้ เป็นการไม่สมควร
อย่างยิ่ง สุดท้ายท่านจึงกระทำด้วยอิทธิฤทธิ์ เนรมิตกายให้เตี้ยลงจึงดูท้องพลุ้ย ไม่เป็นที่น่าดู เทพยดาและมนุษย์จะได้ไม่เกิดความเข้าใจผิดอีกต่อไป
ส่วนที่มีการทำ รูปเคารพเป็นรูปปิดทวารทั้ง 9 นั้น ก็คือมือคู่หนึ่งปิดหน้า คือปิดตา 2 ข้างปิดจมูก 2 ปิดปาก 1 และมีมืออีกคู่หนึ่งมาปิดที่หู 2 ข้าง ส่วนอีกมือคู่หนึ่งนั้นปิดที่ทวารทั้ง 2 รวมเป็นปิดทวารทั้งเก้า คือเป็นอุปเท่ห์หมายถึง ตอนที่พระภควัมปติท่านกำลังเข้านิโรธสมบัติ ทวารทั้งเก้าก็จะปิดสนิท ไม่ยินดียินร้ายกับกิเลสทั้งหลาย หมายถึงดับสนิท อาสวะกิเลสต่างๆ ไม่อาจที่จะเข้ามาแผ้วพานได้เลย
จากมูลเหตุนี้เอง คณาจารย์ต่างๆ ท่านจึงสร้างรูปเคารพ เป็นรูปพระปิดตา (คือมีมือคู่เดียวมาปิดที่หน้า) บ้างเป็นรูปพระปิดทวารทั้งเก้าบ้าง และโดยส่วนใหญ่ถ้าเป็นพระปิดตาก็จะปลุกเสกให้เด่นไปทางเมตตามหานิยม โชคลาภโภคทรัพย์
แต่ถ้าเป็นพระปิดทวารทั้ง 9 ก็จะปลุกเสกให้เด่นไปทางอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด พระปิดทวารทั้งเก้านั้นในสมัยโบราณ ถ้าบ้านไหนมีคนจะคลอดลูก ถึงกับต้องนำพระปิดทวารทั้งเก้าออกไปนอกบ้านเสียก่อน เชื่อกันว่าจะไม่สามารถคลอดลูกได้ก็มี ซึ่งเป็นความเชื่อกันในสมัยโบราณ
พระปิดทวารทั้งเก้านั้นมีคติการสร้างมาตั้งแต่ครั้งไหน ยังไม่มีการสืบค้นไปถึงได้ มีพระปิดทวารทั้งเก้าเก่าๆ ที่ยังไม่มีใครทราบว่าเป็นของพระอาจารย์ท่านใดสร้าง แต่มีเนื้อหาความเก่าและได้รับตกทอดกันมานานแล้ว ก็มักจะเรียกกันว่าพระปิด
ทวารฯ เขมร ส่วนมากที่พบมักจะเป็นเนื้อโลหะ ประเภทสัมฤทธิ์ หรือโลหะผสม ออกจะเป็นทองเหลืองบ้าง เนื้อกลับดำบ้าง
พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา
พุทธคุณในวัตถุมงคลของท่านเด่นทาง เมตตามหานิยม
ข้อมูลอ้างอิงจาก : p.moohin.com