หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม (พระเทพสิงหบุราจารย์)
ประวัติ วัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
ชื่อเดิม |
จรัญ จรรยารักษ์ |
|
เกิด |
วันพุธ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ตรงกับวันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ ปีมะโรง เวลา ๐๗.๑๐ น. ณ ๑๕ บ้านตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี |
|
บิดาชื่อ |
แพ จรรยารักษ์ |
|
อุปสมบท |
วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีชวด ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๙๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ วัดพรหมบุรี อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี พระครูพรหมจริยคุณ วัดแจ้งพรหมนคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดกิมเฮง วัดพุทธาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการช่อ วัดพรหมบุรี เป็นอนุศาสนาจารย์ |
|
วิทยฐานะ |
พ.ศ. ๒๔๘๗ |
สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนสุวิทดารามาศ จังหวัดสิงห์บุรี |
|
พ.ศ. ๒๔๙๒ |
สอบไล่ได้นักธรรมโท ณ สำนักเรียนวัดแจ้งพรหมนคร อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี สามัญศึกษา |
|
พ.ศ.๒๔๙๓ |
ศึกษาปฏิบัติกรรมฐาน กับพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม พุทธสโร) วัดหนองโพธิ์ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ |
|
พ.ศ.๒๔๙๔ |
ศึกษาปฏิบิติธรรมฐาน กับหลวงพ่อลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ และท่านเจ้าคุณอริยคุณาธร (เส็ง ปุสโส) วัดเขาสวนกวาง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น |
|
พ.ศ.๒๔๙๕ |
ศึกษาทำเครื่องลางของขลัง น้ำมันมนต์ กับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและ พระครูวินิจสุตคุณ (หลวงพ่อสนั่น) วัดเสาธงทอง จังหวัดอ่างทอง และ หลวงพ่อจาด วัดบ้างสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี |
|
พ.ศ.๒๔๙๖ |
ศึกษาปฏิบัติกรรมฐาน กับท่านเจ้าคุณอาจารย์พระราชย์พระราชสิทธิมุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพ |
|
พ.ศ.๒๔๙๘ |
ศึกษาพระอภิธรรม กับอาจารย์เตชิน (ชาวพม่า) ณ วัดระฆัง กรุงเทพฯ |
|
|
- ศึกษาการพยากรณ์ จากสมเด็จพระสังฆราช วัดสระเกศ กรุงเทพฯ |
|
|
- ศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้วิทยาศาสตร์ทางจิตกับ พ.อ.ชม สุคันธรัต |
|
|
- เดินธุดงค์รอนแรมหาที่สงบ เพื่อจำศีลภาวนาตามป่าเขตลำเนาไพรทางภาคเหนือ (เป็นต้น) |
สมณศักดิ์ |
พ.ศ.๒๕๐๐ |
รักษาการเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี |
|
พ.ศ.๒๕๐๑ |
ได้รับสมณศักดิ์เป็น ที่พระครูปลัดจรัญ ฐิตธมฺโม ในฐานานุกรมของท่านเจ้าคุณ สุนทรธรรมประพุทธ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ |
|
พ.ศ.๒๕๑๑ |
ได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่พระครูภาวนาวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ |
|
พ.ศ.๒๕๑๖ |
เลื่อนเป็นพระครู เทียบผู้ช่วยพระอารามหลวงชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน |
|
พ.ศ.๒๕๑๗ |
รักษาการตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี |
|
พ.ศ.๒๕๑๘ |
ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี |
|
พ.ศ.๒๕๑๙ |
ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ |
|
พ.ศ.๒๕๒๕ |
ได้เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก |
|
พ.ศ.๒๕๓๑ |
ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ พระภาวนาวิสุทธิคุณ เมื่อวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ |
|
พ.ศ.๒๕๓๕ |
ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ พระราชสุทธิญาณมงคล เมื่อวันพุธที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕ |
|
พ.ศ.๒๕๔๑ |
ได้รับแต่งตั้งเป็น รองเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี เมื่อวันอังคารที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๑ |
|
พ.ศ.๒๕๔๒ |
ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ |
|
พ.ศ.๒๕๔๕ |
ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ พระเทพสิงหบุราจารย์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔ |
ได้ประพันธ์หนังสือธรรมะไว้เป็นจำนวนมากเช่น |
||
|
๑. แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา |
|
|
๒. พัฒนามารยาท คำกลอนสอนจิต และมารยาท - ในสังคม |
|
|
๓. หลักการฝึกสมาชิกเพื่อการศึกษา |
|
|
๔. กรรม |
|
|
๕. คำแนะนำเกี่ยวกับอาจาระ ของพระภิกษุสามเณร |
|
|
๖. บทสวดมนต์ |
|
|
๗. อานิสงส์ของการสวดพระพุทธคุณ |
|
|
๘. กรรม กับอดีตแห่งกาลมรณะ |
|
|
๙. พระธรรมเทศนา |
|
|
๑๐.ระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม |
นับตั้งแต่ท่านได้มารักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัมพวันเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ จนกระทั่งได้รับ พระราชทานสมณศักดิ์ และมีสิทธิเข้าครองตำแหน่งเจ้าอาวาสโดยสมบูรณ์เมื่อ ๕ ธ.ค. ๒๕๑๑ เป็นระยะเวลายาวนานถึง ๑๑ ปี แต่ท่านมิได้นิ่งนอนใจ ได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อบริหารงานวัดนี้และช่วยเหลือวัดอื่น ๆ ให้เจริญก้าวหน้ามีสิ่งอำนวยความสะดวก ให้เหมาะสมตามกาลสมัย
ท่านเข้าถึงจิตใจคน เป็นนักแสดง (เทศน์) ซาบซึ้งตรึงใจแก่ผู้ได้ฟังธรรม เป็นนักเสี่ยงในการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ในเมื่อไม่มีทุนอยู่ในกำมือ เป็นนักเสียสละทรัพย์สินที่มีอยู่อุทิศเพื่อการกุศล และแจกเป็นทานให้ลูกศิษย์วัด ปัจจัย
นอกจากนั้นท่านเป็นนักแก้ปัญหาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยนิมนต์ภิกษุชาวต่างประเทศมาแสดงธรรมที่วัด แล้วนำจตุปัจจัยที่ได้ชดใช้หนี้โรงไม้ ร้านก่อสร้างต่าง ๆ บางครั้งแก้ปัญหาไม่ได้ ต้องไปยืมเงินจากโยมมารดา หรือไม่ก็ญาติพี่น้องเป็นต้น ด้วยเหตุที่ท่านเป็นพระนักพัฒนา พระนักเทศน์และวิปัสสนาจารย์พร้อมกันเสร็จดังนี้ ท่านจึงมีผลงานในทุก ๆ ปี มากมายจนเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปอาทิ
พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้รับโล่เกียรติคุณนักสังคมสงเคราะห์ดีเด่นในสาขาสังคมสงเคราะห์อาสาสมัครฝ่ายกิจการพระศาสนา
พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ กรุงเทพฯ วันอังคารที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ในฐานะผู้ได้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ด้านส่งเสริมชักชวนให้มาปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง
พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้รับมอบเข็มเกียรติคุณนักพัฒนาดีเด่นแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองจาก ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ณ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๒๙ จึงนับได้ว่า ท่านได้ทุ่มเทชีวิตในการพัฒนาสังคมให้เจริญรุ่งเรือง และเป็นที่พึ่งอันสำคัญแก่พุทธศาสนิกชนให้เขตท้องถิ่นทั้งใกล้และไกลมาเป็นเวลานาน
ข้อมูลอ้างอิงจาก : dharma-gateway.com