หลวงพ่อครน
ประวัติวัด วัดอุตตมาราม(บางแซะ) รัฐกลันตัน มาเลเซีย
รัฐกลันตัน หลังจากจบสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐชาติมากมายก็ประกาศอิสรภาพ จากประเทศเจ้าอาณานิคมเดิม และบ่อยครั้ง ที่เกิดความไม่ลงรอยซ้อนทับกันของเชื้อชาติของคนในรัฐ กล่าวคือ แผนที่ทางกายภาพที่กำหนดเขตแดนของรัฐ ไม่ลงร้อยกัน กับแผนที่ทางวัฒนธรรม บริเวณพรมแดนมาเลเซีย-ไทย ก็เป็นหนึ่งในพื้นที่ของความไม่ลงตัวของแผนที่ทางกายภาพ กับแผนที่ทางวัฒนธรรม อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากยุคอาณานิคม คือนอกจากจะมี คนเชื้อสายมลายูนับถือศาสนาอิสลามที่เป็นพลเมืองของรัฐไทยแล้ว ก็ยังมีคนเชื้อสายไทยนับถือศาสนาพุทธ ที่เป็นพลเมืองของมาเลเซียด้วย บรรยากาศตามท้องถนนในเมืองโกตาบารู บ้านเรือนจะมีการประดับประดาด้วยธงชาติมาเลเซีย ธงอีกผืนถ้าเดาไม่ผิดน่าจะเป็นธงประจำรัฐกลันตัน แต่กระนั้นก็ดี ผู้คนในบริเวณพรมแดนนี้ ก็ยังคงไปมาหาสู่กัน ด้วยสายสัมพันธ์ทางเครือญาติ การค้าและวัฒนธรรม ที่มีมานับพันปี ก่อนที่ รัฐไทย และมาเลเซียจะสถาปนาขึ้นในยุคสมัยใหฒ่เสียอีก สถานที่ตั้ง วิธีการเดินทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง
ข้อมูลอ้างอิงจาก : p.moohin.com
สำหรับหลายคน แม่น้ำโกลกที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ แบ่งเขตแดนแผนที่ทางกายภาพระหว่างไทยกับมาเลเซีย ที่อำเภอสุไหงโกลก แต่ กับอีกหลาย ๆ คน แม่น้ำสายนี้เป็นส่วนสำคัญของแผนที่ทางวัฒนธรรมที่หล่อเลี้ยงโลหิตของพวกเขามาหลายชั่วอายุคน แค่นี้ก็น่าจะเป็นประจักษ์พยานได้แล้วว่า ชุมชนในจินตนกรรม นั้นไปไกลเกินกว่าแผนที่ทางกายภาพและ/หรือ บัตรประชาชนจะกำหนดควบคุมได้