ประวัติ หลวงปู่ไข่ ธัมมรังสี - วัดบางเลน จังหวัดสุพรรณบุรี - webpra

หลวงปู่ไข่ ธัมมรังสี

ประวัติ วัดบางเลน จังหวัดสุพรรณบุรี


หลวงปู่ไข่ ธัมมรังสี        

ข้อมูลประวัติหลวงปู่ไข่ ธัมมรังสี

       เกิด                     วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2430 ณ บ้านเลน เป็นบุตรของ นายกอน-นางอิ่ม คล้ายสุบรรณ           

                อุปสมบท               อายุ 21 ปี ณ วัดโบสถ์ อ.สองพี่น้อง

                มรณภาพ               ปี 2508


                หลวงพ่อไข่ เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2430 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 8 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน บ้านบางเลน ตำบลกฤษณา
อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตร นายกอน นางอุ่ม มารดาของหลวงพ่อไข่เป็นชาววัง เป็นผู้แสดงละครอยู่ในวังบูรพา (ต่อมากลายเป็นโรงภาพยนตร์ และเป็นย่านการค้าอันโอ่อ่าแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ) ท่านเบื่อชีวิตการแสดงจึงลาออกมาจากวัง มาอยู่กับญาติที่บ้านบางเลน
                ขณะนั้นบิดาของหลวงพ่อไข่ กำลังเป็นหนุ่มรุ่นคะนองเป็นนักต่อสู่ตัวฉกาจของท้องที่นั้น ไม่เคยโกงใคร แต่ใครโกงไม่ได้ เคยต่อสู้กับนักเลงหัวไม้ต่างถิ่นอย่างถึงพริกถึงขิง อันเป็นแบบฉบับของชีวิตลูกทุ่ง เมื่อสังคมกับเหล่านักเลงก็ไม่เว้นที่จะหันเข้าหาสิ่งเสพติด เหล้ายาปลาปิ้งแม้แต่ฝิ่น
                บิดาของหลวงพ่อไข่เรียนรู้อย่างเจนจบ แต่แปลกหาได้ติดเหมือนเพื่อนๆ ก็หาไม่บุพเพสันนิวาสให้มาแต่งงานกับหญิงชาววัง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นของชั่วเลิกหมดอย่างเด็ดขาด ไม่หวนกลับไปแตะต้องมันอีกเลย
ที่นาของบิดาหลวงพ่อไข่อยู่ที่บ้านบางทองหลาง ห่างจากบ้านมาก ถึงเวลาทำนาจะต้องอพยพครอบครัวไปทำนาทำไร่ที่บางทองหลาง บิดาของหลวงพ่อไข่ทำงานด้วยความขยันขันแข็ง ไม่เคยย่อท้อต่ออุปสรรค มารดาก็ช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ลืมชีวิตที่เคยสุขสบายในวัง คิดว่าอยู่ทุ่งนาอันเวิ้งว้าง มีแต่สายลมกับแสงแดด ไม่มีสิ่งอะไรที่จะให้ความรื่นรมย์ได้เลย ท่านไม่เคยบ่นแม้แต่น้อย ช่วยเป็นแรงงานได้เป็นอย่างดี ผิวเริ่มคล้ำเพราะต้องกรำแดดกรำฝน แต่หาได้ปริปากอะไรแม้แต่น้อยไม่
เมื่อคลอดบุตรออกมาก็ทำหน้าที่แม่บ้านที่ดี ทั้งเลี้ยงลูกและทำงานหาได้ย่อท้อไม่ มีทายาทคลานตามกันมาถึง 7 คน คือ
                1. นายสั้น คล้ายสุบรรณ
                2. นายขาว คล้ายสุบรรณ
                3. หลวงพ่อไข่ ธมฺมรงฺสี
                4. นางโม คล้ายสุบรรณ
                5. นางวอน คล้ายสุบรรณ
                6. นายโฉม คล้ายสุบรรณ
                7. นายจิ๋ว คล้ายสุบรรณ
                หลวงพ่อไข่ ถึงแม้จะเป็นบุตรคนที่ 3 แต่มีความคิดดี ทำงานด้วยความขยันขันแข็ง เวลาทำงานต้องทำอย่างจริงจัง
ทำเหลาะๆ แหละๆ ไม่ได้ พี่ๆ น้องๆ เมื่อมาช่วยกันไถนาจะต้องไถให้เต็มคันนาจึงจะหยุดได้ ไม่ยอมให้ทำครึ่งๆกลางๆ เป็นการแสดงให้เห็นถึงนิสัยเอาการเอางานและเอาจริงเอาจัง จึงทำให้บิดา-มารดารักใคร่หลวงพ่อไข่เป็นอันมาก ให้ความไว้วางใจได้ด้านการทำงานเป็นอย่าวดี
จากการทำงานอย่างไม่ย่นย่อ ทำให้ฐานะของครอบครัวหลวงพ่อไข่ดีกว่าหลายๆ ครอบครัวในตำบลนั้น แต่เป็นที่น่าเสียดายหลวงพ่อไข่ไม่ได้เรียนหนังสือตั้งแต่เล็กๆ จึงทำให้หลวงพ่อไข่ไม่รู้หนังสือเลย
3. อุปสมบท

                เมื่อหลวงพ่อไข่ อายุได้ 21 ปี ตรงกับ พ.ศ. 2451 บิดามารดาเห็นว่าหลวงพ่อไข่ ควรจะได้อุปสมบทตามประเพณีและ
เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณบิดามารดา จึงไปอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดโบสถ์ ดอนลำแพน ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี พระอาจารย์สน เจ้าอาวาสวัดโบสถ์ ดอนลำแพน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์พรหม วัดบางเลน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ส่วนพระอนุสาวนาจารย์จำไม่ได้ อุปสมบทแล้วหลวงพ่อไข่มาจำพรรษาที่วัดบางเลนอันเป็นวัดถิ่นกำเนิดของท่าน
4. การศึกษาภาวะ
                ดังได้กล่าวมาแล้วว่าหลวงพ่อไข่ไม่ได้อยู่วัด จึงไม่ได้เรียนหนังสือ ทำอย่างไรหลวงพ่อจึงจะท่องบทสวดมนต์ได้หลวงพ่อไม่ยอมงอมืองอเท้าเริ่มเรียนหนังสือไทยกับ หลวงพ่อเอี่ยม ทันที เพราะต้องการจะท่องบทสวดมนต์หรือเจ็ดตำนานให้ได้ หากไม่เรียนหนังสือก็ยากที่จะท่องได้
                ท่านจึงตั้งหน้าตั้งตาเรียนหนังสือไทยอย่างจริงจังชนิดหามรุ่งหามค่ำ เวลาเมื่อนอนท่องหนังสือเกรงว่าจะนอนหลับง่ายๆ จึงไปเสาะหากะลามะพร้าวมาใบหนึ่งที่มีก้นแหลมเอามาทำเป็นหมอนหนุน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้หลับง่ายๆ เป็นการทรมานตัวเองเพื่อจะอ่านหนังสือให้ออก
                ดูจะเป็นเรื่องที่ออกจะเหลือเชื่อสักหน่อย ในไม่ช้าหลวงพ่อไข่ก็อ่านหนังสือออกได้ในเวลาอันรวดเร็ว และเป็นสิ่งที่น่าประหลาดไม่น้อย หลวงพ่อไข่สามารถที่จะท่องบทสวดมนต์เจ็ดจำนานได้อย่างคล่องแคล่วไม่ผิดพลาด
พอออกพรรษาหลวงพ่อยังไม่คิดจะลาสิกขา หลวงพ่อเฝ้าท่องบ่นปาฏิโมกข์รวมทั้งสิบสองจำนานด้วยความแม่นยำ การท่องบทปาฏิโมกข์หลวงพ่อไข่ใช้ต่อเอาจากหลวงพ่อเอี่ยม ท่านต่อให้วันละ 2-3 แผ่นใบลาน หลวงพ่อไข่เอาไปท่องทั้งวันทั้งคืน พอรุ่งขึ้นท่านก็ท่องได้ไปขอต่อกับหลวงพ่อเอี่ยม
                จนกระทั่งหลวงพ่อเอี่ยมสงสัยอุทานออกมาว่า "อะไรว่ะ เพิ่งต่อไปเมื่อวานนี้เอง ท่องได้แล้วหรือ" สงสัยจึงถามว่าท่านท่องบทปาฏิโมกข์ที่ต่อไปเมื่อวันวานและอันก่อนๆ ได้แล้วหรือ
หลวงพ่อไข่ตอบว่า ได้แล้วครับ หลวงพ่อเอี่ยม จึงบอกว่า " ไหน ลองท่องให้ดูหน่อยซิ " แล้วหลวงพ่อก็ท่องบทปาฏิโมกข์เท่าที่ต่อมาให้หลวงพ่อเอี่ยมฟัง โดยไม่มีการติดขัดเลยแม้แต่น้อย ยังความแปลกใจให้แก่หลวงพ่อเอี่ยมเป็นอันมาก
ทั้งนี้ย่อมเป็นการแสดงว่าสมองของหลวงพ่อไข่มีความอัจฉริยะเพียงใด ความจำดีเยี่ยม ในไม่ช้าหลวงพ่อไข่ก็มีความสามารถเรียนได้ทั้งหนังสือไทย และหนังสือขอม พูดแล้วไม่น่าเชื่อหลวงพ่อไข่กับเป็นกำลังสำคัญในการสอนหนังสือใหญ่ (ขอม) ให้แก่พระภิกษุสามเณรที่บวชใหม่ต่อไป
                ทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน หลวงพ่อไข่มีความสนใจเป็นอันมาก เล่าเรียนจากหลวงพี่เอี่ยม และ หลวงพ่อสน เพราะความจำของท่านเป็นเลิศ จึงทำให้ท่านเรียนได้ไม่ยากนัก
สำหรับหลวงพ่อสนนั้นท่านมีความสามารถเป็นพิเศษสามารถใช้พลังจิตตึงต้นซุงให้เคลื่อนไหวตามของท่านมาอย่างง่ายดาย โดยมิได้ออกแรงดึงเท่าใดนัก เป็นสิ่งน่ามหัศจรรย์
หลวงพ่อไข่ จำพรรษาที่วัดบางเลนเรื่อยมา เรื่องคิดจะลาสิกขานั้นมิได้คิดเลยแม้แต่น้อย หลวงพ่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาวัดเนอย่างยิ่งจนเป็นที่กล่าวขวัญประชาชนให้ความเคารพนับถือรักใคร่พรดะภิกษุหนุ่มเป็นอันมาก หลวงพ่อเคร่งครัดต่อระเบียบวินัยสงฆ์เป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้วัดมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
จวบจนกระทั่งอาจารย์ของท่านล่วงลับไปหมด ไม่มีเจ้าอาวาสคณะสงฆ์จึงแต่งตั้งให้หลวงพ่อไข่ขึ้นรักษาการในจำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางเลน เมื่อ พ.ศ. 2470 และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในการต่อมา
                " ไม่ได้อยู่วัด ไม่ได้เรียนหนังสือ จึงไม่รู้หนังสือ
                " พออุปสมบทเริมเรียนหนังสือ สมองดี รู้ไว
                " พรรษาแรกท่องเจ็ดตำนานได้คล่องแคล่ว
                " พรรษาสองท่องปาฏิโมกข์ไม่ผิดพลาด
                " สร้างเสนาสนะโดยไม่มีการเรี่ยไร เงินของท่านมีเท่าไหร่สร้างวัดหมด

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

                วัตถุมงคลของท่านเด่นทางคงกระพันชาตรี และมหาอุตม์ ยิงไม่เข้า


ข้อมูลอ้างอิงจาก : p.moohin.com

Top