ประวัติ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) - วัดประจำรัชกาลที่ ๑ - webpra

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)

ประวัติ วัดประจำรัชกาลที่ ๑


วัดโพธิ์

เกร็ดประวัติวัดโพธิ์

          กรุงเทพมหานครเมืองหลวงของราชอาณาจักรไทย ที่มีความหมาย เป็นนครแห่งทวยเทพ มีหัวใจอยู่ที่เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ อันเป็นพื้นที่แรกสร้างพระนคร นับเป็นพื้นที่ ที่สั่งสมมรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย ไว้ให้เราชนรุ่นหลัง ได้เห็นได้เรียนรู้ได้รับรู้บังเกิดความ ภาคภูมิใจและนำความรู้ทั้งหลายทั้งปวง มาปฏิบัติตาม ประกอบอาชีพกันด้วย สัมมาอาชีวะจนถึงทุกวันนี้

          วัดโพธิ์ หรือนามทางราชการว่า วัดพระเชตุพนวิมลมัง คลาราม ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกและ เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี เนื่องจากพระ บาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาวัดโพธารามวัดเก่า ที่เมืองบางกอก ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดหลวง ข้างพระบรมมหาราชวัง และที่ใต้พระแท่นประดิษฐาน พระพุทธเทวปฏิมากร พระประ ธานในพระอุโบสถเป็นที่บรรจุ พระบรมอัฐิของพระองค์ท่านไว้ด้วย

          พระอารามหลวงแห่งนี้มีเนื้อที่ 50 ไร่ 38 ตารางวาอยู่ ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง ทิศเหนือจดถนนท้ายวัง ทิศตะวันออกจดถนนสนามไชย ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช มีถนนเชตุพน ขนาบด้วยกำ แพงสูงสีขาวแบ่งเขตพุทธาวาส และสังฆาวาสชัดเจน

          มีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกไว้ว่า หลังจากที่พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระ บรมมหาราชวังแล้ว ทรงพระราชดำริว่า มีวัดเก่าขนาบพระ บรมมหาราชวัง 2 วัด ด้านเหนือ คือ วัดสลัก (วัดมหาธาตุฯ) ด้านใต้คือ วัดโพธาราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ขุนนางเจ้าทรงกรม ช่างสิบหมู่อำนวยการบูรณะปฏิสังขรณ์ เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2331

ใช้เวลา 7 ปี 5 เดือน 28 วัน จึงแล้วเสร็จ และโปรดฯ ให้มีการฉลองเมื่อ 2344 พระราชทานนามใหม่ ว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมัง คลาวาศ” ต่อมารัชกาลที่ 4 ได้โปรดฯ ให้เปลี่ยนท้าย นามวัดเป็น "วัดพระเชตุ พนวิมลมังคลาราม"

          ครั้นรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ นานถึง 16 ปี 7 เดือน ขยายเขตพระอารามด้านใต้และตะวันตก คือ ส่วนที่เป็นพระ วิหารพระพุทธไสยาสสวน มิสกวัน สถาปนาขึ้นใหม่พระมณฑป ศาลาการเปรียญ และสระจระเข้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ เป็นโบราณสถาน ในพระอารามหลวง ที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ แม้การบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดเมื่อฉลองกรุงเทพฯ 200 ปีพ.ศ. 2525 เป็นเพียงซ่อมสร้างของเก่าให้ดีขึ้น มิได้สร้างเสริมสิ่งใด ๆ

          เกร็ดประวัติศาสตร์ ของการสถาปนา และการบูรณะปฏิ สังขรณ์วัดโพธิ์แห่งนี้ บันทึกไว้ว่า รัชกาลที่ 1 และที่ 3 ขุน นาง เจ้าทรงกรมช่างสิบหมู่ ได้ระดมช่างในราชสำนัก ช่าง วังหลวง ช่างวังหน้า และช่างพระสงฆ์ที่อยู่ในวัดต่างๆ ผู้ เชี่ยวชาญงานศิลปกรรมสาขาต่างๆ ได้ทุ่มเทผลงานสร้าง สรรค์พุทธสถาน และสรรพสิ่งที่ประดับอยู่ใน วัดพระอาราม หลวงด้วยพลังศรัทธา ตามพระราชประสงค์ของพระองค์ ท่านที่ให้เป็นแหล่งรวมสรรพศิลป์ สรรพศาสตร์ เปรียบ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งสรรพวิชาไทย (มหาวิทยาลัยเปิด แห่งแรก) ที่รวมเอาภูมิปัญญาไทย ไว้เป็นมรดกให้ลูก หลานไทยได้เรียนรู้กับอย่างไม่รู้จบสิ้น


อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน

1. พ.ศ. 2321 - 2356 : สมเด็จพระวันรัต (ฉิม) บางแห่งว่า แก้ว สุวัณรังษี

2. พ.ศ. 2356 - 2396 : สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส (พระองค์เจ้าวาสุกรี)

3. พ.ศ. 2400 - 2412 : พระพิมลธรรม (ยิ้ม ป.ธ. 7)

4. พ.ศ. 2415 - 2419 : สมเด็จพระวันรัต (สมบูรณ์ ป.ธ.4)

5. พ.ศ. 2422 - 2432 : พระพิมลธรรม (อ้น ป.ธ.8)

6. พ.ศ. 2435 - 2443 : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ม.จ. ทัต ป.ธ.7)

7. พ.ศ. 2443 - 2447 : พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปาน ป.ธ.7)

8. พ.ศ. 2448 - 2451 : พระธรรมเจดีย์ (แก้ว ป.ธ.4)

9. พ.ศ. 2452 - 2484 : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม ป.ธ.6)

10. พ.ศ. 2484 - 2490 : สมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ป.ธ.9)

11. พ.ศ. 2490 - 2516 : สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ ป.ธ.6)

12. พ.ศ. 2517 - 2520 : พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (กมล กมโล ป.ธ.3)

13. พ.ศ. 2520 - 2534 : พระวิสุทธาธิบดี (สง่า ปภสฺสโร ป.ธ.8)

พระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร เจริญพานิช ป.ธ.4)
14. เจ้าอาวาสปัจจุบัน พระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร เจริญพานิช ป.ธ.4)

 

วัดโพธิ์

วัดโพธิ์

วัดโพธิ์

วัดโพธิ์

วัดโพธิ์

วัดโพธิ์

วัดโพธิ์

วัดโพธิ์
วัดโพธิ์

 

ข้อมูลอ้างอิง : http://www.watpho.com/th/home/
สำหรับท่านใดที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าลิ้งเว็บไซต์ทางวัดจากข้อมูลอ้างอิง

Top