ประวัติ วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) - หมู่ที่ 6 ตำบลนาแสง อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ 43210 - webpra

วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก)

ประวัติ หมู่ที่ 6 ตำบลนาแสง อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ 43210

 

ประวัติพระอาจารย์จวน >>> คลิ๊ก

วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก)

ที่ตั้ง

วัดภูทอก หรือวัดเจติยาคิีรีวิหาร
ตั้งอยู่ที่บ้านคำแคนพัฒนา หมู่ที่ 6 ตำบลนาแสง อำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย 43210
( ปัจจุบันขึ้นกับจังหวัดบึงกาฬ เป็น หมู่ที่ 6 ตำบลนาแสง อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ 43210  )

สภาพของวัด

   วัดเจติยาคิรีวิหาร หรือ ภูทอกมีขนาดความสูง โดยวัดจากฐานถึงยอด 460 เมตร มีบันไดเรียงขึ้นตามชั้นต่าง ๆ 7 ชั้น และฐานชั้นที่ 6 วัดโดยรอบได้ 800 เมตร เป็นหน้าผาสูงชันมีที่ธรณีสงฆ์ 78 ไร่ 3 งาน 18 ตารางวา
   ทิศเหนือ ยาว 192 เส้น 15 วา ติดต่อกับภูทอกใหญ่
   ทิศใต้ ยาว 190 เส้น 10 วา ติดต่อกับถนนบ้านนาต้อง-บ้านศรีวิไล
   ทิศตะวันออก ยาว 40 เส้น 10 วา ติดกับถนน ร.พ.ช. สายบึงกาฬ-บ้านโพธิ์หมากแข้ง
   ทิศตะวันตก ยาว 35 เส้น 15 วา ติดกับทุ่งนาบ้านนาคำแคน-บ้านนาสะแบง


สิ่งดึงดูดใจ

   วัดเจติยาคิรีวิหาร หรือ ภูทอก ตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2483 โดยพระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ ได้มาบำเพ็ญเพียรอยู่ที่ภูวัว อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย คืนหนึ่งได้เกิดนิมิตรขึ้นเห็นปราสาท 2 หลัง ลักษณะสวยงามมากอยู่ทางด้านภูทอกน้อย ดังนั้นพระอาจารย์จวนกุลเชฎโฐ จึงได้เดินทางมาพิสูจน์ตามที่เกิดนิมิตร และได้พบลักษณะภูมิประเทศที่สวยงานร่มรื่น เหมาะที่จะปฏิบัติธรรม จึงได้สำรวจ และปักกรดอยู่ที่ ถ้ำบนภูทอก กับพระครูศริธรรมวัฒน์ ต่อมาชาวบ้านคำแคนเห็นพระอาจารย์จวน ธุดงภ์มาอยู่ที่ภูทอก จึงพร้อมใจกันอารธนาให้สร้างวัด ขึ้นที่ภูทอก

   ในปีพุทธศักราช 2512 ชาวบ้านนาคำแคนได้มาช่วยกันสร้างบันได้ขึ้นภูทอก จนถึงชั้นที่ 5-6 และได้ปลูกสร้างเสนาสนะสำหรับพระสงฆ์อยู่ถึง 2 เดือน 10 วัน จึงเสร็จ


    ในปีพุทธศักราช 2513-2514 พระอาจารย์จวน กุลเชตุโฐ ได้ชักชวนชาวบ้าน สร้างทำนบกั้นน้ำขึ้น 2 แห่ง เพื่อใช้เก็บกักน้ำ และจัดระบบน้ำประปาขึ้นภายในวัดภูทอก

    นอกจากนั้น กองทัพอากาศดอนเมืองได้ถวายเครื่องไฟฟ้าแรงสูง สำหรับใช้ ภายในวัด 1 เครื่อง กรมวิเทศสหการได้ถวายพระพุทธรูป หล่อขนาดใหญ่เป็นประธาน 1 องค์ ไว้ที่วิหารชั้น 5 และบรรดาญาติโยมได้ช่วยกันสมทบทุนสร้างโรงฉัน และศาลาที่ชั้น 1 หลัง พร้อมกับการก่อสร้างสะพานลอยฟ้าไปรอบ ๆ ภูทอกในชั้นที่ 5 และชั้นที่ 6 และได้สร้างสถานที่บำเพ็ญเพียรภาวนา แทรกไว้ตาม จุดต่าง ๆ โดยรอบหน้าผา สิ้นค่าก่อสร้าง 45,000 บาท ซึ่งการก่อสร้างเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะเป็นการเจาะหินทำนั่งร้านด้วยไม้ เนื้อแข็ง 2 ท่อน ผูกติดกับเสาที่ปักไม้เท้าแขนลงไปแล้วจึงพาดไม้กระดานเป็นสะพานที่ละช่วง ๆ ละประมาณ 1 เมตรเศษ ระหว่างคาน จะมีคานรองรับอีกชั้นหนึ่ง จึงทำให้สะพานแข็งแรงมาก นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์แก่ผู้พบเห็นอย่างยิ่ง และเมื่อวันที่ 27 เมษายน พุทธศักราช 2523 พระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐได้รับนิมนต์ไปกรุงเทพฯ และได้ประสพอุบัติเหตุเครื่องบินตก ถึงแก่มรณภาพ สิริรวมอายุได้ 59 ปี 9 เดือน 18 วัน 38 พรรษา


    ปีพุทธศักราช 2513 ได้ปรับปรุงการสร้างสะพานใน ชั้นที่ 5 โดยทำทางเดินให้เสมอกันและ ขยายให้กว้างขึ้น

    ปีพุทธศักราช 2517 ได้ปรับปรุงสะพานในชั้นที่ 6 และทำสะพานในชั้นที่ 4 ให้อยู่ในสภาพที่ ใช้การได้ดี

    ปีพุทธศักราช 2519 ได้จัดทำนบกั้นน้ำในเขตวัดและจัดทำถังน้ำบนภูเขาในชั้นที่ 5 และกุฎิ พระภิกษุ สามเณร กุฎิแม่ชี บนชะง่อนเขาในชั้นที่ 5 เพื่อให้ญาติโยมได้พักอาศัยด้วย

    ปีพุทธศักราช 2523 ได้จัดทำถนนรอบภูเขา 3 ลูก คือ ภูทอกน้อย ภูทอกใหญ่ และภูสิงห์น้อยเพื่อ เป็นการกั้นเขตแดนวัด


ศักยภาพด้านการท่องเที่ยว

    วัดเจติยาคิีรีวิหาร หรือภูทอก อยู่ห่างจากตัวจังหวัดหนองคาย 186 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวง จังหวัด หมายเลข 212 หนองคาย - บึงกาฬ - ศรีวิไล เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนพระปริญัติธรรม แผนกธรรม ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2525 และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดหนองคาย ที่มีประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางไปท่องเที่ยว เป็นจำนวนมาก

    นอกจากนั้นยังมีเจดีย์พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ สร้างด้วยคอนกรีต เสริมเหล็กประดับด้วยหินอ่อนขนาดกว้าง 16 เมตร สูง 31 เมตร สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2529


ข้อมูลอ้างอิง : http://www.dhammathai.org/watthai/northeast/watphutok.php

 



ภาพเดินทางขณะขึ้นภูทอก


วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) ภาพถ่ายระยะไกล

วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) ไหว้พระก่อนขึ้นภู

วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) บันไดขึ้นจากชั้น 1-2

วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) ศาลาชั้น 5

วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) หินบนชั้น 5

วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) ทางเดินเลียบหน้าผาบนชั้น 5

วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) หน้าผาที่มีหลังคาเป็นเชิงหินรูปแปลกๆ

 

วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) ศาลาที่ชั้น 6

 

วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) เลียบหน้าผาบนชั้น 6

วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) มองไปทางทิศเหนือ คือ ภูทอกใหญ่

วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) เดินบนสะพานรอบภูชั้น 6

วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก)

วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก)

วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) พุทธวิหาร

วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) สันเขาที่เหมือนสะพานหินที่ทอดไปหาพุทธวิหาร

วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก)

วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) เจดีย์และพิพิธภัณฑ์อัตถบริขารพระอาจารย์จวน

วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก)
วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) รูปเหมือนพระอาจารย์จวน

 

ข้อมูลภาพทั้งหมด : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=travelsomewhere&month=01-03-2010&group=39&gblog=31

Top