วัดสุวรรณาราม ราชวรวิหาร
ประวัติ ตั้งอยู่ที่แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
วัดสุวรรณาราม เป็น พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับคลองบางกอกน้อย
ทิศใต้ ติดต่อกับโรงเรียนสุวรรณาราม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับคูน้ำเขตบางกอกน้อย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับถนนเข้าเขตบางกอกน้อย
ทิศใต้ ติดต่อกับโรงเรียนสุวรรณาราม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับคูน้ำเขตบางกอกน้อย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับถนนเข้าเขตบางกอกน้อย
วัดนี้ยังไม่มีแผนผังรายละเอียดแน่นอน แต่ได้กำหนดเขตเป็นหลักฐาน 2 เขต
ดังนี้ เขตพุทธาวาส มีพระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ มีเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่เศษ
เขตสังฆาวาส ที่อยู่ของพระภิกษุสามเณร มี 3 คณะ กุฏิ 36 หลัง มีศาลาการเปรียญและโรงเรียนปริยัติธรรมอยู่ในเขตนี้ด้วย มีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่เศษ
ลักษณะพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีเนื้อที่ยาวประมาณ 3 เส้น กว้างราว 4 เส้น มีคลองเป็นที่หมายเขต พื้นที่ราบลุ่ม น้ำท่วมถึง
ดังนี้ เขตพุทธาวาส มีพระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ มีเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่เศษ
เขตสังฆาวาส ที่อยู่ของพระภิกษุสามเณร มี 3 คณะ กุฏิ 36 หลัง มีศาลาการเปรียญและโรงเรียนปริยัติธรรมอยู่ในเขตนี้ด้วย มีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่เศษ
ลักษณะพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีเนื้อที่ยาวประมาณ 3 เส้น กว้างราว 4 เส้น มีคลองเป็นที่หมายเขต พื้นที่ราบลุ่ม น้ำท่วมถึง
ประวัติความเป็นมา
วัดสุวรรณาราม เป็นวัดโบราณ เดิมชื่อวัดทอง ไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์จากพระมาหกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มาด้วยดี ตั้งแต่ต้นจนปัจจุบันโดยเฉพาะรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 3 ได้ทรงปฏิสังขรณ์เสนาเสนาะ ถาวรวัตถุและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก
พระ บาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้รือและสถาปนาใหม่หมดทั้งพระอาราม ได้ทรงสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร กำแพงแก้ว มีเก๋งข้างหน้า 2 เก๋ง พร้อมทั้งเสนาสนะขึ้นมาใหม่ ครั้นสถาปนาเสร็จแล้วจึงพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดสุวรรณาราม" ส่วนสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ได้ทรงสร้างเครื่องป่าช้าขึ้น
สำหรับ พระมหากษัตริย์พระองค์ต่อมาโดยเฉพาะรัชกาลที่ 3 ก็ได้ปฏิสังขรณ์ขยายเขตให้กว้างขวางออกไปกว่าของเดิม พร้อมทั้งหอระฆัง หอพระไตรปิฏก หอฉัน กุฏิตึก กุฏิฝากระดาน ศาลาการเปรียญ ฯลฯ นับว่ายุคนี้พระอารามเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น
วัดสุวรรณารามในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 เป็นสถานที่พระราชทานเพลิงศพเชื้อพระวงศ์ และ ข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่จำนวนมาก
การ บูรณะปฏิสังขรณ์ในยุคปัจจุบันนี้ มีพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันได้ดำเนินการร่วมกับสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลาย ร่วมกันซ่อมหน้าบันพระอุโบสถ ปูหินอ่อน ซ่อมบานประตูหน้าต่าง เปลี่ยนกระเบื้องหลังคา และช่อฟ้าใบระกาพระอุโบสถ ซ่อมพระวิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาท่าน้ำ เก๋งหน้าพระอุโบสถ สร้างฌาปนสถานพร้อมทั้งศาลา 5 หลัง และ สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
นับ ได้ว่าวัดสุวรรณารามโดยการนำของพระอุบาลีคุณูปมจารย์ได้กลับฟื้นคืนสู่สภาพ เดิมที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาแล้วอีกครั้งหนึ่ง และขณะนี้ทางกรมศิลปากรได้อนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถอยู่ เพื่อรักษามรดกอันล้ำค่าหาที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว
สิ่งสำคัญภายในวัด
จำนวนที่ดินที่เป็นบริเวณวัดมีประมาณ 12 ไร่เศษ ส่วนที่กัลปนา (ที่จัดประโยชน์) ทางวัดไม่มีแผนที่รายละเอียดระบุไว้แน่ชัด เพราะที่ดังกล่าวนี้ทางกรมการศาสนาเป็นผู้ดำเนินการจัดประโยชน์ทั้งสิ้น รายได้ทั้งหมดปีหนึ่งประมาณ 13,000 บาทเศษ
โบราณวัตถุสถานภายในบริเวณวัด
-พระอุโบสถ เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 1 สร้างแบบฐานโค้งปากสำเภา เป็นศิลปสมัยอยุธยาตอนปลาย ผสมผสานระเบียบแบบแผนที่เป็นพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยโครงสร้างพระอุโบสถคล้ายวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่างกันตรงที่อุโบสถวัดสุวรรณารามไม่มีเฉลียงรอบพระอุโบสถ ฐานเป็นลวดบัวฐานปัทม์ทรงอ่อนโค้งปากสำเภา ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย สันนิษฐานว่าอัญเชิญมาจากสุโขทัย
ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ นับว่าเป็นสิ่งที่มีชื่อเสียงที่สุดของวัดนี้ โดยเฉพาะภาพเขียนของจิตรกรเอกสมัยรัชกาลที่ 3 อาจารย์ทองอยู่ หรือหลวงวิจิตรเจษฎา เขียนภาพเนมีราชชาดก อาจารย์คงแป๊ะ เป็นคนจีน เขียนภาพมโหสถ ซึ่งได้ดัดแปลงเทคนิคแบบจีนมาใช้ โดยเฉพาะการใช้พู่กันปลายเรียวแหลมที่เรียกว่าหนวดหนู ตัดเส้น การใช้สีอ่อนแก่ รวมทั้งการเขียนแรเงาบาง ๆ ทำให้ภาพแสดงการเคลื่อนไหว และมีสีที่สดใส
ข้อมูลอ้างอิง : http://bangkoknoitour.blogspot.com/2011/04/blog-post_26.html