วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร ( วัดเขาพระงาม )
ประวัติ ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร หรือที่ชาวลพบุรีเรียกว่า(วัดเขาพระงาม) เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปตามถนนสายลพบุรี-โคกสำโรง ระยะทางประมาณ 12.5 กิโลเมตร พื้นที่ตั้งของวัดมีเนื้อที่ 99 ไร่
อาณาเขต
- ทิศเหนือ จรดที่ดินของกองคลังแสง 2 กรมสรรพวุธทหารบก
- ทิศใต้ จรดที่ดินของราษฎร
- ทิศตะวันออก จรดที่ดินศูนย์การทหารปืนใหญ่ โคกกระเทียม ตำบลเขาพระงาม ลพบุรี
- ทิศตะวันตก จรดที่ดินของกองสรรพวุธกลางที่ 2กรมสรรพวุธทหารบก
นามของวัด
วัดนี้ เดิมเรียกว่าวัดเขาพระงาม ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ ในงานผูกพัทธสีมา กลางเดือน ๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาล ที่ ๖ เสด็จเยี่ยม ทรงทอดพระเนตรวิธีผูกพัทธสีมา แล้วทรงสถาปณาเป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี และทรงพระราชทานพระราชหัตถเลขานามว่า วัดสิริจันทรนิมิตร
ประวัติวัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร
วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร wat sirijannimit (วัดเขาพระงาม) วัดสิริจันทรนิมิตวรวิหารตั้งอยู่ทิศตะวันตกของเชิงเขาพระงาม อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดลพบุรีไปทางทิศเหนือตามถนนพหลโยธินไปประมาณ 12 กิโลเมตร อยู่ในเขตตำบลเขาพระงาม วัดเขาพระงามนี้เดิมเป็นวัดร้าง สร้างมาแต่เมื่อใดไม่มีปรากฏ ต่อมาในปี พ.ศ. 2455 พระอุมาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร กับพระสงฆ์อีกรูปได้ธุดงค์มาพักที่วัดนี้ เห็นว่ามีภูมิประเทศดี จึงได้สร้าง พระพุทธรูปที่ เขานี้ วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของลพบุรี ตั้งอยู่ที่ ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง เป็นวัดที่เก่าแก่มาก มีหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุปรากฏภาย ในบริเวณวัดมากมาย อาทิ พระพุทธไสยาสน์ที่ประดิษฐานอยู่ภายในถ้ำพญามังกร (ถ้ำภัทราวุโธ) ซึ่งสร้างด้วยศิลาแลงแบบโบราณ ซากฐานพระสถูปเจดีย์เก่า บนยอดเขา และซากกำแพงเก่าที่ปรากฏบริเวณเชิงเขา ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างมาตั้งแต่ในราวปี พ.ศ. 1100 ทีเดียว พื้นที่อันเป็นที่ตั้งของวัด มีเนื้อที่ ๙๙ ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือ จรดที่ดินของกองคลังแสง ๒ กรมสรรพาวุธทหารบก ทิศใต้ จรดที่ดินของราษฎร ทิศตะวันออก จรดที่ดิน ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ค่ายพหลโยธิน โคกกะเทียม ตำบลเขาพระงาม ทิศตะวันตก จรดที่ดินของกรมสรรพาวุธกลางที่ ๒ กรมสรรพาวุธทหารบก วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหารตั้งอยู่ทิศตะวันออกของเชิงเขาพระงาม เดิมเป็นวัดร้างมานานจนสืบไม่ทราบประวัติ มีอุโบสถหักพังและพระพุทธรูปเป็น ที่สังเกต ครั้นมาถึงเดือน ๗ ข้างแรม ปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) หลังจากท่านได้สมโภชพระประธานที่ศาลาการเปรียญที่วัดบรมนิวาสแล้วได้ออกไป รุกขมูล ๓ รูป คือ ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชกวี พระครูปลัดอ่ำภทฺราวุโ พระฐิตวีโร (ทา) ได้ไปพักที่ถ้ำเขา พระงาม เห็นเป็นสถานที่สำราญดี พระครูปลัดจึงได้ปรึกษากับท่านเจ้าคุณขอลาการงานออกไปพักเพื่อหาที่วิเวก ส่วนตัว ได้รับอนุญาตตามประสงค์ เดือน ๘ ทุติยมาส ได้ให้พระทาคอยอยู่ที่ถ้ำ พระครูปลัดกลับเข้าไป กรุงเทพมหานคร เพื่อส่งท่านเจ้าคุณ ครั้นถึงเดือน ๘ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ได้พาพระสังกิจโจ ลำเจียก ผู้เป็นอันเตวาสิก ออกมาจำพรรษาอยู่ที่เขาพระงาม รวมเป็น ๓ รูปด้วยกัน การก่อสร้างเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๕ มาจนถึงเดือน ๙ มีพระยาสมบัตยาบาล (ทรัพย์) ได้มาปฏิสังขรณ์ถ้ำถวาย คือก่อฝาผนังด้วยศิลาถือปูนซิเมนต์ มีประตู ๑ หน้าต่าง ๔ ลาดพื้นด้วยซิเมนต์ และปฏิสังขรณ์พระไสยาสน์ในถ้ำด้วย สิ้นเงิน ๑,๓๐๐ บาทเศษ และได้จารึกหน้าถ้ำบนประตูตามนามของท่านพระครูปลัดขึ้นไปว่า "ถ้ำภัทราวุโธ ร.ศ. ๑๓๑" และเมื่อ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จ ฯ มาที่วัดนี้ และได้พระราชทานนามวัดให้ใหม่ว่า วัดสิริจันทรนิมิตร ต่อมาได้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เมื่อปี พ.ศ. 2499 วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร หรือเป็นที่รู้จักอีกชื่อหนึ่งคือ วัดเขาพระงาม เนื่องจากภายในวัดแห่งนี้บริเวณเชิงเขาโอบล้อมด้วยผืนป่าเขียวขจี ได้ประดิษฐานองค์พระพุทธรูปขนาดใหญ่สีขาวทั้งองค์ มีชื่อว่า "พระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล" สร้างด้วยศิลปะงดงามประณีตบรรจง โดดเด่นสามารถมองเห็นในระยะไกลก่อนเข้าไปสู่บริเวณวัด ศาสนสำคัญแห่งนี้มีความร่มรื่นเหมาะต่อการนั่งวิปัสนากรรมฐาน สามารถสร้างจิตใจให้มีความสงบสุข ทำให้ประชาชนทั่วทุกสารทิศเข้ามาสักการะบูชาด้วยดีตลอดมา
ประวัติพระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล
พระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล ถูกสร้างขึ้นโดย พระอุมาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) และพระสงฆ์อีกหนึ่งรูป เป็นพระพุทธรูปที่มีหน้าตักกว้าง 11 วา สูงจากหน้าตักถึงยอดพระเศียร 18 วา เส้นพระศกทำด้วยไหกระเทียม เมื่อสร้างเสร็จได้ถวายพระนามว่า พระพุทธนฤมิตรมัธยมพุทธกาลนับเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม และมีความโดดเด่นเป็นสง่า สามารถมองเห็นมาแต่ไกล นอกจากนี้ ยังเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเมืองลพบุรีและจังหวัดใกล้เคียงนิยมเดินทางไปกราบสักการะและขอพรด้วยความเคารพศรัทธาอยู่เป็นเนืองนิจ พ.ศ. 2469 จึงเปลี่ยนนามใหม่ว่า "พระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล" มาจนทุกวันนี้ วัดสิริจันทรนิมิตวรวิหาร
ปูชนียวัตถุที่สำคัญภายในวัด
- มีรอยพระพุทธบาทจำลอง หล่อด้วยปูนซีเมนต์ ตั้งอยู่บนหลังเขา
- มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ชื่อว่า (พระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล)
- พระพุทธรูปไสยาสน์ในถ้ำภัทราวุโธเป็นของเก่า
- พระสังกัจจายน์ หล่อด้วยปูนซีเมนต์ หน้าตักกว้าง 11 ศอก 1 คืบ สูง 3 วา
- พระประธายภายในพระอุโบสถ ชื่อว่า (พระพุทธเพ็ชรรัตน์สุวัทนามัยมหามุนีชินสีห์วิสุทธิโสภาคย์) หล่อด้วยทองเหลือง หน้าตักกว้าง 3 ศอก 2 นิ้วฟุต สูง 3 ศอก 1 คืบ 4 นิ้วฟุต
- รูปท่านเจ้าคุณเทพวรคุณ ประดิษฐานที่วิหารภังคานนท์
เจ้าอาวาสวัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร
- ผู้สถาปนาวัด พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันฺโท จันทร์)
รายนามเจ้าอาวาส
- พระเทพวรคุณ (อ่ำ ภทฺราวุโธ) (พระราชาคณะชั้นเทพ) พ.ศ. ๒๔๕๕-๒๔๗๕
- พระศีลวรคุณ (ลำเจียก สงฺกิจฺโจ) พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๕๐๖
- พระเทพวรคุณ (พิมพ์ ปญฺญาทีโป) (พระราชาคณะชั้นเทพ) พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๓๓
- พระครูสุธรรมถิราจาร (สุพจน์ ถิราจาโร) พ.ศ. ๒๕๓๕-๒๕๔๘
- พระอนันตสารโสภณ (พระราชาคณะชั้นสามัญ)พ.ศ. ๒๕๔๙-ปัจจุบัน
ข้อมูลอ้างอิง : http://th.wikipedia.org/wiki/วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร