วัดราษฎร์บูรณะ (วัดช้างให้)
ประวัติ ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ทำเนียบหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ >>> คลิ๊ก
เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแล้วกว่า 300 ปี ตามตำนานกล่าวว่า พระยาแก้มดำเจ้าเมืองไทรบุรี ต้องการหาชัยภูมิสำหรับสร้างเมืองใหม่ให้กับน้องสาว จึงได้เสี่ยงอธิฐาน ปล่อยช้างให้ออกเดินทางไปในป่า โดยมีเจ้าเมืองและไพร่พลเดินติดตามไป จนมาถึงวันหนึ่ง ช้างได้หยุดอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง แล้วร้องขึ้นสามครั้ง พระยาแก้มดำจึงได้ถือเป็นนิมิตที่ดี จะใช้บริเวณนั้นสร้างเมือง แต่น้องสาวไม่ชอบ พระยาแก้มคำจึงให้สร้างวัด ณ บริเวณดังกล่าวแทน แล้วให้ชื่อว่า วัดช้างไห้
แล้วนิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่ง ที่ชาวบ้านเรียกว่า ท่านลังกา หรือ สมเด็จพะโคะ หรือ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด คำปรารภของ พระครูวิสัยโสภณ (พระอาจารย์ทิม ธมฺมธโร)
หนังสือตำนานเกี่ยวกับชีวะประวัติของ "หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด"
ประวัติการสร้างพระเครื่อง และคุณอภินิหารพระเครื่อง สมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ได้จัดพิมพ์มาหลายครั้ง และจัดพิมพ์กันเล่มละครั้ง จึงบางเล่มจึงมีข้อความที่ซ้ำกันเป็นบางตอน บางเล่มก็ไม่มีข้อความที่เล่มอื่นมี จึงในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ อาตมาภาพได้ประมวลเหตุการณ์และข้อความทั้งหมดที่กล่าวไว้แล้ว มาจัดพิมพ์รวมเป็นเล่มเดียวกัน ซึ่งจะเป็นการสะดวกต่อผู้ที่เคารพนับถือ "สมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" ทุกท่านที่สนใจใคร่จะทราบตำนานชีวประวัติและคุณอภินิหาร พระเครื่องหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด อนึ่งในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ อาตภาพได้คัดสำเนา หนังสือพงศาวดารจากเทศาภิบาล เล่มที่ ๓-๔ ร.ศ. ๑๒๖ สำเนาหนังสือครั้งกรุงเก่า ว่าด้วยการพระราชทานที่กัลปนา และยอเข้าตำราหมื่นตราพระธรรม วิลาศเอาไปวิวาทเป็นหัวเมือง มาลงไว้บางตอน(หนังสือที่อ้างถึงนี้กล่าวไว้เกี่ยวกับหลวงพ่อทั้งนั้น) ฉนั้นจงจัดมาลงไว้แต่ตอนที่เห็นสมควรเท่านั้น เพื่อผู้ที่สนใจได้ศึกษา และในการพิมพ์ก็จัดพิมพ์ตรงตามตัวหนังสือของต้นฉบับเดิมทุกตัวอักษร มิได้เปลี่ยนแปลงประการใด ทั้งนั้นเพื่อเป็นการทรงไว้ซึ่งคุณค่าของ "พระราชพงศาวดาร" อามาภาพขออัญเชิญ ดวงวิญญาณขององค์ "สมเด็จหลวงพ่อทวด" ซึ่งสถิตย์อยู่ ณ ทิพย์สถานพิมานใดจงได้โปรดคุ้มครองป้องกันประเทศชาติให้ปลอดจากสรรพยันตรา ยทั้งปวง และได้โปรดบันดาลความสุขความเจริญให้แก่ทุกๆท่านด้วยเถิด.
(สำเนา)
จากเทศาภิบาลเล่มที่ ๓-๔ ร.ศ. ๑๒๖
สำเนาหนังสือครั้งกรุงเก่าว่าด้วยการพระราชทานที่กัลปนายอเข้าตำราหมื่นตรา พระธรรมวิลาศเอาไปวิวาทเป็นหัวเมืองแลครั้งเกิดสมเด็จเจ้าพระราชมุนีมีบุญ แลได้พระพุทธศักราช ๙๙๐ ฉลูสัมฤทธิศก เมื่อเกิดแม่นั้นเป็นทรพล เอาไปนาแลผูกเปลไว้ ณ ต้นไม้หว้า แลงูตระบองสลาขึ้นมาอยู่ ณ บนเปลนั้น แลแม่นั้นขึ้นมาจะกินน้ำ แม่นั้นเห็นงูซึ่งขดพันอยู่ ณ บนลูกอ่อนนั้นก็ตระหนกตกใจกลัว จึงร้องเรียกวุ่นวายว่าตาหูเอ้ยๆว่าลูกกูตายแล้ว ว่างูตระบองสลาขึ้นพันอยู่ ณ บนเปล แลจึงตาหูก็แล่นมาดูลูกอ่อนก็ยังเป็นอยู่ แลจึงตาหูนั้นก็ให้ขอข้าวตอกดอกไม้ ให้เอามานมัสการแก่เทพารักษ์ จึงงูนั้นก็เลื้อยไป แลจึงพ่อแม่แลเพื่อนนานั้นก็เข้าไปดูกุมาร ณ เปลนั้น ก็เห็นแก้วใบหนึ่ง จึงพ่อก็เอาไว้สำหรับกุมารนั้นแล้ว อยู่มากุมารนั้นก็ค่อยจำเริญอายุสถาพรแล้ว แลบินำเอาไปบวชไว้ ณ วัดกุฎีหลวงซึ่งสมเด็จพระจวงอยู่นั้น แล้วก็ให้ชื่อเณรปู แลชีต้นก็ร่ำเรียนนโม ก ข แลขอมไท จบแล้วจึงเรียนธรรมบททศชาติ สมเด็จพระชินเสน ณ วัดศรีกูญัง จบธรรมบททศชาติแล้วเป็นช้านาน แล้วเข้าไปเมืองนครศรีธรรมราชนั้น อยู่ร่ำเรียนเป็นหลายปีครบอายุยี่สิบเอ็ด แลพระขุนลกก็รับเอาเจ้าเณรปูไปสู่สำนัก พระมหาเถระปิยทัสสีนั้น เรียนว่าจะบวชเจ้าเณรปูเป็นภิกขุ แลจึงพระมหาเถระนั้นก็คิดด้วยสงฆ์ในอาราม ว่าพัทธสิมา อุทกสิมา หามิได้ แลจึงให้พระขุนลกจัดหาเรือมาดตะเคียนลำ ๑ มาด พยอมลำ ๑ มาด ยางลำ ๑ มาด เอามาขนาน ณ คลองหน้าท่าเรือแล้ว และพระขุนลกแลญาติพี่น้องก็แต่งสบงจีวรครบด้วยธูปเทียนแล้วเจ้าเณรปูไปสู่ พระมหาเถรปิยทัสสีเป็นอุปัชฌาย์จารย์ แลพระมหาเถรพุทธสาครเป็นกรรมวาจา แลพระมหาเถรศรีรัตนเป็นอนุ แลบวชเจ้าเณรปูเป็นภิกขุแล้ว จึงพระมหาปิยทัสสีก็ให้นามชื่อเจ้าสามิราม แล้วให้อยู่ตามกิจสงฆ์และร่ำเรียนธรรมสืบไปเป็นช้านาน แลยังมีเรือเจ้าสเภาอินจะเข้าไปเมืองกรุงเทพมหานคร จึงเจ้าสามิรามไปถามเจ้าสเภาอินว่าจะโดยสารเรือเข้าไปด้วย จึงเจ้าสเภาอินก็ถามว่าซึ่งเจ้าสามิจะไปนี้ประสงค์แก่อันใด แลบาทเจ้าว่าจะไปเรียนธรรมแลเจ้าสเภาอินก็โมทนาขอนิมนต์พระเจ้าไป และจึงเจ้าสามิรามก็กลับมาลาชีต้นทั้งสามองค์นั้น แล้วก็ไปด้วยเจ้าสเภาๆก็ใช้ใบเรือไปแล ครั้งถึงกลางทะเลเป็นปัจจุบันกาล เรือนั้นก็ต้องพายุ แลครั้นสงบพายุใหญ่เจ็ดวันเจ็ดคืนจึงเจ้าสเภาก็ขึ้งโกรธว่าเอาตาชีนี้มาจึง เรือต้องพยุ แลครั้งสงบพยุแล้วจึงเจ้าสามิก็ลงไป ณ เรือสัดจอง จึงเอาเท้าข้างซ้ายเป็นทู่นั้นแช่ลง ณ น้ำ ๆนั้นก็จืด แลจึงสามิก็อาบน้ำนั้น จึงเจ้าสเภาก็ถามว่าลงอาบน้ำนั้นเค็มหรือจืด จึงบาทเจ้าก็ว่าจืด แลบาทเจ้าก็เอากะบวยตักน้ำมายื่นให้แก่เจ้าสเภา จึงเจ้าสเภาก็รับเอาชิมดูน้ำนั้นก็จืด แลเจ้าสเภาก็ให้ลูกเรือทั้งนั้นตักใส่โอ่งฉางอ่างตุ่มแล้ว จึงเจ้าสเภาก็ยินดีเอาเป็นชีต้น ปฏิบัติรักษาแล้วก็ใช้เรือไป
ครั้งเมื่อไปถึงเมืองศรีอยุธยา จึงเจ้าสเภาก็ไปถามให้อาไศรย ณ วัดแค แลเจ้าสามิก็อาไศรยอยู่ที่นั้น แลเจ้าสเภาอินจะกลับมาเมืองนคร จึงเจ้าสเภอินก็เอาอ้ายจันผู้ทาษค่าเป็นเงินสองตำลึงไว้ให้รักษาบาทเจ้าสามิ ราม แลเจ้าสเภาก็กลับมาเมืองนครแลจึงบาทเจ้าก็ไปมาเรียนธรรม ณ วัดลุมพลีนาวาศช้านาน แลอยู่มามีประเทศเอาพระธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์เขียนใส่แผ่นทองเท่าใบมะขาม ใส่หม้อ เอามาทายเปนปฤษณาให้แปลก็แปลได้ไซ้จะถวายสิ่งของทั้งลำสเภานั้นแล จึงมีพระบรมราชโองการตรัสสั่งชุมนุมสงฆ์ทั้งหลาย ทั้งเมืองกรุงศรีอยุธยานั้นแล จึงพระสงฆ์เจ้าทั้งหลาย ก็ไปชุมนุมตามมีพระราชโองการตรัสสั่งนั้นแล จึงประเทศเอาพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์มาประดับอักษรนั้นแล พระสงฆ์ทั้งหลายประดับมิได้ จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งแก่ ขุนศรีทนนไชย ให้ป่าวพระสงฆ์อันมาแต่เมืองนอกขอบขัณฑเสมาประจันตประเทศ จึงสงฆ์ทั้งปวงอันมาแต่เมืองข้างนอกทั้งนั้นให้สิ้นเสร็จ จึงขุนศรีทนนไชยก็ไปนิมนต์พระรามเข้าไป ณ ที่ชุมนุม จึงสัปรุษย์จันตักน้ำมาล้างตีนบาทเจ้าพระรามก็เห็นเป็นผิดประหลาด ซึ่งเหยียบศิลาอันลุ่ม จึงสัปรุษย์จันก็เอาด้ายเจาะชายจีวรแล้ว แลขุนศรีทนนไชยก็ว่า ผายๆกูจะเอาพระรามเข้าไป แลพระรามก็คลานเข้าไปถึงอาจารย์ จึงพระรามก็นั่งลงแล้วก็ไหว้อาจารย์ จึงราชทูตทั้ง ๗คนก็ว่าเอาเด็กสอนคลานมาให้แก้ปฤษณา จึงพระรามก็บอกแก่อาจารย์ว่าให้กรมการกฏหมายไว้ แล้วพระรามก็ว่าแก้คำราชทูต ว่ากุมารเมื่อออกแต่ครรภ์พระมารดกี่เดือนกี่วันจึงรู้คว่ำ กี่เดือนกี่วันจึงรู้นั่ง กี่เดือนกี่วันจึงรู้คลาน จึงผู้รู้หลักทั้งนั้นว่าเราจะแก้มิได้จึงบาทเจ้าราม ก็ถามราชทูตว่า รู้คว่ำแก่ หรือว่ารู้นั่งแก่หรือจะว่ารู้คลานแก่ จึงราชทูตก็ว่าแก้คำพระรามนั้นมิได้ ก็แพ้พระรามนั้นแล จึงพระบรมพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ให้เอาเตียงทองมารองรับ ให้ราชทูตเอาอักษรพระอภิธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์มากองเป็นเจ็ดกอง จึงพระรามก็ผุดลุกขึ้นทำวัตรแก่พระธรรมนั้น จึงพระรามก็เอาอักษรมาประดับ จึงให้เป็นท่องแถวแนวทั้งเจ็ดคัมภีร์ จึงพระรามนักปราชว่ายังขาดอักษรเจ็ดตัวจะครบ จึงราชทูตก็ว่ามีแต่เท่านั้นแล พระรามก็ว่าแก่ราชทูตให้ทำทานบนเข้าต่อกันเล่า ราชทูตมิสู้ทำแลจึงราชทูตก็ถามว่ายังขาดตัวใด จึงพระรามก็ว่าสังตัวหนึ่ง ตัววิตัวหนึ่ง ตัวทาตัวหนึ่ง ปุตัวหนึ่ง กะตัวหนึ่ง ญะตัวหนึ่ง จึงราชทูตก็เอาอักษรทั้งเจ็ดตัวออกมาแต่มวยผมมหาพราหมณ์ มายื่นให้แก่พระราม แล้วราชทูตก็ขอแพ้แก่พระรามเป็นสองท่า จึงราชทูตก็กราบไหว้นมัสการแก่พระราม แล้วก็ยกเอาเครื่องสิ่งของ ณ สเภาซึ่งราชทูตเอามานั้น ถวายแก่บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวแล้วก็ให้ปลูกกุฎีถวายแก่พระรามนักปราช แล้วถวายเมืองท่อนหนึ่ง พระรามก็รับครองแต่สามวัน แล้วก็คืนให้แก่บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวเล่า ให้คงอยู่ตามเก่านั้น จึงพระรามก็คิดด้วยขุนศรีทนนไชยแลกรมการ สิ่งใดซึ่งยากแค้นแก่ไพร่แผ่นดิน แลขุนศรีทนนไชยก็นิมนต์พระรามเข้าไปในวัง ถวายพระพรพระราชกุศลแก่บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการตรัสถามพระ รามนักปราช ว่าเข้ามานี้ประสงค์แก่อันใด จึงพระรามนักปราชขอพระราชทาน ข้าส่วยหลวง ซึ่งยากแค้น แล้วเห็นวัดราชประดิษฐาน จะขอพระราชทานสร้างพระอาราม อย่าให้เอาส่วยหลวงเข้าในพระคลังแต่นี้ไปเมื่อน่า จึงมีพระราชทานโปรดให้ แลตรัสใช้นายสามจอมแลขุนอินปัญญาออกไป เอาสารบาญชีเบิกค่าส่วยไว้ให้เป็นค่าพระตาม ซึ่งพระรามนักปราชขอพระราชทานนั้น จึงนายสามจอมและขุนอินปัญญาก็เอาสารบาญชีเข้าไปทูลเกล้า ทูลกระหม่อมถวายเป็นข้าพระนั้น ๓๐๐ หัวงานพิเสศ ผูกไว้ให้เป็นข้าพระศรีรัตนมหาธาตุในวัดพระราชประดิษฐาน จึงมีพระบรมราชโองการตรัสให้ขุนศรีทนนไชย ให้นิมนต์พระรามนักปราชเข้าไปในพระราชวัง จึงมีพระราชโองการศรัทธาให้ทำเป็นพระกัลปนาอุทิศไว้ยกญาติโยม บ่าวไพร่ไร่นาดินป่าบูชาธรรมเทศนา ให้แก่พระรามนักปราชแล้ว แลมีพระราชโองการตรัสว่า เราจะกรวดน้ำคณที เงินทองเห็นว่ามิแตก จึงตรัสให้เอาคณทีกระเบื้องให้แตกที่เดียว แล้วแลมีพระราชโองการสาบาลไว้ว่า ถ้าผู้ใดแลลเมิดพระบัณฑูรเบียดเบียนข้าพระคนทานไปใช้ให้ผู้นั้นไปตกนรกหมก ไหม้ ได้ทุกขนิรันดร์อย่าได้ทันพระพุทธ พระธรรม์ พระจันทร์ พระอาทิตย์ แลพระสงฆเจ้าสักชาติ อย่ารู้คลาศอปราไชยในชั่วนี้ชั่วหน้า ต้องสัจจาธิษฐานพระมหากระษัตรย์เจ้าสาบาลไว้ทั้ง ๕๐๐๐ พระพรรษา แต่นี้เมื่อน่า แลในท้องพระตำรานั้น ให้ห้ามเจ้าพระยาแลออกยาสัสสดีเมืองนครพระยาแลสัสดีเมืองพัทลุงอย่าให้ใช้ ข้าพระ ณ วัดพระราชประดิษฐาน ลงเรือรบเรือไล่รักษาค่ายตัดหนังวังช้างส่งข่าวแลลงพ่วงลงรอ แลงานสรรพมาตราทั้งปวง งวดคราวสารพิไสย ก็โคกระบือทอดพริกทอดฝายทำนาที่ใต้กำแพงเมือง ทำรั้วทำเรือนเจ้าเมืองแลข้าหลวง อย่าให้เบียดเอาค่าน้ำค่านา อากรขนอนตลาดหัวป่าค่าที่เชิงเรือน เก็บเรือแลเครื่องเรืองานสรรพมาตราแต่สิ่งหนึ่งสิ่งใด แลให้คงอยู่ตามพระตำราพระราชอุทิศไว้นั้นแลพระรามนักปราชให้พระมหาเถรศรีผู้ น้อง คุมสมุหบัญชีหัวงานข้าพระ ซึ่งพระราชอุทิศให้ไว้เป็นข้าพระแบให้รักษาวัดพระราชประดิษฐานแลทำพระมาลิ กเจดีย์ ณ วัดพระราชประดิษฐานนั้น สูงเส้นห้าวามีเลศ แลมีพระห้องรอบตามราชจำนงแต่ครั้งองค์พระเจ้ารามาธิบดีเสวยราชสมบัติ พระราชทานให้ข้าหลวงจ่าพรหมานออกมาบำรุงช่วยพระมหาเถรศรีผู้น้องพระรามนัก ปราชนั้น ให้ข้าหลวงแต่งสเภาปากสามวาศอก บรรทุกอิฐแลยอดพระมาลิกเจดีย์ พระมหาธาตุออกมาแต่เมืองศรีอยุธยา แลให้นายจัน พี่สมเด็จเจ้าพระรามนักปราชถือยอดพระ ซึ่งหล่อด้วยเบญจโลห ยามสามวาสามคืบ แลยอดพระนั้นมีพระราชทานโปรดแต่งให้ออกมาแต่พระราชมณเฑียร แลเครื่องประดับประดายอดพระนั้น พระราชทานแต่งออกมาแต่คลังหลวง แลซึ่งพระราชทานไว้ให้เป็นข้าคนทานรักษาสืบๆกันไปแต่นี้เมื่อน่าไว้รักษาพระ ศรีรัตนมหาธาตุ ๕๐ รักษาพระธรรม ศาลา ๒๐ รักษาอุโบสถ ๒๐ แต่นี้ไปเมื่อน่า.
ความเป็นมาของ
วัดราษฎร์บูรณะ (วัดช้างให้)
หมู่ที่ ๒ ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
*************************
วัดช้างให้ มีชื่อเต็ม ๆ ว่า วัดราษฎร์บูรณะ อยู่ที่ ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ห่างจากปัตตานีประมาณ 26 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 1,032 กิโลเมตร ไดรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๐ ตามพระราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๗๔ ตอน ๑๕ หน้า ๔๕๑ - ๒๕๒ เขตวิสุงคามสีมายาว ๘๐ เมตร กว้าง ๔๐ เมตร ทำพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อ วันเสาร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ ตรงกับวันขึ้น ๑๓ ค่ำ มีที่ดินที่ตั้งวัดเป็นเนื้อที่จำนวน ๑๒ ไร่ ตามหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส.ค. ๑ เลขที่ ๓๓๔/๒๔๙๘
ในหนังสือหลวงพ่อทวดคำกลอนของ สมพงษ์ หนูรักษ์ว่า กล่าวว่า
๑. ท่านลังกา องค์ท่านดำ ไม่ทราบชื่อเดิม ภูมิลำเนาเดิมที่ใดเป็นเพียงขนานนาม
๒. หลวงพ่อสี ไม่มีประวัติ
๓. หลวงพ่อทอง ไม่มีประวัติ
๔. หลวงพ่อจันทร์ ไม่มีประวัติ
๕. หลวงพ่อทิม (อาจารย์ทิม ธมฺมธโร) หรือพระครูวิสัยโสภณ ๑ ตำนานที่เล่าขานสืบต่อมาจากคนเฒ่าคนแก่บอกว่าวัดช้างให้หมายความว่าที่ดิน วัดนี้ ช้างบอกให้ เป็นวัดโบราณแห่งหนึ่ง มีอายุประมาณ ๔๐๐ กว่าปี มีเจ้าอาวาสปกครองวัดดังนี้
๑. สมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ไม่สามารถระบุปีพุทธศักราชได้
๒. พระช่วง พ.ศ. ๒๔๘๐ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๓
๓. พระครูวิสัยโสภณ (ทิม ธมฺมธโร) พ.ศ. ๒๔๘๓ ถึง พ.ศ. ๒๕๑๒
๔. พระครูใบฎีกาขาว ธมฺมรกฺขิโต พ.ศ. ๒๕๑๓ ถึง พ.ศ. ๒๕๒๑
๕. พระไพศาลสิริวัฒน์ (สวัสดิ์ อรุโณ) พ.ศ. ๒๕๒๑ ถึง ๒๕๔๓
๖. พระครูปริยัติกิจโสภณ (สายันต์ จนฺทสโร) พ.ศ. ๒๕๔๓ ถึงปัจจุบัน
ช่วงระยะเวลาที่สิ้นสมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดไปแล้วนั้น ไม่มีตำนานและบันทึกรายนามเจ้าอาวาส และเมื่อเข้าถึงยุคสมัยปัจจุบันตั้งแต่พระช่วง เข้ามาแผ้วถางใน พ.ศ. ๒๔๘๐ นั้นสถานที่แห่งนี้เป็นเพียงป่ารกร้างมีต้นไม้ใหญ่อยู่หลายต้นปัจจุบันก็ไม่ มีให้เห็นแล้วคงมีแต่ต้นไม้ต้นหนึ่งที่อยู่บริเวณด้านข้างของศาลาการเปรียญ ซึ่งชาวบ้านในบริเวณนี้บอกว่าเป็นต้นไม่เก่าแก่ประจำวัดต้นหนึ่งที่เหลือให้ เห็น และวัดนี้สร้างขึ้นเมื่อใด ? และใครเป็นคนสร้างครั้งแรกนั้นก็ยังหาหลักฐานที่แน่นอนไม่ได้ แต่พอจะจับเค้าความได้ตามหนังสือตำนานเมือง ปัตตานี และเรื่องอื่นๆได้บ้าง ตามหนังสือตำนานเมืองปัตตานีนั้น พระศรีบุรีรัฐพิพิธ (สิทธิ์ ณ สงขลา)ได้รวบรวมไว้ ดังมีข้อความตอนหนึ่งว่า ๒"สมัยนั้น พระยาแก้มดำ เจ้าเมืองไทรบุรี ปรารถนาจะหาที่ชัยภูมิที่ดีสร้างเมืองให้ เจ๊ะสิตี (ผู้ซึ่งเป็น)น้องสาวครอบครอง เมื่อโหรหาฤกษ์ยามได้เวลาท่านเจ้าเมืองก็เสี่ยงสัตย์อธิษฐานปล่อยช้างตัว สำคัญคู่บ้านคู่เมืองออกเดินป่าหรือเรียกว่า ช้างอุปการ เพื่อหาชัยภูมิดีสร้างเมือง ท่านเจ้าเมืองก็ยกพลบริวารเดินตามหลังช้างนั้นไปเป็นเวลาหลายวัน วันหนึ่งช้างได้เดินไปหยุดอยู่ ณ ที่ป่าแห่งหนึ่ง (ที่วัดช้างให้เวลานี้) แล้วเดินวนเวียนร้องขึ้น ๓ ครั้ง พระยาแก้มดำ ถืเป็นนิมิตที่ดีที่จะสร้างเมือง ณ ที่ตรงนี้ แต่น้องสาวตรวจดูแล้วไม่พอใจ พี่ชายก็อธิษฐานให้ช้างเดินหาที่ใหม่ต่อไป ช้างได้เดินรอนแรมอีกหลายวัน เวลาตกเย็นวันหนึ่ง ก็หยุดพักพลบริวาร ทางน้องสาวถือโอกาสออกจากที่พักเดินเล่น บังเอิญขณะนั้นมีกระจงสีขาวผ่องตัวหนึ่งวิ่งผ่านหน้านางไป นางอยากได้กระจงตัวขาวตัวนั้น จึงชวนพวกพี่เลี้ยงวิ่งไล่ล้อมจับกระจง กระจงได้วิ่งวกไปวนมาบนเนินทรายขาวสะอาดริมทะเล(ที่ตำบลกรือเซะเวลานี้) ทันใดนั้นกระจงก็หายไป นางเจ๊ะสิตีรู้สึกชอบที่ตรงนี้มาก จึงขอให้พี่ชายสร้างเมืองให้ เมื่อพระยาแก้มดำปลูกสร้างเมืองให้น้องสาวและมอบพลบริวารให้ไว้พอสมควรเรียบ ร้อยแล้วก็ให้ชื่อเมืองนี้ว่า เมืองปะตานี (ปัตตานี) ขณะนั้นพระยาแก้มดำเดินทางกลับมาถึงภูมิประเทศที่ช้างบอกให้ครั้งแรกก็ รู้สึกเสียดายสถานที่ จึงตกลงใจหยุดพักแรมทำการแผ้วถางป่า และปลูกสรางขึ้นเป็นวัดให้ชื่อว่า วัดช้างให้ มาจนบัดนี้ หลังจากสร้างวัดเรียบร้อยแล้ว เจ้าเมืองไทรบุรีได้ทูลสมเด็จหลวงปู่ทวดจากเมืองไทรบุรีมาเป็นเจ้าอาวาสองค์ แรกของวัดช้างให้ สมเด็จหลวงปู่ทวดนี้ชาวเมืองไทรบุรีเรียกนามท่านว่า ท่านลังกา สมัยโบราณกาลมานั้น คนมลายูนับถือศาสนาพุทธ พระยาแก้มดำคนมลายูจึงได้สร้างวัดช้างให้ขึ้น จึงขออ้างหนังสือของ พระยารัตนภักดี ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือเรืองปัญหาดินแดนไทยกับมลายูซึ่งท่านพิมพ์แจกในงาน กุศล หน้า ๘ บรรทัด ๑๘ในหนังสือนั้น กล่าวอ้างตามประวัติศาสตร์ไว้ว่า"พ.ศ. ๑๓๐๐ กษัตริย์ครองกรุงศรีวิชัยแห่งปาเล็มบังมีอานุภาพแผ่อาณาเขตเข้ามาถึงแหลม มลายูและได้ก่อสรางปูชนีย์ทางพระพุทธศาสนาไว้หลายแห่งซึ่งยังปรากฏอยู่บัด นี้ ตามประวัติศาสตร์มลายูกล่าวว่ามีผู้พบศิลาจารึกแผ่นหนึ่งที่นครศณีธรรมราช จารึกว่า เมื่อ พ.ศ. ๑๓๑๘ เจ้าเมืองศรีวิชัยได้มาก่อพระเจดีย์องค์หนึ่งที่นครศรีธรรมราชและที่สำคัญ ทางพระพุทธศาสนาอีกแห่งหนึ่งเกี่ยวกับโบราณวัตถุคือ พระพุทธไสยาสน์ในถ้ำแห่งภูเขา (วัดหน้าถ้ำ) ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา คาดคะเนว่าได้สร้างในสมัยกรุงศรีวิชัย ระหว่าง พ.ศ. ๑๓๑๘ - ๑๔๐๐ ต่อมาได้ปฏิสังขรณ์เพิ่มเติม ซึ่งคงปรากฏอยู่กระทั่งบัดนี้ องค์พระยาวถึง ๘๑ ฟุต ๑ นิ้ว ขนาดใหญ่วัดโดยรอบองค์พระ ๓๕ ฟุตและตามตำนานของพระศรีบุรีรัฐกล่าวไว้ว่า สมัยหลายร้อยปีมาแล้ว คนมลายูนับถือศาสนาพุทธ แต่ได้มาเปลี่ยนนับถือศาสนาอิสลามภายหลัง"
ตามที่ได้อ้างตำนานของท่านทั้งสองมานี้ พอจะสรุปได้ว่า วัดช้างให้นี้สร้างมานานไม่น้อยกว่า ๓๐๐ปี "หลวงพ่อทวด" เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดช้างให้ก็มีประวัติสลับซับซ้อนเกี่ยวกับเมืองไทรบุรี อยู่มาก ทางเมืองไทรบุรีเรียกว่า "ท่านลังกา" ท่านเดินไปมาระหว่างวัดช้างให้กับไทรบุรีอยู่เสมอ เดินทางแบบธุดงค์ ท่านกล่าวว่า ขณะที่ท่านเดินทางนั้นสถานที่ใดเหมาะก็พักแรมหาความวิเวก เพื่อทำสมาธิภาวนา ใช้เวลาพักนานๆเช่น ภูเขาถ้ำตลอด อำเภอสะบ้าย้อย ก็ปรากฏว่ามีสิ่งที่ควรเชื่อถือได้ว่า ท่นเป็นผู้ทำไว้ จากนั้นก็ปรากฏอยู่บนเพิงหินบนภูเขา ตังเกียบ เทือกภูเขาน้ำตกทรายขาว ทางทิศตะวันออกของลำธารน้ำตกมีพระพุทธรูปแกะด้วยไม้ตำเสาแบบพระยืนสององค์ ชาวบ้านตำบลทรายขาวเรียกพระพุทธรูปนี้ว่า "หลวงพื่อตังเกียบเหยียบน้ำทะเลจืด" คาดคะเนกันว่าพระพุทธรูป ๒ องค์ ท่านลังกาหรือหลวงพ่อทวดเป็นผู้สร้างสมัยเดินทางและอาศัยพักอยู่ หลวงพ่อสององค์นี้เล่าลือกันว่า ศักดิ์สิทธิ์นักและเป็นที่สักการะบูชาของชาวบ้านในถิ่นนั้นมาจนบัดนี้
สมเด็จหลวงพ่อทวดปรากฏว่าท่านมรณภาพที่แปะระ มาเลเซีย คือรัฐแประเวลานี้ และได้นำศพกลับมาวัดช้างให้ปัตตานี การนำศพกลับมาต้องพักแรมตามระหว่างทางเป็นเวลาหลายวันกว่าจะถึงวัดช้างให้ เมื่อตั้งศพพักแรม ณ สถานที่ใด ที่นั้นก็เอาไม้แก่นปักหมายไว้ทุกๆแห่งเป็นระยะๆ จนกระทั่งถึงวัดช้างให้ สถานที่ตั้งศพพักแรมตามระหว่างทางนี้กลายเป็นสถานที่สักการะเคารพของคนใน ถิ่นนั้นและถือเป็นสถานที่ศํกดิ์สิทธิ์สำคัญมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ และมีผู้คนไปกราบไว้บนบานอยู่เสมอ บางแห่งก่อเป็นเจดีย์ไว้ บางแห่งก่อเป็นสถูปไว้เป็นเครื่องสักการะบูชา
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ พระครูวิสัยโสภณและคณะได้เดินทางไปบูชามาแล้วทุกสถานที่ แต่ละแห่งแต่ละสถานที่ก็มีสภาพเหมือนกับสถูปที่บรรจุอัฐิหลวงพ่อทวดที่วัด ช้างให้ เมื่อครั้งยังไม่ได้ตบแต่งสร้างขึ้นใหม่ และได้สอบถามชาวบ้านในสถานที่นั้นต่างก็บอกเล่าให้ฟังว่า เป็นสถานที่ตั้งศพ "หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" เมื่อนำศพมาพักแรมที่นี้ มีน้ำเหลืองไหลตกลงพื้นดินก็ทำเครื่องหมายไว้ บางแห่งก็ก่อเป็นรูปเจดีย์ก็มี บางแห่งมีไม้แก่นปักไว้แล้วพูนดินให้สูงขึ้นถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ประจำบ้านประจำเมือง บางแห่งเรียกว่า "สถูปลังกา" บางแห่งเรียกว่า "สถูปหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" เช่นเดียวกับที่เรียกสถูปที่วัดช้างให้ ซึ่งตรงกับประวัติตำนานเมืองปัตตานีที่ "คุณพระศรีบุรีรัฐพิพิธ" เขียนเอาไว้ ดังนั้นวัดช้างให้หากจะถือตามประวัติตำนานเมืองปัตตานีก็คงจะสร้างมาหลาย ร้อยปีแล้ว สร้างมาเมื่อใด ใครเป็นคนสร้างพูดไปเท่าไรๆก็ไม่จบ สิ่งที่แน่นอนที่สุดคือ วัดช้างให้เป็นวัดร้างมาก่อน ถูกทอดทิ้งมาเป็นเวลานานแล้ว ได้สอบถามคนเฒ่าคนแก่มามากต่อมากแล้วก็ได้รับคำตอบว่า เท่าที่จำได้ก็เป็นวัดร้าง และคนเฒ่าคนแก่รุ่นก่อนๆก็ได้บอกเล่าต่อๆกันมาว่าเป็นวัดร้าง มีวิ่งที่ปรากฏแสดงให้แน่ใจว่าเคยเป็นวัดมาก่อนคือ ศิลาก้อนใหญ่ปักอยู่ ๔ ทิศในท่ามกลางวัดร้าง ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นเครื่องหมายลูกนิมิตบอกให้รู้ว่าที่ตรงนี้เป็นเขตพัทธสีมาและคนเฒ่าคน แก่ก็เล่าต่อๆกันมาว่า เป็นที่โบสถ์เก่าเครื่องหมายที่ใช้ศิลาเป็นิมิตก็ยังปรากฏอยู่จนบัดนี้ ยังไม่มีผู้ใดกล้าทำลายหรือรื้อถอนแต่อย่างใด ส่วนสถูปศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุอัฐิหลวงปู่ทวดนั้นก็อยู่ใกล้ๆกับเขตพัทธสีมา ติดกับทางรถไฟ ชาวบ้านพื้นเมืองเรียกว่า "เขื่อนหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" หรือ "เขื่อนท่านเหยียบน้ำทะเลจืด" (คำว่า เขื่อน เป็นภาษาคนพื้นเมืองทางใต้ ที่แท้ก็คือสถูปที่บรรจุอัฐิของท่านผู้มีบุญนั่นเอง) ที่สถูปแห่งนี้ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวจังหวัดปัตตานีและใกล้เคียง มีไม้แก่นปักเป็นหลักอยู่บนเนินสูงมีบริเวณกว้างพอสมควร มีผู้คนไปกราบไหว้บนบานอยู่เนืองนิจ ใครเจ็บไข้ได้ป่วยหรือวัตถุสิ่งของถูกขโมยหรือศูนย์หายก็พากันไปบนบาน ณ ที่สถูปแห่งนี้
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ พระครูมนูญสมณการ วัดพลานุภาพ ได้ชักชวนชาวยฃบ้านช้างให้และใกล้เคียงไปทำการแผ้วถางวัดร้างแห่งนี้ โดยจัดบูรณะให้เป็นวัดมีพระสงฆ์เข้าอยู่จำพรรษาและในปีนั้นเองได้ให้ พระภิกษุช่วง วัดพลานุภาพพร้อมพระอนุจรมาอยู่จำพรรษา พระภิกษุช่วงมาอยู่ก็ได้จัดการสร้างถาวรวัตถุขึ้น คือ ศาลาการเปรียญและกุฏิ ๒ -๓ หลัง
ครั้นต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ พระภิกษุช่วงก็ได้ลาสิกขา วัดช้างให้จึงขาดเจ้าอาวาสและผู้นำลง นายบุญจันทร์ อินทกาศ กำนันตำบลป่าไร่ในสมัยนั้นพร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกาวัดช้างให้ ได้พากันไปหาพระอธิการแดง ธมฺมโชโต (พระครูภัทรกรณ์โกวิท) เจ้าอาวาสวัดนาประดู่ ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ใกล้กับวัดช้างให้ขอให้ท่านจัดพระที่มีอายุพรรษาพอสมควร ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้ พระครูภัทรกรณ์โกวิทจึงได้ให้พระภิกษุทิม ธมฺมธโร (พระครูวิสัยโสภณ) ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้ตามที่ชาวบ้านขอมา
พระภิกษุทิม ธมฺมธโร (พระครูวิสัยโสภณ)ได้ย้ายไปอยู่วัดช้างให้เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ตรงกับวันอังคารขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ รุ่งขึ้นเป็นวันเข้าปุริมพรรษา พระภิกษุทิมมาอยู่วัดช้างให้ในตอนแรกๆก็ไปๆมาๆอยู่กับวัดนาประดู่ กลางวันต้องกลับไปสอนนักธรรมวัดนาประดู่เพราะท่านเป็นครูสอนนักธรรมประจำ สำนักวัดนาประดู่อยู่และกำลังทำการก่อสร้างกูฏิอยู่ที่วัดนาประดู่ยังไม่ เรียบร้อยด้วยพระภิกษุทิม มาอยู่วัดช้างให้ได้ประมาณ ๕ - ๖ เดือน ก็เกิดสงครามทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นเมืองไทยผ่านไปประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์จน กลายเป็นสงครามโลก รถไฟสายใต้วิ่งจากหาดใหญ่ไปสถานีสุไหงโก-ลก ชายแดน ขนทหารและสัมภาระผ่านหน้าวัดช้างให้วันละหลายๆเที่ยวหลายขบวนประชาชนพากัน แตกตื่นหวาดกลัวภัยสงครามไม่เป็นอันทำมาหากิน วัดช้างให้ก็อยู่ในสภาพเดิมยังมิได้บูรณะจัดการก่อสร้างสิ่งใดแม้แต่น้อย การไปมาหาสู่กันในระหว่างสงครามเป็นการลำบากยิ่ง หนทางใกล้ทำให้ไกล หนทางไกลไปไม่ถึง ยวดยานต่างๆก็ตกอยู่ในกำมือของทหารหมด ผู้คนที่พลัดพรากจากกันในระยะต้นสงครามที่มีความห่วงใยซึ่งกันและกัน หากจะติดต่อกันหรือไปเยี่ยมเยียนก็ต้องเดินเท้า วัดช้างให้ซึ่งตั้งติดอยู่กับทางรถไฟเป็นทางผ่านไปยังจังหวัดยะลา นราธิวาส และชายแดนมาเลเซีย พระภิกษุทิม เจ้าอาวาสวัดช้างให้ต้องรับภาระหนักต้องจัดหาที่พักหาอาหารมาเลี้ยงดูผู้คน ที่มาขอพักอาศัยพักแรมในระหว่างเดินทางไม่เว้นแต่ละวัน ข้อนี้นับว่าเป็นคุณธรรมประการหนึ่งของพระภิกษุทิม ที่มีน้ำใจเผื่อแผ่และเมตตามาตั้งแต่แรกจนกระทั่งถึงอวสานของชีวิต หลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลงแล้ว พระครูวิสัยโสภณได้เริ่มดัดแปลงแก้ไขทำการก่อสร้างถาวรวัตถุไว้มากจนเป็นวัด ที่มีหลักฐานมั่นคงวัดหนึ่งในจังหวัดปัตตานี ถาวรวัตถุที่ท่านสร้างไว้คือ ศาลาการเปรียญ อุโบสถ หอฉัน หอระฆัง กุฏิที่พักสงฆ์ที่มาจากที่อื่น กุฏิที่อยู่ของพระภิกษุสามเณร ๘ หลัง กุฏิเจ้าอาวาส วิหารเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงพ่อทวด สถูปบรรจุอัฐิหลวงพ่อทวด กำแพงวัด ซื้อที่ดินขยายอาณาเขตของวัดไปทางทิศตะวันตก และซื้อที่ดินตรงข้ามกับวัดซึ่งตั้งอยู่คนละฟากทางรถไฟ โดยจัดการสร้างอาคารเรียนเป็นตัวตึก ๒ ชั้น กว้าง ๙.๐๐ เมตร ยาว ๕๔.๐๐ เมตร หลังคาทรงไทยมุงกระเบื้องเคลือบดินเผา ราคาค่าก่อสร้าง ๑ ล้านบาทเศษและได้มอบให้กับทางราชการเพื่อเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของกุลบุตร กุลธิดาต่อไป เรียกว่า "โรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" นอกจากนี้ยังได้จัดสร้างถาวรวัตถุอื่นๆอีกหลายอย่าง ราคานับเป็นล้านๆเฉพาะสถูปบรรจุอัฐิหลวงพ่อทวดนั้น พระครูวิสัยโสภณ และพระครูธรรมกิจโกศล (นอง ธมฺมภูโต) เจ้าอาวาสวัดทรายขาวในขณะนั้น ได้ปรึกษาหารือกัน ตกลงให้ขุดรื้อของเก่าขึ้นเพื่อสร้างใหม่ แต่เมื่อขุดลงไปก็ได้พบหม้อทองเหลืองและมีอัฐิหลวงพ่อทวดห่อผ้าอยู่ในหม้อ ทองเหลืองอีกชั้นหนึ่ง หม้อทองเหลืองและอัฐิได้ผุเปื่อยไม่กล้าเอามือไปจับต้อง เกรงว่าจะผิดไปจากสภาพเดิม จึงได้จัดการสร้างสถูปสวมครอบลงบนสถูปเดิมซึ่งปรากฏอยู่ข้างทางรถไฟเวลา นี้."
วัดร้างแต่ละครั้งแต่ละหนเป็นเวลาห่างกันนานๆ ตั้งสิบกว่าปีหรือบางครั้งถึงร้อยปีก็มีในปี พ.ศ.2484 พระครูวิสัยโสภณ หรือในที่รู้จักกันในนาม ท่านอาจารย์ทิม ธมมธโร ได้เข้ามาครอบครองเป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 5 ได้ทำการบูรณะวัดต่อเติมจนเรียบร้อย ทำให้วัดช้างให้สะอาดสะอ้านขึ้นมาก ทางด้านสถูปศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบรรจุอัฐิของหลวงพ่อทวด ประดิษฐานอยู่ที่หน้าวัด เป็นที่จูงใจประชาชนหลายชาติหลายภาษาได้มาเคารพบูชาเป็นจำนวนมากทุกวัน เนื่องจากทราบกิตติศัพท์ในอดีตสมัยที่หลวงพ่อทวดเดินทางไปยังกรุงศรีอยุธยา ด้วยเรือสำเภา ระหว่างทางได้เกิดพายุพัดจนกระทั่งข้าวปลาอาหารและน้ำดื่มตกลงทะเลไป ลูกเรือกระหายน้ำมาก หลวงพ่อทวดจึงได้แสดงอภินิหารหย่อนเท้าลงไปในทะเล ปรากฏว่าน้ำทะเลในบริเวณนั้นกลายเป็นน้ำจืดและดื่มกินได้ ตั้งแต่นั้นมาชื่อเสียงของท่านขจรขจายไปทั่วหล้า คนได้มาทำการสักการะจนท่านอาจารย์ทิมดำริจะสร้างอุโบสถไว้ เพื่อเป็นหลักใหญ่ในพระพุทธศาสนาและจะได้เป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสงฆ์ใน วัดได้มาทำสังฆกรรมต่อไปความจริงนั้นครั้งโบราณกาลมา วัดช้างให้เคยมีอุโบสถมาก่อนแล้วแต่ชำรุดสลายตัวไปหมด เพราะเวลาที่ปรากฏเป็นให้เห็นเพียงพัทธสีมาและเนินดินที่เป็นอุโบสถเก่าแก่ เท่านั้น ท่านอาจารย์ทิมจึงได้กำหนดวางศิลาฤกษ์ อันเป็นรากฐานของอุโบสถแห่งใหม่ในวันที่ 6 สิงหาคม 2495 แล้วขุดดินลงรากก่อกำแพงหน้าอุโบสถสืบต่อมาจนถึง พ.ศ.2496 งานก่อสร้างสำเร็จลงเพียงแค่กำแพงอุโบสถโดยรอบเท่านั้นงานก่อสร้างหยุดชะงัก ลงเพราะหมดทุนที่จะใช้จะจ่ายต่อไป
ต่อมาในปี พ.ศ.2497 หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดช้างให้ได้ประทานนิมิตอัน เป็นมงคลยิ่งแก่ นายอนันต์ คณานุรักษ์ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ห่างจากวัดประมาณ 31 กิโลเมตร ให้สร้างพระเครื่องรางเป็นรูปภิกษุชรา ขึ้นแท่นองค์ของท่าน นายอนันต์นมัสการพร้อมทั้งปรึกษาท่านอาจารย์ทิม และเตรียมงานสร้างพระเครื่องในวันที่ 19 มีนาคม 2497 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำเดือน 4 เวลาเที่ยงตรง ได้ฤกษ์พิธีปลุกเสกเบ้าและพิมพ์พระเครื่องหลวงพ่อทวดเรื่อยมาทุก ๆ วัน จนถึงวันที่ 15 เมษายน 2497 พิมพ์พระเครื่องหลวงพ่อทวดรุ่นแรกได้ 64,000 องค์ ทั้ง ๆ ที่ตั้งใจจะพิมพ์ให้ได้ 84,000องค์ แต่เวลาจำกัดในการพิธีปลุกเสก ก็ต้องหยุดพิมพ์พระเครื่องเพื่อเอาเวลาเตรียมงานพิธีปลุกเสกพระเครื่องตาม เวลาที่หลวงพ่อทวดกำหนดให้พระครูปฏิบัติ และแล้ววันอาทิตย์ ที่ 18 เมษายน 2497 ขึ้น 15 ค่ำเวลาเทียงตรงได้ฤกษ์พิธีปลุกเสกพระเครื่องหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ ณ เนินดินบริเวณอุโบสถเก่า โดยมีท่านอาจารย์ทิมเป็นอาจารย์ประธานในพิธีและนั้งปรกได้อาราธนาอัญเชิญพระ วิญญาณหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดพร้อมวิญญาณหลวงพ่อสี หลวงพ่อทอง และหลวงพ่อจัน ซึ่งหลวงพ่อทั้งสามองค์นี้สิ่งสถิตย์อยู่รวมกับหลวงพ่อทวดในสถูปหน้าวัดขอ ให้ท่านประสิทธิ์ประสาทความศักดิ์สิทธิ์ความขลังแด่พระเครื่องฯ นอกจากนั้นก็มี หลวงพ่อสงโฆสโก เจ้าอาวาสวัดพะโคะ พระอุปัชฌาย์ดำ วัดศิลาลอง พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์อาวุโส ณ วัดช้างให้ ร่ายพิธีปลุกเสกพระเครื่องสมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เสร็จลงในเวลา 16.00 น. ของวันนั้นท่านอาจารย์ทิมพร้อมด้วยพระภิกษ์อาวุโสและคณะกรรมการวัดนำทีมโดย นายอนันต์ คณานุรักษ์ ได้ร่วมกันทำการแจกจ่ายพระเครื่องหลวงพ่อทวดให้แก่ประชาชนผู้เลื่อมใสซึ่งมา คอยรอรับอยู่อย่างคับคั่งจนถึงเวลาเทียงคืนปรากฎว่าในวันนั้น คือ วันที่ 18 เมษายน 2497 กรรมการได้รับเงินจากผู้ใจบุญโมทนาสมทบทุนสร้างอุโบสถเป็นจำนวนเงิน 14,000 บาท หลังจากนั้นมาด้วยอำนาจบุญบารมีอภินิหารหลวงพ่อทวดได้ดลบรรดาลให้พี่น้อง หลายชาติหลายภาษาร่วมสามัคคีสละทรัพย์โมทนาสมทบทุนสร้างอุโบสถดำเนินไป เรื่อยๆ มิได้หยุดหยั่งจนถึงวันที่ 19 สิงหาคม 2499 ได้จัดพิธียกช่อฟ้าและวันที่ 31 พฤษภาคม 2501 ได้ทำพิธีผูกพัทธสีมาอุโบสถหลังนี้จึงสำเร็จเสร็จสิ้นสมบูรณ์
ข้อมูลอ้างอิง : http://www.watchanghai.com/Content/frmAboutus.aspx