ประวัติ วัดป้อมวิเชียรโชติการาม - ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร - webpra

วัดป้อมวิเชียรโชติการาม

ประวัติ ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร

 

วัดป้อมวิเชียรโชติการาม

อาณาเขต และ อุปจารวัด

ทิศเหนือ        ติดกับถนนวิเชียรโชฎก
ทิศตะวันออก  ติดกับถนนเจษฎางค์
ทิศใต้            ติดกับแม่น้ำท่าจีน ตรงข้ามกันกับวัดแหลมสุวรรณาราม ฝั่งตำบลท่าฉลอม
ทิศตะวันตก    ติดชุมชนบ้านป้อม
 
          วัดป้อมวิเชียรโชติการาม  ชาวบ้านมักเรียกว่า  “วัดบ้านป้อม”   ตั้ง อยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ฝั่งตรงข้ามคือท่าฉลอม   เป็นวัดเก่าแก่ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างอย่างแน่ชัด คาดว่าสร้างมาแล้วประมาณ ๒๐๐ ปีเศษ  ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๒๓    ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๒๘   และผูกพัทธสีมาปี พ.ศ. ๒๓๓๐ มีที่ดินตั้งวัด ๒๖ ไร่   ๒ งาน ๓๗ ตารางวา    
สถาน ที่ตั้งวัดเป็นที่อยู่ของชุมชนชาวรามัญ (มอญ) ซึ่งอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานี ตามปกติ ชาวรามัญนับถือพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด   เมื่ออยู่รวมกันแล้ว อาจสร้างวัดขึ้นเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา และตั้งชื่อวัดตามชื่อหมู่บ้าน 
อีก นัยหนึ่ง สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นพร้อมกับ (หลังจาก) สร้างป้อมวิเชียรโชฎก  ซึ่งปรากฏตามหลักฐานการสร้างป้อม ตามพระ ราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับความสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ตอนหนึ่งว่า
“จุลศุกราช ๑๐๘๓ (พ.ศ. ๒๒๖๔)   ปีฉลู ตรีศก   พระเจ้ากรุงเทพมหานคร เสด็จ พระดำเนินไปทรงเบ็ดที่ปากน้ำท่าจีน เมื่อถึงคลองมหาชัย เห็นคลองนั้นยังขุด ไม่แล้วค้างอยู่ ครั้นทรงเบ็ดแล้วกลับมาถึงพระนคร จึงทรงพระกรุณาตรัสสั่ง ให้พระราชสงครามเป็นนายกอง ให้กะเกณฑ์คนหัวเมืองปักใต้แปดหัวเมือง ให้คนสาม หมื่นเศษสี่หมื่นไปขุดคลองมหาชัย จึงให้ฝรั่งส่องกล้องแก้วดูให้ตรงปากคลอง ปักกรุยลงเป็นสำคัญ ทางไกลสามร้อยยี่สิบเส้น ให้ขุดคลองลึกหกศอก กว้างแปดวา เท่าเก่า เกณฑ์กันเป็นหน้าที่ คนสามหมื่นขุดสองเดือนเศษจึงแล้ว พระราช สงครามกลับมาเฝ้ากราบทูลพระกรุณาให้ทรงทราบทุกประการ สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ได้ทราบทรงปีติปราโมทย์ จึงตั้งพระราชสครามให้เป็น “พระยาราชสงคราม” แล้วพระราชทานเจียดทอง เสื้อผ้าเงินตราเป็นอันมาก คลองนั้นได้ชื่อ “คลองมหาชัย”   ตราบเท่าทุกวันนี้”    
            การสร้างป้อมวิเชียรโชฎก และขุดคลองสุนัขหอน พ.ศ. ๒๓๗๑ ในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓   แห่งกรุงรัตนโกสินทร์   ในหนังสือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ว่า “..ที่เมืองสาครบุรี ก็โปรดให้พระยาโชฎีกราชเศรษฐี (ทองจีน)   ไปทำป้อมที่ทางร่วมริมคลองมหาชัยป้อม ๑ ครั้นแล้วโปรดให้ชื่อ “ป้อมวิเชียรโชฎก” ค่า แรงจีนถือปูนเงิน ๔๗ ชั่ง ๑๕ ตำลึง ๓ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง โปรดให้ยกเอาครัวมอญในเจ้าพระยามหาโยธา ซึ่งไปตั้งทำมาหากินอยู่ที่ เมืองสาครบุรี เจ้ากรมป้อมชื่อหลวงพหลมหึมา ขุนเดชชำนาญ ปลัดกอง แล้วโปรด ให้เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่กองไปขุดคลองสุนัขหอน   เจ้าพระยาพระคลังวิเคราะห์ดูเห็นว่า น้ำชนกันตรงนั้นคนตื้นเขินทุกแห่ง ถ้า ขุดคลองแยกเข้าไปที่น้ำชนนั้น ก็จะไม่ตื้นเขิน จึงจ้างจีนขุดที่น้ำชนแยก เข้าไปทุ่งริมบ้านโพธิหักสายหนึ่ง แล้วขอแรงกระบือราษฎรชาวบ้านลงลุยในคลอง นั้น น้ำขึ้นลงเชี่ยวก็ลึกอยู่ได้ไม่ตื้นมาจนทุกวันนี้   สิ้นเงินค่าแรงจีนขุดเป็นเงิน ๑๒๐ ชั่ง ๔ ตำลึง ๑ สลึง ๑ เฟื้อง...”

วัดป้อมวิเชียรโชติการาม มีเจ้าอาวาสปกครองวัด เรียงตามลำดับ คือ
๑ พระอุปัชฌาย์ทอง
๒ พระครูสาครคุณาธาร
๓ พระมหาเข็ม โชติปาโล
๔ พระรามัญมุนี (สมัย กมโล ป.ธ.๓) พ.ศ. ๒๔๘๙ - ๒๕๓๗
๕ พระปริยัติกิจโกศล (สมพงษ์ สุวโจ) รูปปัจจุบัน

ข้อมูลอ้างอิง : http://www.watpom.net/

 

Top