พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม
ประวัติ ยุคแรก
พระสมเด็จฯ วัดระฆังโฆษิตาราม |
||
พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม สร้างโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี เป็นพระเครื่องที่มีผู้นิยมสูงสุดในประเทศไทย และนักนิยมสะสมพระเครื่องทั่วประเทศต่างยกย่องให้เป็นจักรพรรดิ์แห่งพระ เครื่อง จึงทำให้นักนิยมพระเครื่องทั้งเก่าและใหม่ต่างอยากได้ พระสมเด็จวัดระฆังฯ มาไว้ครอบครองบูชากันทุกท่าน | ||
ประวัติวัดระฆังโฆษิตารามโดยย่อ |
||
วัดระฆังโฆษิตารามเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่บนถนนอรุณอัมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครเป็นวัดเก่าแก่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ “วัดบางหว้าใหญ่” มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี โดย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งมีพระราชวังไม่ไกลจากวัดบางหว้าใหญ่ ทรงปฏิสังขรณ์และยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง อีกทั้งได้อาราธนา พระอาจารย์ศรี ให้มาครองวัดนี้และทรงสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) มาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และเจ้านายในวังหลัง สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สา) ก็ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่
|
ได้มีการขุดพบระฆังลูกหนึ่งซึ่งมีเสียงดังไพเราะจึง ได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆษิตาราม” ต่อมาถึงรัชกาลที่ 4 ทรงพระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดราชกัณฑิยาราม” ซึ่งผู้คนไม่นิยมเรียก (คงจะเรียกยากและจำยาก) จึงยังคงเรียกกันว่า “วัดระฆังโฆษิตาราม” มาจนทุกวันนี้ วัดระฆังฯ มีพระราชาคณะที่สร้างพระเครื่องเป็นที่นิยมถึง 3 องค์ คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) หรือ “สมเด็จปิลันทน์” และ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) ในบทความนี้จะเสนอเรื่อง พระพิมพ์ พระสมเด็จฯ สร้างโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี เจ้าอาวาสองค์ที่ 6 ของวัดระฆังโฆษิตาราม อันเป็นพระเครื่องยอดนิยมอันดับ 1 ของประเทศไทย
|
|
ประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี |
||
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี เกิดเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2331 เวลาย่ำรุ่ง ที่ตำบลไก่จ้น อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มารดาชื่อเกศ บิดาไม่ปรากฎนาม ว่ากันว่ามารดาท่านเป็นชาวบ้านตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ บิดาท่านอาจจะเป็นชาวเมืองกำแพงเพชรก็ได้ เพราะมีบันทึกเขียนว่า “ปีระกา จุลศักราช 1211 (พ.ศ.2391) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง กรุงเทพฯ ขึ้นมา เยี่ยมญาติ ณ เมืองกำแพงเพชร” ซึ่งแสดงว่าท่านมีญาติเป็นชาวเมืองกำแพงเพชร สมเด็จฯ ท่านเกิดในรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ท่านมีอายุยืนยาวถึง 5 รัชกาล เมื่อครั้งมีการปั้นพระบรมรูปรัชกาลที่ 1 (ปัจจุบันอยู่ที่ปราสาทพระเทพบิดร) ผู้ปั้นต้องอาศัยผู้ที่เกิดทันและเคยเห็นรัชกาลที่ 1 ซึ่งในขณะนั้นมีเหลือเพียงไม่กี่คน บอกพระลักษณะพระองค์ หนึ่งในนั้นก็คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ขอประมวลประวัติของท่านโดยย่อในที่นี้ ดังนี้
- เกิด 17 เมษายน พ.ศ.2331 - บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ.2342 อายุ 12 ที่ วัดสังเวชวิศยาราม มี พระบวรวิริยเถร (อยู่) เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชแล้วข้ามไปศึกษาในสำนัก พระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) วัดระฆังฯ โดย ท่านเจ้าคุณอรัญญิก วัดอินทรวิหาร เป็นผู้นำไปฝากตัว พ.ศ.2350 อุปสมบที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยรัชกาลที่ 1 ทรงเป็นนาคหลวง สมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุ เป็นพระอุปัชฌาย์ - พ.ศ.2395 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระธรรมกิติ” - พ.ศ.2397 โปรดฯ ให้เลื่อนเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ “พระเทพกวี” |
- พ.ศ.2407 โปรดสถาปนาเป็น “สมเด็จพระพุฒาจารย์”
- วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2415 มรณภาพ ชนมายุ 85 ปี ผู้เรียบเรียงขอให้สังเกตบางประการ ซึ่งผู้คนอาจมองข้ามไปคือ 1. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ “พระธรรมกิติ” เป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2395 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ในระหว่างรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 (หลังจากสมเด็จฯ บรรพชา พ.ศ.2350 - พ.ศ.2394) ซึ่งเป็นเวลายาวนานร่วม 44 ปี ท่านมิได้มีสมณศักดิ์ใดๆ คงเป็น “ขรัวโต” ซึ่งผู้คนในสมัยนั้นนิยมเรียกกัน ดังนั้นข้อที่ว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 สมเด็จฯ ท่านหลีกเลี่ยงที่จะได้รับสมณศักดิ์ โดยออกธุดงค์แทบทุกปี จึงเป็นเรื่องที่น่ารับฟัง ต่อเมื่อมาถึงรัชกาลที่ ท่านถึงยอมรับการแต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะ “พระธรรมกิติ” เป็นสมณศักดิ์แรก ต่อมาเป็น “พระเทพกวี” และ “สมเด็จพุฒาจารย์” ในที่สุด 2. เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตารามองค์ก่อนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็คือ สมเด็จพระพน (ฤกษ์) ท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 5 ของวัดระฆังฯ มาตั้งแต่ พ.ศ.2373 จนถึงมรณภาพในปลายรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2390 - พ.ศ.2393) จากนั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จึงได้เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ องค์ต่อมา ซึ่งคงจะอยู่ในช่วงรอยต่อรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 4 ดังนั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จึงเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ องค์ที่เมื่อท่านอายุร่วม 65 ปี แล้ว และครองวัดระฆังฯ ได้ประมาณ 20 ปี จึงมรณภาพในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2415 |
|
การสร้างพระสมเด็จฯ |
||
ตามประวัติของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในตอนก่อน จะเห็นได้ว่าท่านเป็นพระที่ไม่ยึดติดในยศศักดิ์และไม่มีภาระในการปกครองวัด ท่านจึงมีเวลาและมีอิสระในการออกธุดงค์เป็นเวลายาวนาน เป็นที่ยอมรับว่าท่านเป็นผู้ทรงคุณในทางวิปัสสนาธุระ เล่ากันว่าท่านเป็นศิษย์ของ ขรัวตาแสง วัดมณีชลขันธ์ จังหวัดลพบุรี ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงรับสั่งว่าเป็นผู้มีวิชา “เดินตั้งแต่เมืองลพบุรี ลงมาฉันเพลที่กรุงเทพฯ ได้” แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดในเรื่องนี้ส่วนสาเหตุของการสร้างพระสมเด็จฯ นั้นมี 2 กระแส คือ
กระแสแรก ว่ามีพระภิกษุในเมืองเขมรที่มีความนับถือในตัวท่าน อาราธนาขอให้สร้างพระพิมพ์เพื่อเป็นที่ระลึก เมื่อท่านกลับมาจึงสร้างพระสมเด็จฯ ตามที่ถูกร้องขอ ในเรื่องนี้น่าสงสัย คือ ในประเทศเขมรหรือกัมพูชานั้นไม่มีคติในการสร้างพระพิมพ์เลย เหตุใดพระภิกษุเขมรที่ว่าจึงมีแนวคิดขอให้ท่านสร้างพระเครื่องได้ |
อีกกระแสหนึ่ง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้ธุดงค์ไปจังหวัดกำแพงเพชร ในพ.ศ.2391 ได้พบแผ่นศิลาให้รายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างพระเจดีย์บรรจุพระพิมพ์ (พระซุ้มกอ พระเม็ดขนุน ฯลฯ) เมื่อกลับมากรุงเทพฯ (หลังจากนั้นได้กว่า 10 ปี ท่านจึงสร้างพระสมเด็จฯ ขึ้นมาแจกชาวบ้าน ในเรื่องนี้น่ารับฟังกว่าเพราะมีบันทึกหลักฐานดังที่ว่า อนึ่ง ตามคำบอกเล่าของ
เจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง) ลูกศิษย์ของสมเด็จฯ ทราบว่าท่านเริ่มพระพิมพ์ในราว พ.ศ.2409 เมื่อท่านมีอายุ 78 ปี สร้างอยู่ในราว 6 ปี จึงมรณภาพใน พ.ศ.2415 |
|
แม่พิมพ์พระสมเด็จฯ |
||
พิมพ์มาตรฐานที่วงการพระยอมรับมีอยู่เพียง 5 พิมพ์ คือ
1. พิมพ์ใหญ่ สันนิษฐานว่านำรูปแบบมาจากพระประธานสมัยสุโขทัย 2. พิมพ์เจดีย์ มีลักษณะพุทธศิลปสกุลช่างเชียงแสน 3. พิมพ์เกศบัวตูม พุทธลักษณะคล้ายพระเชียงแสนสิงห์ 4. พิมพ์ฐานแซม มีพุทธศิลปแบบพระบูชาสมัยอู่ทอง 5. พิมพ์ปรกโพธิ์ มีสองแบบ คือ แบบพิมพ์ฐานแซมกับพิมพ์เกศบัวตูม |
ทุกพิมพ์เป็นพิมพ์พระพุทธประทับนั่งขัดสมาธิ มีฐานสามชั้น ไม่ปรากฏรายละเอียด ของพระพักตร์ นับว่าเป็นศิลป์สมัยใหม่คือ เป็นเพียงลายเส้น พระพิมพ์ก่อนหน้านั้นจะให้รายละเอียดมีพระเนตร พระนาสิก ฯลฯ ถือได้ว่าพระพิมพ์สมเด็จฯ มีพุทธศิลปแบบสมัยใหม่ มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง อีกทั้งทำด้วยผงวิเศษซึ่งนับว่าเป็นของใหม่ (ก่อนหน้านั้นจะทำด้วยดินหรือชิน)
|
|
เนื้อพระ |
||
มวลสารของพระสมเด็จฯ ส่วนใหญ่เป็นปูนขาว ผสมผงพระพุทธคุณ คือ ผงมหาราช อิทธิเจ ปถมัง ตรีนิสิงเห ฯลฯ โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้ทำผงกรรมวิธีแบบโบราณ คือ เขียนบนกระดานชนวน เขียนแล้วลบ รวบรวมผงนำมาสร้างพระ นอกจากนี้ยังมีอิทธิวัตถุอื่น เช่น ใบลานเผา ว่าน อิฐหัก ดอกไม้บูชาพระ ฯลฯ ทั้งหมดนำมาโขลกผสมประสานด้วยน้ำมันตังอิ้ว ทำให้เนื้อพระไม่เปราะหรือแตกหักง่าย | ||
จำนวนการสร้างและความนิยม |
||
คงจะเป็นการยากที่จะทราบจำนวนการสร้างของพระสมเด็จฯ เพราะท่านสร้างเป็นครั้งเป็นคราว ตามปริมาณวัสดุที่มี และไม่มีผู้นับจำนวนไว้ แต่ท่านสร้างเป็นเวลาราว 6 ปี คือ พ.ศ.2409 - พ.ศ.2415 เจ้าคุณทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) ผู้เกิดทันเห็นท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้บันทึกเรื่องพระสมเด็จฯ และความนิยมของผู้คนไว้เมื่อ พ.ศ.2473 ความว่า “วันเมื่อ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มาถึงวัดระฆังฯ (ท่านมรณภาพที่วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม) พระธรรมถาวร (ช่วง) พระราชาคณะที่มีอายุ 88 ปี มีตัวถึงวันเรียงประวัติเรื่องนี้ ได้ตักพระพิมพ์แจกชำร่วยแก่บรรดาผู้มาส่งศพ สักการะศพ เคารพศพนั้น
|
แจกทั่วกันคนละองค์สององค์ ท่านประมาณราวสามหมื่นองค์ที่แจกไป และต่อๆ มาก็แจกเรื่อย เดี๋ยวนี้จะหาสักครึ่งองค์ก็ไม่มี มีแต่จำเพาะตนๆ” ความข้างต้นให้ข้อมูลว่าพระสมเด็จวัดระฆังฯ มีการสร้างจำนวนเป็นหมื่น ไม่ทราบว่าตัวเลขจะถูกต้องหรือไม่ แต่ก็ต้องเป็นจำนวนมากถึงกล่าวไว้เช่นนั้น และเมื่อมาถึง พ.ศ.2473 (วันบันทึกเรื่อง) พระสมเด็จฯ ก็หายากแล้ว “เดี๋ยวนี้จะหาสักครึ่งองค์ก็ไม่มี” แสดงว่าผู้คนนิยมและแสวงหากันมาก เมื่อมาถึงปัจจุบันแทบจะหาดูยังไม่ได้ พระที่สภาพสมบูรณ์มีราคาหลายล้านบาท ถือว่าเป็นพระเครื่องที่มีราคาสูงที่สุดของวงการ ท่านผู้มีฐานะดีระดับเศรษฐีเท่านั้นถึงจะมีไว้ครอบครองได้
|
|
ข้อสังเกตและลักษณะในการศึกษาและเรียนรู้การดูพระสมเด็จเบื้องต้น |
||
1. การสังเกตและจดจำ พิมพ์-ทรง-ความคม-ลึก ของพระสมเด็จในแต่ละพิมพ์ เช่น การจดจำพุทธลักษณะของพระเกศ พระพักตร์ การวางวงแขน การประทับนั่ง ซ้อนขา ฐานขององค์พระ เส้นซุ้มบนขอบกระจก เพราะพระในแต่ละพิมพ์จะมีลักษณะเด่นที่แตกต่างกันไป ขนาดขององค์พระที่เป็นองค์จริง (พระแท้) ของพระในแต่ละพิมพ์ ซึ่งพระในพิมพ์เดียวกันมักมีขนาดที่ใกล้เคียงกัน อาจจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยเรื่องของความหนา-บางของพระ หรือความสูง-ความกว้างขององค์พระ คิดว่าคงเกิดจากการใช้เนื้อวัสดุในการสร้างพระ และการตัดขอบพระมากน้อยไม่เท่ากันทุกองค์
2. การสังเกตและดูด้านหลังองค์พระ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์สำคัญของพระสมเด็จวัดระฆังในแต่ละพิมพ์ การดูลักษณะการทำงานด้านหลังขององค์พระ และพระใน แต่ละพิมพ์ก็จะมองเห็นการทำงานไว้หลายลักษณะ เข้าใจว่าเกิดจากการใช้วัตถุช่วยในการกดเนื้อพระลงบนพิมพ์พระ จึงทำให้เห็นลักษณะด้านหลังองค์พระเป็นเอกลักษณ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการ พิจารณาพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ต่างๆ |
3. การสังเกตดูรอยการตัดขอบ ขององค์พระทั้ง 4 ด้านของพระในแต่ละพิมพ์ (สังเกตจากภาพ)
4. สังเกตดูลักษณะพื้นผิวขขององค์พระ เช่นการส่องดูลักษณะความแห้งแล้งของพื้นผิวพระและเนื้อพระ รอยปิ รอยแยกบนพื้นผิวขององค์พระทั้งด้านหน้าและด้านหลัง การยุบและการหดตัวขององค์พระ ซึ่งเกิดจากความแห้งแล้งของเนื้อพระ ที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปีโดยเป็นธรรมชาติ 5. สังเกตดูเนื้อหามวลสาร ที่เป็นส่วนผสมขององค์พระ อาจจะสังเกตได้จาก พื้นผิวด้านหน้า-ด้านหลัง-ขอบข้างขององค์พระ (ในองค์พระที่ผ่านการใช้มามากและเสียผิวก็จะสามารถมองเห็นมวลสารได้มากกว่า องค์พระที่มีสภาพสมบูรณ์ไม่ผ่านการใช้)สิ่งที่กล่าวถึงมานี้คงต้องใช้ ประสบการณ์ในการศึกษาและการเรียนรู้จากการได้ดูองค์พระจริงๆ (พระแท้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับของวงการพระ) เป็นเวลานานพอสมควรจึงจะค่อยๆ พัฒนาให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น หลักการที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแนวทางในการศึกษาและเรียนรู้เบื้องต้นเท่า นั้น |
ข้อมูลอ้างอิงจาก : www2.pt-amulet.com