พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
ประวัติ ยุคแรก
พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม โดย หม่อมราชวงศ์อภิเดช อาภากร |
||
“พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหมเป็นมรดกอันทรงคุณค่าที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ได้สร้างและบรรจุกรุไว้ให้เมื่อกว่าศตวรรษมาแล้ว....ปัจจุบันแม้แต่เศษชิ้น ส่วนที่แตกหักก็ยังเป็นที่ต้องการของผู้คน มีราคาเช่าหาสูงและหายาก....” สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ท่านสร้างพระพิมพ์สมเด็จฯ ไว้ 3 แห่ง คือ
1. พระสมเด็จฯ วัดระฆังโฆษิตาราม กรุงเทพมหานคร 2. พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร 3. พระสมเด็จฯ วัดเกศไชโย จังหวัดอ่างทอง |
ในบทความนี้ขอนำเสนอเฉพาะเรื่องพระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพระพิมพ์ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านสร้างและบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ที่วัดบางขุนพรหม เมื่อประมาณ พ.ศ.2413 โดยจะให้รายละเอียดประวัติการสร้าง การเปิดกรุ พิมพ์ทรงของพระที่บรรจุ และเรื่องน่าสนใจอื่น ๆ ที่เชื่อถือได้มารวบรวมไว้ ณ ที่นี้ | |
การสร้างพระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม |
||
ตามประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ท่านได้สร้างพระสมเด็จวัดระฆังฯ ขึ้นแจกชาวบ้านในราวปี พ.ศ.2409 หลังจากท่านได้สมณศักดิ์ “สมเด็จพระพุฒาจารย์” ได้ 2 ปี ต่อจากนั้นประมาณ 2-4 ปีคือประมาณ พ.ศ.2411 ถึง พ.ศ.2413 ท่านจึงสร้างพระสมเด็จฯ ขึ้นอีกจำนวนหนึ่งนำไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์องค์ประธานที่วัดบางขุนพรหม เรียกกันว่า “พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม”ผู้อาราธนาให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระพิมพ์เพื่อบรรจุในองค์พระเจดีย์ก็คือ เสมียนตราด้วง ต้นตระกูล “ธนโกเศศ” ข้าราชการเสมียนตราในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อท่านได้สร้างพระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ แจกแล้ว ก็คงมีดำริว่าน่าจะสร้างพระขึ้นจำนวนหนึ่งเพื่อบรรจุไว้ในพระเจดีย์เป็น “อุเทสิกเจดีย์” (สิ่งที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า) ตามคติของคนโบราณด้วย ด้วยความคิดนี้ประกอบกับเสมียนตราด้วง ผู้ปฏิสังขรณ์วัดบางขุนพรหม ได้อาราธนาให้ท่านสร้างพระพิมพ์บรรจุในพระเจดีย์ที่เสมีนตราด้วงสร้างที่วัด บางขุนพรหม การสร้างพระสมเด็จฯ บางขุนพรหมจึงได้ดำเนินการขึ้น ในราว พ.ศ.2413 และสำเร็จเรียบร้อยก่อนที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มรณภาพเพียง 2-3 ปีเท่านั้น พระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ นั้นท่านสร้างเป็นครั้งคราวจำนวนคงไม่มากนัก ระยะเวลาในการสร้างไม่เกิน 6 ปี (พ.ศ.2409-2415) เนื้อหาจึงมีมวลสารมากและพระมีเนื้อหนึกนุ่ม เพราะไม่ได้บรรจุกรุ จึงไม่ถูกอบในกรุจนพระแห้งและแกร่ง เช่น พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม
|
พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม มีทั้งหมด 10 พิมพ์ทรงคือ
1. พิมพ์ทรงใหญ่ 2. พิมพ์ทรงเจดีย์ 3. พิมพ์ทรงเกศบัวตูม 4. พิมพ์ทรงฐานแซม 5. พิมพ์ทรงปรกโพธิ์ (มีน้อย) ห้าพิมพ์ทรงข้างต้นนี้ตรงกับพิมพ์ของพระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ และยังมีพิมพ์อื่นเพิ่มขึ้นอีก 4 พิมพ์ทรง คือ 6. พิมพ์ทรงฐานคู่ 7. พิมพ์ทรงสังฆาฏิ 8. พิมพ์ทรงเส้นด้าย 9. พิมพ์อกครุฑ 10. พิมพ์ไสยยาสน์ |
|
เนื้อพระสมเด็จฯ บางขุนพรหม |
||
เนื้อพระของพระสมเด็จฯ บางขุนพรหม ส่วนใหญ่เป็น เนื้อสีขาวและขาวอมเหลือง หนึกแกร่ง มีฝ้ากรุฉาบโดยทั่วไป เป็นเนื้อชนิดมีคราบและมีฝ้า อย่างที่เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า “สนิมกรุ หรือคราบกรุ” คราบนี้มีสีขาวหรือค่อนข้างขาวติดแนบแน่นอยู่บนพื้นผิวขององค์พระ ขี้กรุของพระบางองค์มีสีน้ำตาลเข้ม บางองค์คราบกรุบาง บางองค์คราบกรุหนา เมื่อใช้ไปนาน ๆ หรือถูกสัมผัสมากผิวจะเกิดมันละเลื่อมขึ้น
|
||
มวลสารของพระสมเด็จฯ |
||
เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นปูนขาว เพื่อสร้างพระได้จำนวนมาก (ประมาณวัสดุ) ซึ่งเป็นปูนเปลือกหอย อันเป็นคำยืนยันจากพระธรรมถาวร (ช่วง) ลูกศิษย์ของสมเด็จฯ เนื้อปูนที่ท่านเอามาตำและร่อนจนมีเนื้อนุ่มละเอียด นอกจากนั้นท่านว่ามีส่วนผสมเป็นข้าวสุก เนื้อกล้วย ตัวประสานเป็นน้ำมันตังอิ๊ว เพื่อไม่ให้พระแตกร้าวอีกด้วย นอกจากนั้นเป็นมวลสารที่เป็นวัตถุมงคล (อิทธิวัสดุ) ซึ่งแบ่งเป็น 7 อย่างคือ |
1. ผงวิเศษ 5 ประการ คือ ผงปถมัง อิทธิเจ มหาราช พุทธคุณ และตรีนิสิงเห
2. ผงใบลานเผา 3. เกสรดอกไม้ 4. ว่าน 5. ทรายเงินทรายทอง 6. เถ้าธูป 7. น้ำมันจันทน์ |
|
การปลุกเสก |
||
คาถาปลุกเสก พระสมเด็จฯ ที่สร้างเสร็จแล้ว ท่านจะนำไปใส่ภาชนะไว้บนหอสวดมนต์และปลุกเสกทุกวัน คาถาที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ใช้ปลุกเสกนอกจากมีบทสวดอื่นแล้ว บทสวดที่มีชื่อมากคือ “พระคาถาชินบัญชร” ซึ่งเป็นพระคาถาเก่ามีมาแต่โบราณ (ประเทศศรีลังกาก็มี) โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เรียบเรียงขึ้นใหม่ให้มีความกระทัดรัดและเหมาะสมขึ้น ปัจจุบันนิยมสวดกันทั่วไปในประเทศไทย
|
||
รายละเอียดการเปิดกรุ พ.ศ.2500 (เปิดกรุอย่างเป็นทางการ) |
||
รายละเอียดการเปิดกรุพระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม ได้มาจากการสัมภาษณ์ท่านพระครูบริหารคุณวัตร รองเจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2507 โดยคุณเทพชู ทับทอง พิมพ์อยู่ในหนังสือ “พระเครื่องและพระบูชาพระกรุเก้าวัด” มีรายละเอียดบางตอนว่า “การเปิดได้กระทำในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2500 โดยมี พลเอก ประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการเปิดกรุ
|
มีอธิบดีกรมศาสนา เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ ตำรวจ ทหาร ร่วมด้วยในพิธีนี้ พอรุ่งขึ้นวันที่ 25 พฤศจิกายน คณะกรรมการก็ได้ทำการนับจำนวนพระที่ขุดได้ ปรากฏว่าได้พระสมเด็จ (ที่สมบูรณ์) ทั้งหมด 2,950 องค์ นอกจากนั้นก็ได้พระสมเด็จตะกั่วถ้ำชา 1 องค์ สำหรับตะกรุดคงเป็นของคนสมัยนั้นนำเอามาบรรจุไว้ด้วย ส่วนพระสมเด็จที่หักชำรุดมีมากมายพระที่ได้ขึ้นมาในครั้งนั้นเรียกว่า “พระกรุใหม่” ส่วนพระสมเด็จฯ ที่ถูกลักลอบนำออกมาก่อนหน้านั้น เรียกกันว่า “พระกรุเก่า” ซึ่งความจริงเป็นพระขึ้นมาจากกรุเดียวกันนั่นเอง เพียงแต่ระยะเวลาออกมาไม่พร้อมกัน
|
|
พระพุทธคุณ |
||
การที่พระสมเด็จฯ เป็นที่นิยมก็คงจะเนื่องจากคุณวิเศษที่คนบูชาได้ประจักษ์กับตนเอง จนเป็นที่โจษขานกันปากต่อปาก ทำให้พระสมเด็จฯ เป็นที่ต้องการของผู้คน ดังที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน คุณประชา ศรีวิญญานนท์ หรือที่รู้จักกันในนามว่า “เปงย้ง ตลาดพลู” นักเล่นพระรุ่นเก่าที่มีชื่อเสียง ก็เคยประจักษ์ในพระพุทธคุณของพระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม โดยได้ให้คำสัมภาษณ์ (ในหนังสือ Spirit Vol. 1 No. 1 Nov.-Dec 2003 หน้า 104) มีข้อความน่าสนใจว่า“พระองค์แรกที่เช่าเองและเป็นองค์ที่ภูมิใจที่สุดทุก วันนี้ก็ยังเก็บไว้อยู่เลยก็คือ พระสมเด็จฯ บางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑ กรุเก่าซึ่งได้มาจากเพื่อนและเพื่อนก็ได้มาจากลุงของเขา เพราะลุงของเพื่อนสะสมพระเยอะ และเพื่อนคนนั้นเผอิญมีอยู่ช่างหนึ่งเขาขาดเงิน
|
จึงเอาพระสมเด็จฯ ที่ห้อยคออยู่มาขอจำนำไว้ 500 บาท หลังจากนั้นได้นำพระองค์นี้เข้าไปในสนาม เซียนพระขอเช่าในราคา 300 บาท แสดงว่าแท้แน่นอน จึงพยายามขอซื้อจากเพื่อนคนนี้อยู่นานจนตอนหลังขาดจำนำจึงได้เก็บไว้ และพระองค์นี้มีประวัติ มีประสบการณ์ โดยเรื่องเกี่ยวกับท้องร่วงท้องเสีย ผมท้องเสีย เลยเอาพระไปแช่น้ำและไหว้ขอพรจากองค์พระแล้วก็ดื่มน้ำแก้วนั้น ไม่น่าเชื่อหายเป็นปลิดทิ้ง พระองค์นี้เดิมเจ้าของคือลุงมาขายให้หลานซึ่งเป็นเพื่อนผมแล้วก็หมดตัวเลย พอเพื่อนคนนั้นเอามาขายให้ผมเพื่อนคนนั้นก็ติดคุก ผมเลยไม่กล้าขายให้ใครเลย จะให้ผมกี่ล้านก็ไม่ขาย ก็ใช้บูชาติดตัวมาจนทุกวันนี้”ข้างต้นนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของพระพุทธคุณของ สมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม ซึ่งมีเรื่องเล่ามามากมาย ด้วยเหตุนี้เอง พระสมเด็จฯ จึงเป็นที่ต้องการของผู้คนทั่วไป
|
|
ความนิยม |
||
พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม จึงเป็นมรดกอันทรงคุณค่าที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ได้สร้างและบรรจุกรุไว้เมื่อกว่าศตวรรษมาแล้ว ประชาชนต่างเชื่อมั่นในพระพุทธคุณดังจะเห็นได้มีการลักลอบนำพระสมเด็จฯ ออกมาจากกรุตลอดมา จนกระทั่งทางวัดต้องเปิดกรุอย่างเป็นทางการใน พ.ศ.2500 ปัจจุบันแม้แต่เศษชิ้นส่วนที่แตกหักก็ยังเป็นที่ต้องการของผู้คน มีราคาเช่าหาสูงและหายาก
|
ชิ้นส่วนพระสมเด็จฯ ที่พบในกรุ ทางวัดบางขุนพรหมก็นำมาเป็นส่วนผสมในการสร้าง พระสมเด็จฯ บางขุนพรหม รุ่น พ.ศ.2509 ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้คนเป็นอันมากเช่นเดียวกัน เรื่องที่ประมวลมาทั้งหมดแสดง
ถึงความเป็นอมตะของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี กับพระพิมพ์ที่ท่านได้สร้างไว้และเชื่อแน่ได้ว่าจะเป็นพระเครื่องที่เป็นที่ นิยมสูงสุดของประชาชนชาวไทยตลอดไ
ป
|
ข้อมูลอ้างอิงจาก : www2.pt-amulet.com