พระพุทธชินราชอินโดจีน
ประวัติ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร
ในปี พ.ศ. 2485 ประเทศไทยประสพปัญหาทางด้านการเมือง ซึ่งหลังจากปัญหา ต่างๆได้กลับคืนสู่สภาวะปกติแล้ว จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า " พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย " ซึ่งเป็นการรวมตัวระหว่าง พุทธธรรมสมาคม กับ ยุวพุทธสาสนิกสมาคม จึงได้มีการคิดที่จะทำการหล่อ พระพุทธชินราชจำลองขึ้น
ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. พระบูชา จะสร้างโดยใช้วิธีหล่อเป็นพระขัดเงามีเรือนแก้ว ค่าสร้างองค์ละ ๑๕๐ บาท
2. พระหล่อ รูปพระพุทธชินราชมีเรือนแก้ว และมีรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ข้างใต้ฐาน พระเครื่องชนิดนี้ ค่าสร้างองค์ละ1 บาท
3. เหรียญปั๊ม รูปลักษณะคล้ายเสมา ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธชินราชมีเรือนแก้ว ด้านหลังมีรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุพระเครื่องชนิดนี้ ค่าสร้างองค์ละ 50 สตางค์
-------------------------
สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานในพิธีหล่อพร้อมด้วยพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณต่างๆทั่วราชอาณาจักร
- พระชุดนี้ได้พิธีหล่อ และปลุกเศกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ (ปี พ.ศ.2485) โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราชแพ (ติสสเทวะ)
เป็น องค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการ ได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำหรับการสร้างพระกริ่ง-พระชัย ของวัดสุทัศน์นี้แล้ว ยังมีแผ่นทองจากท่านพระคณาจารย์ ที่นิมนต์มาร่วมพิธีปลุกเศกสมทบหล่อหลอมในครั้งนี้อี กด้วย จึงนับได้ว่า พิธีหล่อพระรูปจำลองพระพุทธชินราช เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่ง ซึ่งเพียบพร้อมไปด้วย พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ในยุคนั้น
- กำหนดวันและสถานที่ทำการหล่อ
จะ ประกอบพิธีหล่อที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ในวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2485 ซึ่งเป็นวันระหว่างงานสมโภชพระพุทธชินราชประจำปี
- นายช่างผู้ทำการหล่อ
กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการหล่อและออกแบบโดยตลอด
- สถานที่ติดต่อสั่งจองเฉพาะพระเครื่อง
ที่ ข้าหลวงประชาจังหวัดและนายอำเภอทุกแห่งทั่วราชอาณ าจักร์ และที่นายประมวล บูรณโชติ เลาขาธิการของสมาคม ณ สำนักงานพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระราชอุทยานสราญรมย์ จังหวัดพระนคร
- เงินรายได้
จำนวนเงินรายได้ทั้งสิ้น เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วจะได้แบ่งส่วนเฉลี่ยออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน เพื่อนำไปจัดการดังต่อไปนี้
1. ให้กรมการสาสนา กระทรวงศึกษาธิการ สำหรับบำรุงส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนาและการกุศลสาธ ารณะต่างๆภายในจังหวัด
2. ให้คณะกรรมการจังหวัดพิษณุโลก สำหรับบำรุงส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา และการกุศลสาธารณะต่างๆภายในจังหวัด
3. ให้พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นทุนในการดำเนินกิจการเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาตา มวัตถุประสงค์ของสมาคม
พระบูชา
- ได้จัดสร้างตามจำนวนที่แจ้งความจำนงไว้เท่านั้น องค์ละ 150 บาท
พระหล่อชินราช
- จัดสร้างประมาณ 90,000 องค์ เป็นเนื้อโลหะผสม โดยมีทองเหลืองเป็นหลัก แต่สุดท้ายคัดเหลือ 84,000 องค์ ซึ่งให้ความหมายเท่ากับพระธรรมขันธ์ ( ในตอนแรกได้หล่อ อกเลานูน ติดไว้ใต้ฐานพระ แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็นก้นเรียบ และใช้วิธีตอกแทนจบครบ 84,000 องค์ ) นำออกให้เช่าบูชา 1 บาท องค์ไหนสวยสมบูรณ์ 1.50 บาท
พระปั๊ม(เหรียญ)
- จัดสร้างจำนวน 3,000 เหรียญ เนื้่อทองแดงรมดำ นำออกให้เช่าบูชา 50สตางค์ ( แหนบและเข็มกลัด รวมทั้งเหรียญกะไหล่เงิน-ทอง เป็นเหรียญแจกกรรมการ )
จุดประสงค์การสร้าง พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน
- เพื่อให้ทหารและประชาชนได้มีพระเครื่องไว้บูชา เนื่องจากในสมัยนั้นเกิดภาวะสงครามอินโดจีน
ข้อมูลอ้างอิง : http://fws.cc/chokajub/index.php?topic=24.0
เว็บวัดใหญ่ หรือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ : http://www.watyai.com
ประวัติพระพุทธชินราช (ภายในเว็บ) : คลิ๊ก
ประวัติวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร-วัดใหญ่ (ภายในเว็บ) : คลิ๊ก
ข้อมูลทำเนียบพระเครื่อง รุ่นชินราชอินโดจีน (ภายในเว็บ) : คลิ๊ก