พระพิฆเนศ
ประวัติ (เทพแห่งความสำเร็จ)
พระพิฆเนศ
(เทพแห่งความสำเร็จ)
พระนามของพระพิฆเนศ สามารถสะกดเป็นภาษาไทยได้อีกหลายแบบ เช่น
พระพิฆเณศ, พระพิคเนศ, พระพิคเณศ, พระพิฆเนศว์, พระพิฆเณศว์, พระพิคเนศว์, พระพิคเณศว์, พระพิฆเนศวร, พระพิคเนตร
พระพิฆเณศวร, พระพิคเนศวร, พระพิคเณศวร, พระคเนศ, พระคเณศ, พระคเนศวร, พระคเณศวร, พระคเนศว์, พระคเณศว์, พระพิฆเนตร
นอกจากนี้ยังมี พระวิฆเนศวร, พระคณปติ, พระคณบดี, เหรัมภะ, เอกทันตะ และพระนามอื่นๆอีกมากมาย
ประวัติพระพิฆเนศในประเทศไทย
จากหนังสือตรีเทวปกรณ์
คติการนับถือพระพิฆเนศ น่าจะเข้ามาถึงประเทศไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 10 โดยเข้ามาทางภาคใต้ก่อน แต่เทวาลัยของพระพิฆเนศที่เก่าที่สุดในเมืองไทยปรากฏที่ แหล่งโบราณคดีเขาคา จ.นครศรีธรรมราช มีอายุในพุทธศตวรรษที่ 12 เทวรูปพระพิฆเนศที่เก่าที่สุดก็พบทางภาคใต้ของไทย และกำหนดอายุได้ในช่วงเวลานั้น เชื่อว่าบรรพชนในภาคใต้ของเราในยุคดังกล่าว คงจะนับถึอพระพิฆเนศตามแบบอินเดีย คือเป็นเทพผู้ขจัดอุปสรรค
เทวรูปพระพิฆเนศ เริ่มแพร่หลายมากขึ้นเมื่อถึงสมัยที่เมืองไทยเรา ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากขอม เทวรูปเหล่านี้พบในปราสาทหินหลายแห่ง ทั้งที่เป็นเทวรูปลอยองค์สำหรับบูชาภายในปราสาท และอยู่บนทับหลังหรือหน้าบันในลักษณะภาพแกะสลักนูนสูง คติการนับถือพระพิฆเนศในเมืองไทยเราช่วงนี้ น่าจะเป็นแบบเขมร คือ เป็นเทพองค์สำคัญในไศวะนิกาย คือจะต้องมีประจำในเทวสถานของลัทธินี้ รวมทั้งการบูชาในฐานะเทพแห่งอุปสรรค และเทพแห่งการประพันธ์ด้วย เพราะเท่าที่พบเทวลักษณะก็เป็นแบบเขมร คือประทับนั่งชันพระชานุข้างหนึ่งแบบมหาราชลีลาสนะ หรือประทับนั่งขัดสมาธิราบ ถ้าประทับยืนก็ประทับยืนตรงๆ ไม่ใช่ยืนเอียงพระโสณีหรือตริภังค์แบบอินเดีย
อย่างไรก็ตาม เทวรูปเหล่านี้ล้วนแต่สร้างอย่างงดงามมาก และอาจจะมีทั้งที่สร้างด้วยหินและสำริด หรือแม้แต่ทองคำ แต่ที่ตกทอดมาถึงยุคของเราส่วนมากมีแต่เป็นหินเท่านั้น ในจำนวนนี้องค์ที่เด่น ๆ ได้แก่พระคเณศทรงเครื่องจาก ปราสาทหินเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์ ส่วนพระพิฆเนศจากปราสาทที่งามที่สุด อย่างเช่นปราสาทหินพนมรุ้งนั้น ปัจจุบันเราได้พบแต่ที่เป็นขนาดเล็ก
เทวลักษณะที่ประทับยืนตรงของพระพิฆเณศแบบขอม ได้ต่อเนื่องมาถึงพระพิฆเนศแบบเชียงแสนและสุโขทัยด้วย ปัจจุบันเรามีตัวอย่างของเทวรูปพระพิฆเนศแบบเชียงแสน ที่ทำอย่างงดงามหลายองค์ แต่ที่งามกว่าคือแบบสุโขทัย ซึ่งเท่าที่รู้จักกันเป็นสมบัติของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล และมีการถ่ายแบบทำเป็นเทวรูปสำหรับบูชาทั่วไปเมื่อ พ.ศ. 269 ซึ่งปัจจุบันก็หาดูยากแล้ว
ในสมัยสุโขทัย การนับถือพระพิฆเนศก็คงเป็นไปตามแบบทีได้อิทธิพลจากขอม แต่ก็น่าจะเสื่อมคลายลงมาก เพราะได้มีการให้ความสำคัญต่อศาสนาพุทธยิ่งกว่าศาสนาฮินดูที่นับถือกันมาแต่ เดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัย พระมหาธรรมราชาลิไท ที่ศาสนาพุทธเฟื่องฟูมาก
ล่วงถึง สมัยกรุงศรีอยุธยา ศาสนาฮินดูได้กลับมามีความสำคัญในราชสำนักอีกครั้ง มีหลักฐานว่าได้มีการหล่อพระพิฆเนศ และ พระเทวกรรม คือพระพิฆเนศในฐานะที่เป็นครูช้างขึ้นมาหลายองค์ แต่หลักฐานที่ตกมาถึงเรามีแต่เทวรูปสำริดขนาดเล็กเพียงไม่กี่องค์ และเทวรูปสำริดขนาดใหญ่ที่เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า รวมทั้งเทวรูปศิลาที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระราชวังจันทร์เกษม เป็นต้น พระพิฆเนศได้กลับมามีบทบาทสำคัญในราชสำนักกรุงศรีอยุธยาก็เพราะเกี่ยวเนื่อง ด้วยการคชกรรมนี่เอง และก็ยังคงมีความสำคัญตามคติที่ได้รับจากขอม คือเป็นเทพผู้ขจัดอุปสรรค เป็นเทพที่จะต้องบูชาก่อนอื่นในพิธีกรรมสำคัญ และเป็นเทพแห่งการประพันธ์คัมภีร์ต่าง ๆ
ส่วนคติที่นับถือพระพิฆเนศวรเป็น เทพแห่งศิลปวิทยา อันเป็นการแทนที่คติเดิมของพระสรัสวดีที่มีมาแต่อินเดียนี้ ยังไม่ปรากฏว่ามีในเมืองไทย จนกระทั่งผ่านพ้นสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เพราะใน 4 รัชกาลแรกภาพเขียนพระพิฆเนศในพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม และ วัดบวรสถานสุทธาวาส หรือแม้แต่ภาพแกะสลักบนประตูไม้ที่ วัดเพลงวิปัสสนา บางกอกน้อย ยังเป็นเรื่องจากนารายณ์สิบปางอยู่ ภาพเหล่านี้คงมีที่มาจากตัวอย่างพระเทวรูปในตำราภาพเทวรูปและเทวดานพเคราะห์ ซึ่งเป็นแบบอย่างภาพลายเส้นรูปเทพเจ้าแทบทุกพระองค์ สำหรับช่างเขียนใช้เป็นต้นแบบ ตำราภาพดังกล่าวสร้างในรัชกาลที่ 3-4 และคงมีมาแล้วตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ที่เป็นหลักฐานทางเอกสาร โดยเฉพาะในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ยังเป็นคติเก่าที่มีอยู่ในเรื่อนารายณ์สิบปางเช่นกัน และองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงนั้น โดยส่วนพระองค์ก็ดูจะทรงนับถือพระพิฆเนศอยู่ไม่น้อย เพราะเมื่อเสด็จประพาสชวาก็ทรงนำพระพิฆเนศขนาดใหญ่ของที่นั่นมาด้วย (ปัจจุบันยังจัดแสดงอยู่ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร)
ข้อมูลอ้างอิง : http://www.numchoke.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=numchokecom&thispage=2&No=1299014
ข้อมูลเว็บสยามคเณศ : http://www.siamganesh.com
ตำนาน พระพิฆเนศ
ในคราวที่พระศิวะเทพ ทรงไปบำเพ็ญสมาธิเป็นระยะเวลานานอยู่นั้น พระแม่ปารวตีเนื่องจากอยู่องค์เดียวเลยเกิดความเหงา และ ประสงค์ที่จะมีผู้มาคอยดูแลพระองค์และป้องกันคนภายนอก ที่จะเข้ามาก่อความ วุ่นวายในพระตำหนัก
ในจึงทรงเสกเด็กขึ้นมาเพื่อเป็นพระโอรสที่จะเป็นเพื่อนในยามที่องค์ศิวเทพ เสด็จออกไปตามพระกิจต่างๆมีอยู่คราวหนึ่ง เมื่อพระนางทรงเข้าไปสรงในพระตำหนักด้านในนั้นองค์ศิวเทพได้ กลับมาและเมื่อ จะเข้าไปด้านในก็ถูกเด็กหนุ่มห้ามไม่ให้เข้า เนื่องจากไม่รู้ว่าเป็นใครและในลักษณะเดียวกันศิวเทพก็ไม่ทราบว่าเด็กหนุ่ม นั้นเป็นพระโอรสที่พระแม่ปารวตีได้เสกขึ้นมา
เมื่อพระองค์ถูกขัดใจก็ทรงพิโรธและตวาดให้เด็กหนุ่มนั้นหลีกทางให้พลาง ถามว่ารู้ไหมว่ากำลังห้ามใครอยู่ ฝ่ายเด็กนั้นก็ตอบกลับว่าไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าเป็นใครเพราะตนกำลังทำตาม บัญชาของพระแม่ปารวตี และทั้งสองก็ได้ทำการต่อสู้กันอย่างรุนแรง จนเทพทั่วทั้งสวรรค์เกิดความวิตกในความหายนะที่จะตามมา และในที่สุดเด็กหนุ่มนั้นก็ถูกตรีศูลของมหาเทพจนสิ้นใจ และศีรษะก็ถูกตัดหายไป
ในขณะนั้นเองพระแม่ปารวตีเมื่อได้ยินเสียงดังกึกก้องไปทั่วจักรวาลก็ เสด็จออกมาด้านนอกและถึงกับสิ้นสติเมื่อเห็นร่างพระโอรสที่ปราศจากศีรษะ และเมื่อได้สติก็ทรงมีความโศกาอาดูร และตัดพ้อพระสวามีที่มีใจโหดเหี้ยมทำ ร้ายเด็กได้ลงคอ โดยเฉพาะเมื่อเด็กนั้นเป็นพระโอรสของพระนางเอง
เมื่อได้ยินพระนางตัดพ้อต่อว่าเช่นนั้นองค์มหาเทพก็ทรงตรัสว่าจะทำให้ เด็กนั้นกลับพื้นขึ้นมาใหม่แต่ก็เกิดปัญหา เนื่องจากหาศีรษะที่หายไปไม่ได้ และยิ่งใกล้เวลาเช้าแล้วต่างก็ยิ่ง กระวนกระวายใจเนื่องจากหากดวงอาทิตย์ขึ้น แล้วก็จะไม่สามารถชุบชีวิตให้เด็กหนุ่มฟื้นขึ้นมาได้เมื่อเห็น
เช่นนั้นพระศิวะเลยโยนตรีศูลอาวุธของพระองค์ออกไปหาศีรษะสิ่งที่มีชีวิต แรก ที่พบมาและปรากฏว่าเหล่าเทพได้นำเอาศีรษะช้างมาซึ่งพระศิวะทรงนำศีรษะมาต่อ ให้และชุบชีวิตให้ใหม่พร้อมยกย่อง ให้เป็นเทพที่สูงที่สุด และขนานนามว่า พระพิฆเนศวร ซึ่งแปลว่าเทพผู้ขจัดปัดเป่าอุปสรรคและยังทรงให้พรว่าในการประกอบ พิธีการต่างๆทั้งหมดนั้นจะต้องทำพิธีบูชาพระพิฆเนศวรก่อนเพื่อความสำเร็จของ พิธีนั้น
เนื่องจากพระพิฆเนศวรมีพระวรกายที่ไม่เหมือนเทพอื่นๆนั้น ได้มีการอธิบายถึงพระวรกายของพระองค์ท่านดังนี้
1. พระเศียรของท่านหมายถึงวิญญาณซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการมีชีวิต
2. พระวรกายแสดงถึงการที่เป็นมนุษย์ที่อยู่บนพื้นปฐพี
3. ศีรษะช้างแสดงถึงความเฉลียวฉลาด
4. เสียงดังที่เปล่งออกมาจากงวงหมายถึงคำว่า โอม ซึ่งเป็นเสียงแสดงถึงความเป็นสัจจะของสุริยจักรวาล
5. หระหัตถ์บนด้านขวาทรงเชือกบ่วงบาศน์ที่ทรงใช้ในการนำพามนุษย์ไปสู่เส้นทางแห่งธรรมะและหลุดพ้นพร้อมทรงขจัดอุปสรรคในระหว่างทาง
6. พระหัตถ์บนซ้ายทรงเชือกขอสับที่ใช้ในการป้องกันและพันฝ่าความยากลำบาก
7. มือขวาล่างทรงงาที่หักครึ่งซึ่งพระองค์ทรงใช้เป็นปากกาในการเขียนมหากาพย์ มหาภารตะให้มหาฤษีเวทวยาสมุนีและเป็นสัญญลักษณ์แห่งความเสียสละ
8. อีกมือทรงลูกประคำที่แสดงว่าการแสวงหาความรู้จะต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
9.ขนมโมณฑกะหรือขนมหวานลัดดูในงวงเป็นการชี้นำว่ามนุษย์จะต้องแสวงหาความ หวานชื่นในจิตวิญญาณของตนเองเพื่อที่จะได้มีจิตเอื้อเพื้อเผื่อแผ่ให้กับคน อื่นๆ
10. หูที่กว้างใหญ่เหมือนใบพัดหมายความว่าท่านพร้อมที่รับฟังสิ่งที่เราร้องเรียนและเรียกหา
11. งูที่พันอยู่รอบท้องท่านแสดงถึงพลังที่มีอยู่โดยรอบ
12. หนูที่ทรงใช้เป็นพาหนะแสดงถึงความไม่ถือองค์และพร้อมที่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตที่เล็กและเป็นที่รังเกียจของมนุษย์ส่วนมาก
ข้อมูลอ้างอิง : http://th.wikipedia.org/wiki/พระพิฆเนศวร