ประวัติ พระตรีมูรติ - (มหาเทพแห่งจักรวาล) - webpra

พระตรีมูรติ

ประวัติ (มหาเทพแห่งจักรวาล)


พระตรีมูรติ
มหาเทพแห่งจักรวาล
ประทานสิ่งอันเป็นมงคลทั้งปวงแก่ผู้บูชา

พระตรีมูรติพระตรีมูรติ แบบรวมเป็นร่างเดียว

บทความนี้ มาจากหนังสือ "ปริศนาแลมนตรา"
เขียนโดย "ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ" เป็นหนังสือสารคดีเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในอารยธรรมเขมร ไขปริศนาที่ชวนให้ขบคิด ร้อยเรียงในลักษณะของสารคดีท่องเที่ยว ทั้งประวัติศาสตร์ วรรณคดี ปรัชญา เทพปกรณัม ฯลฯ ราคาเล่มละ 265 บาท โดยสำนักพิมพ์ศินารา หาซื้อได้ตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ


ตรีมูรติ
มาจากคำว่า ตรี หมายถึงสาม และคำว่า มูรติ หมายถึงรูปแบบ ดังนั้นคำว่า ตรีมูรติ จึงหมายถึง รูปแบบของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสามพระองค์ ประกอบด้วย พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ เป็นหนึ่งในลัทธิที่สำคัญในศาสนาพราหมณ์ หากมองตามหลักปรัชญาคือ พระผู้สร้าง พระผู้รักษา และพระผู้ทำลาย เปรียบได้กับหลักธรรมที่ว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป...

พระพรหม+พระวิษณุ+พระศิวะ = พระทัตตาเตรยะ = พระตรีมูรติ

การกำเนิด "พระตรีมูรติ" ก็มีกล่าวกันไว้หลายตำแหน่งต่างๆกัน และมักจะเข้าใจว่าพระตรีมูรติเป็นภาครวมทั้งสามพระองค์ในร่างเดียวกัน เรียกว่า ทัตตาเตรยะ (Dattatreya) คำว่า ทัตตา (Datta) หมายถึง การมอบให้พระผู้เป็นเจ้าทั้งสามพระองค์ ส่วนคำว่า เตรยะ (treya) หมายถึง ผู้เป็นบุตรแห่งฤาษีอัตริหรือเตรยะ อันเป็นอวตารของมหาเทพทั้งสามพระองค์ บ้างก็กล่าวว่าคือองค์พระนารายณ์ สำหรับเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระตรีมูรติความเดิมมีอยู่ว่า....

 

ตราบหนึ่งมีฤาษีนามว่า "อณิมาณฑวย" (อะ-นิ-มาน-ดับ-วยะ) กำลัง นั่งสมาธิบำเพ็ญตบะอยู่นั้น ได้มีโจรกลุ่มหนึ่งกำลังหนีเจ้าหน้าที่ผ่านมาทางนั้นพอดี แต่ฤาษีอยู่ในฌานสมาธิจึงไม่ยอมปริปากพูดใดๆ ทำให้เจ้าหน้าที่คิดว่าฤาษีเป็นโจรเสียเอง จึงได้จับตัวมาลงโทษและถูกเจ้าเมืองสั่งประหารชีวิต โดยการเสียบตรีศูลไว้บนยอดเขาแห่งหนึ่งแต่ฤาษีขณะนั้นยังไม่ตาย

 

ระหว่างนั้น นางศีลวตี ภรรยาที่ซื่อสัตย์ต่อสามีชื่อ "อุครศรวัส" กำลังแบกสามีให้ขี่คอตนเอง และกำลังเดินทางผ่านเขาลูกนั้นพอดีเพื่อจะหานาง อนุสูรยา ซึ่งเป็นเพื่อนรักกัน ประกอบกับวันนั้นมีฝนตกหนักทำให้เดินทางลำบาก สามีที่รักของนางจึงกล่าวโทษฤาษี (อณิมาณฑวย) หาว่าเป็นตัวต้นเหตุทำให้ฝนตก เมื่อฤาษีได้ยินเข้า ก็ไม่พอใจ แม้กำลังจะใกล้ตาย แต่ก็ไม่วายที่จะสาปแช่ง ให้ศีรษะของอุครศรวัสแตกเป็นเจ็ดเสี่ยงยามใด ที่พระอาทิตย์ขึ้น นางศีลวตีได้ยินคำสาปเข้า ก็ไม่ยอมให้สามีเป็นเช่นนั้น จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานขอไม่ให้พระอาทิตย์ขึ้นอีกเลย ซึ่งคำอธิษฐานได้บังเกิดผลทำให้พระอาทิตย์ไม่ขึ้น จึงเดือดร้อนกันไปทั่วทั้งสามโลก ความแจ้งไปยัง พระพรหม พระศิวะ พระนารายณ์ แต่ก็ไม่สามารถจะช่วยใดๆได้ เว้นแต่ว่าขอให้นางศีลวตีถอนคำอธิษฐานนั้นเสีย ดังนั้น ทั้งสามพระองค์จึงได้เสด็จไปหานางอนุสูยาก่อน เพื่อให้นางไปขอร้องนางศีลวตีถอนคำอธิษฐานอีกครั้ง ในระหว่างไปพบนางอนุสูยานั้น สามีนางคือ "อรตี" ไม่อยู่บ้าน โดยทำทีว่าขออาหารจากนางอนุสูยา นางยินยอมทำตามที่ร้องขอ แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่านางจะต้องจัดอาหารให้โดยปราศจากอาภรณ์ เหมือนหนีเสือปะจรเข้ เพราะว่าหญิงใดเปลื้องอาภรณ์ต่อหน้าผู้อื่นที่ไม่ใช่สามี ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ซื่อสัตย์ แต่นางไม่อยากผิดคำมั่นสัญญา อีกทั้งคำร้องขอที่แปลกประหลาดนี้ไม่ใช่คนธรรมดาแน่นอน ซึ่งอาจเป็นกลลวงอะไรสักอย่างได้ เมื่อได้เล็งเห็นเช่นนั้น นางจึงนึกถึงสามี และอธิษฐานที่นางได้กระทำไป ไม่ได้เป็นสิ่งยั่วยวนหรือกามราคะใดๆ เมื่อทั้งสามพระองค์ร้องขอออกมาว่า "โอ้มาตา โปรดให้อาหารแก่เราเถอะ" ประโยคนี้ทำให้นางตัดสินใจคิดเสียว่าทั้งสามพระองค์คือ บุตรของนาง ด้วยความเมตตานางจึงเปลื้องอาภรณ์ออก ทันใดนั้นพระผู้เป็นเจ้าทั้งสามพระองค์ ก็กลับกลายร่างเป็นทารกน้อยทั้งสาม นางอนุสูยาจึงให้น้ำนมและอาหารจนอิ่มหลับไป

 

เมื่อสามีของนางอนุสูยากลับมาเห็นเข้าและรับทราบเรื่องราวทั้งหมด จึงได้เข้าไปดูและปลุกขึ้นมาเพื่อชื่นชม แต่แล้วปรากฎว่า ทารกน้อยกลับกลายร่างเป็นพระผู้เป็นเจ้าทั้งสามดังเดิม พระองค์ทรงสรรเสริญนางที่มีความเมตตา และร้องขอให้นางอนุสูยาไปบอกนางศีลวตี เพื่อขอให้ถอนคำอธิษฐานนั้นเสีย โดยที่สามีนาง (อุครศรวัส) จะไม่ตาย นางศีลวตีเมื่อรับรู้เรื่องราวจึงยินยอมโดยดี ทั้งสามพระองค์จึงตรัสถามนางอนุสูยาว่าต้องการขอพรสิ่งใด นางทูลขอให้พระผู้เป็นเจ้าทั้งสามพระองค์ เกิดเป็นบุตรของนางในภายภาคหน้า ทั้งสามพระองค์จึงได้ประทานพรตามคำขอ โดยที่พระนารายณ์เกิดเป็นพระทัตตาเตรยะ พระศิวะเกิดเป็นทุรวาสัส และพระพรหมเกิดเป็นพระจันทร์

 พระตรีมูรติพระตรีมูรติ แบบแยกเป็น 3 เทพเจ้า

"คติคนไทยที่มีต่อพระตรีมูรติเป็นอย่างไร"

แต่ที่เป็นที่น่าสังเกตว่าคนไทยส่วนใหญ่มักจะเชื่อกันว่า พระทัตตาเตรยะ หรือ พระตรีมูรติ ไม่ว่าจะเป็นร่างเดียว หรือแยกร่างเป็นพระผู้เป็นเจ้าทั้งสามพระองค์ก็ตาม ความศรัทธาที่มีต่อพระองค์ ได้สืบทอดผ่านกันมาหลายยุคหลายสมัย จนได้รับเทิดทูน กลายเป็นสัญลักษณ์ใหม่ของการประทานความรัก และความสมหวังให้มวลมนุษย์ตราบเท่าจนทุกวันนี้

 

 
พระตรีมูรติ

คาถาบูชาพระตรีมูรติ
คำอ่านโดย : สยามคเณศ

(ก่อนสวดบูชาต่อพระตรีมูรติต้องสวดมนต์กับพระพิฆเนศก่อนเสมอ)

สามารถสวดบูชาพระตรีมูรติด้วยมนต์บูชาเทพทั้งสามแยกกัน คือ
พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ
โดยสวดทั้งสามพระองค์แยกกัน สามารถเรียงท่านใดขึ้นก่อนก็ได้
ซึ่งบทสวดบูชาเทพแต่ละองค์มีแนะนำในหน้าต่อไปนี้
พระพรหม , พระวิษณุ , พระศิวะ

หรือเลือกสวดมนต์สำหรับบูชาพระตรีมูรติโดยเฉพาะดังต่อไปนี้...
สามารถเลือกสวดบทใดบทหนึ่ง หรือสวดหลายๆ บทร่วมกันได้

1. โอม ทัตตาเตรยะ นะมะฮา

2. โอม ศรี สัตกุรุ ทัตตาเตร ยายะ นะมะฮา

3. โอม ศรี ชยะ คุรุ ทัตตะ นะโม นะมะ

4. โอม ทัตตาเตรยะ วิดมาเฮ / อะตรี ปุตรายะ ดีมาฮี
ตันโน ทัตตะ ประโจตยาต


5. โอม สารวะ อะพาระทะ นาศายะ / สารวะ ปาปะ หะรายะ ชะ
เดวา เดวายะ เดวายะ / ศรี ทัตตาเตรยะ นะโมสตุเต

6. คุรุพรหมมา คุรุวิษณุ คุรุเทโว มเหศวรา
คุรุสักชัท ปรพรหมมา / ทัศไมศรี คุรุเว นะมะฮา

7. โอม ชยะ ลาภาธิขะรา ศรี ทัตตะสัตวัม
หริ โอม ตัต สัต ชยะ คุรุทัตตา โอม

8. สารวะ อาปะราทะ นาศายะ
สารวะ ปาปะ หะรายะ ชะ
เดวา เดวายะ เดวายา
ศรี ทัตตาเตรยะ นะโม สตุเต

9. โอม ศรี ปรพรหมมา ศรี ปรมัทมะเน นะมะฮา
อุบัตติ สิทธิ ประลายะ กะรายะ พรหมมา
หะริหะรายะ ตะรุปุนาทะมานา
สารวะ เกาธุกา นิธาระศายะ ธาระศายะ
ทัตตะเตรยา นะมะฮา
ตันธระ มันธระ สิทธิ คุรุ สวาหะ


10. บทสวดพระตรีมูรติ ที่ปรากฎ ณ ศาลพระตรีมูรติหน้า Centralworld กรุงเทพ
สาธุ สาธุ สาธุ อุกาสะ ข้าแต่องค์พระตรีมูรติที่ยิ่งใหญ่ข้าพเจ้า (ชื่อ-นามสกุล)
กราบเบื้องบาทแด่องค์ท่านแล้ว พระองค์เคยประทานพรแด่ทวยเทพทั้งหลาย
ผู้ปฏิบัติดี ผู้ปฏิบัติชอบทั้งหลาย บัดนี้ข้าพเจ้ามากราบเบื้องบาทแด่พระองค์ท่านแล้ว
จึงขอพระจากพระองค์ซึ่งประทานไว้ ณ บัดนี้ (...ขอพร...)
เตสัง อัมหากัง พรใดอันประเสริฐจงมาบังเกิดแด่ข้าพเจ้า
ตุ มหากัง และจงบังเกิดแด่ผู้คุ้มครองข้าพเจ้า
ฑีฆายุกา มหาเดชา มหาปัญญา มหาโภคา มหายะสา มหาลาภา
ปัญจวีสติ ภยันจะ ทวัตติงสะ ฉันนะวุฒิติโรคัญจะ โสระสะ
อุบัติ อันตรายยัญจะ อัยยัญติกะ อันตรายยัญจะ พาหิระ อันตรายยัญจะ
วิระหิตะวา โหตุ ยาวะชีวัง พระวิสตีติ พระตรีมูรติ...

 

ข้อมูลอ้างอิง : http://www.siamganesh.com/trimurti.html

Top