
เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน

พระเปิม เมืองลำพูน
ชื่อพระเครื่อง | พระเปิม เมืองลำพูน |
---|---|
อายุพระเครื่อง | 0 ปี |
หมวดพระ | พระกรุ |
สถานะ | |
จำนวนคนชม | 38412 |
เข้าทำเนียบตั้งแต่วันที่ | อา. - 08 พ.ค. 2554 - 21:13.17 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ส. - 26 ส.ค. 2560 - 14:30.05 |
รายละเอียด | |
---|---|
>>ประวัติการพบเจอพระเปิม จังหวัดลำพูน พระเปิม เป็นพระยอดนิยม อีกหนึ่งพิมพ์ของจังหวัดลำพูน ลักษณะทั่วไปของพระเปิม จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าพระคง เป็นพระพุทธปฏิมาปางมารวิชัย สมาธิเพชร ห่มคลุม นุ่งประทับเหนืออาสนะ ฉากหลังเป็นผนังโพธิบัลลังก์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพุทธลักษณะของพระเปิม มีเค้าทางกายวิภาคเป็นแบบของอินเดีย สกุลช่างคุปตะ >>กรุที่พบเจอพระเปิม พระเปิม พบเจอด้วยกันหลายกรุหลายวัดด้วยกันในจังหวัดลำพูน เท่าที่มีการจดบันทึกไว้มีกรุดังต่อไปนี้ กรุวัดดอนแก้ว หรือโรงเรียนเวียงยองในปัจจุบัน กรุวัดพระธาตุหริภุญไชย กรุวัดต้นแก้ว(อยู่ระหว่างวัดพระธาตุกับวัดดอนแก้ว) กรุวัดมหาวัน กรุวัดจามเทวี กรุวัดพระคง(พบเจอน้อย) กรุวัดประตูลี้(พบเจอน้อย) กรุพระเจ้าหัวหมด (อยู่ทางทิศเหนือของวัดพระคง) กรุครูขาว(อยู่หลังวัดพระคง) เนื่องจากพระเปิมถูกพบเจอจากหลากหลายกรุ แต่กรุที่พบเจอมากนั้นมีเพียงไม่กี่กรุ โดยกรุที่พบเจอมากที่สุดได้แก่ กรุวัดดอนแก้ว กรุวัดพระธาตุหริภุญไชย กรุวัดจามเทวี ส่วนกรุที่เหลือพบเจอเป็นส่วนน้อย จึงขอยกยอดไป จะขอกล่าวในตอนการพบเจอและการแยกกรุ >>การพบเจอพระเปิมในแต่ละกรุ >>พระเปิม กรุวัดดอนแก้ว // วัดดอนแก้ว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมือง ปัจจุบันได้กลายมาเป็นโรงเรียนเวียงยอง การขุดหาพระเครื่องที่วัดดอนแก้วเริ่มปีไหน พ.ศ.ไหนมีไม่ผู้ใดได้บันทึกไว้ ก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่ 2 บริเวณลานของโรงเรียน มีเจดีย์โบราณขนาดใหญ่หักโค่นพังทลายลงมาจนกลายเป็นเนินดินขนาดใหญ่ มีการขุดพระและได้พระมามากมาย พระครูญาณมงคล เจ้าคณะอำเภอ ท่านได้นำพระที่ขุดได้นี้(พระที่ชำรุด) ไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ต้นก๊อ วัดต้นแก้ว สืบไป พระอีกส่วนหนึ่ง ได้นำไปบรรจุไว้ที่ปทุมวดีเจดีย์ ในวัดพระธาตุหริภุญไชย(ส่วนใหญ่จะเป็นพระเปิม) และตามลานภายในวัดพระธาตุ และในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้มีผู้เข้าไปลักลอบขุดที่วัดดอนแก้วเป็นจำนวนาก แต่ว่าได้พระไปจำนวนขนาดไหนไม่มีผู้ได้บันทึกไว้ และหลังจากนั้นก็มีการขุดค้นเพื่อหาพระเปิมเรื่อยมาจนถึงยุคปัจจุบัน ก็ยังมีการพบเจอพระเปิมรอบๆ บริเวณวัดดอนแก้ว >>กรุวัดพระธาตุหริภุญไชย // ภายในวัดพระธาตุหริภุญไชยมีพระเจดีย์หนึ่ง ชื่อว่า “ปทุมวดีเจดีย์” มีรูปทรงสี่เหลี่ยม อยู่ทางทิศเหนือของวัด การขุดพบพระเปิมที่ปทุมวดีเจดีย์ ครั้งที่ 1 ประมาณปี 2474 (ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นระยะเวลา 8 ปี ) พระครูบาธรรมวิชัย ได้ทำพิธีเปิดกรุปทุมวดีเจดีย์ อย่างเป็นทางการ ซึ่งได้พระเปิมออกมาจำนวนมากมายหลายพันองค์ และทางวัดได้สาธุชนเช่าบูชา ซึ่งจะได้นำเงินไปบูรณะปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุ การขุดพบพระเปิมที่ปทุมวดีเจดีย์ ครั้งที่ 2 การขุดครั้งที่ 2 เกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ราวปี 2484 โดยเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงของลำพูน ได้ขุดฐานของปทุมวดีเจดีย์เข้าไปและได้พระเปิมจากปทุมวดีออกมาจำนวนมากมายหลายพันองค์ ซึ่งเจ้าหลวงได้แจกจ่ายให้กับหน่วยทหารที่มาประจำการที่จังหวัดลำพูนทั่วทุกคน ที่เหลือได้นำไปฝังไว้ในกรุตามเดิม การขุดพบพระเปิมที่ปทุมวดีเจดีย์ ครั้งที่ 3 เกิดขึ้นในปี 2496 ได้มีกลุ่มคนเข้าไปลักลอบขุดปทุมวดีเจดีย์ ส่วนจะได้พระออกไปเท่าไหร่นั้นไม่ได้มีการบันทึกไว้ เหลือแต่ร่องรอย ของการขุดไว้เท่านั้น เท่าที่มีประวัติและการบันทึกไว้ทำให้เราทราบว่าพระเปิม ที่พบเจอที่วัดพระธาตุหริภุญไชย ส่วนหนึ่งมาจากกรุดอนแก้ว เพราะเท่าที่มีบันทึกพระเปิมถูกพบเจอที่วัดพระธาตุ หลัก ๆ 2 ครั้ง ครั้งละหลายพันองค์ รวมทุกครั้งแล้วพระเปิมน่าจะมีมากถึงเกือบหมื่นองค์ เพราะเราไม่ทราบจำนวนที่ มีการนำมาจากวัดดอนแก้วว่ามีปริมาณมากขนาดไหน และในปทุมวดีเจดีย์ มีพระเปิมอยู่แล้วก่อนไหมไม่มีใครได้บันทึกไว้ >>พระเปิม วัดจามเทวี เจดีย์กู่กุฏิ พบเจอในปี 2535 เนื่องจากในช่วงเวลานั้นได้มีการบูรณะเจดีย์กู่กุฏิ และได้พบเจอพระเปิม วางติดตามเจดีย์ พบเจอหลายร้อยองค์ ////////การพบพระเปิมตามกรุต่าง ๆ เท่าที่มีการบันทึกไว้และได้พูดคุยกับนักขุดพระยุคเก่า พระเปิม เจอทุกวัดในลำพูน ทั้งวัดประตูลี้ วัดพระคง วัดมหาวัน เพียงแต่ปริมาณไม่มาก พระเปิมที่พบเจอส่วนมาก จะมีลักษณะเหมือนพระเปิมกรุวัดดอนแก้ว เราจึงยกผลประโยชน์จุดนี้ให้กับทางกรุวัดดอนแก้วว่าเป็นพระเปิมกรุวัดดอนแก้ว นอกเสียจากว่าในบางองค์จะมีลักษณะคราบกรุที่ชัดเจนว่ามาจากกรุไหน การแยกกรุพระเปิมเบื้องต้น >>กรุวัดดอนแก้ว พระเปิม ที่ถูกพบเจอวัดดอนแก้ว เนื่องจากเจดีย์ได้พังทลายลงมา ทำให้พระจมอยู่ในดินผ่านทั้งความร้อนความชื้น พระกรุนี้ส่วนมากจะปรากฏราดำ มีคราบกรุเยอะ เนื้อหาของพระเปิมกรุดอนแก้วส่วนมากที่พบเจอจะมีเนื้อที่ละเอียดเนียน บางองค์หยาบ(ส่วนน้อย)หลังอูมหนา บางองค์ก็บาง ไม่ถือเป็นข้อยุติในการพิจารณาแยกกรุ >>กรุวัดพระธาตุ เนื่องจากไม่มีข้อยุติ หรือการบันทึกไว้ ว่า ในเจดีย์ปทุมวดีมีพระเปิมอยู่ก่อนไหม และมีการนำพระเปิม มาบรรจุปีไหน เพียงแต่บอกว่าก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการนำพระเปิมมาบรรจุไว้เท่านั้น แต่บันทึกที่เขียนไว้ว่าในปี 2474 ซึ่งก่อนสงครามโลกเกือบ 10 ปี มีการเปิดกรุอย่างเป็นทางการ ได้พระเปิมหลายพันองค์ และช่วงสงครามโลกเปิดกรุอีกรอบได้มาอีก หลายพันองค์ พระที่พบจากกรุนี้ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยมีคราบกรุ เพราะว่าอยู่ในเจดีย์ หลังจะแบน เนื้อหาค่อนข้างหยาบว่าวัดดอนแก้ว และส่วนมากพระเปิมกรุนี้ จะมีสีแดง เป็นเสียส่วนมาก ...มาถึงจุดนี้ ทำให้เราเริ่มมองเห็นว่า มีความเป็นไปได้สูง ที่ พระเปิมจากวัดพระธาตุจะมีด้วยกันอยู่ 2 ส่วน คือพระเปิมที่เป็นของวัดพระธาตุเอง กับพระเปิมที่ถูกย้ายมาจากวัดดอนแก้ว ถ้าเราสรุปรวบยอดว่า พระเปิมที่พบเจอที่วัดพระธาตุทั้งหมดคือพระเปิมที่ถูกนำมาบรรจุจากวัดดอนแก้ว แล้วทำไมที่วัดดอนแก้วถึงไม่เคยขุดพบเจอ พระเปิม ที่มีลักษณะดังกล่าวที่เป็นเอกลักษณ์ของวัดพระธาตุเลย เพราะถ้ามีเหมือนกันนั่นจะเป็นข้อยืนยันว่า จริงๆ แล้วพระเปิม กรุวัดพระธาตุไม่มีอยู่จริงเพราะทั้ง 2 วัด มีพระเหมือนกัน แต่เนื่องจากวัดพระธาตุพบเจอพระเปิมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวออกไปทำให้เราได้ข้อคิดว่า จริงๆ แล้ว พระเปิมที่วัดพระธาตุ มีอยู่ก่อนแล้ว และบางส่วนก็ถูกนำมาจากวัดดอนแก้วน่าเอง(ส่วนที่มีเอกลักษณ์ของวัดดอนแก้ว) เมื่อเวลาผ่านมาเนิ่นนานพระเปิมที่ถูกพบเจอที่วัดพระธาตุซึ่งจริงๆ เป็นของวัดดอนแก้วก็จะถูกเรียกว่าพระเปิมกรุวัดดอนแก้วตามเดิมนั่นเอง คงเหลือไว้ซึ่งพระเปิม ที่มีเอกลักษณ์ของพระเปิมกรุวัดพระธาตุก็จะเรียกว่า พระเปิมกรุวัดพระธาตุต่อไป >>พระเปิม วัดจามเทวี เนื่องจากพระเปิม วัดจามที่พบเจอ เป็นการพบเจอโดยการที่พระเปิมติดอยู่ตามพระเจดีย์ ดังนั้นพระกรุนี้จึงไม่มีคราบกรุ และส่วนมาก เนื้อหาของพระเปิมกรุนี้ จะมีเนื้อหาที่หยาบที่สุดในกลุ่มของพระเปิม หลังแบนเรียบ พระบาง ส่วนมากจะสวย พระสีทั่วไปโดยมากผิวพระจะพรุนเพราะตากแดดตากฝนมาอย่างยาวนานย่อมเป็นธรรมดาที่ผิวพระจะชำรุดไป ยกเว้นสีเขียวเพราะมีเนื้อหาที่แกร่ง การสร้างพระเปิม วัดจาม คงสร้างกันคนละวาระกับพระเปิม กรุวัดดอนแก้ว แน่นอนเพราะทั้งเนื้อหาและเอกลักษณ์ของการสร้างต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่ว่าใช้แม่พิมพ์ตัวเดียวกันแน่นอน เพราะจุดตำหนิต่าง ๆ เหมือนกันไม่ผิดเพี้ยน สุดท้าย ไม่ว่าพระเปิมจะมาจากกรุไหน ๆ ก็ล้วนมีพิมพ์ทรงที่เหมือนกัน ค่านิยมก็ขึ้นกับความสวย ในปัจจุบันไม่ได้แยกแยะว่าพระจะมาจากกรุไหนเพียงแค่สวยและสมบูรณ์ราคาเช่าหาก็แพงได้เช่นกัน ขอขอบคุณที่อ่านมาจนจบผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความบทนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่รักและศรัทธาในพระสกุลลำพูน ข้อมูลโดย : วัฒน์ รัชดา |